"...การตั้งคณะกรรมการดังกล่าว เปรียบเป็นการระดมผู้รู้มาร่วมทำ Corruption Risk Assessment & Corruption Risk management ตามแนวนโยบายของรัฐที่หน่วยงานต่างๆ ต้องทำมาหลายปีแล้ว เรื่องนี้สำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมผลักดันมาตลอดด้วยเช่นกัน..."
1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยศึกษา เหตุ/ปัจจัย/แนวทางป้องกันคอร์รัปชัน เพื่อเสนอต่อรัฐบาลในอดีตไปแล้วหลายครั้ง หลายประเด็น ซึ่งเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย
2. ที่ผ่านมา รัฐบาลจะปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. หรือไม่ก็ได้ และแม้ คณะรัฐมนตรึ (ครม.) มีมติรับทราบแล้ว แต่หน่วยราชการอาจปฏิบัติตามหรือมีข้อโต้แย้งก็ได้ มีปรากฏให้เห็นเสมอ
3. การตั้งคณะกรรมการดังกล่าว เปรียบเป็นการระดมผู้รู้มาร่วมทำ Corruption Risk Assessment & Corruption Risk management ตามแนวนโยบายของรัฐที่หน่วยงานต่างๆ ต้องทำมาหลายปีแล้ว เรื่องนี้สำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมผลักดันมาตลอดด้วยเช่นกัน
4. หากรัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินดิจิทัล ต่อไปแล้วมีเหตุคอร์รัปชันเกิดขึ้น ตามที่ ป.ป.ช. ชี้ประเด็นไว้ ผู้เกี่ยวข้องอาจมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ดั่งกรณีโครงการจำนำข้าว
5. การที่ ป.ป.ช. แสดงความเห็นเรื่อง นโยบายหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง ที่บกพร่องไปจากกฎหมาย หรืออาจกลายเป็นช่องโหว่นำไปสู่คอร์รัปชันเชิงนโยบาย ถือเป็นการบูรณาการการทำงานระหว่างองค์กรอิสระฯ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ป. ประกอบรัฐธรรมนูญขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทุกแห่ง
6. ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ จาก คกก. ศึกษาฯ ไม่ว่าด้านบวกหรือลบ หากอยู่ในกรอบการศึกษา ย่อมถูกบันทึกไว้ในรายงานฯ ถือเป็นเรื่องปรกติ
เรื่องนี้ ป.ป.ช. ทำเหมาะสมแล้ว และเป็นความกล้าหาญที่สมควรทำต่อไป ทำให้มากขึ้น ทำทุกโครงการขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยไม่เงียบเฉยหรือเกรงใจใคร
ดร.มานะ นิมิตรมงคล
เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ
8/2/67