‘อธิบดีอัยการ’ เสนอแนะเพิ่มขั้นตอนทางกฎหมายใน กม.ฟอกเงินเทียบ วิ.แพ่ง หลังมีข้อสังเกตถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความผันผวนทางมูลค่าสูง ด้านรองเลขา ปปง. ชี้ควรดึงรูปแบบดีเอสไอมาใช้
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 12 มกราคม 2567 เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 67 ที่ผ่านมา ที่โรงแรม โอโซ่ นอร์ธ พัทยา จังหวัดชลบุรี นายวิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด เเละนายเทพสุ บวรโซติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงาน ปปง. ร่วมกันเป็นประธานเปิดงานสำนักงานโครงการบูรณาการการปฏิบัติงานตามกฎหมายฟอกเงินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
นายวิรุฬห์ กล่าวว่าสำหรับโครงการสัมมนากฎหมายฟอกเงินที่ทางสำนักงาน ปปง. ได้จัดให้มีขึ้นร่วมกับสำนักงานอัยการคดีพิเศษ โดยได้รับการอนุมัติจากอัยการสูงสุด ต้องขอบคุณที่ให้สำนักงานอัยการคดีพิเศษได้มาร่วมสัมมนา นับเป็นโครงการที่มีประโยชน์เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานปปง. ในเรื่องของขั้นตอนการดำเนินงานตามกฎหมายการฟอกเงินหรือ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงประเด็นแนวทางที่ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ทิศทางในการดำเนินคดี หรือเรื่องขั้นตอนและประสบการณ์ต่างๆ
@ข้อสังเกตถึงสินทรัพย์ดิจิทัล
“ต้องกล่าวว่าตอนนี้เทคโนโลยีได้ก้าวล้ำไปมากจนเราต้องเดินตามให้ทันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี มันก้าวล้ำไปถึงออกลักษณะที่แตกต่างกับการฟอกเงินโดยทรัพย์สินอื่น เช่นทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์อื่นก็ต้องขอบคุณสำนักงานปปง. ที่ได้เชิญผู้ที่ ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอลมาร่วมสัมมนาในวันนี้ (11 ม.ค. 67) ด้วย” นายวิรุฬกล่าว
นายวิรุฬกล่าวต่อไปว่า ซึ่งผู้บริหารสำนักงานปปง.ได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่าฟังว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่อย่างเช่นว่าในขณะที่มีการซื้อขายในขณะเกิดเหตุหรือกระทำความผิดมันจะมีมูลค่าอาจจะสูงแต่พอมีการบังคับคดีหลังจากศาลที่ให้ยึดทรัพย์สินมูลค่าจะลดลงหรือมากขึ้นก็ได้ หรืออาจจะไม่มูลค่าเลย หากว่าไม่มีมูลค่าเลยหรือมูลค่าต่ำมากๆการบังคับคดีหลังจากศาลท่านพิพากษาและมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินแล้วมันจะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ เพราะถ้ามันไม่มีมูลค่าเลยหากอายัดมาก็เสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการโอนต่างๆและยังมีการแลกเปลี่ยนกันในเรื่องปัญหาที่ประสบมาในแง่กฎหมาย
และในด้านข้อเท็จจริง พยานหลักฐานขั้นตอนต่างๆในการดำเนินคดีของสำนักงาน ปปง.และอัยการในสำนักงานคดีพิเศษ ตรงนี้อันนี้จริงๆแล้วกฎหมายฟอกเงินถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่ามีคดีเป็นจำนวนมากและเป็นคดีที่ยากแก่การดำเนินคดีมากกว่าคดีทั่วๆไป และเป็นคดีที่มีอยู่ทั่วราชอาณาจักร อยู่ในอำนาจของสำนักงานอัยการในภูมิภาคด้วยโดยเฉพาะคดีอาญา แต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับขอให้ริบทรัพย์ไม่ว่าจะเกิดที่ใด ก็จะเป็นอำนาจของสำนักงานปปง.และสำนักงานอัยการคดีพิเศษในการขอให้มีทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน แต่ในด้านของคดีอาญาอยู่ในอำนาจของอัยการในส่วนกลาง
สำนักงานคดีพิเศษจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะให้อัยการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องข้อกฎหมายข้อเท็จจริงขั้นตอนและพยานหลักฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งอัยการที่เข้าใหม่บางทีพอไปเจอคดีแบบนี้เข้าซึ่งก็เกิดขึ้นมาแล้วมันมีผู้เสียหายจำนวนมากในความผิดมูลฐานพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารมีเป็นหลายลังหลายกล่องต่อ1คดียากแก่การดำเนินคดี ไม่ว่าจะระบุพยาน ตรวจพนาน ว่าความ สั่งคดี ยากมากจึงเป็นความรู้ใหม่ที่มันจำเป็นต้องใช้ได้อย่างเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็ถือว่าโครงการนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก
วิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด
@เสนอมีขั้นตอนทางกฎหมายเพิ่มใน กม.ฟอกเงิน เทียบ วิ.แพ่ง
“จะเห็นได้ว่าการขอยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกา หรือตามความเห็นของอัยการคดีพิเศษหรือ ปปง.ก็ดี จะเห็นว่าการขอยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือการฟอกเงินมันไม่ได้เป็น คดีเเพ่ง โดยเนื้อเเท้จึงมีการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความเเพ่งมาใช้โดยอนุโลม หรือก็คือยืมมาใช้เท่านั้น ซึ่งทางผู้บริหารของสำนักงานปปง. เองก็ตั้งข้อสังเกตว่าต่อไปควรจะมีขั้นตอนการดำเนินคดีฟอกเงินเช่นเดียวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (กฎหมาย วิ.เเพ่ง) เช่นจะออกมาในรูปของกฎหมายวิธีพิจารณาความคดีฟอกเงินต่างๆหรือไม่ หรืออาจจะออกมาในแง่กฎระเบียบของหน่วยงาน อันนี้เป็นแนวทางของการปรับปรุงกฎหมาย” อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ระบุ
นายวิรุฬกล่าวว่า ในแง่ของข้อเท็จจริงแล้วก็พยานหลักฐานต่างๆที่ส่งมาในฐานะอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่ปปง.ก็จะมาแลกเปลี่ยนกันว่ามีประสบการณ์ที่เห็นแล้วว่ามีอุปสรรคอย่างไรก็จะมาแลกเปลี่ยนและมาแชร์กันแนวทางการแก้ไข แล้วก็ก้าวต่อไปของทั้งในด้านกฎหมายการดำเนินคดีต่อไปว่าควรทำอย่างไรถึงจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในขณะนี้ไอทีหรือเทคโนโลยีมันได้ก้าวไปมากเราก็ต้องติดตามและตามติดให้ทันสำนักงานสำหรับการดำเนินคดีฟอกเงินในลักษณะประเภทเทคโนโลยีเป็นต้น
“ตอนนี้มาตรา 59 ของ พรบ.ป้องกันเเละปราบปรามการฟอกเงินให้ขั้นตอนการดำเนินคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดินอันมีมูลหากแต่การฟอกเงินให้ประมวลกฎหมายวิธีความแพ่งโดยมาใช้โดยโดยอนุโลมเท่านั้น โดยอนุโลมคือยืมมาใช้เพราะมันไม่ใช่คดีแพ่งโดยเนื้อแท้ แต่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยและเห็นสมควรให้เอาไว้ ดังนั้น ก็ควรจะต้องแยกขั้นตอนการดำเนินคดีฟอกเงินในส่วนของการยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแยกออกมาตามฐานจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ ควรจะมีกฎหมายและขั้นตอนพิเศษต่างจากคดีแพ่งทั่วไปซึ่งคดีแพ่งทั่วไปจะเริ่มจากโจทก์ไปยื่นฟ้องต่อศาล แต่กระบวนการของกฎหมายฟอกเงินหรือการดำเนินคดีฟอกเงินจะเริ่มจากการตรวจสอบของสำนักงานปปง. ซึ่งเป็นพนักงานของรัฐในการพิจารณาตรวจสำนวนของอัยการก่อนที่จะนำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลจะต้องมีการดำเนินคดีแยกออกมาต่างหากรวมทั้งวิธีการสืบพยาน แนวคิดต่างๆจากกฎหมายแพ่ง เพราะว่าแนวคิดของมันเนี่ยเกี่ยวกับการริบทรัพย์สินที่เกิดจากการฟอกเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการทำผิดมันมีแนวคิดเพื่อตัดวงจรอาชญากรรม มันมีแนวคิดเป็นกรณีที่มุ่งตัวทรัพย์สินมากกว่าตัวบุคคล ซึ่งต่างจากคดีอาญาการฟอกเงิน ภาระการพิสูจน์ก็จะเเตกต่างกันออกไป ดังนั้น คิดว่าในส่วนของการแก้ไขกฎหมายฟอกเงินโดยแยกขั้นตอนดำเนินคดีออกไปต่างหากดังเช่นที่ผู้บริหารของสำนักงานปปง.เเละอัยการเราห็นสอดคล้อง”อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ ระบุ
พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาฯ ป.ป.ง.ได้กล่าวในงานสัมนาว่าช่วงหนึ่งว่า อาจจะมานั่งเขียนกฎหมายไว้ว่าเจ้าหน้าที่ ปปง.มีอำนาจในการสอบสวนคล้ายๆกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ คือคดีต้องเข้าหลักเกณฑ์ มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค ต้องมีผู้มีความรู้ความสามารถในเรื่องนี้มานั่งทำ จึงจะทำให้คดีไวขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันสุดท้ายอย่างที่ ท่านวิรุฬห์กล่าวไว้คดีฟอกเงินนั้นเป็นคดีไฮบริดที่เป็นอาญาส่วนนึงและแตะคดีแพ่ง วันนี้หากเรามานั่งรวมข้อมูลเสร็จและปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติหรือการเทียบเคียงกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาใช้กับสำนวน