"...ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยทำเรื่อง ยื่นต่อแพทยสภาได้" ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ร้องถือว่าเป็นบุคคลอื่นตามความในมาตรานี้ และผู้ร้องได้ดำเนินการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แพทยสถภาจึงมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ได้..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) : เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2567 คณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ ของ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ได้ทำหนังสือแจ้งถึงนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานวัตถุพยานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจริยธรรม แพทย์พยาบาล ที่เกี่ยวข้องกรณีนายทักษิณ ชินวัตร เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ทั้งที่ ไม่มีอาการเจ็บป่วยจริงหรือไม่ แพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ออกใบวินิจฉัยโรค และรับรองให้ผู้ป่วยไปพักรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจเป็นความเท็จหรือไม่
โดย หนังสือขอข้อมูลของคณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ ดังกล่าว ระบุให้นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจทำคำชี้แจงพร้อมพยานหลักฐานที่สนับสนุนคำชี้แจง เป็นลายลักษณ์อักษร ตามประเด็นดังกล่าวข้างต้น และเพื่อประโยชน์ในการพิจารณา ให้จัดทำคำชี้แจงเป็นตัวพิมพ์ภาษาไทย เว้นแต่เป็นคำศัพท์เทคนิคเฉพาะ กำหนดส่งคำชี้แจงพร้อมพยานหลักฐานดังกล่าวไปยังคณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ภายในวันที่ 15 มกราคม 2568 นี้
ต่อไปนี้ เป็นเนื้อหาฉบับเต็มในหนังสือคณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ ของ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ที่แจ้งถึงนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานวัตถุพยานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจริยธรรม แพทย์พยาบาล ที่เกี่ยวข้องกรณีนายทักษิณ ชินวัตร ตามรายงานข่าวข้างต้น ซึ่งมีการยืนยันข้อมูลว่า ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยทำเรื่อง ยื่นต่อแพทยสภาได้" ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ร้องถือว่าเป็นบุคคลอื่นตามความในมาตรานี้ และผู้ร้องได้ดำเนินการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แพทยสถภาจึงมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ได้
นอกจากนี้ แพทยสภายังได้มีหนังสือขอหารือเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวของราชการ ได้รับการความเห็นว่า "เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วเห็นว่า เป็นกรณีที่แพทยสภา โดยคณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์และส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้ในการพิจารณาสืบสวนสอบสวนจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ถือเป็นการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์แก่การสืบสวนและสอบสวน ประกอบกับอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เวซกรรมและอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.ศ. 2525 ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (6) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม..."
ปรากฏรายละเอียดนับจากบรรทัดต่อไปนี้
เรื่อง ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาจริยธรรรม
เรียน นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ (โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330)
ตามที่สำนักงานเลขาธิการแพทยภา ได้รับคำร้องให้ตรวจสอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามคำร้องที่ 235,256/25666 และ 29/2567 เกี่ยวกับกรณีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ผู้ป่วยราย นายทักษิณ ชินวัตร เข้ารับการรักษาในทัณฑ์สถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ต่อมาวันที่ 23 สิงหาคม 25666 ถูกส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลดำรวจ และจนกระทั่งผู้ป่วยได้เดินทางออกจากโรงพยาบาลตำรวจกลับมายังบ้านพัก เนื่องจากได้รับการพักโทษตามประกาศกรมราชทัณฑ์ฯ
โดยผู้ป่วยได้รับการพักโทษ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งตั้งแต่ที่ผู้ป่วยได้รับโทษจนถึงวันที่ได้รับการพักโทษ ผู้ป่วยถูกควบคุมตัวและรักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาลตำรวจมาโดยตลอด กลายเป็นข้อสังเกตของประชาชนถึงการทำหน้าที่ของแพทย์โรงพยาบาลตำรวจว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ป่วยทั้งที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยจริงหรือไม่ แพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ออกใบวินิจฉัยโรคและรับรองให้ผู้ป่วยไปพักรักษา ที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นความเท็จหรือไม่
คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุม ครั้งที่ 10/2567 วันที่ 10 ตุลาคม 2567 พิจารณาแล้วมีมติ คำร้องมีมูล ส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ ดำเนินการพิจารณจริยธรรม
คณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ พิจารณาแล้ว ขอเรียนให้ทราบว่า
1. ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยทำเรื่อง ยื่นต่อแพทยสภาได้" ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ร้องถือว่าเป็นบุคคลอื่นตามความในมาตรานี้ และผู้ร้องได้ดำเนินการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แพทยสถภาจึงมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ได้
2. ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 คณะกรรมการสอบสวนฯ อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 37 ซึ่งกำหนดให้อนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเรียกบุคคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ และมีหนังสือแจ้งให้บุคคลใดๆ ส่งเอกสารหรือวัตถุเพื่อประโยชน์ แก่การสืบสวนสอบสวน
3. แพทยสภาได้มีหนังสือขอหารือเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวของราชการ ได้รับการความเห็นว่า "เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วเห็นว่า เป็นกรณีที่แพทยสภา โดยคณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์และส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้ในการพิจารณาสืบสวนสอบสวนจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ถือเป็นการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์แก่การสืบสวนและสอบสวน
ประกอบกับอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เวซกรรมและอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.ศ. 2525 ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (6) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม..."
ดังนั้นคณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการพิจารณา จริยธรรมในคำร้องนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 37 ขอให้ท่านชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมทั้งส่งเอกสาร พยานหลักฐานหรือวัตถุพยานเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาจริยธรรม ดังนี้
1. คำชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการเข้ารับการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยราย นายทักษิณ ชินวัตร ทั้งหมดโดยละเอียด
2. ขอทราบชื่อ สกุลแพทย์ ทั้งหมดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยราย นายทักษิณ ชินวัตร โดยให้แจ้งชื่อ นามสกุล และเลขใบประกอบวิชาชีพ
3. คำชี้แจงจาก บุคคลในข้อ 2. เกี่ยวกับกระบวนการตรวจ การวินิจฉัย การดูแลรักษาในผู้ป่วยรายนายทักษิณ ชินวัตร โดยละเอียด
4. กรณีนี้เนื่องจากผู้ป่วยรายนายทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ต้องขังที่ส่งตัวไปรักษาตัวนอกเรือนจำ นานเกินกว่าสามสิบวัน ตามที่กำหนดในข้อ 7 ของกฎกระทรวง การส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการกำหนดให้ผู้บัญชาการเรือนจำดำเนินการ มีทำหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบ ดังนั้น จึงขอความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องดังกล่าว
5. กรณีนี้เนื่องจากผู้ป่วยรายนายทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ต้องขังที่ส่งตัวไปรักษาตัวนอกเรือนจำ นานเกินกว่าหกสิบวัน ตามที่กำหนดในข้อ 7 ของกฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการกำหนดให้ผู้บัญชาการเรือนจำดำเนินการ มีทำหน้าหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดีพร้อมกับความเห็นของแพทผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ ปลัดกระทรวงทราบ ดังนั้น จึงขอความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องดังกล่าว
6. กรณีนี้เนื่องจากผู้ป่วยรายนายทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ต้องขังที่ส่งตัวไปรักษาตัวนอกเรือนจำ นานเกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ตามที่กำหนดในข้อ 7 ของกฎกระทรวง การส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการกำหนดให้ผู้บัญชาการเรือนจำดำเนินการ มีทำหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดีพร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้รัฐมนตรีทราบ ดังนั้น จึงขอความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องดังกล่าว
7. สำเนาใบส่งตัวเพื่อเข้ารับการรักษาต่อ สำเนาเวชระเบียน สำเนาบันทึกการผ่าตัด สำเนาบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึก สำเนาบันทึกการพยาบาล สำเนารายงานทางการแพทย์ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพถ่ายทางรังสีวินิฉัย ผลการตรวจทางรังสี และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ผู้ป่วยรายนายทักษิณ ชินวัตร
โดยให้ระบุหมายเลขหน้าเอกสาร ดังกล่าว และให้เจ้าหน้าที่ลงนามรับรองสำเนาเอกสารทุกหน้าด้วย ทั้งนี้ ขอตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค.2566 ที่ผู้ป่วยถูกส่งต่อการรักษาไปรักษาในโรงพยาบาลตำรวจ จนกระทั่งผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งถือว่าเกี่ยวข้องกับการพิจารณาจริยธรรมในครั้งนี้
8. ข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการพิจารณา
โดยขอให้ท่าน (นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ) ทำคำชี้แจงพร้อมพยานหลักฐานที่สนับสนุนคำชี้แจงนั้น เป็นลายลักษณ์อักษร ตามประเด็นดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณา กรุณาจัดทำคำชี้แจงเป็นตัวพิมพ์ภาษาไทย เว้นแต่เป็นคำศัพท์เทคนิคเฉพาะ โดยส่งคำชี้แจงพร้อมพยานหลักฐานดังกล่าวไปยังคณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ภายในวันที่ 15 มกราคม 2568
จึงเรียนมาเพื่อทราบและกรุณาดำเนินการ
ลงชื่อ นายแพทย์อมร ลีลารัศมี ประธานคณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ
*****************
รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากการทำหนังสือแจ้ง ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาจริยธรรรม จากนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ คณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดเฉพาะกิจ แพทยภา ยังทำหนังสือแบบเดียวกัน ส่งไปที่ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ กับ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ด้วย
ในท้ายที่สุด บทสรุปการพิจารณาจริยธรรรม แพทย์พยาบาล ที่เกี่ยวข้องกรณีการรักษาตัวของ นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ทั้งที่ ไม่มีอาการเจ็บป่วยจริงหรือไม่? แพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ออกใบวินิจฉัยโรค และรับรองให้ผู้ป่วยไปพักรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจเป็นความเท็จหรือไม่?
จะออกมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันต่อไป