"...การมุ่งเน้นการออกพันธบัตรขายให้ประชาชนรายย่อยชื่ออะไรก็ได้ที่สร้างการรวมพลังใจคนไทยเพื่อสู้ภัยครั้งนี้ด้วยกัน จะทำให้เกิดการกระตุ้นนำเงินออมที่ประชาชนคนไทยมีเก็บไว้นิ่งๆ และบางส่วนเสียหายจากตลาดหุ้นตลาดทุนหรือธุรกิจเอสเอ็มอีหรืออื่นๆ มาช่วยรัฐบาลได้มาก ไม่แน่ระดมดีๆอาจถึง1ล้านล้านบาทก็เป็นได้ครับ และเรื่องนี้ย่อมดีกว่าการออกพันธบัตรขายให้กับธนาคารหรือสถาบันทางการเงินโดยเฉพาะเท่านั้นเพราะ..."
#ประเทศไทยต้องชนะ2ต่อ
รัฐควรออกพันธบัตรให้คนไทยร่วมสู้ภัยโควิด
นอกเหนือจากที่ภาครัฐทุกฝ่ายกำลังเร่งมือในการตัดลดงบประมาณ2563 กันอย่างเต็มที่จะได้10%ที่330,000ล้านหรือ15%ที่500,000ล้านนั้น
ทางออกที่ต้องเดินหน้าเร่งด่วนคือการออกพรกเงินกู้เพื่อแก้ไขสถานการณ์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี ได้ประชุมร่วมกับ ผู้ว่าการแบงค์ชาติ คุณวิรไท สันติประภพ และมีมติว่าที่ประชุม ครม.นัดพิเศษ เห็นชอบการออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) 2 ฉบับ และกระทรวงการคลัง 1 ฉบับ ประกอบด้วย
1.พ.ร.ก.ให้อำนาจแบงค์ชาติปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ต่ำมาก) หรือซอฟต์โลน
2.พ.ร.ก.ให้อำนาจ แบงค์ชาติเข้าไปซื้อตราสารหนี้เอกชน (หุ้นกู้ต่างๆ)
3.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
แต่ความรู้เท่าที่บ้างไม่มากนักขอเสนอว่า
ทางที่ดีรัฐบาลควรอาศัยจังหวะนี้ออกพ.ร.ก.เงินกู้แล้วได้ประโยชน์2ต่อคือ
รัฐบาลได้เงินก้อนใหญ่มาใช้แก้วิกฤติเศรษฐกิจจากพิษโควิดและช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ประชาชนรายย่อยทุกสาขาอาชีพด้วยอีกทางคือ
การมุ่งเน้นการออกพันธบัตรขายให้ประชาชนรายย่อยชื่ออะไรก็ได้ที่สร้างการรวมพลังใจคนไทยเพื่อสู้ภัยครั้งนี้ด้วยกัน จะทำให้เกิดการกระตุ้นนำเงินออมที่ประชาชนคนไทยมีเก็บไว้นิ่งๆ
และบางส่วนเสียหายจากตลาดหุ้นตลาดทุนหรือธุรกิจเอสเอ็มอีหรืออื่นๆ มาช่วยรัฐบาลได้มาก ไม่แน่ระดมดีๆอาจถึง1ล้านล้านบาทก็เป็นได้ครับ และเรื่องนี้ย่อมดีกว่าการออกพันธบัตรขายให้กับธนาคารหรือสถาบันทางการเงินโดยเฉพาะเท่านั้นเพราะ
พ.ร.ก. กู้เงินอาจมีวิธีระดมทุนได้ถึงสามวิธี คือ
1. พันธบัตรรัฐบาล ออกให้กับผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งก็รวมถึงธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนต่าง ๆ เช่นกองทุนประกันสังคม กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯโดยส่วนหนึ่งจะถูกนำไปขายในตลาดรอง เหมือนเป็น IPO พันธบัตร
2. พันธบัตรออมทรัพย์ ออกให้ประชาชนที่สนใจ โดยจะขายผ่านตัวแทน เช่น ธนาคารออมสิน ธปท. ฯลฯ
3. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Permission Note: P/N) ให้ธนาคารพาณิชย์
ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลอาจต้องเสียอัตราดอกเบี้ยของ (2) มากกว่า (1) แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนการออมของประชาชน ก็น่าจะคุ้มค่าครับเพราะแม้อัตราดอกเบี้ยของ (3) จะมากกว่า (2) เพราะว่าผู้กู้ (รัฐบาล) จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการใช้เงินคืนเร็ว เช่น มีเงินภาษีเข้ามาเยอะ ก็สามารถใช้คืนหนี้ได้ก่อน ขณะที่หนี้จากการขายพันธบัตรจะ fix เวลาไว้ตั้งแต่ออกขาย 3ปี 5ปีหรือ7ปี ก็ตาม
ขอเสนอให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งมีหน้าที่หาเงินมาให้รัฐบาลช่วยพิจารณาเสนอทางเลือกว่าจะระดมทุนในรูปแบบไหน ในสัดส่วนเท่าไหร่ ให้รัฐบาลในต้นทุนที่เหมาะสมโดยเฉพาะข้อเสนอที่จะเป็นประโยชน์2ต่อนี้ด้วยครับ
เสนอมาเป็นทางเลือกเพื่อพิจารณาครับ
สมชาย แสวงการ
สมาชิกวุฒิสภา
ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน
สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค
วุฒิสภา
5 เมษายน 2563
@ข่าว
https://www.nationtv.tv/main/content/378768861/?qline=
อ่านประกอบ:
สมชาย แสวงการ: สัปดาห์ชี้ชะตาประเทศไทย
ภาพประกอบจาก สยามรัฐ และ ข่าวหุ้น