เมื่อวันที่ 6 กันยายน คณะ กรรมการและ ผู้บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ร่วมกันแถลงวิสัยทัศน์และการดำเนินการของกลุ่มบริษัท ปตท.โดยผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการบริษัท ปตท. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ นางพงศ์สวาท นีละโยธิน กรรมการบริษัท ปตท. และนายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.
นายคงกระพัน กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของกลุ่ม ปตท.ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการล่าสุดคือ ”ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” หรือ “TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD”ดำเนินธุรกิจบนหลัก “ความยั่งยืนอย่างสมดุล” ให้เหมาะกับบริบทองค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
นายคงกระพันกล่าวว่า ทิศทางที่สำคัญของ ปตท. จากวิสัยทัศน์ดังกล่าว คือการสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับการแก้ปัญหาโลกร้อน(Climate change) เพราะที่ผ่านมาธุรกิจกลุ่ม ปตท. เป็นผู้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก นอกจากการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานให้ใช้เป็นพลังงานสีเขียวเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero แล้ว ยังพยายามผลักดันธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับไฮโดรเจนซึ่ง ถ้าดำเนินการได้ในเชิงพาณิชย์จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ฯ ได้เป็นจำนวนมาก
นายคงกระพัน กล่าวว่า ขณะเดียวกัน มีแผนดำเนินโครงการ โครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Storage : CCS) โดยทำงานแบบบูรณาการร่วมกันทั้งกลุ่ม ปตท. โดยต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน และมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อใช้จุดแข็งของแต่ละบริษัท ซึ่งทางปตท. กำลังศึกษาร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขกฎหมายต่างๆให้ครอบคลุมทุกมิติโดยคาดว่า ใช้เวลาอีก 2-3 ปี ขณะที่ ปตท. สผ. กำลังทำแซนด์บล็อก โดย จะใช้หลุมก๊าซ ธรรมชาติที่ขุดขึ้นใช้แล้ว เป็นที่เก็บกักคาร์บอน ซึ่งในระยะแรกอาจจะใช้ สำหรับบริษัทในกลุ่มปตท ก่อน และให้บริการกับบริษัทอื่นนอกกลุ่มว่าเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทต่างๆทั้งหมดจะสร้างหลุมเก็บกักคาร์บอนฯได้เอง
“ หลายคนอาจจะมองว่าการสร้างที่เก็บกักคาร์บอนฯ เป็นต้นทุน แต่ผมเห็นว่าเป็นโอกาสที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและสามารถสร้างความคุ้มทุนได้ในอนาคต” นายคงกระพันกล่าว
นายคงกระพัน กล่าวว่า สำหรับ ทิศทางของธุรกิจ ที่มีอยู่แล้ว จะเร่งสร้างความแข็งแรงและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจด้านพลังงานหรือไฮโดรคาร์บอน ( Hydrocarbon) ที่เป็น ธุรกิจหลักของ ปตท. ที่ ปตท. ทำได้ดี แต่จะทำแบบเดิมไม่ได้ ต้องทำควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก และต้องปรับตัวพร้อมรับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
นายคงกระพันกล่าวว่า ธุรกิจของ ปตท.สผ.จะต้องเร่งขยายแหล่งสำรวจและผลิต ร่วมกับพันธมิตรมีต้นทุนที่แข่งขันได้ รวมถึงการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา (OCA) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ในส่วนของธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้ามีเป้าหมายให้เสริมสร้างน่าเชื่อถือและแยกคาร์บอนฯให้กับกลุ่ม ปตท.
นายคงกระพันกล่าวว่า สำหรับธุรกิจขั้นปลายจะต้องปรับตัว และสร้างความแข็งแรงร่วมกับพันธมิตรแสวงหาโอกาสในการสร้างการทำงานร่วมกันเพิ่มเติม ทั้งนี้ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกนั้นจะต้องมุ่งหน้าหาพันธมิตรที่มีความคล่องตัว (Mobility partner) ของคนไทย ปรับพอร์ตการลงทุนให้มีความเหมาะสม (Substance) และธุรกิจ ที่ลด การถือครองทรัพย์สิน ( Asset Light ) รวมถึงการรักษาการเป็นผู้นำตลาด
นายคงกระพันกล่าวควบคู่กับการดำเนินธุรกิจที่ไม่ปล่อยคาร์บอนฯ Non-Hydrocarbonโดยจะประเมินธุรกิจนี้ใน 2 มุมคือ 1) ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจ (Attractive) และ 2) ปตท. มีมีจุดแข็ง สามารถเข้าไปต่อยอดในธุรกิจนั้นๆ ได้ และมีพันธมิตรที่แข็งแรง ซึ่งมีแนวทางการลงทุน ดังนี้
ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ไฟฟ้าปตท. จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจบรรจุกระแสไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะต้องมีการควบรวมแบรนด์ต่างๆ ภายใต้กลุ่ม ปตท. และใช้ปั๊มของโออาร์ที่มี อยู่ทั่วประเทศให้เป็นประโยชน์
• ธุรกิจลอจิสติก ปตท. จะเน้นไปเฉพาะธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของ ปตท. และมีความต้องการที่แน่นอนอยู่แล้ว โดยยึดหลักการถือครองทรัพย์สินน้อยและมีพันธมิตรที่แข็งแรง
ธุรกิจ Life Science ปตท. เช่น ยาและอาหารเสริมจะต้องสามารถพึ่งพาตัวเองได้ทางการเงิน (Self-funding) และสร้างภาพลักษณ์Goodwill ให้กับสังคม
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการบริษัท ปตท.
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ กรรมการบริษัท ปตท.
นางพงศ์สวาท นีละโยธิน กรรมการบริษัท ปตท.