อย่างไรก็ตามนายลุดวิกถูกตั้งข้อสงสัยว่าเขาได้ไปทำสิ่งที่เรียกว่าการ “สกิม” หรือการดึงเอาเปอร์เซ็นต์จากหลายสัญญาที่ทางโรงพยาบาลมอบให้กับเอกชน และยังสงสัยว่าเขานั้นอาจจะมีส่วนในการรับเงินสินบนประกอบกัน จนเป็นเหตุทำให้วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดเขาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอเสนอกรณีการทุจริตการสร้างโรงพยาบาลในประเทศเช็คเกีย
โดนสำนักข่าวในต่างประเทศรายงานข่าวกรณีเกี่ยวกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโมทอล (Motol University Hospital) โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเช็คเกีย ซึ่งตอนนี้ถูกตรวจสอบพบว่ากายเป็นเป้าหมายหลักของปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตที่ดำเนินการโดยตำรวจเช็คเกีย
ล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการกล่าวหาบุคคลจำนวน 17 คนรวมไปถึงกล่าวหานายมิโลสลาฟ ลุดวิก (Miloslav Ludvík) ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต จนเป็นเหตุทำให้เขาต้องถูกนายวลาสติมิล วาเล็ก (Vlastimil Válek) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสั่งปลดในวันแรกที่เริ่มปฏิบัติการ
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโมทอลเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงของเช็คเกีย โรงพยาบาลแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงปรากและสามารถเดินทางไปถึงได้ผ่านสถานีรถไฟใต้ดินซึ่งเป็นชื่อของตัวโรงพยาบาลเอง โรงพยาบาลแห่งนี้รักษาผู้ป่วยมากกว่าหนึ่งล้านคนทุกปีและมีหน้าที่รับผิดชอบในการฝึกอบรมแพทย์และพยาบาลทั่วประเทศจํานวนมาก ตอนนี้สายตาของประชาชนทั้งประเทศเช็กเกียจับจ้องไปที่โรงพยาบาลโมทอ หลังจากที่สมาชิกของผู้บริหารระดับสูงโรงพยาบาลถูกตํารวจตั้งข้อหาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ในข้อหาติดสินบน ยักยอกเงิน ฟอกเงิน และการใช้เงินของสหภาพยุโรปหรืออียูในทางที่ผิด
โรงพยาบาลโมทอล
สำหรับข้อกล่าวหาที่มีต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 17 คน ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเงินอุดหนุนในสองส่วนด้วยกันคือ 1.เงินอุดหนุนสําหรับโครงการก่อสร้างซึ่งได้รับเงินทุนร่วมจากกองทุนของเช็กและยุโรป และเงินอุดหนุนสําหรับการก่อสร้างศูนย์มะเร็งวิทยา ซึ่งคาดว่าจะมีการจัดสรรเงินไว้สำหรับโครงการก่อสร้างคิดเป็นมูลค่า 3.7 พันล้านโครูนาเช็ก (5,242,852,054 บาท) และ 2.เงินอุดหนุนสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสําหรับในส่วนที่ชื่อว่าอาคาร Blue Pavilion ของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นอาคารที่เป็นที่ตั้งของแผนกผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่
โดยคดีนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานอัยการยุโรป
บุคคลผู้ถูกกล่าวหาที่ดูเหมือนว่าจะมีบทบาทสำคัญที่สุดได้แก่นายมิโลสลาฟ ลุดวิก ซึ่งตอนนี้กลายเป็นอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลไปแล้ว โดยเขาได้มีส่วนเข้าไปบริหารสถาบันการแพทย์แห่งนี้ตั้งแต่ปี 2543 และดำรงตำแหน่งเรื่อยมาจนขาดช่วงสั้นๆในช่วงที่เขาไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อย่างไรก็ตามนายลุดวิกถูกตั้งข้อสงสัยว่าเขาได้ไปทำสิ่งที่เรียกว่าการ “สกิม” หรือการดึงเอาเปอร์เซ็นต์จากหลายสัญญาที่ทางโรงพยาบาลมอบให้กับเอกชน และยังสงสัยว่าเขานั้นอาจจะมีส่วนในการรับเงินสินบนประกอบกัน จนเป็นเหตุทำให้วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดเขาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล
การสอบสวนนายมิโลสลาฟ ลุดวิก (อ้างอิงวิดีโอจาก CNN Prima)
นอกจากนี้ทางการยังได้ตั้งข้อหากับรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลชื่อว่านายพาเวล บูดินสกี้ (Pavel Budinský)ตั้งข้อหากับนายมิโรสลาฟ จันสตา (Miroslav Jansta) หัวหน้าสหภาพกีฬาเช็กและทนายความ และตั้งข้อหากับตัวแทนบริษัทก่อสร้าง Geosan Group
กรณีอื้อฉาวโรงพยาบาลโมทอลนั้นเป็นกรณีการทุจริตที่มีเส้นโยงใยอันกว้างขวาง เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่สืบสวนคดีอาญาได้ดำแผนประทุษกรรมสร้างความเชื่อมโยงกับทรัพย์สินของนายพาเวล บูดินสกี้ จนกระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าแผนประทุษกรรมนั้นไปเกี่ยวข้องกับผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการและเทคโนโลยีของโรงพยาบาล
นอกจากนี้ยังพบข้อมูลด้วยว่ามีการนัดพบปะหารือกันในออฟฟิศของนายบูดินสกี้ และพบปะกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในกรุงปราก โดยเนื้อหาการพูดคุยในระหว่างการพบปะพบว่านายบูดินสกี้ได้มีการเรียกร้องเงินโดยอ้างว่าเป็นค่านายหน้าให้กับสัญญาของโรงพยาบาลหลายสัญญา หรือก็คือเรียกร้องเงินค่าผลประโยชน์ที่เกิดจากการเจรจา
ข้อมูลจากเอกสารที่สำนักข่าว iROZHLAS และสำนักข่าว Radiožurnál ได้รวบรวมมาผ่านกระบวนการทำข่าวสืบสวนพบว่านายบูดินสกี้นั้นเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศคอสตาริกาและมอนเตโนโกร ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเขาไม่น่าจะหาเงินเพื่อครอบครองทรัพย์สินนี้ได้ด้วยรายได้ตามกฎหมาย ขณะที่ภรรยาขอนายบูดินสกี้ได้แก่นางซีเด็นซา (Zdeňka) ภรรยาของนายบูดินสกี้ก็ถูกสอบสวนเกี่ยวกับบทบาทของเธอในการจัดการทรัพย์สินที่ต่างแดนเช่นกัน
สำหรับพัฒนาการเกี่ยวกับการเปิดโปงกรณีอื้อฉาวนี้ยังได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่งวันที่ 24 ก.พ. โดยในวันนั้นจำนวนผู้ถูกกล่าวหาเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของโรงพยาบาลถูกเพิ่มจำนวนจาก 16 คน เป็น 17 คน และต่อมาในวันที่ 26 ก.พ.ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีการออกคำสั่งยกเงินเงินอุดหนุนมูลค่าหลายโครูนาเช็กให้กับโรงพยาบาลโมทอลทันทีด้วยเหตุผลว่าเพื่อการป้องกัน ซึ่งขั้นตอนการหยุดเงินอุดหนุนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันผลประโยชน์ของประเทศ
สำหรับการก่อสร้างศูนย์มะเร็งวิทยาที่โรงพยาบาลโมทอล นั้นถือเป็นหมุดหมายสำคัญในแผนการฟื้นฟูประเทศที่ต้องการจะให้เกิดการปฏิรูปและการลงทุนในเจ็ดประเด็นสำคัญทั่วทั้งสังคมเช็ก โดยหนึ่งในเจ็ดประเด็นก็คือประเด็นด้านสุขภาพและความยืดหยุ่นของประชากร และเนื่องงจากเช็กเกียมีคำมั่นที่จะเสริมสร้างการป้องกันมะเร็ง ทางอียูจึงได้มีการจัดสรรเงินให้อีก 2.284 แสนล้านโครูนาเช็ก (323,639,840,334 บาท) สำหรับแผนฟื้นฟูประเทศ
เรียบเรียงจาก:https://english.radio.cz/czechias-largest-hospital-embroiled-massive-fraud-scandal-8843951
- ส่องคดีทุจริตโลก:กห.ออสซี่ทำสัญญาหมื่นล.เอกชนถูกสอบฮั้วราคาอุปกรณ์-บริการฐานทัพทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก:สภายูเครนผ่านร่าง กม.ซื้อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 หมื่นล.ส่อไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:NGO ฉ้อโกงเงิน USAIDนับร้อยล้าน-ยักยอกอาหารผู้ลี้ภัยขายผู้ก่อการร้าย
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.สิงคโปร์ค้าน้ำมันให้กองทัพเมียนมา ก่ออาชญากรรมสงคราม ทำรายได้ พันล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ซาอุฯเดินหน้าสัญญาซื้ออาวุธรัสเซีย 7.7 หมื่นล.แม้ถูกคว่ำบาตรปมบุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ก.คลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรธนาคารคีร์กีซ เหตุช่วยแบงก์รัสเซียเลี่ยงคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก: CEO กรมน้ำฯแอลเอ บริหารงานล้มเหลว? ต้นเหตุหัวดับเพลิงไม่ทำงานช่วงไฟป่า
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉแผนทรมาน ปธ.กกต.เกาหลีฯช่วงอัยการศึก บังคับประกาศเหตุโกงเลือกตั้ง สส.