Line Official สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่อินโฟกราฟิก การคุ้มครองความเสมอภาคทางสังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย และการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2560 ของศาลรัฐธรรมนูญไทย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org.) รายงานว่า วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 Line Official สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ อินโฟกราฟิกเรื่อง ‘การคุ้มครองความเสมอภาคทางสังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย และการเมือง รวมถึงความเสมอภาคในโอกาส ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ของศาลรัฐธรรมนูญไทย’ พร้อมกับระบุวัตถุประสงค์ของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสรุปเนื้อหาเป็นภาพทำให้เข้าใจง่ายในรูปแบบของภาพอินโฟกราฟิก ดังนี้
การคุ้มครองความเสมอภาคทางสังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย และการเมือง รวมถึงความเสมอภาคในโอกาสตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ของศาลรัฐธรรมนูญไทย
หลักความเสมอภาค (Equality) เป็นหลักการพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดขอของประเทศที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย สามารถกล่าวอ้างเรียกร้องให้รัฐรับรองในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการปฏิบัติต่อตนเองอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น หลักความเสมอภาคจึงถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
จำแนกหลักความเสมอภาคออกเป็นด้านต่าง ๆ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไว้
ความเสมอภาคทางสังคม (Social Equality) คือ ความเท่าเทียบกันทางสังคมของสมาชิกทุกคนในสังคม โดยไม่เลือกปฏิบัติแม้จะแตกต่างในเรื่องเพศสถานะของบุคคล ไม่ว่าจะมีฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรมแตกต่างกัน โดยสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติ เช่น
- ความเท่าเทียมในการเรียกค่าทดแทนของสามีและกริยา (คำวินิจฉัยศาลรัฐฐธรรมนูญที่ 13/2567)
- ความเท่าเทียบในการสมรส (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564)
ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ (Economic Equality) คือ การมีหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในระดับที่อย่างน้อยต้องสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ ในฐานะเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม เช่น - ความเท่าเทียม ในการจ้างงานคนพิการระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชน (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18 - 19/2567)
ความเสมอภาคทางกฎหมาย (Equality of the Law) คือ สิทธิที่เท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน มีผลบังคับใช้กับประชาชนทุกคนอย่างเสมอกัน ซึ่งรวมถึงกระบวนการทางกฎหมายที่มีผลต่อประชาชนโดยรวม ตั้งแต่การออกกฎหมายที่ต้องเท่าเทียมกัน มีการคุ้มครองบุคคลจากกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมส่งผลให้บุคคลสามารถป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ อันชอบธรรมของตนได้อย่างเสมอภาค เช่น
- หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ออกเช็ค (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 16/2567)
- หลักเกณฑ์ในการฎีการะหว่างพนักงานอัยการกับจำเลย (คำวินิจฉัยศาลรัฐรัฐธรรมนูญที่ 7/2567)
ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) คือ การมีสิทธิทางการเมืองที่เท่าเทียมกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านตัวแทนและการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงทั้งในส่วนของผู้ลงคะแนนเสียงและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการสมัครรับเลือกตั้ง การกำหนดคุณสมบัติ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น เช่น
- ความเท่าเทียมในการรับผิดในค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้ง (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมญที่ 11/2567)
ความเสมอภาคในโอกาส (Equality of Opportunity) คือ ความเท่าเทียมกันในการได้รับบริการสาธารณะของรัฐ การให้โอกาสทุกคนในการพัฒนาความสามารถของตนให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้อย่างเสมอภาคและไม่ถูกกีดกันออกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม เช่น
- ความเท่าเทียมในการเข้าถึงตำแหน่งที่สำคัญ (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 7/2564)
- ความเท่าเทียมในการได้รับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 10/2562)
ศาลรัฐธรรมนูญได้นำหลักความเสมอภาคมาใช้ในการวินิจคดีดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้