… ‘โลกหลังโควิด-19’ จะเป็นโลกที่มีการพลิกโฉมครั้งใหญ่ เป็นการปรับเปลี่ยนทั้งเชิงโครงสร้างและพฤติกรรมแบบ ‘ภาคบังคับ’ ก่อให้เกิดโลกที่ผู้คนต้องอิงอาศัยกันมากขึ้น การกระทาของบุคคลหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย จนอาจกล่าวได้ว่า ‘จากนี้ไป ผู้คนในโลก สุขก็จะสุขด้วยกัน ทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน’…
ไม่ว่าหลังโควิด-19 เราจะกลับไปใช้ชีวิตอยู่ใน ‘โลกใบเดิม’ หรือ ‘โลกใบใหม่’ การเตรียมความพร้อม มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน ใช้ปัญญา มีเหตุผล รู้จักความพอดี ความพอประมาณ ความลงตัว คุณลักษณะเหล่านี้เมื่อประกอบกันเพียงพอที่จะนำพาพวกเรา ครอบครัวของเรา องค์กรของเรา ประเทศของเรา และโลกของเราฝ่าฟันอุปสรรค ก้าวข้ามวิกฤต และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขอย่างแน่นอน
ที่สำคัญ คุณลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น หาใช่สิ่งแปลกใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับวิกฤตในโลกปัจจุบัน แต่ ปัญญา ภูมิคุ้มกัน ความพอดี ความพอประมาณ และความลงตัว เป็นหัวใจสำคัญที่อยู่ใน ‘ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง’ ที่ในหลวงล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ของเราทรงคิดค้นขึ้นมากว่าสามทศวรรษแล้ว
ดังนั้น ขอเพียงแต่พวกเราตั้งสติ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ใช้ปัญญาทาความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และน้อมนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะก่อเกิดชีวิตที่เป็นปกติสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสวิกฤตอันเชี่ยวกรากในโลกที่พวกเราต้องเผชิญอยู่เฉกเช่นในปัจจุบัน
หนึ่งโลก หนึ่งชะตากรรมร่วม (One World, One Destiny)
พวกเรากาลังเผชิญกับ ‘วิกฤตซ้ำซาก’ ที่เกิดขึ้นระลอกแล้วระลอกเล่า ตั้งแต่ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ ที่เริ่มต้นที่ประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1997 มาจนถึง การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี ค.ศ. 2019 บางวิกฤตเป็น ‘วิกฤตเชิงซ้อน’ ที่หลายวิกฤตได้กระหน่ำซ้ำเติมในเวลาเดียวกัน อย่างในกรณีของประเทศไทยที่ประสบปัญหาโรคโควิด-19 แล้วยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง และการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิดที่กาลังจะเกิดขึ้นตามมา
โมเดลการขับเคลื่อนประเทศไทยในโลกหลังโควิด
BCG Economy Model เป็นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยนำจุดแข็งของประเทศไทยอันประกอบด้วย ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ (Bio-Diversity) และ ‘ความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ (Cultural Diversity) มาต่อยอดและยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการ ครอบคลุม 4 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ประกอบไปด้วย 1) เกษตรและอาหาร 2) สุขภาพและการแพทย์ 3) พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ และ 4) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ครอบคลุม 5 ใน 10 อุตสาหกรรม S-Curve โดยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 3.4 ล้านล้านบาท และมีกาลังแรงงานอยู่ในระบบกว่า 16.5 ล้านคน ซึ่งหากมีนโยบายและการบริหารจัดการที่เหมาะสมประมาณการว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า กลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้ BCG Economy Model นี้ จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไปได้ถึง 4.4 ล้านล้านบาท และจ้างงานได้กว่า 20 ล้านคน
BCG Economy Model นั้น นอกจากจะมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งจากภายในผ่านการกระจายโอกาสและความมั่งคั่งแล้ว ยังเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจภูมิภาค เข้ากับเศรษฐกิจโลกด้วย ที่สำคัญ BCG ยังเป็นโมเดลที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยครอบคลุม 10 ใน 17 เป้าหมายของ SDGs มิเพียงเท่านั้น BCG ยังเป็นโมเดลที่สนับสนุนหลักคิด ‘เดินหน้าไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ โดยเป็นการสานพลังทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในลักษณะ ‘จตุรภาคี’ (Quadruple Helix) ระหว่าง ชุมชน ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย / สถาบันวิจัย / หน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายต่างประเทศ
ในการปลักดันสู่การปฏิบัติ BCG Economy Model จะประกอบด้วย 4 ตัวขับเคลื่อน (BCG Drivers) และ 4 ตัวส่งเสริม (BCG Enablers) โดย 4 ตัวขับเคลื่อนประกอบไปด้วย 1) การพัฒนาสาขายุทธศาสตร์ 2) การพัฒนาเชิงพื้นที่ 3) การพัฒนาธุรกิจและผู้ประกอบการ และ 4) การพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า
ส่วน 4 ตัวส่งเสริมประกอบไปด้วย 1) การปลดล๊อคข้อจากัดทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ 2) การสร้างความสามารถของกำลังคน 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวก และ 4) การยกระดับเครือข่ายพันธมิตรระหว่างประเทศ โดยการขับเคลื่อนทั้งหมดนี้ ตั้งอยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมโยงและยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของ BCG
BCG Economy Model ก่อให้เกิดการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมให้กับทุกภาคส่วน (Inclusive Growth) โดยมุ่งเน้นการยกระดับผลิตภาพในระดับฐานรากของพีระมิด ไปจนถึงการสร้างนวัตกรรมในระดับยอดของพีระมิด อาทิ
-เกษตรและอาหาร : การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาพันธุ์ เกษตรแม่นยำ ไปจนถึงอาหารสุขภาพมูลค่าสูง
-สุขภาพและการแพทย์ : การพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ยา ชีววัตถุ สมุนไพร ไปจนถึงโอมิกส์ (OMICs) การแพทย์สมัยใหม่ และการแพทย์แม่นยำ
-พลังงาน และวัสดุชีวภาพ : การพัฒนาชีวมวล วัสดุทางการเกษตร เชื้อเพลิงชีวภาพ ไปจนถึง วัสดุชีวภาพ หรือสารมูลค่าสูง
-ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ ไปจนถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
นอกจากการขับเคลื่อนในเชิงสาขายุทธศาสตร์แล้ว BCG Economy Model ยังครอบคลุมแนวทางการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ (Area-based BCG) ซึ่งอาศัยความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายของวัฒนธรรมที่มีในแต่ละภูมิภาคของประเทศมาเป็นจุดแข็งในการขับเคลื่อน เปิดโอกาสให้แต่ละพื้นที่สามารถพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเองและรวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง ตามหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การขับเคลื่อน BCG ในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย ประกอบด้วย
ภาคเหนือ : มุ่งเน้นในเรื่องของการยกระดับข้าวด้วยนวัตกรรม ระบบเกษตรปลอดภัยมาตรฐานส่งออก ท่องเที่ยวสุขภาพเชื่อมโยงวัฒนธรรม หรือการนำวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ เช่น วัฒนธรรมล้านนา มาสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ พัฒนาสินค้าและบริการ
ภาคอีสาน : มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาโปรตีนทางเลือกจากแมลง ระบบแก้ไขปัญหาและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ การพัฒนาระบบบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็ก และการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตวัฒนธรรม และความเชื่อริมฝั่งโขง
ภาคตะวันออก : มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาผลผลิตทางด้านการเกษตรโดยเฉพาะกลุ่มไม้ผล การพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมถึงการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
ภาคกลาง : มุ่งเน้นการพัฒนาในเรื่องการจัดการขยะ นวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย หรือพัฒนานวัตกรรม ต่อยอดกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
ภาคใต้ : มุ่งเน้นการพัฒนาในเรื่องนวัตกรรมอาหารฮาลาล ท่องเที่ยวมูลค่าสูงใน 3 จังหวัดภาคใต้ นวัตกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจกรรมสร้างสรรค์เชิงพหุวัฒนธรรม
ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาจากการมุ่งสู่ความมันสมัย เป็นการมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยการน้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โลกที่เราอยู่ก็จะเปลี่ยนไป จาก ‘โลกก่อนโควิด-19 ที่ไม่พึงประสงค์’ สู่ ‘โลกหลังโควิด-19 ที่พึงประสงค์’
‘โลกหลังโควิด-19 ที่พึงประสงค์’ จะเป็นโลกที่สัมพันธภาพของผู้คนได้แผ่ขยายออกไปจาก ‘Many2Many’ สู่ ‘Mind2Mind’ เป็นโลกที่เน้น ‘กัลยาณมิตร’ มิใช่เพียงแค่ ‘พันธมิตร’ เป็นโลกที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของผู้คนจาก ‘ต่างคนต่างปิด’ ไปสู่ ‘ต่างคนต่างเปิด’ เป็นโลกที่ก้าวผ่านความคิดของ ‘การแข่งขัน’ ไปสู่ ‘การร่วมรังสรรค์’ ที่สำคัญเป็น ‘การร่วมรังสรรค์ทางสังคม’ ควบคู่ไปกับ ‘การร่วมรังสรรค์ในเศรษฐกิจ’ เป็นโลกที่ภูมิปัญญามนุษย์ได้พัฒนาก้าวข้ามปริมณฑลของ ‘ทรัพย์สินทางปัญญา’ สู่ ‘ภูมิปัญญามหาชน’ เป็นโลกที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์จาก ‘การพึ่งพิง’ ไปสู่ ‘ความเป็นอิสระ’ และ ‘การพึ่งพาอาศัยกัน’
เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ณ ขณะนี้ ผู้คนกาลังช่วยกันทบทวน แก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่องของโลกในอดีต เพื่อนาพาไปสู่โลกใหม่ที่ดีกว่าเดิม เป็นโลกใหม่ที่ไม่ได้เพียงอุดมไปด้วยความรู้เท่านั้น แต่อุดมไปด้วยปัญญาอย่างแท้จริง
คำตอบมีอยู่แล้วใน ‘ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง’
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage