ป่วยโควิด 8,559 ราย พบมากสุดใน กทม. 2,399 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 345,027 ราย เสียชีวิตอีก 80 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ 1 ราย ขณะที่เจอคลัสเตอร์ใหม่อีก 7 แห่ง ใน 7 จังหวัด ด้าน กทม. ปรับแผนคุมโควิดเชิงรุก จัดทีมเคลื่อนที่เร็วค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน 200 ทีม
----------------------------------------------
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า รายงานว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) รายงานสถานการณ์ประจำวัน โดยพบผู้ 8,559 ราย เกิดจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 6,044 ราย เกิดจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 2,515 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ 73 ราย และอีก 24 ราย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ รวมผู้ป่วยสะสม 345,027 ราย หายป่วยเพิ่ม 3,687 ราย อยู่ระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล 90,578 ราย โดยในจำนวนนี้มีอาการหนัก 2,895 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 747 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 80 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 2,697 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิต 80 ราย มาจาก กทม. 44 ราย สมุทรปราการ 6 ราย ปทุมธานี และสมุทรสาคร จังหวัดละ 3 ราย ปัตตานี 5 ราย ยะลา 2 ราย สงขลา 1 ราย กำแพงเพชร 2 ราย เชียงราย เพชรบุรี กาญจนบุรี ภูเก็ต นครนายก ชลบุรี พิจิตร สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อยุธยา อ่างทอง อุตรดิตถ์ สมุทรสงคราม และอุดรธานี จังหวัดละ 1 ราย เป็นชาย 37 ราย หญิง 43 ราย มีอายุระหว่าง 30 - 94 ปี
โดยปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค ประกอบด้วย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคหัวใจ โรคอ้วน หลอดเลือดสมอง ติดเตียง โรคปอด มะเร็ง และตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ มาจากในครอบครัว คนอื่นๆ ได้แก่ เพื่อนร่วมงาน เพื่อน ลูกจ้าง ผู้ป่วย อาศัยหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาด เข้าไปในสถานที่แออัดพลุกพล่าน และมีอาชีพเสี่ยง เช่น ค้าขาย และสามล้อ
โดย 10 จังหวัดที่มีอันดับผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่สูงสุด ตามลำดับ ได้แก่ กทม. 2,399 ราย สมุทรสาคร 591 ราย สมุทรปราการ 405 ราย ชลบุรี 399 ราย ปทุมธานี 397 ราย นครปฐม 315 ราย นนทบุรี 313 ราย ปัตตานี 215 ราย ยะลา 201 ราย และสงขลา 188 ราย
ด้านผู้ป่วยรายใหม่ที่เดินทางมาจากจากต่างประเทศ ทั้งหมด 24 ราย แบ่งเป็น ญี่ปุ่น 1 ราย สิงคโปร์ 2 ราย ดูไบ 2 ราย มาเลเซีย 4 ราย กัมพูชา 5 ราย และเมียนมา 10 ราย ซึ่งชาวเมียนมา 7 ราย ลักลอบข้ามพรมแดนผ่านช่องทางธรรมชาติ
ขณะที่ การกระจายวัคซีนในประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 11 ก.ค.2564 พบผู้ที่ได้รับผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เพิ่มเติม จำนวน 87,809 ราย และผู้ได้รับเข็มที่ 2 จำนวน 12,216 ราย รวมสะสมผู้ได้รับวัคซีนแล้ว 12,569,213 ราย แบ่งเป็น ผู้ได้รับเข็มที่ 1 จำนวน 9,301,407 ราย และผู้ได้รับเข็มที่ 2 จำนวน 3,267,806 ราย
@ พบคลัสเตอร์ใหม่ 7 แห่งใน 7 จังหวัด ติดเชื้อรวม 97 ราย
สำหรับการระบาดในต่างจังหวัด พบคลัสเตอร์ใหม่ 7 แห่ง กระจาย 7 จังหวัด ติดเชื้อรวม 97 ราย แบ่งเป็น จังหวัดชลบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ในตลาดสดรัตนากร ติดเชื้อ 29 ราย จังหวัดปทุมธานี พบคลัสเตอร์ใหม่ในบริษัทผลิตอุปกรณ์แก๊ส ติดเชื้อ 13 ราย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบคลัสเตอร์ใหม่ในโรงพยาบาลเอกชน ติดเชื้อ 7 ราย จังหวัดนครศรีธรรมราช พบคลัสเตอร์ในร้านอาหาร ติดเชื้อ 12 ราย จังหวัดกาญจนบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ในตลาดสายหยุด ติดเชื้อ 7 ราย จังหวัดปราจีนบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ในบริษัท อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ติดเชื้อ 22 ราย และจังหวัดตาก พบคลัสเตอร์ใหม่ในบริษัทชิบปิ้ง ติดเชื้อ 7 ราย
@ กทม.จัดทีมเคลื่อนที่เร็ว 200 ทีม เร่งตรวจหาเชื้อในชุมชน
พญ.อภิสมัย กล่าวถึงการสะท้อนสถานการณ์การระบาดในปัจจุบันของรองอธิบดีกรมการแพทย์ว่า ด้วยอัตราการติดเชื้อภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และมีผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง สีแดงที่ต้องการเตียงจำนวนมาก จึงขอขอสงวนเตียงในโรงพยาบาลให้กับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและแดง
เพราะฉะนั้นในระดับชุมชนจะมีการจัดทีมเคลื่อนที่เร็วแบบเบ็ดเสร็จ เรียกว่า CCRT เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนได้อย่างรวดเร็วและลดความแออัด โดยจะมีการรักษาเบื้องต้น และให้ยา สำหรับการค้นหาผู้ป่วยและถูกจำแนกความรุนแรงของอาการเรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว เจ้าหน้าที่จะให้แยกกักตัวในบ้าน (Home Isolation) กรณีที่พบติดเชื้อจำนวนไม่มาก แต่หากพบการติดเชื้อเป็นลักษณะกลุ่มก้อนจะให้แยกกักในโรงพยาบาลสนามชุมชน (Community Isolation)โดยเจ้าหน้าที่จะมีการดูแลและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น จะมีระบบการส่งต่อประสานงานให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย ซึ่งในพื้นที่ กทม. จะจัดทีมเคลื่อนที่เร็วดังกล่าวถึง 200 ทีมด้วยกัน
อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะให้ทีมเคลื่อนที่เร็วนี้ สามารถตรวจคัดกรองได้อย่างครอบคลุม ได้มีการพูดถึง Rapid Antigen Test ขอเรียนให้เข้าใจก่อนว่า การใช้ Rapid Test มีการใช้ในกรณีฉุกเฉินที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว แต่การตรวจลักษณะแบบนี้มีความแม่นยำต่ำ เดิมเราจึงไม่ได้แนะนำให้ใช้ แต่เวลานี้สถานการณ์เร่งด่วน ความต้องการในตรวจหาเชื้อและมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น การจะรอผลตรวจประมาณ 1-2 วันอาจทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ไม่มีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการหารือกันถึงการอนุญาตให้ประชาชนำมาใช้ และมีแนวทางการใช้อย่างไร ขอให้ประชาชนติดตามกันต่อไป
@ จังหวัดภูเก็ตออกประกาศให้คนไทยเดินทางเข้าจังหวัด ใช้มาตรการเดียวกับนักท่องเที่ยว
พญ.อภิสมัย กล่าวถึงการรายงานสถานการณ์จากภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ด้วยว่า จังหวัดภูเก็ตได้มีประกาศว่าขอให้ประชาชนชาวไทยที่จะเดินทางเข้าภูเก็ตใช้มาตรฐานเดียวกับนักท่องเที่ยวคือ ต้องได้รับวัคซีนครบโดส อย่างน้อย 14 วัน เป็นผู้หายป่วยจากโควิดมาแล้วไม่เกิน 90 วัน ได้รับการตรวจหาเชื้อโควิดด้วยวิธี Antigen Test หรือ RT-PCR ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหมอชนะ และยินยอมให้แชร์โลเคชันตลอดเวลาในภูเก็ต แสดงหลักฐานข้างต้นต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อก่อนเข้าภูเก็ต และสังเกตอาการด้วยตนเองตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค หากพบอาการป่วยหรือสงสัยว่ามีอาการป่วยให้พบแพทย์โดยด่วน
@ ทั่วโลกพบผู้ป่วยเพิ่ม 370,549 รวมสะสม 18.76 ล้านราย
ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลกพบผู้ป่วยเพิ่ม 370,549 ราย รวม 1867,623,756 ราย อาการหนัก 78,292 ราย หายป่วย 171,548,218 ราย เสียชีวิต 4,049,071 ราย โดยสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยเพิ่ม 6,642 ราย รวม 34,732,753 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 27 ราย รวม 622,845 ราย อินเดีย พบเพิ่ม 37,676 ราย รวม 30,873,907 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 720 ราย รวม 408,792 ราย บราซิล พบเพิ่ม 20,937 ราย รวม 189,089,940 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 597 ราย รวม 533,546 ราย ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 60 ของโลก
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage