'อนุทิน' ชง 8 มาตรการคลาย 'ล็อกดาวน์' สถานการณ์โควิด-19 ผ่อนปรนบางจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ เปิดสถานที่-กิจกรรมตามระดับความเสี่ยง ควบคู่กับการเพิ่มความเข้มข้นทางสาธารณสุข เริ่มต้น พ.ค. 63
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2563 สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จัดทำข้อเสนอ “การจัดการปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: การเปลี่ยนผ่านจากมาตรการ “กึ่งล็อกดาวน์” เข้าสู่มาตรการ “สร้างเสถียรภาพ” เพื่อเสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยข้อเสนอดังกล่าว ระบุว่า สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับ โดยจังหวัดต่าง ๆ มีสถานการณ์และบริบทแตกต่างกัน จากข้อมูลวันที่ 14 เมษายน (ภาคผนวก 1) มี 32 จังหวัด ที่ไม่พบผู้ป่วยในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา 38 จังหวัด มีผู้ป่วยประปรายในระยะสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และ 7 จังหวัด มีผู้ป่วยในพื้นที่ต่อเนื่อง
มาตรการที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบันมีส่วนสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีสถานการณ์รุนแรง อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการนี้โดยครอบคลุมทุกจังหวัดทั้งประเทศ มีต้นทุนสูงทางเศรษฐกิจและสังคม หากนามาใช้นานเกินความจาเป็นจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อประชากรที่มีรายได้น้อย มีหนี้สินครัวเรือนสูง สร้างความกดดันทางจิตใจ และอาจกระทบกับเสถียรภาพของครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม รัฐบาลจำเป็นต้องใช้งบประมาณสูงมาก ในการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ และหลายประเทศที่กำลังใช้มาตรการล็อกดาวน์ เริ่มหาแนวทางการควบคุมโรคที่ได้ผลระดับหนึ่ง ที่จะรักษาระดับจำนวนผู้ป่วยไม่ให้มากจนเกินไป และในขณะเดียวกันก็สามารถผ่อนคลายมาตรการภาคบังคับเหล่านี้ลง ด้วยความเข้าใจว่าเราจะยังไม่สามารถกำจัดโรคให้หมดไปโดยส้ินเชิงได้ เรายังต้องประคับประคองสถานการณ์ต่อไป จนกว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรคมาใช้อย่างเพียงพอ
ข้อเสนอดังกล่าว ประเมินไว้ 2 ทางเลือก
1.เพิ่มความเข้มข้น และ ผ่อนคลายมาตรการ แต่ทางเลือกนี้อาจไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับพื้นที่ทั้งประเทศ แต่อาจนำมาใช้ในพื้นที่หรือชุมชนเล็ก ๆ ที่มีการติดเชื้อสูง
2.การเริ่มกลับมาเปิดสถานที่และกิจการที่ได้ปิดไปแล้วอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมโรคให้แพร่ระบาดในระดับที่ต่ำที่สุด เพื่อให้ผู้คนสามารถกลับไปทางาน เรียนหนังสือ มีรายได้ และสังคมไม่หยุดนิ่ง สามารถดำรงชีวิตบนหลักทางสายกลางและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมุ่งเน้นที่ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยอาศัยความรู้และคุณธรรม
สำหรับแนวทางการดำเนินการมี 8 ด้าน ดังนี้
1. เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการทางสาธารณสุขและการแพทย์ ประกอบด้วยการเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการทางสาธารณสุขให้ทุกจังหวัดมีห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจหาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างรวดเร็ว การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในประชากรกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม การแยกผู้ป่วย การรักษาผู้ป่วย การติดตาม ผู้สัมผัสอย่างรวดเร็ว มีสถานที่รองรับผู้สัมผัสและผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเพียงพอ สะดวก ได้มาตรฐานในทุกจังหวัด
2. การพิจารณาเริ่มผ่อนปรนมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ตามระดับความเสี่ยงของแต่ละจังหวัด ควรมีการเตรียมความพร้อมและคงระดับความเข้มข้นของมาตรการที่สาคัญอื่นๆ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และอาจเริ่มดำเนินการผ่อนปรนมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ในจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยไม่น้อยกว่าสองสัปดาห์และมีความพร้อม ส่วนจังหวัดที่พบมีการแพร่ระบาดของโรคในวงจำกัดอาจพิจารณาเริ่มดำเนินการประมาณกลางเดือนพฤษภาคมหรือเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ส่วนจังหวัดที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องจะต้องดำเนินการป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้นจนสถานการณ์ การแพร่ระบาดดีขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนจึงจะสามารถเปิดสถานที่และกิจการตามลำดับขั้นตอนต่อไป
3. การใช้กลไกของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร เป็นกลไกในการบริหารจัดการปัญหาภายในจังหวัด ทั้งกระบวนการออกข้อกำหนด การสั่งการ และการประสาน การทางานระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ โดยจังหวัดควรเพิ่มจำนวนหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคให้เพียงพอ สามารถสอบสวนควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว
4. คงระดับของการปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ควรจัดให้มีทีมตระหนักรู้ สถานการณ์ดำเนินการติดตามเฝ้าระวัง ประเมินสถานการณ์ พยากรณ์สถานการณ์ ทีมยุทธศาสตร์จัดเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ และจัดทำแผนเผชิญเหตุ ทีมสารองเวชภัณฑ์ฯ จัดเตรียมสารองเวชภัณฑ์ ทรัพยากร และกำลังคนอย่างเหมาะสม
5. สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชน ครอบครัว หน่วยงาน องค์กร ชุมชน และสังคม มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม รู้วิธีปฏิบัติตัวทั้งในยามที่ยังไม่ติดเชื้อ และรู้วิธีปฏิบัติตัวหากติดเชื้อ สามารถดูแลครอบครัวให้ปลอดโรคได้
6. การส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุข และชุมชนมีส่วนร่มกับการป้องกันควบคุมโรคอย่างใกล้ชิด ด้วยการสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้นาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการป้องกันควบคุมที่ได้
7. เปิดสถานที่และกิจการตามระดับความเสี่ยง โดยจะจัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงของสถานที่และกิจการที่ได้ปิดไปแล้วโดยหน่วยงานภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม
8. การคงมาตรการเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคล (social distancing) ต่อไป เพื่อลดความแออัดของที่ทำงานและพื้นที่สาธารณะ โดยการสนับสนุนให้ทำงานจากบ้าน (work from home) ให้มากที่สุด การเหลื่อมเวลาทำงาน การเพิ่มเที่ยวการเดินรถสาธารณะ งดการจัดการประชุม งดการจัดการชุมนุม งดงานสังคม หรืองานอีเวนต์ ขนาดใหญ่ที่จะก่อให้เกิดการวมตัวของผู้คนเป็นจานวนมาก
ข้อเสนอดังกล่าวยังเสนอแนะว่าศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และรัฐบาลสามารถให้นโยบายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดทุกจังหวัดเพื่อเตรียมการและจัดทำแผนการผ่อนคลาย มาตรการ บังคับปิดกิจการและสถานที่เสี่ยงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
โดยกระบวนการเตรียมการและจัดทำแผน ควรเป็นกระบวนการที่ภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ภาควิชาการ ภาคเอกชน ผู้ได้รับผลกระทบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้ได้แผนที่สามารถนาไปปฏิบัติได้อย่างปลอดภัยไปใช้ต่อไป (อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.dailynews.co.th/regional/771163)
หมายเหตุ : ภาพประกอบนายอนุทินจาก https://storage.thaipost.net/
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage