ไม่ว่าคุณจะเป็นกังวลกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าหรือว่าโอไมครอน ในทุกวันนี้กลยุทธ์การรับมือยังคงเหมือนเดิม ถ้าคุณได้วัคซีนสองโดสแล้ว ควรไปรับโดสที่สามถ้าสามารถไปได้ ถ้าหากคุณติดเชื้อ หายแล้วและยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ก็ควรไปฉีดวัคซีน และควรจะมีการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ซึ่งนี่ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอยู่แล้วถ้าจะรับมือกับคลื่นการระบาดไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าในระลอกถัดไป ซึ่งรวมไปถึงสายพันธุ์โอไมครอนด้วยเช่นกัน
สืบเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่ว่าระบาดได้เร็วกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนได้คาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นอาจเป็นการเริ่มต้นของจุดจบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นอาจจะเป็นสายพันธุ์ที่มาแทนที่โควิดสายพันธุ์เดลต้าในที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามคอลัมน์ Intelligencer จากเว็บไซต์ nymag ของสหรัฐอเมริกานั้นได้มีการจัดทำรายงานข่าวฉบับหนึ่งแสดงความกังวลว่าการระบาดของทั้งไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์โอไมครอนนั้นอาจจะเป็นการระบาดแบบคู่ขนานกันไป ซึ่งกลายเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่ง อีกทั้งการจัดทำวัคซีนเพื่อรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายที่จะนำมาใช้งานในทันทีด้วยเช่นกัน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำรายงานดังกล่าวมานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
นับตั้งแต่ที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ส่งผลทำให้มีผู้ติดเชื้อไปทั่วโลก เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ก็กำลังรอการวิเคราะห์ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวเพื่อที่จะประเมินว่าไวรัสนี้จะส่งผลทำให้การกลับเข้าสู่สภาวะปกติก่อนการระบาดของโควิด-19 นั้นต้องล่าช้าไปเท่าไร
ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็แต่เรื่องที่น่ากังวลออกมา เพราะไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นแน่นอนว่าระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า การติดเชื้อก่อนหน้าก็ไม่อาจที่จะทำให้มีภูมิคุ้มกันได้เพียงพอ และจนถึงตอนนี้ก็ไม่ทราบว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพกับการติดเชื้อ หรือไวรัสจะทำให้คนป่วยได้มากน้อยแค่ไหน
โดยคอลัมน์ Intelligencer ได้มีการไปสัมภาษณ์ นพ.ปีเตอร์ โฮเตซ อาจารย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์เบย์เลอร์ และยังเป็นผู้อํานวยการร่วมศูนย์พัฒนาวัคซีนโรงพยาบาลเด็กเท็กซัส เกี่ยวกับประเด็กที่ทางสาธารณสุขนั้นได้ตอบสนองต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ ประเด็นเรื่องการเดินทางในวันหยุด และประเด็นที่ว่าการฉีดวัคซีนเพื่อบูสเตอร์สำหรับรับมือโควิดสายพันธุ์โอไมครอนโดยเฉพาะนั้นถึงจะไม่ประสบความสำเร็จ
นพ.ปีเตอร์ โฮเตซ คาดการณ์ว่าในปี 2565 นั้นอาจมีการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าและโอไมครอน (อ้างอิงวิดีโอจาก MSNBC)
@คิดเห็นอย่างไรต่อกรณีไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
ไวรัสนี้นั้นสามารถจะมองได้ในหลายแง่มุมมาก โดยในแง่มุมแรกนั้นต้องยอมรับว่ามันมีความคล้ายคลึงเป็นอย่างยิ่งกับอาการของการเจ็บป่วยโดยทั่วไป ดังนั้นในประเด็นนี้คำถามที่ตามมาสองคำถามก็คือว่า มันสามารถจะแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้าไหม และกรณีเรื่องการหลบหลีกภูมิคุ้มกันนั้นคืออะไร ซึ่งในแง่ของการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน เรามักจะเห็นว่ามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นในตัวรับซึ่งอยู่ในโปรตีนรูปหนาม ดังนั้นจึงหมายความว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นจะส่งผลกระทบในรูปแบบที่ไม่เป็นสัดส่วนกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบางส่วน ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบางส่วนก็มีทั้งเป็นกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อ ฟื้นตัวแล้ว แต่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหลังจากการฟื้นตัว หรือกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไปแล้วแค่สองโดสแต่ไม่เคยได้รับในโดสที่สาม
นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาจากศูนย์ควบคุมโรคหรือซีดีซีแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เคยผ่านการติดเชื้อและฟื้นตัวก่อนหน้านี้จะถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นสองเท่าเทียบกับกรณีการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าซ้ำ
โดยสิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในแอฟริกาใต้ และก็จะกลายเป็นปัญหาสำคัญถ้าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเริ่มมีการระบาดในสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเพิ่มเติมมากห้องทดลองของนายมิเชล นุสเซนซ์ไวก์ ที่มหาวิทยาลัยร็อคกี้เฟลเลอร์ ระบุว่าผู้ที่ติดเชื้อโควิดซึ่งไม่ใช่แค่เชื้อสายพันธุ์โอไมครอนและฟื้นตัว แล้วหลังจากนั้นก็ไปฉีดวัคซีนก็พบกรณีการติดเชื้อซ้ำซึ่งสัมพันธ์กันและมีความอ่อนไหวต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่เป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งตรงนี้มีคนที่ถามมาเยอะว่าถ้าหากผมได้รับการฉีดวัคซีนโดสสาม มีภูมิคุ้มกันพุ่งขึ้น 30-40 เท่าในส่วนของสารภูมิคุ้มกันไวรัสหรือว่าแอนติบอดี ผมจะมีภูมิคุ้มกันต่อโอไมครอนหรือไม่ โดยคำตอบก็คือผมคิดว่าคุณน่าจะมี แต่เราก็ไม่รู้ เรากำลังทำการทดลองอยู่ในห้องทดลอง เพราะเรามีวัคซีนทั้งของบริษัทโมเดอร์นา,ไฟเซอร์,จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และแอสตร้าเซนเนก้า โดยทั้งหมดจะต้องทำการดลองในกระบวนการเดียวกัน
โดยตามที่ได้มีการกล่าวมาแล้ว วัคซีนในปัจจุบัน พร้อมด้วยบูสเตอร์โดสนั้นสามารถมอบภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 30-40 เท่าในแอนติบอดีป้องกันไวรัส ประเด็นถัดมาที่จะต้องคิดกันก็คือว่าในระดับด้านการสาธารณสุขแล้ว จุดใดที่เราควรจะต้องมีความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพโดยรวมของวัคซีน
ความแตกต่างระหว่างไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้ากับสายพันธุ์โอไมครอน
สาระสำคัญก็คือเราต้องดูว่าประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นมีการลดลงมากเท่าไร ที่ผ่านมาเราเคยเห็นการลดลงของระดับแอนติบอดี ถ้าหากต้องเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เบต้าเมื่อปีที่ผ่านมา และในสายพันธุ์แลมบ์ดา แต่ก็ยังไม่ได้อยู่ในระดับที่สร้างความกังวลให้กับเรา คำถามก็คือว่าตัวเลขการลดลงที่ว่านี้นั้นจะลดลงอีกและจะมีเกณฑ์ใดที่จะระบุว่าลดลงเท่านี้แล้วจะเป็นปัญหาได้จริงๆ โดยประเด็นเหล่านี้นั้นเรายังคงต้องมีการทดลองในห้องทดลองเพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่มากขึ้น
หนึ่งในสถารการณ์ที่ดีที่สุดก็คือว่าแอนติบอดีจากการฉีดวัคซีนทั้งสามครั้งนั้นสามารถที่จะรับมือได้ โดยตัวผมก็ค่อนข้างที่จะมองโลกในแง่ดีว่ามันจะมีแอนติบอดีที่สามารถรับมือได้อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ผมก็หวังว่ามันน่าจะมีอะไรที่มากกว่านั้น ถ้าหากไม่แล้ว ก็มีการพูดถึงความพยายามและความเป็นไปได้ที่จะผลิตวัคซีนโดยเฉพาะเพื่อจะเป็นเข็มบูสเตอร์รับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนตามมา
@แต่ว่าผู้พัฒนาวัคซีนเคยกล่าวว่าพวกเราจะสามารถปรับแต่งสูตรที่มีเพื่อให้รับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ค่อนข้างง่าย ?
การจัดการในห้องทดลองเพื่อทำเข็มบูสเตอร์นั้นไม่ใช่เรื่องซับซ้อนและมันก็มีปรากฎการณ์ที่เรียกกันว่าบาปของแอนติเจนดั้งเดิม มีความหมายก็คือว่ามันไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันไปยังสิ่งที่มีความคล้ายกันแต่ทว่าไม่เหมือนเดิม มันไม่ใช่เรื่องที่จะประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ เราไม่สามารถจะแค่สันนิษฐานว่าไม่ต้องไปกังวลอะไร เราแค่ทำบูสเตอร์สำหรับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนโดยเฉพาะ หรือก็คือใช่มันไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันจะเวิร์กหรือไม่
@เราควรจะพัฒนาวัคซีนเฉพาะกับสายพันธุ์โอไมครอนหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ว่าการฉีดวัคซีนนั้นอาจจะมีใบสั่งโดยเฉพาะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละบุคคลและเรื่องของภูมิคุ้มกัน?
นี่ขึ้นอยู่กับประเด็นที่หลากหลายมาก ในช่วงเวลาที่มีบูสเตอร์พร้อมแล้วและแสดงให้เห็นว่ามันได้ผลผ่านขั้นตอนการอนุมัติหลายขั้นตอน ซึ่งจนกว่าจะถึงเวลานั้นแล้วอาจจะมีผู้ที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มอีกมากก็เป็นได้ ดังนั้นคุณก็ต้องมาตัดสินใจอีกว่ามันคุ้มหรือไม่ ณ จุดนั้น ซึ่งส่วนตัวผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราคงไม่ต้องไปถึงในจุดๆนั้นเพราะมันจะกลายเป็นอะไรที่ยุ่งยากอย่างรวดเร็วมาก
@ยุ่งยากอย่างไรบ้าง?
อันที่จริงแล้วการจะสาธิตว่าวัคซีนจะประสบความสำเร็จ การขยายวงการแจกจำหน่าย ปัญหาการเข้าถึงวัคซีนซึ่งทุกอย่างนั้นต้องทำซ้ำกันอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาด้านการสื่อสารทางสาธารณสุข ซึ่งทั้งหมดถือว่าเป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากในการที่จะเริ่มต้น ทุกอย่างจะถือเป็นงานหนักมากทั้งในระดับทางวิทยาศาสตร์ ในระดับสาธารณสุขและในระดับนโยบาย
โดยในช่วงสัปดาห์หลังจากนี้เราอาจจะเห็นไวรัสทั้งสองสายพันธุ์อยู่ด้วยกัน ได้แก่โควิดสายพันธุ์เดลต้าที่แพร่เชื้อไปยังผู้ไม่ได้ฉีดวัคซีนและโอไมครอนที่ติดเชื้อทั้งคนที่มีภูมิคุ้มกันแค่บางส่วนแล้ว สำหรับตอนนี้ผมคิดว่เราควรที่จะคิดถึงกรระบาดของฝาแฝดของไวรัสทั้งสองสายพันธุ์นี้
@ถ้าสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเป็นจริงว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนสามารถหลบหลีกวัคซีนได้ง่าย มันควรที่จะมีมาตรการทางสาธารณสุขอื่นๆตามมาหรือไม่
ไม่ว่าคุณจะเป็นกังวลกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าหรือว่าโอไมครอน ในทุกวันนี้กลยุทธ์การรับมือยังคงเหมือนเดิม ถ้าคุณได้วัคซีนสองโดสแล้ว ควรไปรับโดสที่สามถ้าสามารถไปได้ ถ้าหากคุณติดเชื้อ หายแล้วและยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ก็ควรไปฉีดวัคซีน และควรจะมีการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ซึ่งนี่ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอยู่แล้วถ้าจะรับมือกับคลื่นการระบาดไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าในระลอกถัดไป ซึ่งรวมไปถึงสายพันธุ์โอไมครอนด้วยเช่นกัน
โดยถ้าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเริ่มที่จะเร่งการระบาดไปจนถึงจุดที่แซงไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า แบบเดียวกับที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้แซงสายพันธุ์อัลฟ่า เราก็ต้องปใช้มาตรการแทรกแซงอื่นๆที่ไม่ใช่มาตรการด้านการให้ยาเพียงอย่างเดียว ซึ่งนั่นรวมถึงการให้ใส่หน้ากากในที่สาธารณะและการห้ามชุมนุม
@นี่คือสิ่งที่เราต้องเข้าใจก่อนจะถึงวันหยุดใช่หรือไม่?
ผมคิดว่าเป็นเช่นนั้น ประมาณสองสัปดาห์หนังจากนี้ เราจะได้เห็นอะไรมากขึ้นอีกมาก ในช่วงไม่กี่วันก่อนวันหยด เราจะรู้ว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนสามารถเร่งการระบาดได้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้หรือไ และเราจะรู้มากขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งจากการทดลองในห้องทดลองและจากจำนวนผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลและป่วย
ซึ่งในระหว่างนี้ คำแนะนำของผมก็คือว่าควรจะระวังเรื่องการทำกิจกรรมของคุณเอาไว้ก่อน ใส่หน้ากากถ้าหากไปซื้อของและทำภารกิจอื่นๆ และอย่าเพิ่งตั้งเป้ากับแผนวันหยุดไว้มากจนเกินไป พยายามที่จะรวมกลุ่มในจำนวนที่พอเหมาะและให้มั่นใจว่าทุกคนนั้นได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
เรียบเรียงจาก:https://nymag.com/intelligencer/2021/12/why-omicron-and-delta-could-be-a-twin-epidemic.html