"...การลดเกราะ หรือระดับความปลอดภัย ในปัจจุบัน เร็วไปก็อันตราย ช้าไปก็สูญเสียเยอะ ข้อมูลโรคนี้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต่างประเทศยังเอาไม่อยู่ ทั่วโลกยังระบาดหนักไม่ง่ายเลย..."
แม้ยอดจะพ้นน้ำให้เห็นเพียงนิดเดียว ไม่อาจรีบดีใจ เพราะภายใต้ อาจยังมีน้ำแข็งขนาดใหญ่รอวันปรากฎ..ที่ต้องใช้ เทคโนโลยีแสวงหาที่ถูกวิธี(ชนิดของแลบ) ถูกกลุ่ม(ติดตามกลุ่มคนสัมผัสจูงใจให้มาตรวจ) เข้าถึงง่าย(แลบมากพอและ คนอยากตรวจ) และฟรีค่าตรวจ (ลดเงื่อนไข PUI)เพื่อหากลุ่มแพร่เชื้อที่ไม่มีไข้ที่เดินอยู่นอก รพ.เอามากักกัน เพราะกลุ่มนี้แม้เพียงหนึ่งคนจะทำให้เกิดการระบาดใหม่ได้ อย่าประมาทฆาตกรจิ๋วที่มองไม่เห็น
การลดเกราะ หรือระดับความปลอดภัย ในปัจจุบัน เร็วไปก็อันตราย ช้าไปก็สูญเสียเยอะ ข้อมูลโรคนี้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต่างประเทศยังเอาไม่อยู่ ทั่วโลกยังระบาดหนักไม่ง่ายเลย
จึงนับเป็นการตัดสินใจก้าวต่อไปที่ท้าทายของรัฐบาล..
เพราะหากลดเกราะไวไป แล้วกลับมาระบาดรุนแรงใหม่ รัฐจะสูญเสียความเชื่อถือ ถ้ามากจนวงการแพทย์อาจรับมือไม่ไหว หายนะจะมาเยือนได้
ไททานิกที่ว่าแน่..ยังเคยพลาดเพราะไม่เชื่อคำเตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็งที่มองไม่เห็น
สุดท้ายเมื่อโรคนี้ผ่านไป ไม่มีทางที่ชีวิตพวกเราจะเหมือนเดิม แต่จะกลับเป็นมาตรฐานใหม่ (New Normal)
ขอเป็นกำลังใจให้รัฐบาลครับ..
ปล. วันนี้ในอดีต 14 เมษายน พ.ศ. 2455 อาร์เอ็มเอส ไททานิก ชนกับภูเขาน้ำแข็ง ในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกครั้งแรก
พล.อ.ต. นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทย์สภา
ที่มา :https://web.facebook.com/100001524474522/posts/3024232330970886/?d=n&_rdc=1&_rdr