"...ตัวเขาคิดว่ากรอบการกำกับดูแลในเรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจน...การตัดสินใจที่เกิดขึ้นบ่งชี้ว่า พวกเขาต้องยึดโยงไปถึงหลักการที่เรารู้สึกว่า มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับเศรษฐกิจ มากกว่าจะพยายามบรรเทาแรงกดดันทางการเมืองหรือแรงกดดันอื่นๆ..."
หมายเหตุ : เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์ในรายการ Street Signs Asia ของสำนักข่าว CNBC เมื่อวันที่ 29 เม.ย.
"แรงกดดันทางการเมืองจะไม่บังคับให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยอย่างอิสระ" ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวกับ CNBC เมื่อวันจันทร์ (29 เม.ย.)
“ต้องลองก่อนถึงจะรู้” เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวในรายการ Street Signs Asia ของ CNBC
แม้จะมีการเรียกร้องให้มีการปรับลดดอกเบี้ย แต่ ธปท. ก็ไม่ได้ดำเนินในเรื่องนี้ โดยนายเศรษฐพุฒิ กล่าวเสริมว่า "ถ้าหากเราไม่ได้ดำเนินการอย่างอิสระ"
"ตัวเขาคิดว่ากรอบการกำกับดูแลในเรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจน...การตัดสินใจที่เกิดขึ้นบ่งชี้ว่า พวกเขาต้องยึดโยงไปถึงหลักการที่เรารู้สึกว่า มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับเศรษฐกิจ มากกว่าจะพยายามบรรเทาแรงกดดันทางการเมืองหรือแรงกดดันอื่นๆ"
ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 2.5% ในการประชุมนโยบายครั้งล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย. แต่ว่าธนาคารกลางกำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากรัฐบาล ให้มีการลดอัตราดอกเบี้ย โดยแรงกดดันที่ว่านี้ รวมถึงแรงกดดันที่มาจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีด้วย
ต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำลง มีแนวโน้มจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเนื่องจากกระตุ้นให้ธุรกิจลงทุน และผู้บริโภคจับจ่ายใช้จ่าย
ในรายงานการประชุมฯเดือน เม.ย. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) “แสดงความกังวลเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น และตระหนักถึงความสําคัญของการชะลอหนี้”
“ยอดคงค้างหนี้ในระดับสูงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหนี้ไม่ส่งผลต่อรายได้ในอนาคตหรือการสะสมความมั่งคั่ง” รายงานการประชุม กนง.ระบุ
เศรษฐพุฒิ ทราบดีว่า มันเป็น "การหาสมดุลที่ยากลําบาก" สําหรับธนาคารกลางที่พยายามจะทั้งเดินหน้าฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและการดำเนินนโยบายการเงิน
“หากคุณมองว่า สาเหตุที่ทําให้การเติบโตทางเศรษฐกิจซบเซา มันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับสิ่งที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยมากนัก” เศรษฐพุฒิกล่าว
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวต่อไปว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันนั้น "สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ" และยังสอดคล้องกับความพยายามที่จะ "ลดหนี้อย่างเป็นระเบียบ" โดยเป็นการปรับสมดุลระหว่างการไม่เพิ่มภาระหนี้ให้กับครัวเรือนมากเกินไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่สนับสนุนให้คนก่อหนี้ใหม่มากเกินไป
มีการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 2.6% ในปี 2567 และ 3.0% ในปี 2568 ตามรายงานการประชุมล่าสุดของ ธปท. โดยได้รับแรงหนุนอย่างต่อเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว
ในขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
"เราเห็นอัตราเงินเฟ้ออีกครั้ง โดยค่อยๆปรับตัวขึ้นและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของเรา ซึ่งอยู่ที่ 1% ถึง 3%" ภายในสิ้นปีนี้ เศรษฐพุฒิกล่าว
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวเสริมว่า อุปสรรคเชิงโครงสร้างทําให้แนวโน้มเศรษฐกิจไม่แน่นอน และมีความจําเป็นต้องเพิ่มผลิตภาพในขณะที่ประเทศเผชิญกับความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ด้วย "กําลังแรงงานที่หดตัว"
ดังนั้น จึงจําเป็นต้อง "ให้ความสําคัญกับการลงทุนภาครัฐมากกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น"
"ผมคิดว่ามันสําคัญมาก ที่ต้องเน้นย้ำในการยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ" รวมถึง "การพิจารณาลดข้อจำกัดทางธุรกิจในประเภทต่างๆ" เศรษฐพุฒิ กล่าว