"...กลุ่มนี้ในความเห็นของคนตัวเล็ก เสียงไม่ดัง ไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ เห็นว่าควรต้องช่วยเขาเป็นลำดับต้นๆครับ..."
ต่อเนื่องจากสิ่งที่ผมได้ขอนำเสนอข้อมูลไปเมื่อวันที่ วันที่ 19 มีนาคม 2568 เกี่ยวสถานะอันอ่อนแอของภาระหนี้สินที่ผู้คนกำลังแบกเป็นภาระในการเดินทางไปสู่อนาคตที่ยังไม่มีความแน่นอนในปี 2568 (อ่านประกอบ : ว่าด้วยตัวเลขวิกฤต‘หนี้เน่า-หนี้บูด‘กับวิวาทะการแก้หนี้)
เนื่องจากพี่ๆสื่อมวลชนได้ติดต่อเข้ามาขอให้ช่วยเสนอข้อมูลเพิ่มสำหรับเดือนมกราคม 2568 ผมจึงตัดสินใจขอนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ 3 ส่วนนะครับ
1.หนี้เสียหรือหนี้ NPLs จำนวน 1.22 ล้านล้านบาท มีลักษณะการค่อยๆเพิ่มมาต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี2565 อันเป็นช่วงเวลาสิ้นสุดการระบาด Covid-19 แบ่งเป็น
2.7 แสนล้านบาทคือสินเชื่อรถยนต์,
2.8 แสนล้านบาทคือสินเชื่อส่วนบุคคล,
2.4 แสนล้านบาทคือสินเชื่อบ้าน เมื่อเทียบลักษณะเดือนต่อเดือน Month over Month-MoM เติบโตเพียง 0.6%
เราอาจเทียบกับปี 2567ไม่ได้ เพราะใครๆก็ทราบว่า 2ไตรมาสแรกปีที่แล้วมันเต็มไปด้วยปัญหามากมายมีเรื่องงบประมาณมาประกอบด้วย
2.หนี้กำลังจะเสียหรือ SM ก็มาหยุดอยู่ที่ 5.9แสนล้านบาท เติบโต MoM 3.1% ทิศทางดีขึ้น เพราะการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันหรือ DR. ทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ตามกติกาการให้กู้อย่างรับผิดชอบ
3.ตารางที่ผมอยากให้ทุกท่านให้ความสนใจมากๆ ถึงมากที่สุดคือ หนี้เสียที่เกิดจาก covid-19หรือ NPLs รหัส 21
ลูกหนี้กลุ่มนี้เมื่อปี 2562 ก่อนโรคระบาด จ่ายหนี้ได้ทุกบัญชีเป็นเวลาอย่างน้อย 12เดือนติดต่อกันครับ ระดับเกรด A.
แต่ประสบปัญหาหมดแรง หมดลม หมดเงินครับ
กลุ่มนี้มีอยู่ 2.2ล้านลูกหนี้ 2.9 ล้านบัญชี ยอดหนี้คงค้าง 2แสนล้านบาท
กลุ่มนี้ในความเห็นของคนตัวเล็ก เสียงไม่ดัง ไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ เห็นว่าควรต้องช่วยเขาเป็นลำดับต้นๆครับ
เขาสู้เต็มที่แล้ว เขาทำดีมาตลอด ช่วยตรงนี้สำหรับคนที่มียอดภาระหนี้ไม่เกิน 1 แสน 3 แสนจะดีหรือไม่ครับ
เราลองคิดตามนะครับ เป็นแม่ค้าขายเสื้อผ้าในตลาดในเมืองท่องเที่ยว โควิดมาตลาดปิด นักท่องเที่ยวไม่มาเลย สู้ด้วยการขายออนไลน์ เอาเงินเก็บมาสู้ แต่สุดท้ายไม่ไหว
หากหลวงท่านจะได้ยื่นมือมาช่วยตรงนี้ ปรับโครงสร้างหนี้แบบมีส่วนลดจะทำได้หรือไม่ครับ
น่าคิดนะครับว่า เราจะได้ถือโอกาสนี้สะสางคนที่เป็น Long covid ด้านการเงินเลยดีมั้ย
ตัวเลขตามตารางที่แนบนะครับ
กราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่ให้กำลังใจมาในการทำงานแก่ผมและทีมงานข้อมูลของเครดิตบูโรครับ
ที่มา : เฟซบุ๊ก Surapol Opasatien