"...จากการตรวจสอบข้อมูลรายงานประจำปีของ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) พบว่า ณ วันที่ 31 ธ.ค.2564 บริษัทฯมีการลงทุนในบริษัทย่อยทั้งสิ้น 76 บริษัท ทุนจดทะเบียน 32,594.59 ล้านบาท และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 32,594.59 ล้านบาท โดยถือหุ้นในสัดส่วนตั้งแต่ 51-100%..."
........................
สืบเนื่องจากกรณีที่เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตฯ ที่ออกให้แก่ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด เจ้าของโครงการ 'แอชตัน อโศก' มูลค่า 6,700 ล้านบาท
ต่อมาบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ในนามผู้บริหารโครงการและผู้ถือหุ้นบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด สัดส่วน 51% ชี้แจงว่าจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น ต่อศาลปกครองสูงต่อไปนั้น (อ่านประกอบ : 'ศาลปกครอง' สั่งเพิกถอนใบอนุญาตฯคอนโดหรู ‘แอชตัน อโศก’ 50 ชั้น-'อนันดาฯ'ยื่นอุทธรณ์)
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,รายงานประจำปีของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ปีล่าสุด (ปี 2563) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พบว่า บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2554 ทุนจดทะเบียน 333.3 ล้านบาท (ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 333.3 ล้านบาท) จำนวนหุ้น 3,333 ล้านหุ้น มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ณ ปัจจุบัน (30 ก.ค.2564) 5,832.75 ล้านบาท
แจ้งประเภทธุรกิจที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด (ปี 2563) ว่า การซื้อและการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่ เพื่อเป็นที่พักอาศัย และแจ้งวัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด (ปี 2563) ว่า พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บริหารโครงการ
ทั้งนี้ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) มีคนในตระกูล ‘เรืองกฤตยา’ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยถือหุ้นรวมกันคิดเป็นสัดส่วน 46.32% ของหุ้นทั้งหมด ขณะที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ณ วันที่ 10 มี.ค.2564 ได้แก่
1.นายชานนท์ เรืองกฤตยา ถือหุ้น 1,049,182,205 หุ้น สัดส่วน 31.48%
2.นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ถือหุ้น 273,456,100 หุ้น สัดส่วน 8.20%
3.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 195,557,200 หุ้น สัดส่วน 5.87%
4.น.ส.พัชราวลัย เรืองกฤตยา ถือหุ้น 165,650,100 หุ้น สัดส่วน 4.97%
5.น.ส.มลลิกา เรืองกฤตยา ถือหุ้น 135,996,795 หุ้น สัดส่วน 4.08%
6.น.ส.ณัฐวิภา เรืองกฤตยา ถือหุ้น 96,993,739 หุ้น สัดส่วน 2.91%
7.นาย ณัฐดนัย เรืองกฤตยา ถือหุ้น 96,156,095 หุ้น สัดส่วน 2.88%
8.นายพิชัย วิจักขณ์พันธ์ ถือหุ้น 60,000,000 หุ้น สัดส่วน 1.80%
9.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือหุ้น 51,893,165 หุ้น สัดส่วน 1.56%
10.นายชัยรัตน์ โกวิทจินดาชัย ถือหุ้น 37,666,400 หุ้น สัดส่วน 1.13%
ส่วนคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ นายชานนท์ เรืองกฤตยา เป็นประธานกรรมการบริหาร ,ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการ และนายพูลศักดิ์ ตันสิทธิพันธ์ เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ เป็นต้น
(ชานนท์ เรืองกฤตยา ที่มาภาพ : https://investor.ananda.co.th/)
สำหรับปี 2563 (31 ธ.ค.2563) บริษัทฯและบริษัทย่อย แจ้งว่ามีสินทรัพย์รวม 43,298.16 ล้านบาท หนี้สินรวม 25,862.72 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้น 17,435.44 ล้านบาท มีรายได้รวม 5,243.19 ล้านบาท รายจ่าย 4,647,91 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 206.58 ล้านบาท (ขาดทุนสำหรับปีจากการดำเนินงานที่ยกเลิก 1,022,14 ล้านบาท)
ขณะที่ไตรมาส 1/2564 บริษัทฯและบริษัทย่อย แจ้งว่ามีสินทรัพย์รวม 45,284.74 ล้านบาท หนี้สินรวม 28,191.54 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้น 17,093.19 ล้านบาท มีรายได้รวม 1,046.55 ล้านบาท รายจ่าย 1,014.56 ล้านบาท กำไรสุทธิ 5.54 ล้านบาท
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลรายงานประจำปีของ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) พบว่า ณ วันที่ 31 ธ.ค.2564 บริษัทฯมีการลงทุนในบริษัทย่อยทั้งสิ้น 76 บริษัท ทุนจดทะเบียน 32,594.59 ล้านบาท และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 32,594.59 ล้านบาท โดยถือหุ้นในสัดส่วนตั้งแต่ 51-100% แบ่งเป็น
กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 58 บริษัท ประกอบด้วย
-กลุ่มที่บริษัทฯถือหุ้น 100% จำนวน 11 บริษัท เช่น บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ วัน จำกัด ทุนจดทะเบียน 2,155.98 ล้านบาท ,บริษัท บ้านนิราวานา จำกัด ทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท และบริษัท เฮลิกซ์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,192.20 ล้านบาท เป็นต้น
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 99.80% จำนวน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท เจวี-โค1 จำกัด ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 99.70% จำนวน 17 บริษัท เช่น บริษัท เอดีซี-เจวี 14 จำกัด ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท ,บริษัท เอดีซี-เจวี 19 จำกัด ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท และบริษัท เอดีซี-เจวี 20 จำกัด ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท เป็นต้น
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 74.00% จำนวน 6 บริษัท เช่น บริษัท เอเอ็มเอฟ เอเชีย บางพลัด จำกัด ทุนจดทะเบียน 625 ล้านบาท ,บริษัท เอเอ็มเอฟ เอเชีย พระโขนง จำกัด ทุนจดทะเบียน 650 ล้านบาท และบริษัท เอเอ็มเอฟ เอเชีย สามย่าน จำกัด ทุนจดทะเบียน 750 ล้านบาท เป็นต้น
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 62.50% จำนวน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย สะพานควาย ทู จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,150 ล้านบาท
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 51.00% จำนวน 22 บริษัท เช่น บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ทุนจดทะเบียน 850 ล้านบาท ,บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย พระรามเก้า จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,100 ล้านบาท และบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย ทองหล่อ จำกัด ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท เป็นต้น
กลุ่มการลงทุนและการบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จำนวน 18 บริษัท ประกอบด้วย
-กลุ่มที่บริษัทฯถือหุ้น 100% จำนวน 10 บริษัท เช่น บริษัท อนันดา เอแพค บางจาก จำกัด ทุนจดทะเบียน 505 ล้านบาท ,บริษัท แอชตัน สีลม จำกัด ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท และบริษัท ไอดีโอ นิว พระราม 9 จำกัด ทุนจดทะเบียน 599.67 ล้านบาท
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 99.98% จำนวน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท เดอะเวิร์คส์ คอมมิวนิตี้ แมนเนจเม้นท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 99.90% จำนวน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท ไอดีโอ้ คอนโด วัน จำกัด ทุนจดทะเบียน 100,000บาท
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 86.50% จำนวน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท อนันดา เอแพค พระรามเก้า ทู จำกัด ทุนจดทะเบียน 772.3 ล้านบาท
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 60.00% จำนวน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท อนันดา แอนด์ พาร์ทเนอร์ สะพานควาย วัน จำกัด ทุนจดทะเบียน 723.58 ล้านบาท
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 56.00% จำนวน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท อนันดา เอแพค1 จำกัด ทุนจดทะเบียน 398.5 ล้านบาท
-กลุ่มที่บริษัทถือหุ้น 51.00% จำนวน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ไอดีโอ โมบิ รางน้ำ จำกัด ทุนจดทะเบียน 795.99 ล้านบาท ,บริษัท ไอดีโอ คิว สุขุมวิท 36 จำกัด ทุนจดทะเบียน 664.43 ล้านบาท และ Ananda SU Ltd. ทุนจดทะเบียน 100 เหรียญสหรัฐ (32,000 บาท)
รายงานประจำปีของ ANAN แจ้งว่า ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับพันธมิตรหลัก คือ กลุ่มบริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น พัฒนาโครงการร่วมกันทั้งหมด 34 โครงการ มูลค่ารวม 142,400 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงโครงการ แอชตัน อโศก ด้วย
ส่วนแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ ที่บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ทำตลาด ได้แก่ แบรนด์คอนโดมิเนียม แบ่งเป็น 7 กลุ่ม โดยมีแบรนด์ระดับ Luxury คือ ASHTON แบรนด์ระดับ High-End คือ Ideo และแบรนด์ระดับ Premium value คือ Venio สุขุมวิท 10 เป็นต้น
เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา มีโครงการที่สร้างเสร็จและเริ่มโอนทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่ แอชตัน อโศก-พระราม 9 ,ไอดีโอ คิว วิคตอรี่ ,ไอดีโอ คิว สุขุมวิท 36 ,ไอดีโอ โมบิ สุขุมวิท อีสต์พอยท์ ,ไอดีโอ รัชดา-สุทธิสาร ,เอลลิโอ เดล เนสท์ และเอลลิโอ สาทร-วุฒากาศ
ขณะที่แบรด์ที่อยู่อาศัยโครงการแนวราบ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ แบรนด์ระดับ Luxury คือ ARTALE ,แบรนด์ระดับ High-End คือ AIRI ARDEN และแบรนด์ระดับ MID-SCALE คือ URBANIO ,ATOLL และ UNIO TOWN
เหล่านี้เป็นข้อมูลธุรกิจของอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ ‘อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ฯ’ ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการแลผู้ถือหุ้นใหญ่ในโครงการ ‘แอชตัน อโศก’ ที่กำลังมีคดีพิพาทอยู่ในศาลปกครองขณะนี้
อ่านประกอบ :
ชี้เป้าโยธา กทม.- รฟม.! 'ศรีสุวรรณ' ตามเอาผิด ขรก.อนุญาตสร้างคอนโดหรู ‘แอชตัน อโศก’
'ศาลปกครอง' สั่งเพิกถอนใบอนุญาตฯคอนโดหรู ‘แอชตัน อโศก’ 50 ชั้น-'อนันดาฯ'ยื่นอุทธรณ์
เมื่อแอชตัน คอนโด 50 ชั้น อโศก เสร็จแล้ว แต่โอนไม่ได้
แนะชงครม.แก้ปัญหาแอชตันคอนโด! ต่อตระกูล ยันผู้ว่าฯรฟม.ไม่มีอำนาจให้สิทธิ์ทำทางเข้า-ออก
สตง.สอบพบ รฟม. ให้สิทธิเอกชนใช้ปย.ที่ดินทำทางเข้า-ออกคอนโดหรูไม่ขอความเห็นชอบ 'ครม.'
ปูดผู้บริหารฯอุบเงียบผลสอบ! เผยเบื้องหลัง รฟม.ให้สิทธิบ.ใช้ที่ทำทางเข้า-ออกคอนโดหรูไม่ขอครม.
โยนรฟม.แจงเอง!บมจ.อนันดาฯยันทำถูกต้องปมสตง.สอบใช้ปย.ที่ดินเข้า-ออกคอนโดหรูไม่ขอครม.
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/