การค้าและดะวะห์อาเซียน (Usaha Dagang dan Dakwah ASEAN : USADA ASEAN) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบริษัท นักธุรกิจ และหน่วยงานระดับนิติบุคคล (USADA ASEAN) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภูมิภาคเอเชีย เพื่อสร้าง “อาเซียนมอลล์ ปัตตานี” ให้เป็น "เกตเวย์" หรือ "ประตู" เพื่อการค้า การท่องเที่ยว การศึกษา และการลงทุนในรูปแบบ “วากัฟ” ในภูมิภาคอาเซียน เปิดโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทยและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อเร็วๆนี้ที่ห้างสรรพสินค้าอาเซียนมอลล์ ปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบริษัทและนักธุรกิจและหน่วยงานระดับนิติบุคคล (USADA ASEAN) โดยมี ดาโต๊ะฮัจยีญามาลุดดีน ซาฮีดาน (Dato' Dr. Hj Jamaludin Shahidan) ผู้อำนวยการ USADA ASEAN 2022 และประธานกลุ่มธุรกิจ Uniti Asia ในฐานะรองประธาน ASEAN Mall เป็นประธานในพิธี และมี ดาโต๊ะจามาล โมฮัมหมัด อามีน (Dato' Jamal Mohd Amin) ร่วมเป็นสักขีพยาน รวมทั้ง ตันศรี ดร.โมฮัมหมัด ดาวูด บากัร (Tan Sri Dr. Mohd Daud Bakar) ผู้ก่อตั้งและประธาน Amanie Group, นายโรเซะ ใบกาเด็ม ประธานสหกรณ์อิบนู เอาฟ์, รศ.ดร.อิสมาแอล ลุตฟี จะปะกิยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี, ดร.วรวิทย์ บารู ผู้จัดการเครือข่ายสหกรณ์อิสลามไทย และประธาน ASEAN Mall และ อุสตาซซอและห์ ตาเละ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปัตตานีจายา โฮลดิ้ง
ภายในงานมีการกล่าวสุนทรพจน์โดย ดร.วรวิทย์ บารู, อุสตาซซอและห์ ตาเละ, อุสตาซโมฮัมหมัด ฟัดซิล ซาเละห์, ดร.เฉิน และดาโต๊ะ จามาล โมฮัมหมัด อามีน คำปราศรัยพิเศษจากประธานกลุ่มอามานี่ ตันศรี ดร. โมฮัมหมัด ดาวูด บาการ์ กับ "สร้างความเข้มแข็งประชาชาติผ่านเศรษฐกิจการลงทุนในรูปแบบวากัฟ"
คำว่า วากัฟ หรือ “วะกัฟ” หมายถึง การบริจาคเพื่อสาธารณกุศล คือการจำกัดกรอบตัวทรัพย์ (แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง) และอุทิศผลประโยชน์ของมันให้โดยหวังผลบุญจากอัลลอฮ์
ดร.วรวิทย์ กล่าวว่า นักธุรกิจในประเทศอาเซียนได้มาพบปะกัน ซึ่งได้จัดกันมาหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ การมาที่นี่ในครั้งนี้เน้นเรื่องปัตตานีที่มีลักษณะโดดเด่นคือ เป็นศูนย์กลางอาเซียน อัตลักษณ์คือคนที่นี่สามารถพูดได้หลายภาษา เป็นพื้นที่ต่อยอดด้านการค้าขาย เป็นประตูสินค้าสู่ข้างบน และในด้านการท่องเที่ยว มีความร่วมมือกันจากเวียดนาม อินโดนีเซีย ให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ การค้าแบบวากัฟที่ใหม่ เกิดการเคลื่อนไหวหลายส่วน พัฒนาด้านสินค้าและประเทศได้ต่อไป
ในงานยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเสนอสินค้า การบริการ และธุรกิจของตนผ่านช่วง "การจับคู่ธุรกิจ" ทั้งผู้ประกอบการจาก USADA อาเซียน และผู้ประกอบการในท้องถิ่น เช่น ปัตตานี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ยะลา และอื่นๆ
สำหรับ อาเซียน มอลล์ (ASEAN Mall) เป็นห้างสรรพสินค้าในรูปแบบวากัฟที่สร้างขึ้นในจังหวัดปัตตานี ภาคใต้ของประเทศไทย โดยใช้แนวคิดการลงทุนในรูปแบบวากัฟ เป็นแนวคิดที่นักลงทุนจะไม่เพียงแต่ได้รับผลบุญอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ยังมีสิทธิ์ได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลเพื่อนำไปใช้ในด้านอื่นๆ ด้วย
ห้างสรรพสินค้าอาเซียนมอลล์ยังทำหน้าที่เป็น "เกตเวย์" หรือ "ประตู" ของผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ จนถึงวันนี้ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์มากกว่า 1,000 กล่องจากผู้ประกอบการชาวมาเลเซียโดยผ่าน ASEAN Mall และ UNITI Asia ผ่านบริษัทในเครือ Uniti Asia Link Sdn Bhd ไปยังทุกจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบัน อาเซียนมอลล์จะทำหน้าที่เป็น "เกตเวย์" ในแง่ของการท่องเที่ยว การศึกษา และการลงทุน
USADA ASEAN และ ASEAN Mall เชิญชวนประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะชุมชนมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ให้ร่วมกันฟื้นฟูและหล่อเลี้ยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการมีส่วนร่วมทางธุรกิจและการส่งออก หรือการสนับสนุนด้านการลงทุนวากัฟ