"...นับตั้งแต่การฉีดวัคซีนวันแรก 28 ก.พ.2564 จนถึงวันที่ 18 ก.ค.2564 ณ เวลา 23.36 น. รวมระยะเวลา 141 วัน หรือเกือบ 5 เดือน ประเทศไทย ฉีดวัคซีนไปแล้ว 14,557,899 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มแรก 11,077,545 โดส วัคซีนเข็มสอง 3,480,354 โดส ชนิดของวัคซีนที่ได้รับการฉีดในประเทศไทยมี 3 ยี่ห้อ แบ่งเป็นการฉีดด้วยซิโนแวค ประมาณ 7.61 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 6.51 ล้านโดส และซิโนฟาร์ม 0.48 ล้านโดส..."
-----------------------------------------------------
28 ก.พ.2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข คือ คนแรกของประเทศไทยที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ประเทศกำลังปรับแผนการรับมือโรคระบาดด้วยวัคซีน
จากนั้น 4 เดือน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ตั้งเป้าปูพรมฉีดวัคซีนให้คนไทย ประกาศให้ 7 มิ.ย.2564 เป็น ‘วาระแห่งชาติ’ หวังให้ประชาชนได้รับวัคซีน 50 ล้านคน หรือ 70% ของประชากรภายในปี 2564
จากวันเริ่มต้นฉีดวัคซีนเข็มแรกจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลที่ประชาชนได้รับทราบส่วนใหญ่ คือ ยอดรวมการฉีดวัคซีนรายวัน – ยอดสะสมภาพรวม แล้วจนถึงปัจจุบันแต่ละจังหวัดได้รับการจัดสรรวัคซีนไปแล้วจำนวนเท่าไร ?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สืบค้นข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขที่ได้เผยแพร่ข้อมูลการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ ซึ่งจัดเก็บข้อมูลโดยระบบ MOPH : Immunization Center (IC) ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ https://dashboard-vaccine.moph.go.th/ มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
นับตั้งแต่การฉีดวัคซีนวันแรก 28 ก.พ.2564 จนถึงวันที่ 18 ก.ค.2564 ณ เวลา 23.36 น. รวมระยะเวลา 141 วัน หรือเกือบ 5 เดือน ประเทศไทย ฉีดวัคซีนไปแล้ว 14,557,899 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มแรก 11,077,545 โดส วัคซีนเข็มสอง 3,480,354 โดส
ชนิดของวัคซีนที่ได้รับการฉีดในประเทศไทยมี 3 ยี่ห้อ แบ่งเป็นการฉีดด้วยซิโนแวค ประมาณ 7.61 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 6.51 ล้านโดส และซิโนฟาร์ม 0.48 ล้านโดส
เมื่อจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ประชาชนทั่วไปได้รับวัคซีน ประมาณ 7.1 ล้านคน ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้น ประมาณ 2.5 ล้านคน บุคลากรทางการแพทย์ ประมาณ 2.2 ล้านคน ผู้มีโรคประจำตัว ประมาณ 1.5 ล้านคน และเจ้าหน้าที่ด่านหน้า ประมาณ 1.3 ล้านคน
@ 20 จังหวัดที่ฉีดวัคซีนมากที่สุดในไทย
กทม. ได้รับวัคซีนสะสม 4,721,442 โดส คิดเป็น 68.38% ของประชากร , ภูเก็ต ได้รับวัคซีนสะสม 722,643 โดส คิดเป็น 99.57% ของประชากร , สมุทรปราการ ได้รับวัคซีนสะสม 615,372 โดส คิดเป็น 39.11% ของประชากร , นนทบุรี ได้รับวัคซีนสะสม 594,737 โดส คิดเป็น 34.73% ของประชากร , ชลบุรี ได้รับวัคซีนสะสม 434,823 โดส คิดเป็น 20.90% ของประชากร
นครราชสีมา ได้รับวัคซีนสะสม 376,886 โดส คิดเป็น 9.41% ของประชากร , สมุทรสาคร ได้รับวัคซีนสะสม 362,508 โดส คิดเป็น 43.38% ของประชากร , บุรีรัมย์ ได้รับวัคซีนสะสม 361,169 โดส คิดเป็น 15.44% ของประชากร , ปทุมธานี ได้รับวัคซีนสะสม 353,972 โดส คิดเป็น 24.65% ของประชากร , เชียงใหม่ ได้รับวัคซีนสะสม 300,739 โดส คิดเป็น 13.23% ของประชากร
สุราษฎร์ธานี ได้รับวัคซีนสะสม 286,040 โดส คิดเป็น 19.20% ของประชากร , สงขลา ได้รับวัคซีนสะสม 235,611 โดส คิดเป็น 12.96% ของประชากร , ฉะเชิงเทรา ได้รับวัคซีนสะสม 179,204 โดส คิดเป็น 21.74% ของประชากร , ตาก ได้รับวัคซีนสะสม 160,792 โดส คิดเป็น 19.09% ของประชากร , นครศรีธรรมราช ได้รับวัคซีนสะสม 160,187 โดส คิดเป็น 8.07% ของประชากร
เชียงราย ได้รับวัคซีนสะสม 159,812 โดส คิดเป็น 10.79% ของประชากร , นครปฐม ได้รับวัคซีนสะสม 157,099 โดส คิดเป็น 14.22% ของประชากร , ระยอง ได้รับวัคซีนสะสม 150,812 โดส คิดเป็น 15.69% ของประชากร , ขอนแก่น ได้รับวัคซีนสะสม 149,299 โดส คิดเป็น 6.31% ของประชากร และ อุบลราชธานี ได้รับวัคซีนสะสม 142,382 โดส คิดเป็น 5.80% ของประชากร
เมื่อจำแนกเป็นรายภูมิภาค พบว่า กทม.และปริมณฑล ได้รับวัคซีนไปแล้ว 6,805,130 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 5,388,581 โดส และ เข็มสอง 1,416,549 โดส โดยจังหวัดที่ได้รับวัคซีนมากที่สุด คือ กทม. สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ตามลำดับ
ภาคกลาง 16 จังหวัด ได้รับวัคซีน รวม 956,115 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 718,158 โดส เข็มสอง 237,957 โดส จังหวัดที่ได้รับวัคซีนมากที่สุด คือ สระบุรี อยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครนายก นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม ตามลำดับ
7 จังหวัดภาคตะวันออก ได้รับวัคซีนรวม 1,070,080 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 824,715 โดส และเข็มสอง 245,365 โดส จังหวัดที่ได้รับวัคซีนมากที่สุด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ตราด ตามลำดับ
20 จังหวัดภาคอีสาน ได้รับวัคซีนรวม 2,219,219 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 1,634,368 โดส เข็มสอง 584,851 โดส จังหวัดที่ได้รับวัคซีนมากที่สุด ตามลำดับ คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย ร้อยเอ็ด สกลนคร ชัยภูมิ มุกดาหาร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ นครพนม เลย อำนาจเจริญ ยโสธร หนองบัวลำภู บึงกาฬ
ภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้รับวัคซีนรวม 733,844 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 548,861 โดส เข็มสอง 184,983 โดส จังหวัดที่ได้รับวัคซีนมากที่สุด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ แพร่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ตามลำดับ
5 จังหวัดภาคตะวันตก ได้รับวัคซีนรวม 529,350 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 384,979 โดส เข็มสอง 144,371 โดส จังหวัดที่ได้รับวัคซีนมากที่สุด คือ ตาก เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี ตามลำดับ
ภาคใต้ 14 จังหวัด ได้รับวัคซีนรวม 2,244,161 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 1,577,883 โดส เข็มสอง 666,278 โดส จังหวัดที่ได้รับวัคซีนมากที่สุด คือ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช นราธิวาส กระบี่ พังงา ปัตตานี ระนอง ยะลา ตรัง ชุมพร พัทลุง สตูล ตามลำดับ
ทั้งหมดเป็นภาพรวมการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ ที่เริ่มดำเนินการมาแล้วเกือบ 5 เดือน และเหลือเวลาอีก 5 เดือนก่อนถึงสิ้นปี 2564 ยังต้องติดตามดูต่อไปว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าฉีดวัคซีนได้ครบ 100 ล้านโดส หรือ 50 ล้านคน ตามเป้าหมาย 70% ของประชากร ที่ถูกประกาศให้เป็น 'วาระแห่งชาติ' หรือไม่
(ภาพประกอบจาก : freepik)
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/