กรรมาธิการงบปี 66 ถก ‘ดีอีเอส’ แก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์ หลังคนไทยเจอหลอกโอนเงินเสียหายหนัก แนะยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ หน่วยงานแจง จ่อชงครม.เคาะร่าง MOU ร่วมกัมพูชาปราบปราม พร้อมจี้ กสทช. กวดขันสายสื่อสารลงดิน - กำกับควบรวมค่ายมือถือ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 30 มิถุนายน 2565 น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายบัญญัติ เจตนจันทร์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และนายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปิดเผยว่า gมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 65 คณะ กมธ. ได้พิจารณางบประมาณของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม โดยที่ประชุมหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาคอลเซ็นเตอร์เป็นปัญหาใหญ่ ของประเทศในขณะนี้
ทั้งนี้ มีกรรมาธิการหลายท่าน ให้ข้อเสนอแนะว่า มีประชาชนมาร้องเรียนจานวนมาก จากกรณีผู้ที่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โทรมาหลอกให้โอนเงิน ซึ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้รู้ถึงข้อมูลส่วนตัวเชิงลึกของประชาชน และสามารถเลือกบัญชีเป้าหมายได้ตามความต้องการของมิจฉาชีพ
โดยเมื่อประชาชนถูกหลอกให้โอนเงินแล้ว จะมีการโอนย้ายเงินจากบัญชีที่รับโอนภายใน 5 นาที และโอนต่ออีกหลายบัญชี จนถึงปลายทางที่เป็นบัญชีต่างประเทศ ซึ่งทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถตามเงินกลับมาได้เพราะเงินได้ถูกโอนไปยังต่างประเทศแล้ว จะเห็นว่า ปัญหานี้ เป็นอาชญากรรมที่ทาลายเศรษฐกิจของชาติซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
ยกเป็นวาระแห่งชาติ
ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานจึงควรจัดให้ปัญหานี้เป็นวาระแห่งชาติ ที่มีการประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม, ธนาคารแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, กระทรวงมหาดไทย, กรมการปกครอง, สำนักงานกฤษฎีกา, สำนักงานปปง., กลต., กสทช., กรมประชาสัมพันธ์ และผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ผู้แทนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงว่า หน่วยงานเห็นด้วยว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวควรเป็น ‘วาระแห่งชาติ’ เพราะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไม่ใช่แก๊งระดับประเทศ แต่เป็น มิจฉาชีพข้ามชาติ ซึ่งมีหลายประเทศที่ตกเป็นเหยื่อและมีปัญหานี้เช่นกัน ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายของมิจฉาชีพ
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาแก๊งมิจฉาชีพที่ใช้การโทรผ่านอินเตอร์เน็ต นั้น ประเทศไทยเป็นประเทศเปิดเสรีการใช้อินเตอร์เน็ตจึงไม่สามารถปิดกั้นได้และผู้ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต มีเป็นจานวนมาก หน่วยงานจึงใช้วิธีการปิดกั้นทางการเงินเป็นสาคัญ เพราะเมื่อมิจฉาชีพได้รับโอนเงินมาแล้วจะมีการโอนเงินต่อไปอีก 4 บัญชี ซึ่งบัญชีสุดท้ายส่วนใหญ่เป็นบัญชีจ ากต่างประเทศ และอาจมีการเปลี่ยนรูปแบบนาไปซื้อ เหรียญคริปโตเคอร์เรนซี่จากต่างประเทศ
ที่ผ่านมา สำนักงานตารวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ ได้ร่วมมือกันแก้ปัญหา เช่น การปิดกั้นข้อความ (SMS) จานวน 3,219 เบอร์ แล้ว และจากการได้รับแจ้งความการถูกหลอกลวง ประมาณ 27,000 ราย หน่วยงานปิดบัญชีธนาคารก่อนที่เงินจะถูกโอนไป จานวน 8,550 บัญชี
ในปัจจุบันนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำลังจะลงนามข้อตกลง (MOU) ร่วมกันกับรัฐบาลกัมพูชา ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 นี้เพื่อปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยเฉพาะในส่วนของร่างข้อตกลงระหว่างสองประเทศกำลังให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
ทั้งนี้ มีกรรมาธิการบางท่านจึงมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เมื่อเทียบกับจำนวนบัญชีที่ถูกหลอกลวงที่มีจานวนมาก หน่วยงานควรเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วน
จี้ กสทช. ดูสายสื่อสารลงดิน-ตวบรวมค่ายมือถือ
นอกจากนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ยังได้หารือกันเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง การจัดระเบียบสายสื่อสารในกรุงเทพมหานครและทั่วประเทศ และการติดตามการควบรวมกิจการของค่ายโทรศัพท์มือถือ โดยมี กรรมาธิการบางท่าน ให้ข้อเสนอแนะว่า แม้ว่าจะไม่ใช่งานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่ปัญหานี้อยู่ในกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงขอให้หน่วยงาน ร่วมมือกับ กสทช. เพื่อติดตามเรื่องนี้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค