ขณะนี้เรามีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ต่อมาไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัสก็ค่อนข้างจะฉลาดเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผมกำลังพูดถึง มันมีกรณีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นอยู่สองครั้งในไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า ผมไม่คิดว่าการกลายพันธุ์สองครั้งดังกล่าวนั้นจะเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากว่ามันยังไม่ได้มีการระบาดใหญ่ๆในประเทศอื่นๆ แต่มันก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกันว่าเราจะเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่มีนัยยะสำคัญในอีกสองปีหลังจากนี้ และมันก็จะเป็นไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่มาแข่งกับสายพันธุ์เดลต้าและไม่มาแข่งก็ได้ทั้งนั้น
สืบเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัส ณ เวลานี้ ซึ่งมีการคิดค้นทั้งยาและวัคซีนชนิดใหม่ๆออกมามากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เริ่มจะมีการคาดการณ์กันว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นอาจจะเป็นไวรัสโควิดสายพันธุ์สุดท้ายที่จะระบาดอย่างรุนแรง
แต่อย่างไรก็ตามสำนักข่าวการ์เดียนของประเทศอังกฤษซึ่งได้มีการทำรายงานในหัวข้อเกี่ยวกับความเป็นไปได้ว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นจะเป็นสายพันธุ์สุดท้ายจริงหรือไม่ ได้นำเสนอข้อมูลจากนักระบาดวิทยาว่ามีความเป็นไปได้ที่ไวรัสนั้นจะมีการพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆและอาจเกิดสายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดรุนแรง สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ทุกรูปแบบ หรือที่เรียกกันว่าสายพันธุ์ซุปเปอร์ขึ้นมาอีกนอกเหนือจากไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าก็เป็นไปได้
โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
ในทุกสัปดาห์กลุ่มนักระบาดวิทยาจากทั้งภูมิภาคทางตอนเหนือและตะวันออกของสหรัฐอเมริกานั้นจะมีการประชุมซูมเพื่อที่จะหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัส ทั่วโลก
“มันก็เหมือนกับรายงานสภาพอากาศ” นายวิลเลียม ฮาเนจ นักระบาดวิทยาจากวิทยาลัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลับฮาร์วาร์ดกล่าว และเน้นย้ำว่าเราเคยมีไวรัสโควิดสายพันธุ์แกมม่ามาที่สหรัฐฯส่วนหนึ่ง ต่อมาก็ไวรัสโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า แต่ตอนนี้กลายเป็นสายพันธุ์เดลต้าแทน
โดยนับตั้งแต่ที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นปรากฏสู่สายตาชาวโลกในช่วงเดือน ธ.ค.2563 ไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้ก็กลายเป็นสิ่งที่แพร่หลายมากและอยู่มาจนถึงปัจจุบัน จนนำไปสู่ข้อสันนิษฐานที่ว่าเมื่อการวิวฒนาการอย่างรวดเร็วของไวรัสถูกแทนที่ด้วยสภาวะที่สงบนิ่งไปแล้ว ซึ่งข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกนั้นพบว่ารหัสพันธุกรรมกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ที่ถูกถอดออกมาได้นั้นคือไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า
ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการปรากฎตัวขึ้นของไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆซะทีเดียว โดยไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ว่านั้นก็มีทั้งไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัสหรือที่เรียกกันว่า AY. 4.2 ในประเทศอังกฤษ ที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีขีดความสามารถในการแพร่เชื้ออยู่ที่ 10-15 เปอร์เซ็นต์มากกว่าสายพันธุ์เดลต้า แต่พวกมันก็ไม่ได้ต่างจากสายพันธุ์เดลต้ามากนัก
ซึ่งนายฮาเนจก็ได้ตั้งข้อสันนิษฐานตรงนี้ว่าความเปลี่ยนแปลงของไวรัสโควิดจนเป็นสายพันธุ์เดลต้าพัสดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดการถ่ายทอดเชื้อได้มากกว่าแบบมหึมา
อย่างไรก็ตามนายฮาเนจและเพื่อนร่วมงานก็ยังคงมีการตรวจสอบฐานข้อมูลตลอดในแต่ละสัปดาห์และการประชุมซูมหารือกันนั้นก็เพื่อทำนายว่าอะไรจะมาถัดไปหลังจากนี้ ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นเป็นไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์สุดท้ายแล้วจริงๆหรือไม่ หรือว่ามีอะไรที่เลวร้ายกว่านี้จะปรากฏขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้นั้นยังคงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครมั่นใจในคำตอบ
ความเป็นไปได้หนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดก็คือว่าหลังจากการกระโดดอย่างพุ่งพรวดจากไวรัสโควิด-19 ที่มาการกลายพันธุ์ทั้งจากสายพันธุ์อัลฟ่าและสายพันธุ์เดลต้า ไวรัสโควิดหรือว่า Sars-CoV-2 นั้นจะมีการกลายพันธุ์อย่างช้าและต่อเนื่องมากขึ้นจนกระทั่วไปไกลกว่าวัคซีนที่มีใช้งานอยู่ ณ เวลานี้ แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวนั้นต้องใช้เวลานานหลายปี
โดยนายฟรานซิส บัลลูซ์ ผู้อํานวยการสถาบันพันธุศาสตร์ UCL กล่าวว่าตัวเขาก็คาดการณ์ว่าการวิวัฒนาการที่เราจะเห็นหลังจากนี้มากขึ้นน่าจะเป็นสิ่งที่เรียกว่าแอนติเจนดริฟต์ ซึ่งไวรัสจะค่อยๆพัฒนาเพื่อหลบหนีระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งยกตัวอย่างสำหรับไข้หวัดใหญ่และไวรัสโคโรน่าอื่นๆที่ไม่ได้ระบาดอยู่นั้น เราจะเห็นว่ามันจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี สำหรับไวรัสเพื่อจะสะสมการเปลี่ยนแปลงเพียงพอแล้วจนไม่ได้รับการจดจำจากสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีในเลือด
อย่างไรก็ตามทางด้านของนายราวี หรือราวินดรา กัปตา ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้กล่าวว่าอาจจะมีกรณีการปรากฏตัวอย่างฉับพลันขึ้นมาอีกของไวรัสโควิดซึ่งจะเป็นสายพันธุ์ใหม่โดยสิ้นเชิง มีศักยภาพที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมในด้านการแพร่เชื้อ,ความรุนแรง,และมีลักษณะการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน ซึ่งสายพันธุ์ที่ว่านี้ก็จะเป็นเสมือนสายพันธุ์ซุปเปอร์ และเขามั่นใจถึงร้อยละ 80 ว่าสิ่งนี้จะต้องเกิด แต่แค่ว่าเมื่อไรเท่านั้น
“ขณะนี้เรามีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ต่อมาไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัสก็ค่อนข้างจะฉลาดเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผมกำลังพูดถึง มันมีกรณีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นอยู่สองครั้งในไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า ผมไม่คิดว่าการกลายพันธุ์สองครั้งดังกล่าวนั้นจะเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากว่ามันยังไม่ได้มีการระบาดใหญ่ๆในประเทศอื่นๆ แต่มันก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกันว่าเราจะเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่มีนัยยะสำคัญในอีกสองปีหลังจากนี้ และมันก็จะเป็นไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่มาแข่งกับสายพันธุ์เดลต้าและไม่มาแข่งก็ได้ทั้งนั้น” นายกุปตากล่าว
@เราจะเห็นไวรัสโควิดสายพันธุ์ซุปเปอร์หรือไม่
ย้อนไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 นักระบาดวิทยาได้เริ่มมีการตรวจสอบสัญญาณของปรากฎการณ์อันน่ากังวลที่เรียกกันว่าการรวมตัวกันของไวรัส ซึ่งก็คือกรณีที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไปนั้นมีการแลกเปลี่ยนการกลายพันธุ์ซึ่งกันและกันจนเป็นสายพันธุ์ใหม่โดยสิ้นเชิง
ซึ่งนายกุปตาบอกว่าโชคดีที่การรวมไวรัสดังกล่าวนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดานั้น แต่มันก็ยังเป็นแหล่งกำเนิดที่เป็นไปได้ ที่จะนำไปสู่การเกิดของไวรัสโควิดสายพันธุ์ซุปเปอร์ และความเป็นไปได้ที่จะเกิดนั้นก็มีค่อนข้างสูงในพื้นที่ของโลกที่มีประชากรในสัดส่วนขนาดใหญ่ยังคงไม่ได้รับการฉีดวัคซีนและสายพันธุ์ของไวรัสยังคงสามารถหมุนเวียนได้อย่างอิสระ โดยแม้ว่าในปัจจุบันนั้นไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าจะเป็นไวรัสโควิดสายพันธุ์หลัก แต่ก็มีพื้นที่ขนาดใหญ่บางส่วนที่เราไม่ได้ไปทำการสุ่มตัวอย่าง ดังนั้นเราก็ไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น จึงมีความเป็นไปได้อยู่เช่นกัน
ประเด็นถัดมาที่น่าสนใจก็คือว่าการกลายพันธุ์ที่สำคัญอันส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าหรือสายพันธุ์อื่นๆที่แตกต่างกันออกไป โดยในกรณีนี้นั้นนายกิเดียน ชไรเบอร์ ศาสตราจารย์ด้านชีวโมเลกุลศาสตร์ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ Weizmann ในประเทศอิสราเอลกล่าวว่ามีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าจะพัฒนาศักยภาพได้อีกอย่างมากในอนาคต เนื่องจากว่าการกลายพันธุ์อันสลับซับซ้อนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ และการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันมากกว่าหนึ่งตำแหน่งนั้นจะเป็นสิ่งที่กลายเป็นปัญหาเป็นอย่างยิ่ง
ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส (อ้างอิงวิดีโอจาก Wion)
ย้อนไปในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีประเด็นความกังวลเกิดขึ้นมาต่อกรณีการใช้ยาต้านไวรัสตัวใหม่ ซึ่งในกรณีนี้หมายถึงยาจากบริษัทเมอร์คที่ชื่อว่าโมลนูพิราเวียร์ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ไวรัส Sars-CoV-2 สามารถพัฒนาได้อย่างแข็งขัน โดยการทำงานของยาโมลนูพิราเวียร์ดังกล่าวนั้นจะไปขัดขวางขีดความสามารถของไวรัสในการแบ่งตัวเอง,ทำให้เกิดการทิ้งจีโนมด้วยการกลายพันธุ์จนมันไม่สามารถแบ่งตัวเองได้อีกต่อไป
ซึ่งในกรณีนี้นักไวรัสวิทยาบางคนได้ออกมาโต้แย้งว่าถ้าหากมีไวรัสที่ทำให้กลายพันธุ์จากยานั้นเล็ดลอดออกไปได้และไปแพร่เชื้อ ตามทฤษฎีแล้วการใช้ยาก็อาจจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้ โดยในประเด็นนี้นั้นเหล่าผู้เชี่ยวชาญล้วนเห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องคุ้มค่าที่จะดำเนินการตรวจสอบ แต่อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เหตุผลที่สำคัญที่จะต้องปฏิเสธยาที่สามารถช่วยชีวิตของผู้ป่วยได้แต่อย่างใด
นายกุปตากล่าวว่าปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นอีกและก็อาจจะนำไปสู่การเกิดไวรัสสายพันธุ์ซุปเปอร์นั้นก็คือกรณีอัตราการติดเชื้อสูงอย่างต่อเนื่องที่สหราชอาณาจักรเนื่องจากความสามารถของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่สามารถแพร่เชื้อต่อกันได้ในกลุ่มคนที่มีการฉีดวัคซีนแล้ว
“ยิ่งมีการติดเชื้อมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่จะมีผู้ป่วยที่อยู่ข้างนอกนั่นซึ่งเป็นผู้ป่วย X ที่ติดเชื้อและเซลล์ทีของพวกเขานั้นไม่แข็งแรงพอที่จะชะล้างการติดเชื้อออกไปได้ เพราะว่าภูมิคุ้มกันของพวกเขาถูกกดเอาไว้ ดังนั้นท้ายที่สุดแล้วผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็จะไปแพร่เชื้อกับคนอื่นๆมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อหลายวันผ่านไป ซึ่งพวกเขานั้นก็จะมีแอนติบอดีบางส่วนเพราะว่ามาจากการฉีดวัคซีนแล้วและไวรัสก็เรียนรู้ที่จะหลบหลีกแอนติบอดีเหล่านี้แล้วก็รั่วไหลออกมา” นายกุปตากล่าว
อนึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา นายกุปตาได้มีการเขียนบทความแสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นในกลุ่มที่เป็นคนไข้ที่ป่วยอาการหนัก ซึ่งต้องรักษาด้วยการใช้พลาสมาที่ประกอบไปด้วยแอนติบอดีเพื่อกำจัดไวรัส เพราะเนื่องจากว่าระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขานั้นไม่สามารถจะชะล้างไวรัสได้ โดยไวรัสนั้นเรียนรู้ที่จะกลายพันธุ์และหลบแอนติบอดีเหล่านั้น ดังนั้นจึงมีการคาดกันว่าเพราะว่าการใช้พลาสมาเพื่อรักษาผู้ป่วยอย่างกว้างขวางในช่วงแรกๆก็มีส่วนทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่
“เรายังไม่รู้แน่ชัด แต่มีการใช้พลาสมาอย่างมากและอาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่ขับเคลื่อนกับสายพันธุ์ใหม่ โดยการใช้พลาสมานั้นใช้อย่างแพร่หลายมากในประเทศบราซิล,ประเทศอินเดีย,สหราชอาณาจักรและในประเทศสหรัฐฯ ซึ่งในประเทศเหล่านี้ก็มีการเกิดขึ้นของไวรัสโควิดสายพันธุ์ประจำถิ่นของตัวเอง”นายกุปตากล่าว
การใช้พลาสมาเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 (อ้างอิงวิดีโอจาก CBS)
@การแข่งกันของวัคซีนกับสายพันธุ์ใหม่
นักการระบาดวิทยาตอนนี้พยายามที่จะจำลองว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ซุปเปอร์นั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งจนถึงขณะนี้การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในไวรัสนั้นคือสิ่งที่เพิ่มความสามารถในการถ่ายทอดเชื้อ โดยนายฮาเนจได้อธิบายว่าหนึ่งในเหตุผลที่ทำไมไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้ามีผลกระทบอย่างรุนแรงก็เพราะว่ามันเติบโตอย่างรวดเร็วมากในเซลล์ของมนุษย์ เร็วกว่าที่ระบบภูมิคุ้มกันจะได้ทันเริ่มขยับตัว ผลก็คือผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้ามีอนุภาคไวรัสอยู่ในจมูกมากกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม และสามารถพัฒนาอาการได้เร็วกว่าด้วยระยะเวลา 2-3 วัน
ซึ่งนี่คือผลจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เนื่องจากมีการทำสำเนาของไวรัสที่แตกต่างกันออกไป แต่ว่ามันจะมีการทำสำเนาอยู่ครั้งหนึ่งที่ทำให้เกิดการกรณีของสายพันธุ์ใหม่มีศักยภาพในการยึดพื้นที่และติดเชื้อได้มากกว่า
อย่างไรก็ตามในประเทศอย่างสหราชอาณาจักรที่สัดส่วนของประชากรที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนนั้นเริ่มลดลง เรื่องการทำสำเนาดังกล่าวนั้นก็อาจจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามมาได้เช่นกัน โดยสายพันธุ์ที่สามารถหลบหลีกแอนติบอดีได้ก็จะมีแนวโน้มโดดเด่นมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงมีการประเมินว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ซุปเปอร์ถัดไปหลังจากนี้นั้นจะมีศักยภาพในการหลบเลี่ยงอย่างน้อยก็ในบางส่วนของระบบภูมิคุ้มกัน
“สายพันธุ์ของไวรัสนั้นจะจบลงด้วยการอยู่รอดและกลายเป็นที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ในขั้นตอนไหนของการระบาด ซึ่งจนถึงตอนนี้ ประเด็นที่ถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือกรณีการแพร่เชื้อไปยังกลุ่มคนไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงประเด็นความสำคัญดังกล่าวในช่วงเวลานี้” นายฮาเนจกล่าว
แต่อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะมีแต่ข่าวร้ายไปเสียทั้งหมด เพราะว่าวัคซีนโควิด ณ เวลานั้นมีการออกแบบเอาไว้สำหรับกรณีการกลายพันธุ์อยู่แล้ว ดังนั้นนักระบาดวิทยาจึงคาดว่าไม่น่าจะมีสายพันธุ์ซุปเปอร์เกิดขึ้นแล้วส่งผลทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงอย่างที่เคยเกิดมาแล้วในช่วงสองปีก่อนหน้านี้
และตอนนี้นั้นก็มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสในรุ่นที่สองแล้ว อาทิ วัคซีนโนวาแวกซ์ที่คาดว่าจะได้รับการอนุญาตในช่วงสองเดือนหลังจากนี้ และหลังตากนี้จนถึงปี 2566 ก็จะมีวัคซีนใหม่ๆออกมาอีก ซึ่งวัคซีนที่เกิดขึ้นใหม่ดังกล่าวก็จะมีเส้นทางของตัวเองที่จะรับมือกับสายพันธุ์ในอนาคตต่อไป
โดยข้อมูลจากนางคาริน จูส รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัทยา Gritstone ประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าทางบริษัทที่กำลังพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิดที่อยู่ในระยะการทดลองทางคลินิกระยะที่หนึ่งอยู่นั้นก็ได้มีการถอดรหัสพุนธุกรรมทั้งหมดของไวรัส Sars-CoV-2 และตั้งเป้าว่าจะสร้างการตอบสนองต่อแอนติบอดีที่เป็นกลางซึ่งจะรวมลักษณะของไวรัสทุกสายพันธุ์เอาไว้ทั้งหมด
แต่ทางนักระบาดวิทยาก็ได้แสดงความเห็นว่าการพึ่งพาวัคซีนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ โดยนายกุปตากล่าวว่าแม้ว่าเราพยายามอย่างยิ่งที่จะอยู่กับโควิด-19 แต่ก็ควรจะมีข้อจำกัดบางประการเพื่อลดการกระจายของไวรัสอันจะนำไปสู่โอกาสที่จะเกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งก็รวมไปถึงการดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม การหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและการใส่หน้ากาก แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติก็ตาม
“ถ้าคุณดูสายพันธุ์ใหม่ๆมันจะถือกำเนิดขึ้นมาจากประเทศที่มีอัตราการระบาดสูงมากและไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งประเทศบราซิล,สหราชอาณาจักร และประเทศอินเดีย และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่เคยได้ยินไวรัสโควิดสายพันธุ์สิงคโปร์หรือว่าสายพันธุ์เกาหลีใต้” นายกุปตากล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.theguardian.com/world/2021/nov/21/is-delta-the-last-covid-super-variant
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/