"...ปัญหาหนี้สินครูไม่ได้เกิดจากครูเท่านั้น หากแต่เกิดจากนายจ้างและเจ้าหนี้ด้วย ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีอำนาจมากกว่า ถ้าความไม่ถูกต้องยังถูกเก็บเงียบ สาธารณชนไม่ทราบ และไม่มีแรงกดดันแปจากภายนอก ปัญหานี้อาจถูกปิดทับไว้ตราบนิรันดร์ ที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบ แต่เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้กวดขันจริงจังรวมทั้งไม่ได้มีการกำหนดโทษอย่างชัดเจน จึงทำให้ที่ผ่านมาลงเอยแบบทำเป็นทองไม่รู้ร้อน หรือแกล้งไม่เข้าใจบ้าง อย่างไรก็ดี ผลประการหนึ่งของการเปิดเผยข้อมูลสลิปเงินเดือนในครั้งนี้จะทำให้เกิดตรวจสอบจากภายนอกที่จะช่วยกดดันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหันมาช่วยเหลือครู และแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกให้ถูกต้อง ความโปร่งใสจะนำมาซึ่งการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการตัดเงินเดือนให้ถูกต้องและเป็นธรรม จะทำให้ครูทั่วประเทศมีโอกาสได้มีเงินเดือนสุทธิหลังจากหักชำระแก่เจ้าหนี้ทุกรายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน เพื่อใช้จ่ายดำรงชีพอย่างที่ควรจะเป็น..."
ส่วนที่ 3 ครูจะต้องทำอะไรและอย่างไรบ้างเพื่อให้การดำเนินการในครั้งนี้มีความหมาย แตกต่างจากที่ผ่านมา
ทำไมต้องเปิดสลิปเงินเดือน
ต้องเข้าใจก่อนว่าหนี้ครูส่วนใหญ่เป็นหนี้สวัสดิการที่นายจ้างหักเงินเดือนนำส่งให้เจ้าหนี้
ดังนั้น “สลิปเงินเดือน” จึงเป็นหลักฐานทางกฎหมายที่มีความสำคัญยิ่งที่จะบอกว่าการดำเนินการของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องหักเงินเดือนนั้นถูกต้องตามแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบปี 2551 หรือไม่
ท่านอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “การจับ corruption จะต้องมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน” เรื่องหนี้สินครู ก็คล้ายคลึงกัน “สลิปเงินเดือน” จะช่วยสร้างความชัดเจนว่าในขั้นตอนการหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ของครูมีตรงไหนที่การดำเนินการไม่ถูกต้องหรือต้องแก้ไข
ทำไมต้องเปิดเผยข้อมูล? ท่านเคยได้ยินที่คำพูดที่ว่า “แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค” หรือ “ความโปร่งใสจะช่วยทำให้เรื่องต่างๆ ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง “
ปัญหาหนี้สินครูไม่ได้เกิดจากครูเท่านั้น หากแต่เกิดจากนายจ้างและเจ้าหนี้ด้วย ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีอำนาจมากกว่า ถ้าความไม่ถูกต้องยังถูกเก็บเงียบ สาธารณชนไม่ทราบ และไม่มีแรงกดดันแปจากภายนอก ปัญหานี้อาจถูกปิดทับไว้ตราบนิรันดร์ ที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบ แต่เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้กวดขันจริงจังรวมทั้งไม่ได้มีการกำหนดโทษอย่างชัดเจน จึงทำให้ที่ผ่านมาลงเอยแบบทำเป็นทองไม่รู้ร้อน หรือแกล้งไม่เข้าใจบ้าง อย่างไรก็ดี ผลประการหนึ่งของการเปิดเผยข้อมูลสลิปเงินเดือนในครั้งนี้จะทำให้เกิดตรวจสอบจากภายนอกที่จะช่วยกดดันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหันมาช่วยเหลือครู และแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกให้ถูกต้อง ความโปร่งใสจะนำมาซึ่งการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการตัดเงินเดือนให้ถูกต้องและเป็นธรรม จะทำให้ครูทั่วประเทศมีโอกาสได้มีเงินเดือนสุทธิหลังจากหักชำระแก่เจ้าหนี้ทุกรายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน เพื่อใช้จ่ายดำรงชีพอย่างที่ควรจะเป็น
ขั้นตอนและวิธีการง่ายๆ มีดังต่อไปนี้ กล่าวคือ
[1] ท่านสามารถที่จะถ่ายภาพสลิปเงินเดือน หรือเอกสารที่แสดงข้อมูลเงินเดือนล่าสุด ด้วยกล้องในมือถือของท่าน
[2] หลังจากนั้นให้ท่านเข้าไปปรับปรุงภาพ เพื่อปิดชื่อนามสกุล เบอร์บัญชีหรือข้อมูลอื่น ที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล
[3] ทำเครื่องหมายวงให้ชัดเจนว่า เงินเดือนสุทธิที่ตกถึงมือท่านเพื่อที่จะใช้จ่ายในแต่ละเดือนมีจำนวนกี่บาท
ขั้นตอนที่ 3.1 ในกรณีที่เหลือน้อยกว่า 30% ช่วยคำนวณด้วยว่าเหลือกี่เปอร์เซ็นต์ และถ้าคิดเฉลี่ยต่อวัน (หารด้วย 30) จะเหลือวันละกี่บาท
ขั้นตอนที่ 3.2 สำหรับครูที่เจอปัญหา 30%ทิพย์ คือ หลังจากได้รับเงินเดือน 30% แล้วท่านยังต้องนำไปจ่ายเจ้าหนี้อื่น เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารกรุงไทยอีก ช่วยใส่ยอดที่ท่านต้องนำไปจ่ายเพิ่ม และคำนวณว่าสุดท้ายท่านเหลือใช้กี่บาท และเฉลี่ยต่อวันกี่บาท
ขั้นตอนที่ 3.3 สำหรับรายที่ประสบปัญหา เมื่อกระทรวงศึกษาธิการมีการจ่ายเงินเดือนเข้าบัญชีธนาคาร แล้วถูกธนาคารกรุงไทยหักเงินเดือนต่อ ทำให้เงินเดือนตกถึงมือท่านไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย โปรดระบุด้วยว่าธนาคารกรุงไทยหักเงินเดือนในแต่ละเดือนไปจำนวนกี่บาท เหลือสุดท้ายถึงมือท่านเท่าไร และเฉลี่ยต่อวันคือกี่บาท
ความมุ่งหวังที่จะให้ครูมี residual income > 30% ของเงินเดือน ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าธนาคารกรุงไทยไม่เปลี่ยนมาตัดเงินเดือน 70% รวมกับเจ้าหนี้รายอื่น
ในบรรดาสินเชื่อที่ใช้สิทธิหักเงินเดือนข้าราชการ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏถือเป็นสินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดถึง 12.2% ต่อปี ทั้งๆ ที่หนี้เสีย NPL ต่ำมากเพียง 0.2-0.3% เท่านั้นเอง
อีกทั้งยังเป็นสินเชื่อที่เข้าข่ายให้ข้าราชการจ่ายแต่ดอกเบี้ยเท่านั้นในแต่ละเดือนจนอายุ 57 ปี จึงจะเร่งเก็บหนี้คืน ถ้าเปรียบเทียบกับการกู้สินเชื่อเงินก้อนปกติ 3 แสนบาทที่คิดดอกเบี้ย 4% ต่อปี ผ่อนเดือนละ 3,037 บาท 10 ปี ท่านจะหมดหนี้ แต่สินเชื่อธนวัฏ 3 แสนบาท ดอกเบี้ย 12.2% ต่อปี ในแต่ละเดือนท่านจะจ่ายได้แค่ดอกเบี้ย 3,050 บาท โดย 10 ปีผ่านไป ท่านจะยังค้างเงินต้น 3 แสนบาท
[4] นำรูปสลิปเงินเดือนของท่าน ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขแล้ว โพสต์เผยแพร่ในช่องทางของ social media Facebook Instagram Twitter หรือ TikTok อย่างพร้อมเพรียงกัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ในเวลา 9.00 น. เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2565 การดำเนินการในครั้งนี้จะเป็นการขับเคลื่อนมวลชนในรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง ซึ่งปัจจุบันพัฒนาไปสู่ความเป็น digital มากขึ้นในทุกมิติ ครูที่เดือดร้อนไม่จำเป็นที่จะต้องรวมตัวกันและหารถโดยสารเพื่อจะเดินทางเข้ามาที่กระทรวงศึกษาธิการซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงกรุงเทพมหานครเหมือนดังในอดีต แต่ท่านสามารถเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญที่แม้จะเป็นหนี้แต่ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ครูจำเป็นต้องมีเงินเหลือไว้สำหรับดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี และเล่าปัญหาของท่านจากที่ไหนก็ได้ที่ internet เข้าถึงในประเทศนี้โดยไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่าย
[5] ในโพสต์ที่จะลง social media ท่านจะต้องมีข้อความที่ใส่เครื่องหมาย # Hashtag ที่ทางทีมได้คัดเลือกมาทั้งหมด 16 อัน ที่คิดว่าจะช่วยสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจถึงปัญหาที่ครูทั่วประเทศกำลังเผชิญอยู่ ดังต่อไปนี้
#สินเชื่อสวัสดิการประเทศกูมี
#นายกประยุทธ์ช่วยครูด้วย
#30%ทิพย์หรือ30%ปลอม
#30%ที่ต้องเอาไปจ่ายเจ้าหนี้อื่น
#ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
#จ่ายหนี้จนไม่มีกิน
#คำว่าสุทธิคือต้องหักค่างวดที่ทุกเจ้าหนี้เรียกเก็บ
#ไม่เป็นไปตามระเบียบปี51
#สหกรณ์เอาเงินเดือน70%ไปคนเดียว
#คำพิพากษาศาลปกครองกูไม่สน
#มหากาพย์เมื่อครูดูดเลือดครูด้วยกัน(ปลิง)
#ระวัง157ละเลยเพิกเฉยไม่ทำตามกฎ
#สวัสดิการแบบนี้เลิกเลิกไปเถอะ
#ให้มันจบที่รุ่นเรา
#ปัญหาซับซ้อนขึ้นเมื่อนายจ้างกลายเป็นเจ้าหนี้
#แก้หนี้ครูชิงช้าสวรรค์ที่เหมือนเดินหน้าแต่พาเดินกลับมาที่เก่า
การใช้แฮชแท็ก (Hashtag) คือ คำหรือวลีที่นำหน้าด้วยเครื่องหมาย # ซึ่งจะใช้ในโพสต์บน social media ต่างๆ Hashtag # กลายมาเป็นสื่ออันทรงพลังบนโลกออนไลน์ เพราะคอมพิวเตอร์สามารถจัดกลุ่ม Hashtag ที่มีความเหมือนกันหรือคล้ายกันให้มาอยู่ในที่เดียวกัน ซึ่งจะทำให้ทราบถึงจำนวนของครูที่กำลังเดือดร้อนว่ามีอยู่มากมายในทุกพื้นที่เขตการศึกษาทั่วประเทศ # Hashtag จึงนับเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยสร้าง “ชุมชน” หรือ “การรวมตัวแบบเฉพาะกิจ” รวมถึงชี้เป้าว่าปัญหาว่าอยู่ตรงไหน มีอะไรต้องแก้ไข
[6] ครูอาวุโสที่อาจจะไม่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ ท่านไม่ต้องกังวลถ้าท่านไม่มีบัญชีหรือ account ของตนเอง ท่านอาจจะขอให้ลูกหลานของท่าน หรือ ครูที่เป็นเพื่อนของท่านช่วยโพสต์เรื่องราวข้อเท็จจริงแทนท่านก็ได้ เพราะหัวใจอยู่ที่เรื่องราวจะต้องถูกตีแผ่ให้สาธารณชนรับรู้ ส่วนวิธีการนั้นยังไม่สำคัญเท่า และกรณีที่ท่านเห็นว่าอาจจะมีเพื่อนครูคนใดที่มีปัญหาหรือไม่สามารถทำตามวิธีการข้างบนได้ ขอให้ท่านช่วยเป็นธุระหยิบยื่นความช่วยเหลือในการจัดการแทน
ทำไมต้องเปิดสลิปเงินเดือนและใส่ # Hashtag บน social
ต้องเข้าใจก่อนว่าหนี้ครูส่วนใหญ่เป็นหนี้สวัสดิการที่นายจ้างหักเงินเดือนนำส่งให้เจ้าหนี้ ดังนั้น “สลิปเงินเดือน” จึงเป็นหลักฐานทางกฎหมายที่มีความสำคัญยิ่งที่จะบอกว่าการดำเนินการของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องหักเงินเดือนนั้นถูกต้องตามแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบปี 2551 หรือไม่
รูปสลิปเงินเดือนของท่านที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขแล้ว โพสต์เผยแพร่ในช่องทางของ social media acebook Instagram Twitter หรือ TikTok อย่างพร้อมเพรียงกัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ในเวลา 9.00 น. เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2565 พร้อมติด # Hashtag ข้อความที่คัดเลือกมา เพื่อสื่อสารให้สาธารณชนเข้าใจปัญหาที่ครูเผชิญอยู่
อ่านเพิ่มเติม :
จม.เปิดผนึกเครือข่ายแก้หนี้ครู(1) : ต้องรื้อระบบการหักเงินเดือนของสวัสดิการ-สหกรณ์
จม.เปิดผนึกเครือข่ายแก้หนี้ครู(2) : มหกรรมไกล่เกลี่ย’หนี้ครู’ผักชีโรยหน้า?