WHO เตือนโควิดยังไม่จบ เหตุยังตายกันสัปดาห์ละ 1.4-1.5 หมื่นต่อสัปดาห์ ชี้หลายประเทศผ่อนคลายมาตรการตรวจ-ถอดลำดับพันธุกรรมเป็นเรื่องอันตรายมากเพราะจะเสียประสิทธิภาพตรวจสอบวิวัฒนาการของไวรัส หวั่นสายพันธุ์ใหม่อันตรายเกิดขึ้นแล้วตรวจจับยาก
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานสถานการณ์โควิดในต่างประเทศว่าองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ออกมาประกาศเตือนว่าสถานการณ์คิดนั้นยังไม่จบเนื่องจากว่าพบว่ามีผู้เสียชีวิตคิดเป็นจำนวน 14,000-15,000 รายต่อสัปดาห์จากการติดเชื้อโควิด
โดย พญ.มาเรีย แวน เคอร์โคฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของ WHO ได้ระบุว่ามีการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อและระบุถึงปัจจัยของการเพิ่มขึ้นของผู้เสียชีวิต
“เราต้องมองโลกในความเป็นจริง ต้องมองถึงจุดที่เราอยู่ เราไม่ควรอยู่ในจุดที่มีคนตายกันสัปดาห์ละ 14,000 คน ถึง 15,000 คน เราไม่ควร” พญ.เคอร์โคฟกล่าว
พญ.มาเรียกล่าวต่อว่าปัจจัยแรกนั้นก็คือการเพิ่มขึ้นของการแพร่เชื้อนั้นหมายความถึงว่าจำนวนผู้เข้าโรงพยาบลมากขึ้น ซึ่งนี่มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด
“การเพิ่มขึ้นของการแพร่เชื้อนั้นหมายความว่ามีคนนอนโรงพยาบาลมากขึ้น แต่ว่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 สามารถจะทำให้เกิดการป่วยรุนแรงได้อย่างไร เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ และนี่ก็จะเป็นสามปีแห่งความซับซ้อนของโรคระบาด นั่นก็เพราะว่าเราลดทั้งการตรวจหาเชื้อโควิด ลดการถอดลำดับพันธุกรรม ซึ่งนี่จะลดขีดความสามารถของเราในการจะวิเคราะห์สายพันุ์ต่างๆเพราะเราไม่มีข้อมูลใดๆที่เราต้องการเลย” พญ.เคอร์โคฟกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค WHO กล่าวถึงอีกปัจจัยหนึ่งก็คืออัตราการฉีดวัคซีนที่ลดต่ำลงไปทั่วโลก เพราะตอนนี้ประชากรส่วนมากนั้นยังไม่ได้รับแม้กระทั่ววัคซีนโดสหลักเพื่อป้องกันโควิดเลย และนี่ก็จะเป็นปัจจัยผลักดันทำให้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้นไปอีก ซึ่งที่ผ่านมานั้น WHO ได้เน้นย้ำมาเสมอว่าต้องมีการฉีดวัคซีนเพื่อจะรับมือกับโรคที่มาจากการติดเชื้อโควิด
ขณะที่นายเทดรอส อัดฮานม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการ WHO กล่าวว่าพบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นใน 110 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมาจากโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ซึ่งหมายความว่าโรคระบาดนั้นเปลี่ยนไปแต่ว่ามันยังไม่จบ
ผู้อำนวยการ WHO กล่าวต่อไปว่าขีดความสามารถในการติดตามวิวัฒนาการทางพันธุกรรมของโควิดนั้นกำลังอยู่ภายใต้ภายคุกคามเนื่องจากว่าหลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการเฝ้าระวังและมาตรการการถอดลำดับพันธุกรรม ซึ่งนี่หมายความว่าจะเป็นการยากขึ้นมากในการตรวจจับโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่อาจจะเป็นอันตรายมากกว่านี้ได้
นายเทดรอสกล่าวต่อไปโดยเรียกร้องให้ประเทศต่างๆเร่งสร้างภูมิคุ้มกันกับบุคลากรทางการแพทย์และผู้อายุมากกว่า 60 ปีโดยเร็วที่สุด เนื่องจากพบว่าประชากรหลายล้านคนยังไม่ได้รับวัคซีนและมีความเสี่ยงจากการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้นั้นพบว่ามีการแจกวัคซีนโควิดไปแล้ว 1.2 พันล้านโดสทั่วโลก ส่วนอัตราส่วนการฉีดวัคซีนในประเทศยากจนหลายประเทศนั้นยังคงอยู่ที่แค่ 13 เปอร์เซ็นต์
“ถ้าหากประเทศร่ำรวยวางแผนจะฉีดวัคซีนให้กับเด็กที่มีอายุต่ำสุด 6 เดือน และมีแผนจะฉีดวัคซีนในรอบถัดไป ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ได้เลยว่าทำไมถึงแนะนำว่าประเทศยากจนไม่ควรจะฉีดวัคซีนและฉีดบูสเตอร์ให้กับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง” นายเทดรอสกล่าว