เมื่อไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังปกติจึงทำให้รายได้ลดลง โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 60.24% รายได้ ลดลงเกือบทั้งหมด ส่วนอีก 31.21% รายได้ลดลงราวครึ่งหนึ่ง หรือกล่าวได้ว่า คนจนเมืองมากกว่า 90% ได้รับ ผลกระทบด้านรายได้จากวิกฤติโควิด-19 มีเพียงผู้ที่ทำงานมีเงินเดือนประจำไม่ถึงร้อยละ 10 ของผู้ตอบแบบ สำรวจที่ได้รับผลกระทบน้อยหรือไม่ได้รับผลกระทบเลย
สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่หรือ โควิด -19 (COVID-19) ที่ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกและได้รุนแรงขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดเพื่อจำกัดการแพร่ะระบาดของโรค ไม่ว่าจะเป็น การสถานบริการ ห้างสรรพสินค้า การรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนทำงานที่บ้าน ตามคำขวัญ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ตลอดจนการห้ามออกจากเคหสถานในเวลากลางคืน
มาตรการเหล่านี้ได้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตและการหาเลี้ยงชีพของคนจนเมืองจำนวนมากที่ประกอบอาชีพในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการและไม่มีหลักประกันความมั่นคง
นักวิจัยซึ่งเป็นคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย 6 มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดทำการสำรวจผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของโรคระบาดโควิด 19 ต่อคนจนเมืองเป็นการเร่งด่วน เพื่อต้องการทราบสถานการณ์ของคนจนเมืองในภาวะวิกฤติโควิด-19 การเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐ ตลอดจนเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะทางนโยบายต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรคนจนเมือง เช่น เครือข่ายสลัม 4 ภาค ชุมชนแออัดในพื้นที่คลองเตย และพื้นที่อื่นๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพและปริมณฑล เชียงใหม่ สงขลา ชลบุรี ขอนแก่น และจังหวัดอื่นๆ รวม 18 จังหวัด
งานวิจัยนี้ ใช้เวลาในการสำรวจ 4 วัน คือ วันที่ 9-12 เมษายน 2563 เก็บแบบสำรวจได้รวม 507 ชุด แบ่งเป็นเพศหญิง 58.78% เพศชาย 38.86% ไม่ระบุเพศและเพศทางเลือก รวม 2.37% อายุโดยเฉลี่ยของผู้ตอบสอบถามคือ 50 ปี
อาชีพของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มใหญ่ที่สุดของผู้ตอบแบบสำรวจคือ รับจ้างรายเดือนแต่ไม่มีประกันสังคม 29%, รับจ้างรายวัน 24 %, แม่ค้า หาบเร่ รถเข็นแผงลอย
ข้อค้นพบที่สำคัญ
ข้อสรุปที่เป็นสาระสำคัญ ใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. สภาพความเป็นอยู่และการดูแลตนเองของคนจนเมืองในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19
1.1 คนจนเมืองเกือบทั้งหมดของผู้ตอบแบบสอบถาม (89.90%) มีการดูแลตนเอง ด้วยการใส่หน้ากาก อนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน โดยแก้ไขปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลนและมีราคาแพง ด้วยการหันมาใช้ หน้ากากผ้าที่มีราคาถูกกว่า บางครัวเรือนมีการปรับตัวมาเย็บหน้ากากอนามัยขายด้วย
ข้อเท็จจริงนี้หักล้างความ เข้าใจที่ว่า คนจนเป็นผู้ละเลยไม่ดูแลตนเองและอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงของการแพร่เชื้อ ความเข้าใจที่ว่านี้เป็นความ เข้าใจที่ผิด
1.2 คนจนเมืองเกือบกึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (44.27%) พกเจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมือทุกครั้งที่ ออกจากบ้าน และส่วนอีก 29.45% พกเจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมือเป็นบางครั้งที่ออกจากบ้าน ส่วน 26.28% ไม่พกเจลล้างมือหรือแอลกอฮอล์เมื่ออกจากบ้าน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเจลหรือแอลกอฮอล์มี ราคาแพงกว่าหน้ากากอนามัยจึงมีผู้ใช้น้อยกว่า
1.3 สภาพที่อยู่อาศัยของคนจนเมือง ไม่สามารถที่จะจัดสรรพื้นที่หากมีสมาชิกในครอบครัวมีความเสี่ยงต่อ การติดเชื้อและต้องกักตนเอง
- 43.79% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้พื้นอยู่อาศัยเป็นที่กักสมาชิกในครอบครัวโดยแยกจากคนอื่น
- อีก 26.43% ตอบว่า สภาพที่อยู่อาศัย ไม่พร้อมแต่สามารถดัดแปลงได้
- มีเพียง 29.78% เท่านั้น ที่ตอบว่า ที่อยู่อาศัยของตนมีความเหมาะสมหากจะต้องใช้กักสมาชิกคนใดคนหนึ่งใน ครอบครัว แยกจากสมาชิกคนอื่นๆ
ข้อเท็จจริงประการนี้ สะท้อนว่า หากคนจนเมืองคนใดเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะ ติดเชื้อโควิด-19 รัฐจำเป็นต้องให้การดูแลให้การกักตนเองระหว่างดูอาการนั้นมีความเป็นไปได้ มิ เช่นนั้น เขา อาจจะนำเชื้อไปเผยแพร่ให้สมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวได้
คนจนเมืองทำงานที่บ้านไม่ได้
2. ผลกระทบจากมาตรการของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ข้อมูลจากการ สำรวจแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มาตรการต่างๆ ของรัฐที่จำกัดการทำกิจกรรมนอกบ้านอย่างเข้มงวด โดยไม่มี การเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทำให้คนจนเมืองต่างประสบปัญหาความเดือดร้อนด้าน เศรษฐกิจอย่างมาก ในหลายประการ
2.1 ไม่สามารถประกอบอาชีพและหารายได้ตามปกติ ในลักษณะแตกต่างกันดังนี้ ถูกนายจ้างให้หยุดงาน โดยสิ้นเชิง 18.87%, นายจ้างให้ลดเวลาทำงานและรายได้ลดลง 18.00%, ผู้ประกอบอาชีพค้าขายหาบเร่แผงลอย ไม่สามารถค้าขายได้ เพราะพื้นที่ที่ค้าขายถูกจำกัด 18.22% ส่วนผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่น ช่างต่างๆ คนขับ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง คนขับรถรับจ้าง รถตู้ ฯลฯ ก็ได้รับผลกระทบมีผู้ว่าจ้างน้อยลงหรือไม่มีเลย 18.44%
2.2 เมื่อไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังปกติจึงทำให้รายได้ลดลง โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 60.24% รายได้ ลดลงเกือบทั้งหมด ส่วนอีก 31.21% รายได้ลดลงราวครึ่งหนึ่ง หรือกล่าวได้ว่า คนจนเมืองมากกว่า 90% ได้รับ ผลกระทบด้านรายได้จากวิกฤติโควิด-19 มีเพียงผู้ที่ทำงานมีเงินเดือนประจำไม่ถึงร้อยละ 10 ของผู้ตอบแบบ สำรวจที่ได้รับผลกระทบน้อยหรือไม่ได้รับผลกระทบเลย
2.3 หากคำนวณเป็นรายได้ที่ลดลงของผู้ตอบแบบสำรวจ คนจนเมืองมีรายได้ลดลง โดยเฉลี่ย 70.84% จากเดิมรายได้เฉลี่ยของคนจนเมืองผู้ตอบแบบสอบถามก่อนวิกฤติโควิดอยู่ที่ 13,397 บาทต่อเดือน ดังนั้น ในช่วงระหว่างวิกฤติคนจนเมืองผู้ตอบแบบสอบถามรายได้ลดลง 70.84 % หรือ 9,490 บาท ต่อเดือน คงเหลือรายได้เพียง 3,906 บาทต่อเดือน
2.4 จากรายได้ที่ลดลงราว 70% ทำให้คนจนเมือง ต่างประสบความเดือดร้อนในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ ไม่มี เงินชำระหนี้สิน ทั้งหนี้สินนอกระบบ หนี้รถจักรยานยนต์ หนี้รถปิ้คอัพ ถึง 54.41% และมีถึง 29.83% ที่ไม่มี รายได้ถึงขนาดประสบปัญหาการกินอยู่ในชีวิตประจำวัน คนกลุ่มนี้จำนวนหนึ่งดำรงชีพอยู่ได้จากการช่วยเหลือจาก ภาคเอกชนและบุคคลทั่วไปที่ทำอาหารแจกจ่ายให้ผู้เดือดร้อน จำนวนไม่น้อยต้องกู้หนี้ยืมสิน (33.82%) บางส่วน (13.24%) ต้องนำข้าวของไปจำนำ
นอกจากนี้ยัง มีผู้ตอบแบบสอบถาม 26.05% ประสบปัญหาไม่มีเงินจ่ายค่าเช่า ที่อยู่อาศัย ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะถูกเจ้าของบ้านหรือเจ้าของห้องขับไล่ ให้กลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย
2.5 ส่วนข้อเสนอที่ให้มีการปรับตัวมาทำงานที่บ้านหรือ Work from home นั้น คนจนเมืองผู้ตอบ แบบสอบถามร้อยละ 79% ตอบว่า อาชีพที่ตัวเองทำนั้นไม่สามารถปรับตัวมาทำงานที่บ้านได้ ข้อเท็จจริงนี้จึงเป็น การตอกย้ำว่า คนจนเมืองเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากมาตรการของรัฐที่จำกัดการออกไปทำงานนอกบ้าน เพราะคนจนเมืองต่างจากชนชั้นกลางหรือผู้ประกอบอาชีพอื่นที่สามารถปรับตัวจากการทำงานในสำนักงานโดย เครื่องมือสารสนเทศทำงานที่บ้านได้
3. การเข้าถึงมาตรการเยียวยาของรัฐ
ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนจนเมืองจำนวนมากยังไมได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ
3.1 คนจนเมืองที่ตอบแบบสำรวจราวครึ่งหนึ่ง (66.67%) ที่พยายามลงทะเบียนในโครงการคนไทยไม่ทิ้ง กันของรัฐบาลจะให้เงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน โดยลงทะเบียนสำเร็จ 51.87% และลงทะเบียนไม่สำเร็จ 14.60% และมีคนจนเมืองผู้ตอบแบบสอบถาม 28.99% ไม่ได้ลงทะเบียน เพราะทราบ ว่าตนเองขาดคุณสมบัติ เช่น ผู้ที่ทำงานประจำและมีสิทธิจากองทุนประกันสังคม ผู้ที่ว่างงานอยู่ก่อนแล้ว
สะท้อน ให้เห็นว่า คนจนเมืองไม่ใช่เป็นคนฉวยโอกาส เพราะเกรงว่า หากไม่มีคุณสมบัติแล้วได้รับเงินจะมีความผิดใน ภายหลัง นอกจากนี้ ยังมีคนจนเมืองผู้ตอบแบบสอบถามอีก 4.54% ที่ไม่ทราบวิธีการในการลงทะเบียนจึงไม่ได้ ลงทะเบียนขอรับสิทธิ
หากคิดเฉพาะคนจำนวนที่ลงทะเบียนสำเร็จมี 21.29% ได้รับการอนุมัติว่าผ่านเกณฑ์ได้รับความช่วยเหลือ ส่วนอีก 12.93 % ไม่ผ่านการพิจารณา โดยที่ 65.78% ของผู้ที่ลงทะเบียนขอรับสิทธิสำเร็จที่ตอบแบบสอบถาม ยังอยู่ระหว่างรอผลการสำรวจ สะท้อนให้เห็นว่า มาตรการเยียวยาของรัฐออกมาล่าช้า ไม่ทันการณ์กับความ เดือดร้อนของคนจน
ตัวอย่างเช่น ผู้ตอบแบบสอบถามสองราย เพศหญิง อายุ 63 ปีและ 67 ตามลำดับ เป็นผู้เช่าที่อยู่อาศัยใน ชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง ประกอบอาชีพตั้งรถเข็นขายภายในสถานีรถไฟหัวโพง แต่เมื่อการรถไฟฯ หยุดการเดินรถ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นมา จึงไม่สามารถขายน้ำและไม่มีรายได้ทางอื่นๆ อีกทั้งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลาน ดูแล เดือดร้อนขนาดไม่มีเงินซื้ออาหาร ไม่มีเงินชำระค่าเช่าห้อง จนเจ้าของบ้านออกปากที่จะไล่ออกจากห้องเช่า
3.2 มาตรการบรรเทาหนี้สินที่คนจนเมืองมีกับสถาบันการเงิน เช่น หนี้จักรยานยนต์ พบว่า มีคนจนเมือง ผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 44.40% ได้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว อย่างไรก็ดีมีคนจนถึง 30.11% ที่ไม่ได้ ประโยชน์จากมาตรการนี้ เพราะหนี้สินที่มีอยู่เป็นหนี้นอกระบบ
ข้อเท็จจริงนี้สะท้อนว่า มาตรการบรรเทาหนี้สิน ให้กับประชาชนที่ดำเนินมาและที่ภาครัฐกำลังจะดำเนินการในอนาคต ต้องคำนึงถึงคนจนที่ไม่มีหลักประกันและไม่ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้ การจัดสรรเงินทุนให้องค์กรชุมชนเป็นผู้ดำเนินการจะทำให้คนจนเมืองเข้าถึง แหล่งเงินกู้ได้ง่ายกว่า
ข้อเสนอแนะ
1. รัฐควรปรับเปลี่ยนหลักคิดและวิธีการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในภาวะวิกฤตินี้ จาก “การสงเคราะห์ผู้เดือดร้อน” เป็น “การให้สวัสดิการถ้วนหน้า” หรือเปลี่ยนวิธีการจาก “คัดคนเข้า” เป็น “คัดคนออก”
กล่าวคือ แทนที่รัฐจะใช้วิธีการคัดกรองอย่างเข้มงวดว่า เฉพาะคนที่พิสูจน์และผ่านการตรวจสอบว่า ได้รับ ผลกระทบจากมาตรการจำกัดการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างชัดเจนเท่านั้น จึงจะได้รับการสงเคราะห์ รัฐควร ใช้หลักคิดใหม่ว่า คนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐทั้งสิ้น ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึง จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ คงมีเฉพาะคนส่วนน้อยที่ไม่ได้รับผลกระทบ เช่น ข้าราชการประจำและพนักงาน ประจำรายเดือนที่ไม่ถูกลดชั่วโมงการทำงานยังคงมีรายได้เท่าเดิม ที่จะถูก “คัดออก” ไม่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ
ส่วนคนกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด หากอยู่ในวัยทำงาน คนกลุ่มนี้ควรได้รับการช่วยเหลือทุกคน ดังเช่น หลายประเทศอย่าง สิงคโปร์ ไต้หวัน และ สหรัฐอเมริกา ต่างดำเนินการในแนวทางนี้ และรัฐต้องตระหนักว่า ภาครัฐไม่มีข้อมูลของคนกลุ่มนี้อย่างครบถ้วนและทันสมัย จึงไม่ควรยึดฐานข้อมูลของรัฐเป็นเกณฑ์ในการตัด สิทธิประชาชน หากแต่รัฐควรใช้โอกาสนี้ในการสร้างฐานข้อมูลและให้การช่วยเหลือประชาชนโดยเร็วที่สุด แน่นอน ว่า การจ่ายเงินด้วยหลักคิดใหม่นี้ ผู้ประกอบอาชีพอิสระบางรายที่ยังมีรายได้ตามปกติจะหลุดรอดเข้ามาเป็นผู้รับ ประโยชน์บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้ว คนส่วนใหญ่ที่เดือดร้อนจะได้รับความช่วยเหลืออย่างถ้วนหน้าและรวดเร็ว
จากข้อมูลของจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2562 ชี้ว่า ประเทศไทยมีแรงงานรวม 37.5 ล้านคน เป็นแรงงานนอก ระบบมากกว่าครึ่งคือ 20.5 ล้านคน ซึ่งก็ใกล้เคียงกับตัวเลขผู้ลงทะเบียนในโครงการคนไทยไม่ทิ้งกัน หากรัฐให้การช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน คือ 15,000 บาท ต่อคน ก็จะใช้เงินราว 300,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเพียงครึ่งหนึ่งของงบประมาณที่ตั้งไว้ 600,000 ล้านบาท
ที่สำคัญจะเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนได้ อย่างถ้วนหน้าและทันท่วงที ตรงกันข้าม วิธีการที่กระทรวงการคลังกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ สะท้อนหลักคิดที่ผิดพลาด คือมุ่งคัด กรองเฉพาะคนผ่านตะแกรงร่อนมารับความช่วยเหลือ โดยไม่ได้ตระหนักว่า มาตรการที่เข้มงวดของรัฐ ทำให้ผู้ ประกอบอาชีพนอกระบบต่างได้รับผลกระทบถ้วนหน้า อีกทั้งวิธีการดังกล่าวยังล่าช้าและเกิดข้อผิดพลาดในหลายกรณี เพราะเชื่อมั่นในระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มากเกินไป โดยไม่ได้ตระหนักว่า ระบบ AI หากไม่มีฐานข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังกรณีที่ชัดเจนที่ คุณสมบุญ คงคา ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แต่เข้าเรียนโรงเรียน การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม กลับถูกระบบปัญญาประดิษฐ์เข้าใจว่า คุณสมบัติเป็น นักเรียน/นักศึกษา และตัดสิทธิคุณสมบัติ
2. จากบทเรียนการจ่ายเงินช่วยเหลือในโครงการไม่ทิ้งกันที่ผ่านมา จะพบว่า ปัญหาสำคัญคือการขาดการมีส่วนของภาคประชาชน ดังนั้นในส่วนงบประมาณที่รัฐบาลจะตั้งงบประมาณอีก 400,000 ล้านบาท สำหรับฟื้นฟู และเยียวยาเศรษฐกิจ โดยการจัดสรรผ่านหน่วยงานต่างๆ นั้น รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณส่วนนี้จำนวนหนึ่งให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน คณะกรรมการกองทุนชุมชนและหมู่บ้าน สำหรับฟื้นฟูชีวิตของคนระดับรากหญ้า ที่จำเป็นต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้นประกอบอาชีพใหม่และเข้าไม่ถึงเงินกู้ในระบบ การจัดสรรงบประมาณ ผ่านเครือข่ายภาคประชาชน จะทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้เดือดร้อนจริงและเกิดการตรวจสอบกันในระดับพื้นที่
3. ข้อเสนอต่อกองทุนประกันสังคม มีผู้ประกอบอาชีพประจำและเป็นผู้ประกันตนจำนวนหนึ่งที่มีสิทธิ จากกองทุนประกันสังคม เนื่องจากนายจ้างให้หยุดงานหรือปิดกิจการ แต่การดำเนินงานของกองทุนประกันสังคม ที่จะเบิกจ่ายกลับมีความล่าช้ากว่าของกระทรวงการคลังเสียอีก
กระทรวงแรงงาน ควรเร่งรัดให้กองทุน ประกันสังคมปฏิรูปการทำงานให้จ่ายเงินตามสิทธิของผู้ประกันตนโดยเร็ว ทุกวันนี้ผู้ประกันตนหลายคนสะท้อน ความคิดเห็นทำนองเดียวกันว่า “ประกันสังคมหักเงินเราตรงเวลาทุกเดือน แต่พอเราเดือดร้อนจะได้รับเงินประกัน ตามสิทธิ กลับต้องรอเป็นเดือน”
4. รัฐควรผ่อนปรนเปิดพื้นที่ค้าขายและการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างมีการจัดการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดได้คลี่คลายลงและการดำเนินชีวิตของประชาชนก็ต่างตื่นตัวในการป้องกันตนเอง ดังนั้นการเปิดพื้นที่ สาธารณะ พื้นที่ค้าขายอย่างมีการจัดการ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย มีเจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมืออย่างทั่วถึง การจัดพื้นที่ไม่ให้ผู้คนอยู่ใกล้ชิดกัน การต่อคิวอย่างมีระยะห่าง ฯลฯ จะช่วยฟื้นชีวิตทางเศรษฐกิจให้คนจนเมือง และทำให้ผู้คนในเมืองมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง และมีความปลอดภัยไปพร้อมๆ กัน
5. ในช่วงภาวะวิกฤติ รัฐควรเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐให้แก่ผู้สูงอายุคนละ 600-800 บาท ต่อเดือนตาม ช่วงอายุ เป็น 2,000 บาท เพราะครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุต่างก็ประสบภาวะฝืดเคืองในช่วงภาวะวิกฤติ การเพิ่มเงินใน ส่วนนี้ขึ้นไประดับหนึ่งอย่างน้อยก็ช่วยแบ่งเบาภาระของครัวเรือนต่างๆ ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อยู่ที่เดิม! ส่องชีวิต 'คนไร้บ้าน' ช่วงเคอร์ฟิว เลือกนอนที่สาธารณะเเทนศูนย์พักรัฐจัดให้ https://www.isranews.org/article/thaireform/thaireform-documentary/87391-news-9.html
เปิดมาตรการดูเเล 'คนไร้บ้าน' ช่วง 'โควิด-19' เเจกหน้ากากผ้า 5 พันชิ้น-สร้างที่พักรองรับhttps://www.isranews.org/article/thaireform/thaireform-documentary/87256-news-8.html
'คนไร้บ้าน' ถามเสียงดัง 'เคอร์ฟิว' สกัดโควิดฯ ชีวิตต้องหลับนอนที่ไหน
https://www.isranews.org/article/thaireform/thaireform-documentary/87207-news-7.html
ท่ามกลางโควิด-19 ระบาด คนไร้บ้าน “อยู่บ้าน” อย่างไร เมื่อไม่มีที่อยู่ ? https://www.isranews.org/article/thaireform/thaireform-documentary/87140-Cov.html
ขอบคุณภาพประกอบจาก:https://www.facebook.com/pg/Msociety.go.th/photos/?ref=page_internal
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/