เพราะความเป็นเกษตรกรชาวนาชาวไร่สมัยใหม่ ไม่มีใครทำอาชีพเดียว ไม่มีนาสวนแปลงเดียวแล้ว มีผู้คนทำกินกันอย่างเป็นสุข พอเพียงบนผืนดินเดียว ที่ซับซ้อนกว่านั้นคือ ครอบครัวขยายมีสมาชิกหลายคนหลาย แต่ยังอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันก็กลายเป็นเกษตรกร แต่ในสภาพความเป็นจริงแยกครอบครัวไปตั้งร้านค้าต่างหากแล้ว
รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยด้านการเมืองภาคประชาชน โพสต์ลงเฟชบุค กรณีวันที่ 20 เมษายน ที่กระทรวงการคลังจะเปิดรับการอุทธรณ์ปัญหาลงทะเบียนเงินเยียวยา เดือนละ 5,000 บาท มีข้อควรพิจารณาดังนี้
1.ปัญหาเรื่องความเป็น "เกษตร" ต้องเข้าใจว่าการลงทะเบียนเกษตรกรระบุให้คนใดคนหนึ่งเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตร และผู้นั้นจะเป็นผู้รับสิทธิจากโครงการช่วยเหลือของรัฐแต่เพียงผู้เดียว
1.1 ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากในการลงทะเบียนให้ระบุ "ผู้ช่วยทำการเกษตร" และผู้ลงทะเบียนมักแจ้งสมาชิกครอบครับในทะเบียนบ้านเป็นผู้ช่วยทำการเกษตร
1.2 สมาชิกครัวเรือนผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ช่วยทำเกษตรดังกล่าวนี้ ที่ถูก AI นับหัวเป็น "เกษตรกร" และคัดออกจากการประโยชน์จากโครงการนี้และบอกให้ไปรับเงินช่วยเหลือการเยียวยาเกษตรกรที่กำลังดำเนินการ แต่ขอให้เข้าใจตรงกันว่า บุคคลดังกล่าวนี้จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ เพราะผู้ลงทะเบียนหลักคนเดียวของครอบครัวจะเป็นผู้รับสิทธิ์
1.3 อาจจะมีข้อถกเถียงว่า ครัวเรือนเกษตรกรก็ควรรับประโยชน์คนเดียวก็พอแล้วจากเงินเยียวยาเกษตรกรที่กำลังจะได้ แต่ปัญหาก็คือ มีสมาชิกครัวเรือนเกษตรกรจำนวนมากที่เข้ามาทำหากินในอาชีพอื่นๆ กันมายาวนาน (ดังพบจากความเป็นจริงคือ แท็กซี่ คนทำร้านเสริมสวย ค้าขาย ฯลฯ) ที่ลงทะเบียนแต่ได้รับแจ้งว่า เป็นเกษตรกร
เพราะความเป็นเกษตรกรชาวนาชาวไร่สมัยใหม่ ไม่มีใครทำอาชีพเดียว ไม่มีนาสวนแปลงเดียวแล้ว มีผู้คนทำกินกันอย่างเป็นสุข พอเพียงบนผืนดินเดียว
ที่ซับซ้อนกว่านั้นคือ ครอบครัวขยายมีสมาชิกหลายคนหลาย แต่ยังอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันก็กลายเป็นเกษตรกร แต่ในสภาพความเป็นจริงแยกครอบครัวไปตั้งร้านค้าต่างหากแล้ว (กรณี ส.อบต.ท่านหนึ่งที่ ต.ลานตากฟ้า สามารถพาไปดูเป็นตัวอย่างได้)
1.4 คนหาเช้ากินค่ำ ค้าขายเล็กๆน้อยๆ ที่อยู่ในเมือง ส่วนหนึ่งก็อพยพทั้งชั่วคราวและถาวรเข้ามาอยู่หรือเช่าห้องพักราคาถูกในชุมชนแออัด ฯลฯ คนเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็กลายเป็นเกษตรกรไปด้วย
2.ผู้ที่ถูกคัดออกเนื่องจากเกณฑ์ "ลักษณะการประกอบอาชีพของท่านยังสามารถดำเนินต่อไปได้" การดีดออกด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ยิ่งมีปัญหามากเนื่องจาก
2.1 ความคลุมเครือว่า เกณฑ์ดังกล่าวนี้คืออะไร ตัวอย่างที่พบชัดเจนก็คือ คนจนเมืองกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ รับจ้างรายวัน (ทำงานบ้าน ดูแลคนแก่/เด็ก ฯลฯ) และค้าขายรายย่อย หาบเร่แผงลอย ค้าขายริมทางเท้า ฯลฯ ผู้คนเหล่านี้คือ ผู้ที่ได้รับแจ้งว่า "พวกคุณยังทำมาหากินได้ต่อไป" หรือถูกประเมินว่าไม่ได้รับผลกระทบจากการทำมาหากิน
2.2 ผู้คนที่อยู่ในชนบท แม่ค้าพ่อค้าที่ดำเนินกิจการค้าขายรายย่อย ก็ถูกดีดออกด้วยเกณฑ์ดังกล่าวนี้เช่นกัน ตัวอย่างสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งหนึ่ง สมาชิกหลายคนแยกค้าขายอยู่ในตลาดหลายแห่งแต่ถูกปิดทั้งหมด เช่น ตลาดคลองลัดมะยม ตลาดวันอังคาร-ศุกร์ จุฬาฯ ตลาดบ้านรังนก ตลาดวันศุกร์มหาวิทยาลัยมหิดล และตลาดที่หน่วยงานราชการอีกหลายแห่ง ฯลฯ ตลาดเหล่านี้ปิดหมดไม่สามรถค้าขายได้ แต่ AI ก็แจ้งว่า ยังหากินต่อไปได้
3.กระทวงการคลังและผู้รับผิดชอบต้องไม่แสดงแค่ท่าทีความเอาจริงเอาจังว่า จะให้ตรวจสอบและจะลงพื้นที่จริง หากแต่ควร แสดงให้เห็นว่า
3.1 เกณฑ์การปรเมินผลกระทบความเดือดร้อนกรณีค้าขายไม่ได้คือ อะไร ซึ่งจะว่า ไปแทบจะไม่ต้องประเมินก็พอจะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะมีข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่เพียงพอจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
3.2 ประกาศของกระทรวงการคลังมีเจตนาที่ดีว่า จะมีการตรวจสอบโดยลงพื้นที่ตรง แต่อาจจะยังมีคำถามว่า จะสามารถมีกำลังเจ้าหน้าที่เดินไปพบผู้คนเหล่านี้ที่ไหน อย่างไร ฯลฯ
และมีบางประเด็นเพิ่มเติมจากการสำรวจ
1.เมื่อพิจารณาลงในรายละเอียดในมิติผลกระทบด้านรายได้ พบว่า กลุ่มผู้รับจ้างรายวัน (รับจ้างทำงานบ้าน ดูแลเด็ก/เป็นเพื่อนคนแก่ รับจ้างนวดตามร้าน ฯลฯ) ซึ่งมีรายได้วันละราว 200-300 บาท รายได้เฉลี่ยและผลสำรวจ พบว่า มีรายได้เฉลี่ยราวเดือนละ 8,120 บาท คนกลุ่มนี้รายได้ลดลง ร้อยละ 77.7 และรายได้เฉลี่ยหลังวิกฤติเหลือเพียงราวเดือนละ 1,811 บาท กลุ่มคนหาเช้ากินค่ำเหล่านี้อยู่ชายขอบ ไม่มีตัวตนในระบบจ้างงาน เหลือรายได้เฉลี่ยต่ำมาก ไม่มีเงินออม ฯลฯ
2.คนจนเมืองอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบสูงมากก็คือ กลุ่มผู้ค้าขายรถเข็น หาบเร่แผงลอย ผู้ค้าริมทาง ฯลฯ พบว่า รายได้ลดลง ร้อยละ 83.0 กลุ่มนี้มีรายได้เฉลี่ยก่อนวิกฤติโควิด-19 ราวเดือนละ 17,952 บาท ผลกระทบจากวิกฤติทำให้เหลือรายได้เฉลี่ยเพียงราวเดือนละ 3,051 บาท
3.คนจนเมืองทั้งสองกลุ่มเข้าไม่ถึงเงินเยียวยาของรัฐ ดังผลการลงทะเบียนที่ได้รับแจ้งมาแล้ว มักพบข้อความว่า "ยังสามารถทำมาหากินได้" เพราะไม่มีความชัดเจนว่าการทำมาหากินได้รับผลกระทบอย่างไร
"AI ไม่ฉลาดพอที่จะมองเห็นว่า เมื่อปิดเมืองและผู้คนอยู่บ้านเขาก็ไม่จ้างงานให้ไปดูแลเด็ก คนแก่ ทำงานบ้าน ฯลฯ และมองไม่เห็นว่า พื้นที่การทำมาหากินหดหายไปอย่างไร ไม่มีจินตนาการเห็นชีวิตการดิ้นรนทำมาหากินของผู้คนเหล่านี้"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เปลี่ยนวิธีแจก5,000! เป็น'คัดคนออก' นักวิจัย6สถาบันเสนอแก้ปัญหา'คนจน'ไม่ได้รับเยียวยา