ข้อสงสัยของผมก็คือว่าวัคซีนที่เราใช้ในออสเตรเลียทั้งไฟเซอร์ โมเดอร์นา แอสตร้าเซนเนก้านั้นจะครอบคลุมต่อการป่วยร้ายแรงกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ ซึ่งไวรัสนี้แน่ชัดว่ามันจะสามารถติดเชื้อกับผู้ที่มีภูมิแล้ว แต่ขอให้จำไว้ว่าเราต้องการแอนติบอดี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อป้องกันอาการป่วยอันร้ายแรง
สืบเนื่องจากปรากฎการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่ทำให้หลายประเทศนั้นเกิดความวิตกกังวลกัน ณ เวลานี้ โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องที่ว่าไวรัสนี้นั้นมีการกลายพันธุ์ถึง 32 จุด ทำให้มีศักยภาพในการแพร่เชื้อมากกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า อีกทั้งยังมีศักยภาพในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อนหน้านี้ และระบบภูมิคุ้มกันที่มาจากวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด
ล่าสุดสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้สำรวจข้อมูลจากประเทศเพิ่มเติมเพื่อศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ ก็พบสำนักข่าวเอบีซีสาขาประเทศออสเตรเลียได้มีการจัดทำรายงานเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าวัคซีนนี้มีประสิทธิภาพกับไวรัสได้มากน้อยแค่ไหน
โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้
ไวรัสโควิดสายพันธุ์ไอไมครอนนั้นได้สร้างความกังวลไปทั่วโลก หลังจากที่ถูกประกาศจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ว่าเป็นสายพันธุ์อันน่ากังวล โดยไวรัสชนิดนี้นั้นมีการแพร่ระบาดไปในหลายประเทศเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
ซึ่ง ณ เวลานี้นั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบอะไรมากนักเกี่ยวกับไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้ โดยเบื้องต้นก็มีแค่การคาดการณ์ว่าไวรัสโอไมครอนนั้นอาจจะมีความรุนแรงน้อยกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า แต่กลับมีความสามารถในการส่งต่อเชื้อได้ดีกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้
และการระบาดดังกล่าวนี้นั้นก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านการแนะนำแนวทางการเดินทางไปต่างประเทศของประเทศออสเตรเลียตามมา
ทั้งนี้ประเทศออสเตรเลียนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการฉีดวัคซึนสูงที่สุดในโลก และจำนวนผู้ติดเชื้อในรัฐนิวเซาท์เวลส์รัฐวิกตอเรียก็ลดลงเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่มีการเปิดพรมแดนระหว่างรัฐแล้ว
อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นสิ่งที่เกิดกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า
แต่คำถามสำคัญต่อมาก็คือว่าวัคซีนที่ประเทศออสเตรเลียมีอันได้แก่ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตร้าเซนเนก้านั้นจะสามารถรับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้หรือไม่
และคำตอบง่ายๆในตอนนี้ก็คือ “เป็นไปได้มากที่สุด” แต่ไม่มีใครรู้แน่ชัด
โดยไวรัสสายพันธุ์นี้นั้นได้รับการตรวจพบทั้งในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนและไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในประเทศแอฟริกาใต้ และตามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญพบว่าอาการโดยมากของไวรัสชนิดนี้นั้นจะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าเป็นอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม อาการโดยมากยังคงเป็นอาการที่ถือว่าไม่รุนแรง
ขณะที่โทนี่ คันนิงแฮม นักไวรัสวิทยาสถาบันเวสต์มีด กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกรวมไปถึงที่ประเทศออสเตรเลียนั้นจะต้องมีการตรวจสอบระดับของแอนติบอดีหรือว่าสารภูมิคุ้มกันนั้นจะสูงพอที่จะครอบคลุมต่อสายพันธุ์นี้หรือไม่
“ข้อสงสัยของผมก็คือว่าวัคซีนที่เราใช้ในออสเตรเลียทั้งไฟเซอร์ โมเดอร์นา แอสตร้าเซนเนก้านั้นจะครอบคลุมต่อการป่วยร้ายแรงกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ ซึ่งไวรัสนี้แน่ชัดว่ามันจะสามารถติดเชื้อกับผู้ที่มีภูมิแล้ว แต่ขอให้จำไว้ว่าเราต้องการแอนติบอดี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อป้องกันอาการป่วยอันร้ายแรง” นายคันนิ่งแฮม ผู้มีประสบการณ์ด้านวัควัคซีนกว่า 40 ปีกล่าว
การกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน
ขณะที่ นพ.พอล เคลลี่ หัวหน้าฝ่ายการแพทย์กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์นั้นกำลังดำเนินการทดสอบทางห้องแล็บเพื่อจะดูว่าวัคซีนนั้นจะมีการทำงานอย่างแน่นอนต่อสายพันธุ์หรือไม่
“ไวรัสที่ถูกตรวจเป็นกรณีแรกในประเทศออสเตรเลียนั้นกำลังถูกวินิจฉัยอยู่ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา และในระดับนานาชาตินั้น เราก็กำลังตรวจสอบกันอยู่ และหลังจากนี้การตรวจสอบนี้ก็คงเสร็จสิ้น” นพ.เคลลี่กล่าว
ส่วนนางแคทเธอรีน เบนเน็ตต์ นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยดีคินกล่าวว่าได้กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์เมื่อติดตามอัตราการติดเชื้อแบบเวลาจริงหรือเรียลไทม์ทั้งในประเทศแอฟติกาใต้และประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกานั้นถือเป็นจุดที่กำหนดอัตราการติดเชื้อระหว่างผู้ฉีดวัคซีนและไม่ฉีดวัคซีนได้
นางเบนเน็ตต์กล่าวว่าอย่างไรก็ตามหนึ่งในประเด็นที่สำคัญก็คืออัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำมากในภูมิภาคแอฟริกา โดยในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการระบาดยังดำเนินอยู่นั้น มีอัตราการฉีดวัคซีนอยู่แค่ประมาณร้อยละ 24.1 เมื่อเทียบกับอัตราประชากรทั้งหมด
“มันเร็วไปหน่อยที่จะพูดเรื่องนี้ เพราะในประเด็นเรื่องอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำ ขณะที่ผู้ติดเชื้อจำนวนสองรายที่มาถึงประเทศออสเตรเลียแล้วนั้นล้วนเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว แต่สิ่งที่เรารู้แน่นอนก็คือว่าวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพกับไวรัสโควิดสายพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะกับกรณีการป่วยอย่างรุนแรง ดังนั้นดิฉันคิดว่าเราควรจะมั่นใจว่ามันยังคงเป็นเช่นนั้น”นางเบนเน็ตต์กล่าว
รายงานข่าววัคซีนกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ไอไมครอน (อ้างอิงวิดีโอจาก CRUX)
@วัคซีนต่อสายพันธุ์เฉพาะ
ผู้ผลิตวัคซีนหลายๆราย อาทิเช่นบริษัทไฟเซอร์ และบริษัทโมเดอร์นานั้นได้ทำงานเพื่อที่จะคิดค้นวัคซีนในรุ่นที่สองแล้ว
และมีรายงานว่าวัคซีนแบบ mRNA รุ่นที่สองนั้นก็จะเล็งเป้าไปที่ไวรัสสายพันธุ์โดยเฉพาะ อาทิเช่น ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
โดยนางเบนเน็ตต์กล่าวว่าคาดว่าในช่วงต้นปีหน้านั้นอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในการที่บริษัทที่เกี่ยวข้องนั้นจะผลิตวัคซีนรุ่นต่อไป
“หนึ่งในจุดแข็งสำคัญสำหรับเทคโนโลยี mRNA นั้นก็คือว่าผู้ผลิตวัคซีนสามารถจะดำเนินการผลิตได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเริ่มกระบวนการผลิตวัคซีนใหม่ทั้งหมด” นางเบนเน็ตต์กล่าวและกล่าวต่อว่าอย่างไรก็ตามเราคาดหวังว่าจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในปัจจุบันต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งประสิทธิภาพที่ว่านั้นจะเป็นสิ่งที่กำหนดว่าผู้ผลิตวัคซีนควรจะใช้ความพยายามเท่าไรเพื่อดำเนินการผลิตวัคซีนในรุ่นที่สองต่อไป
ซึ่งทางด้านของนายคันนิ่งแฮมเองก็ได้ให้การสนับสนุนในประเด็นดังกล่าวนี้ โดยกล่าวว่าคงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชนืเลยถ้าหากจะมีการพัฒนาวัคซีนเพื่อจะเล็งเป้าไปเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอนอย่างเดียว ถ้าหากวัคซีนในปัจจุบันนั้นยังคงสามารถใช้งานได้ หรือว่าไม่ได้เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม นายคันนิ่งแฮมกล่าวต่อว่าผู้พัฒนาวัคซีนทั่วโลก โดยเฉพาะทีมของเขาที่สถาบันเวสต์มีดได้มีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ในรุ่นที่สองแล้ว ซึ่งจะมีศักยภาพในการต่อต้านไวรัส
“ก็คล้ายกันกรณีที่เราพยายามที่จะสร้างวัคซีนสำหรับไข้หวัดเพื่อให้มีความครอบคลุมที่สุด” นายคันนิ่งแฮมกล่าวและเน้นย้ำว่าเราต้องฉลาดกว่าไวรัสที่เคลื่อนไหว ซึ่งนี่คือประเด็นสำคัญ เราต้องตามการเปลี่ยนแปลงของไวรัสให้ทัน หรือไม่ก็ต้องทำให้ฉลาดขึ้นกว่าเดิม
@ปัจจัยความรุนแรง
จากการให้ข้อมูลของนายคันนิ่งแฮม พบว่าปัจจัยอื่นๆที่ทำให้รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกและ WHO ต้องดำเนินการประเมินสถานการณ์และก็ความร้ายแรงของสายพันธุ์
“และสิ่งที่เราเห็นจนถึงตอนนี้ก็คือว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นดูเหมือนว่าจะทำให้มีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง” นายคันนิ่งแฮม
และเรื่องดังกล่าวนั้น ทางด้านของ นพ.พอล เคลลี่เองก็ได้ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน โดยกล่าวว่าในการวิเคราะห์เบื้องต้นนั้นพบว่าไวรัสสายพันธุ์นี้มีความรุนแรงค่อนข้างอ่อนเมื่อเปรียบเทียบกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังไม่ควรวางใจก็คือตอนนี้ยังมีผู้ติดเชื้อแค่อยู่ในจำนวนไม่กี่ร้อยเท่านั้น
“เราจะสามารถประเมินความร้ายแรงของโรคได้ก็ต่อเมื่อมันมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น” นายคันนิ่งแฮมกล่าวและเน้นย้ำว่านี่ยังไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงของไวรัสเท่านั้น
เรียบเรียงจาก:https://www.abc.net.au/news/2021-11-29/omicron-variant-covid19-vaccines-protection/100657830
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/