โทเนกาวะ เป็นชายที่มีลักษณะนิสัยเยือกเย็นสุขุมและมีความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่ยากลำบาก แม้ว่าโทเนกาวะ จะดูเคร่งขรึมและค่อนข้างเย็นชา แต่เขามีความเป็นผู้นำที่มั่นคงและมักจะรักษาความสงบและยึดมั่นในอุดมการณ์ สิ่งนี้ทำให้ลูกน้องรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยในการทำงานร่วมกับเขา
หัวหน้าที่ดีคือคนที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับทีมงาน มีความสามารถในการสื่อสารและเข้าใจความต้องการของสมาชิกในทีมได้ดี รวมทั้งสามารถให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมในเวลาที่จำเป็น และที่สำคัญคือความเป็นธรรมในทุกสถานการณ์ การให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของทีมและสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน
วันนี้ผมจึงขอเสนอตัวละครตัวอย่างหัวหน้าที่น่าจดจำ จากหนังสือการ์ตูนชุด “Mr. Tonegawa: Middle Management Blues” อย่างผู้จัดการระดับกลาง “โทเนกาวะ ยูกิโอะ” ขององค์กรที่ชื่อว่า เทไอ ซึ่งเป็นองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมการพนันที่อันตรายและไร้มนุษยธรรมในเรื่อง
โทเนกาวะ เป็นชายที่มีลักษณะนิสัยเยือกเย็นสุขุมและมีความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่ยากลำบาก แม้ว่าโทเนกาวะ จะดูเคร่งขรึมและค่อนข้างเย็นชา แต่เขามีความเป็นผู้นำที่มั่นคงและมักจะรักษาความสงบและยึดมั่นในอุดมการณ์ สิ่งนี้ทำให้ลูกน้องรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยในการทำงานร่วมกับเขา แม้จะไม่แสดงความรู้สึกในเชิงอบอุ่นก็ตาม เขาเป็นคนที่คอยจัดเกมการพนันที่เดิมพันด้วยชีวิต เบื้องหลังงานที่เขาจัดนั้น มักเต็มไปด้วยเส้นทางที่ยากลำบาก ในการเป็นหัวหน้า แต่เขามักจะใช้ความชาญฉลาด ในการวางแผน และพิชิตใจลูกน้องของเขา ด้วยหลักการในการทำงานดังนี้
1.จดจำชื่อลูกน้อง
ถึงแม้ว่ากฎของบริษัท เทไอ กรุ๊ป จะระบุไว้ว่า พนักงานระดับล่างต้องใส่ชุดสูทสีดำ ทำผมสีดำ ใส่แว่นดำ รองเท้าคัทชูสีดำ เพื่อให้ทุกๆเหมือนๆกัน จนแยกไม่ออก แต่ โทเนกาวะ ใช้เวลาในการประชุมครั้งแรกในการจดจำชื่อลูกน้องของตัวเอง เป็นสัญญาณของความใส่ใจและความเคารพในตัวพนักงาน เพราะการจำชื่อแสดงว่า หัวหน้าเให้ความสำคัญของแต่ละคนในทีมและไม่มองข้ามสมาชิกแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม การเรียกชื่อพนักงานหรือทีมงานจะทำให้พวกลูกน้องรู้สึก มีค่าและมีความสำคัญขึ้นมา นอกจากนี้ การจำชื่อยังช่วยสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเองในทีม ซึ่งทำให้การสื่อสารและการทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย ต่างจากประธานบริษัทที่มักจะเรียกเพียงแค่ว่า "ไอแว่นดำ" "ไอคางเหลี่ยม"
2.รับฟังความเห็นลูกน้อง
ในการเสนอโปรเจคงาน โทเนกาวะ เลือกที่จะไม่ปฏิเสธความคิดเห็นของลูกน้องแม้แต่คนเดียว หรือหากลูกน้องมีข้อแย้งเขาก็พร้อมรับฟังเสมอ แม้มันจะประหลาดเพียงไหน เช่น ในการเสนอสถานที่จัดงานเล่นเกม ที่มีผู้เล่นจำนวนมาก ลูกน้องของเขาเสนอให้ไปจัดที่ร้านซูชิเล็กๆที่ห้ามสูบบุหรี่ แต่โทเนกาว่าก็รับฟังและแย้งด้วยเหตุผล พร้อมทำความเข้าใจลูกน้องเสมอ การรับฟังความเห็นของลูกน้องเป็นคุณสมบัติสำคัญของหัวหน้าที่ดีและเป็นที่รัก เพราะมันแสดงถึงความเคารพในความคิดเห็นและมุมมองของลูกน้อง การรับฟังไม่เพียงแต่ช่วยให้หัวหน้าทราบถึงปัญหาหรือข้อเสนอแนะจากลูกน้อง แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีม ลูกน้องรู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขามีค่าและได้รับการพิจารณาจริงจัง
3.ยอมถอย ยอมรับผิด
แม้แต่คนรอบคอบอย่าง โทเนกาวะ เองก็มีผิดพลาดกันได้ แต่เขาไม่เคยที่จะเขินอาย ในการที่จะกล้ากล่าวขอโทษกับลูกน้องตรงๆ แบบไม่ต้องอ้อมค้อม เพื่อแสดงความรับผิดชอบในตัวเอง การยอมรับผิดเมื่อทำผิดพลาดแสดงถึงความกล้าหาญในการยอมรับข้อผิดพลาดและไม่พยายามหลีกเลี่ยงความผิด การแสดงความรับผิดชอบนี้ทำให้ลูกน้องเห็นว่าหัวหน้าก็เป็นมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้เหมือนกัน หรือในการเสนองานหากมีลูกน้องคนไหนสามารถทำได้ดีกว่าเค้า เค้าก็จะยอมถอยเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด การยอมถอยอาจแสดงถึงการเข้าใจความเห็นของผู้อื่นหรือความยืดหยุ่นในการจัดการปัญหา
4.เคารพในความสามารถของลูกน้อง
ไม่เพียงแค่ตัวเองได้หน้า แต่โทเนกาวะ ยังให้โอกาส เหล่าลูกน้องของเค้าได้ลองทำแทนหน้าที่ของเค้า โทเนกาวะ ให้ความสำคัญกับกาใช้ประโยชน์จากความสามารถของลูกน้องในสถานการณ์ที่เหมาะสม การให้ลูกน้องได้ลองทำหน้าที่หัวหน้าแทนเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ดีในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเติบโตในองค์กร โดยให้พวกเขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการตัดสินใจและจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ
5.กล่าวตักเตือนเมื่อทำผิดพลาด
เมื่อพนักงานทำผิด โทเนกาวะ มันจะคอยตักเตือนด้วยเหตุและผลเสมอ เช่น ในครั้งที่มีลูกน้องของเค้า เริ่มแต่งตัวผิดระเบียบองค์กร โทเนกาวะ ก็กล่าวตักเตือนด้วยเหตุผล ชัดถ้อยชัดคำ และพยายามเข้าใจลูกน้องเสมอ การตักเตือนลูกน้องด้วยเหตุผลนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ลูกน้องเข้าใจถึงข้อผิดพลาดและสามารถปรับปรุงได้ดีขึ้น โดยการอธิบายเหตุผลที่ทำให้การกระทำหรือการตัดสินใจนั้นไม่เหมาะสมและเสนอทางออกหรือการปรับปรุงในอนาคตอีกด้วย
โดยรวมแล้ว แม้ว่าโทเนกาว่าจะมีลักษณะนิสัยที่เคร่งขรึมและค่อนข้างเป็นคนที่ควบคุมสถานการณ์อย่างเงียบๆ แต่ในฐานะผู้นำที่มีความสามารถสูงและมีการคำนึงถึงความสามารถและสวัสดิภาพของลูกน้อง เขาก็สามารถสร้างความรักและเคารพจากลูกน้องได้ ดังนั้นหากมีโอกาสได้เป็นหัวหน้าห็ลองนำวิธีของ ผู้จัดการระดับกลาง “โทเนกาวะ ยูกิโอะ” ไปใช้กันได้นะครับ
ภาพจาก Kodansha Ltd.