'อโนชา ชีวิตโสภณ' ประธานศาลฎีกาออกคำแนะนำการพิจารณาคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในคดีอาญาของศาลชั้นต้น 6 ข้อ
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2567 นางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา ออกคำแนะนำว่าด้วยการพิจารณาคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในคดีอาญาของศาลชั้นต้น พ.ศ. 2567 6 ข้อ มีรายละเอียด ดังนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 107 วรรคหนึ่ง บัญญัติรับรองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาญาไว้ว่า การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น คำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ การพิจารณาคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวจึงต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว กับการมีตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในการดำเนินคดีอาญาเพื่อความปลออดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคมประกอบกัน ดังนี้ เพื่อให้การพิจารณาคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวมีความรอบคอบและเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ประธานศาลฎีกาจึงออกคำแนะนำไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การพิจารณาสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในคดีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องหาหรือถูกฟ้องในความผิดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตหรือในคดีอาญาสำคัญที่ต้องรายงานต่อประธานศาลฎีกาลฎีกา หรือคดีอาญาที่ต้องรายงานต่ออธิบดีผู้พิผู้พิพากษาภาคตามระเบียบราชการฝ้ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการรายงานคดีสำคัญในศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์ต่อประธานศาลฎีกาและการรายงานคดีและการตรวจสำนวนคดีในสำนักงานอธิบดีผู้พิพิพากษาภาค พ.พ.ศ. 2562 ผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบในราชการของศาลชั้นต้นพึงมอบหมายให้ผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนร่วมกันพิจารณาสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว
ในการพิจารณามีคำสั่งตามวรรคหนึ่ง หากมีความเห็นแย้งกันจนหาเสียงข้างมากมิได้ พึงปรึกษาผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบในราชการของศาลชั้นต้นเพื่อความรอบคอบในการใช้ดุลพินิจ
ข้อ 2 ในคดีที่มีผู้ต้องหาหรือจำเลยหลายคน การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว พึงพิจารณาเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 และมาตรา 108/1 ของผู้ต้องหาหรือจำเลยแยกแต่ละบุคคลไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลพึงพิจารณาพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำความผิดตามที่ต้องหาหรือถูกฟ้องที่แตกต่างกัน
ในกรณีที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว และมีการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวใหม่พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจากเหตุผลที่กล่าวอ้างใหม่และพยานหลักฐานที่สนับเหตุผลดังกล่าว น้ำหนักพยานพลักฐานที่ได้ว่าสืบในบ้างแล้ว รวมทั้งระยะเวลาที่จำเลยจะต้องถูกคุมขังต่อไป ซึ่งหากไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวอาจเกินกว่าอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดประกอบด้วย
ข้อ 3 กรณีศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวและมีการยื่นปล่อยชั่วคราวใหม่ต่อศาลชั้นต้น หากมีเหตุผลพิเศษหรือมีพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปจากที่ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ ศาลอาจพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ โดยผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบในราชการของศาลชั้นต้นพึงมอบหมายให้ผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนร่วมกันกันพิจารณาสั่งและพึงแสดงเหตุผลและพฤติการณ์ดังกล่าวให้ชัดแจ้งในคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว อีกทั้งปรึกษาผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบในราชการของศาลชั้นต้นเสียก่อน
ข้อ 4 ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์แต่สั่งขังจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลพึงปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด ในกรณีปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน อาจกำหนดวงเงินประกันต่ำกว่าบัญชีมาตรฐานวงเงินประกันสำหรับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยตามที่ศาลเห็นสมควรและจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ข้อ 5 ผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบในราชการของศาลชั้นต้นอาจกำหนดแนวปฏิบัติหรือขั้นตอนในการพิจารณาสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวเพิ่มเติมเพื่อให้การปฏิบัติตามคำแนะนำนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ข้อ 6 คำแนะนำนี้ไม่ใช้กับคดีอาญาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว
ให้ไว้ ณ วันที่ 30 ก.ค. พ.ศ. 2567