สื่อนอก ชี้ชัดการเลือกตั้งไทยส่งผลนโยบาย-จุดยืนสหรัฐฯ สนับสนุนประชาธิปไตย-แข่งขันจีน เผยการเลือกตั้งมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความรุนแรงอาจถึงขั้นรัฐประหาร ถ้าหากถึงขั้นนั้น ปธน.ไบเดนอาจต้องเลือกระหว่างพันธมิตรกับประชาธิปไตย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranes.org) รายงานข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศไทยที่ถูกนำเสนอในสื่อต่างประเทศว่าสำนักข่าว The Atlantic ของสหรัฐอเมริกาที่เป็นสำนักข่าวเกี่ยวกับวิเคราะห์การเมืองรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาวิเคราะห์การเลือกตั้งในประเทศไทยว่าแม้ว่าผลโพลของประเทศไททยจะไม่มีความน่าเชื่อถือบ่อยครั้งก็ตาม แต่ทุกโพลก็บ่งชี้ว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทยที่ถือว่าเป็นพรรคอวตารจากพรรคการเมืองที่ถูกยุบมีคะแนนนำและสามารถกวาดที่นั่งไปสู่ชัยชนะได้ อย่างไรก็ตามยังมีคำถามสำคัญว่าจำนวนเสียงเพียงพอที่จะสั่นคลอน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันและกลุ่มพันธมิตรอนุรักษ์นิยมหรือไม่
สำนักข่าว The Atlantic วิเคราะห์ต่อไปว่าถ้าหากแพทองธารชนะและสามารถหาเสียงพันธมิตรร่วมได้เพียงพอ ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันว่ากองทัพอาจจะพิจารณาที่จะกลับไปใช้ตำราเดิมๆ อาทิ การแบนและยุบพรรคการเมืองภายใต้ข้ออ้างและข้อกำหนดใหม่ๆ ที่รัฐบาลมักจะทำกับพรรฝ่ายค้านเป็นประจำ
โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นจะส่งผลต่อท่าทีของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน เพราะรัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดนจะถูกบังคับให้เลือกข้างจะหว่างประชาธิปไตยกับข้อการเมืองที่มีอำนาจที่แท้จริง เพราะย้อนไปในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีไบเดนได้เคยไปพูดในงานการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่าการเสริมสร้างประชาธิปไตย เป็นความท้าทายที่ถูกกำหนดให้เกิดขึ้นในยุคของเรา อย่างไรก็ตาม มีกรณีที่สหรัฐฯกำลังแข่งขันกับประเทศจีน และประเทศไทยก็ถือเป็นเป้าหมายต้นๆในนโยบายนี้ ดังนั้นจึงหมายความว่าเป้าหมายทั้งสองเป้าหมายอันได้แก่การดึงประเทศไทยมา กับการส่งเสริมประชาธิปไตยนั้นอาจจะดูเหมือนว่ามีความขัดแย้งกัน
ขณะที่ประเทศจีนดูเหมือนว่าจะไม่มีความขัดแย้งในกรณีนี้เพราะว่าไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลในไทยหรือว่ารัฐบาลประเทศอื่นในโลก ทางกรุงปักกิ่งก็พร้อมจะยอมรับ ซึ่งนี่ส่งผลทำให้สหรัฐฯวิพากษ์ประเทศจีนอยู่เสมอว่าเป็นผู้สนับสนุนระบอบการปกครองที่มีลักษณะเป็นเผด็จการ
สำนักข่าว The Atlantic วิเคราะห์อีกว่าการเลือกตั้งในประเทศไทยนั้นสามารถนำไปสู่ความรุนแรงได้โดยง่าย อาทิ การปะทะกันบนท้องถนน ลามไปจนถึงการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถ้าหากสิ่งนั้นเกิดขึ้น คำถามก็คือว่าประธานาธิบดีไบเดนจะออกมายืนยันคำกล่าวให้ชัดเจนได้หรือไม่ว่าสหรัฐฯยืนข้างประชาธิปไตย เพราะถ้าหากว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯออกมาวิจารณ์ประเทศไทยในกรณีดังกล่าวนั้นก็อาจจะเสียพันธมิตรอย่างประเทศไทยไปก็เป็นได้
เรียยบเรียงจาก:https://www.theatlantic.com/international/archive/2023/05/thailand-election-military-government-fraud/674034/