กป.อพช. เเถลงการณ์ค้านเเนวคิด 'พล.อ.ประวิตร' กับเเนวคิดปิดป่าป้องกันไฟไหม้ ไม่ช่วยเเก้ปัญหา ละเมิดสิทธิชุมชน ยันทางออกต้องให้ ปชช.มีส่วนร่วม ไม่ตั้งบนพื้นฐานอำนาจนิยม
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า วันที่ 11 เม.ย. 2563 114 องค์กรเเละบุคคล ภายใต้นาม คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง ปิดป่าไม่ได้แก้ปัญหาไฟป่า ตราบใดที่ชุมชนไม่มีส่วนร่วม มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
จากกรณีที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ พร้อมคณะ ได้เดินทางไป จ.เชียงใหม่ เพื่อ ติดตามรับทราบความคืบหน้าการแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน และมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ณ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก และมีการเผยแพร่ผลการหารือ ทางสื่อมวลชนโดยระบุว่า ได้มีการรายงานถึงสาเหตุของไฟป่า ว่ายังมีการเผาพืชไร่และการเผาป่าจากการเข้า ไปหาของป่าโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้กล่าวเน้นย้ากับข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมว่า หากคุมไม่ได้ เกิดปัญหาซ้าซาก สร้างความเดือดร้อนเสียหายเป็นวงกว้างเช่นทุกปี “อาจจำเป็นต้องปิดป่าฤดูร้อนก็ต้องท้า”
จากเหตุการณ์ดังกล่าว องค์กรท้ายแถลงการณ์นี้ ขอชี้แจงต่อ พล.อ.ประวิตร ผ่านสื่อมวลชนดังนี้
1.สาเหตุหลักของการเผาป่าไม่ได้มาจากวิถีชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการทำกินหรือการทำเกษตรเพื่อยังชีพ ข้อมูลจากจุดความร้อน(hot spot)และพื้นที่เผาไหม้(burn scar) ชี้ชัดว่า ไฟป่าส่วนใหญ่ เกิดในเขตป่าอนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แม้ว่ามีประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีที่ดินทำกินทับซ้อนกับเขตป่าอนุรักษ์ แต่ชุมชนชาติพันธุ์เหล่านี้ ต่างก็มีข้อก้าหนดเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ป่าและวิธีการจัดการไฟป่าตามภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกด้านหนึ่งไฟป่าที่ เกิดขึ้นก็เกิดจากสาเหตุหลายประการที่มีความซับซ้อน
แนวทางการจัดการไฟที่เหมาะสมตามธรรมชาติของป่าผลัดใบ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง เป็นต้น ต้องมีการแก้ไขปัญหาการสะสมของเชื้อเพลิง เพื่อไม่ให้เกิดไฟจากเชื้อเพลิงที่สะสมจนกระทั่งทำลายผืนป่าอย่าง หนักหน่วง นอกจากนั้น การเผาป่ายังมีเบื้องหลังมีบริบทนอกเหนือจากการทำกินของประชาชน และมีมิติทางการเมืองด้วย เช่น ไฟป่าเกี่ยวข้องกับงบประมาณ ความไม่เป็นธรรมของภาครัฐ และการจัดการของภาครัฐใน ระบบอำนาจรวมศูนย์ เป็นต้น ในทางกลับกัน ขณะที่เกิดปัญหาไฟป่าทั่วภาคเหนือ ประชาชนจากหลายร้อย หมู่บ้านได้ช่วยกันป้องกันและดับไฟป่าอย่างเข้มแข็ง จนกระทั่งหลายคนเสียชีวิตจากการช่วยกันดับไฟป่า มีการระดมทุนและการสนับสนุนจากสังคมเพื่อสู้กับไฟป่ามาโดยตลอดนับแต่เกิดเหตุไฟป่าในภาคเหนือ ดังนั้นการชี้นิ้วกล่าวโทษว่าไฟป่ามีสาเหตุจากการเผาพืชเกษตรเพื่อยังชีพและการหาของป่า จึงเป็นการลดทอนปัญหาของไฟป่าให้เหลือเพียงประชาชนเป็นแพะรับบาป กลบเกลื่อนความล้มเหลวในการจัดการปัญหาเชิงระบบของรัฐ และเป็นการตอกย้ำภาพมายาคติที่แฝงไว้ซึ่งอคติต่อกลุ่มชาติพันธุ์และการใช้อ้านาจอย่างไม่ยุติธรรมกับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีพื้นที่ทับซ้อนกับป่าอนุรักษ์ของรัฐ
2. คำกล่าวของพล.อ.ประวิตร ในกรณีที่หากคุมไฟป่าไม่ได้ เกิดปัญหาซ้ำซาก สร้างความเดือดร้อน เสียหายเป็นวงกว้างเช่นทุกปี อาจจำเป็นต้องปิดป่าฤดูร้อนนั้น สะท้อนถึงมุมมองการแก้ปัญหาที่(คับแคบ) มองเพียงว่าประชาชนเป็นต้นตอของปัญหา ต้องใช้อำนาจเด็ดขาดในการจัดการถึงขั้นปิดป่า แต่วิธีคิดดังกล่าวนี้จะไม่มีทางจัดการปัญหาไฟป่าได้สำเร็จ เพราะยิ่งเป็นการแยกคนออกจากป่า กีดกันไม่ให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลผืนป่า ปกป้องและจัดการไฟป่า ตามวิถีชีวิตที่เกื้อกูลกัน อีกทั้งยังซ้ำเติมปัญหาระบบอำนาจเด็ดขาด รวมศูนย์ของหน่วยงานรัฐ ทางออกที่ถูกต้องจำเป็นจะต้องมีการร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทั้งชุมชน ประชาชน ภายนอก ราชการ และภาคประชาสังคม องค์กรในท้ายแถลงการณ์นี้ ขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวของรองนายกรัฐมนตรี และขอเรียกร้องต่อสังคมไทยร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลด้าเนินการในการดับไฟป่าดังนี้
-หยุดสร้างมายาคติด้วยการชี้นิ้วว่าประชาชนคือสาเหตุของไฟป่า แต่ควรมองว่าประชาชนโดยเฉพาะ ชุมชนคือกำลังสำคัญในการป้องกันและดับไฟป่า และให้ชุมชนและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการป้องกันและดับไฟป่า โดยการทำให้ประเด็นของไฟป่าเป็นประเด็นสาธารณะที่ทุกฝ่ายได้มีโอกาสมาร่วมกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุของไฟป่า แนวทางในการจัดการไฟป่าที่ถูกต้อง และปฏิบัติการร่วมกันในการจัดการกับไฟป่า
-กรณีชุมชนที่อยู่ร่วมและใช้ประโยชน์จากป่าอนุรักษ์ การจัดการป่าและไฟป่าต้องไม่กีดกันการมีส่วนร่วมของชุมชนออกไป แต่ต้องถือว่าชุมชนคือหัวใจของการช่วยกันจัดการไฟป่า โดยรัฐต้องให้สิทธิ/อำนาจแก่ชุมชนในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากร รวมถึงป้องกันไฟป่า และสนับสนุนชุมชนในการจัดการป่าและไฟป่า
-การจัดการไฟป่าควรผสมผสานภูมิปัญญาความรู้ท้องถิ่นในการจัดการเชื้อเพลิงโดยที่ไม่ก่อความเสียหายต่อระบบนิเวศป่า และหากจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบ หรือประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อให้เอื้อต่อการจัดการไฟป่าที่เหมาะสมต่อระบบนิเวศ ก็จำเป็นต้องทำ
-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องไม่ฉวยโอกาสท่ามกลางวิกฤตไฟป่าละเมิดสิทธิของชุมชนที่มีอยู่ในเขตป่าทุกประเภท รวมไปถึงการกลั่นแกล้งจับกุมคุมขังและดำเนินคดี เราขอยืนยันว่า การจัดการไฟป่าต้องคำนึงถึงสิทธิของชุมชนเป็นส้าคัญ ไม่ตั้งบนพื้นฐานของอำนาจนิยม แต่ต้องเป็นประเด็นสาธารณะที่ประชาชนมีส่วนร่วม
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/