คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบแผน 4 เดือนปรับโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2565 คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบแผนรองรับการการเปลี่ยนผ่านโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น แบ่งออกเป็น 4 เดือน เรียกว่า 3 บวก 1 (4 ระยะ) ดังนี้
-
ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.) เรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง
-
ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ
-
ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน
-
และอีกบวก 1 หรือระยะ 4 ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น
ทั้งนี้ แผนดำเนินการทั้งหมดจะต้องการให้เกิดภายใน 4 เดือน โดยจะมีคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการควบคุมโรค คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการรักษา คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับกฎหมายและสังคม ซึ่งต้องแก้กฎหมายประมาณ 9 ฉบับ อย่างสังคมจะมีลักษณะอย่างไร ปรับตัวอย่างไร ก็จะมีแนวทางออกมา เช่น COVID Free Setting ต้องยกเป็นมาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งต้องรอรายละเอียดต่างๆ ออกมา