"...โดยความเป็นจริงแล้ว จําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้นําการจ้างตามบันทึกการจัดจ้างทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวมาดําเนินการทํางานรวมในคราวเดียวกันและได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างรวมเข้าด้วยกันเป็นคราวเดียวเป็นรายวัน วันละประมาณ 120 บาท ผู้รับจ้างแต่ละรายได้เงินค่าจ้างคนละหนึ่งพันบาทเศษเท่านั้น ซึ่งขัดกับใบสั่งจ้างตามที่ได้อนุมัติซึ่งการจ่ายค่าจ้างตามใบเสร็จรับเงินปรากฏชื่อจําเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกเงินค่าจ้างและจําเลยที่ 2 เป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง โดยจําเลยทั้งสองได้เอาเงินส่วนที่เหลือจากที่จ่ายจริงไปเป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริต.."
...............................
การกระทำความผิดของจำเลยทั้ง 2 ราย เป็นการดำเนินงานจัดจ้างเหมาแรงงานเข้ามาทำงานให้ศูนย์ขยายพันธุ์ไหม ที่ 1 ในช่วงปี 2543 จำนวน 5 รายการ ทั้งการดายหญ้า ตัดแต่งกิ่งหม่อนและใส่ปุ๋ย บรรจุเพาะชำกิ่งหม่อน บรรจุดินในถุงดำพร้อมทั้งปักชำกิ่งหม่อน ซึ่งจะต้องแบ่งแยกการดำเนินงานจ้างออกเป็นช่วงๆ ให้เป็นไปตามที่ขออนุมัติจัดจ้าง แต่เมื่อถึงช่วงการเบิกจ่ายเงินกลับรวมงานจ้างทุกฉบับเข้าด้วยกัน โดยจ่ายค่าจ้างให้แรงงานเป็นรายวัน วันละประมาณ 120 บาท ทำให้ผู้รับจ้างแต่ละรายได้เงินค่าจ้างคนละหนึ่งพันบาทเศษเท่านั้น ซึ่งขัดกับใบสั่งจ้างตามที่ได้อนุมัติที่ต้องได้เงินมากกว่า
ก่อนจะนำเงินส่วนที่เหลือจากที่เบิกจ่ายไปเป็นประโยชน์ของตนเองโดยทุจริต
คือ พฤติการณ์การกระทำความผิดของ นายอนันต์ หรือ ภนัณก์กิจ สุทธภักดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ขยายพันธุ์ไหม ที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ และ นายเสถียร แจ่มแสง นักวิชาการเกษตร 5 ประจำศูนย์ขยายพันธุ์ไหม ที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ในคดีทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างกิจการงานต่างๆ ของศูนย์ขยายพันธุ์ใหม่ที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา
โดยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 ที่พิพากษา ว่า นายอนันต์ หรือ ภนัณก์กิจ สุทธภักดี จำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 151 นายเสถียร แจ่มแสง จำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด มาตรา 91
จำคุก นายอนันต์ หรือ ภนัณก์กิจ สุทธภักดี กระทงละ 5 ปี 2 กระทง รวมจำคุก 10 ปี
จำคุก นายเสถียร แจ่มแสง กระทงละ 3 ปี 4 เดือน 2 กระทง รวมจำคุก 6 ปี 8 เดือน
ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำข้อมูลเบื้องต้นมานำเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
(อ่านเรื่องประกอบ : ยืนโทษคุก 10 ปี! อดีต หน.ศูนย์ขยายพันธุ์ไหม ทุจริตจัดซื้อจ้าง-พวกโดน 6 ปี 8 ด., ทุจริตค่าจ้างแรงงาน! พฤติการณ์ อดีต หน.ศูนย์ขยายพันธุ์ไหม ศรีสะเกษ โดนคุก 10 ปี)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา นำพฤติการณ์การกระทำความผิดอย่างละเอียดของจำเลยทั้งสองที่ปรากฏอยู่ในคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ มาเสนอ ณ ที่นี้ ว่าจำเลยทั้งสอง มีวิธีการทุจริตค่าจ้างแรงงานอย่างไร?
@ สถานะ-อำนาจหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุ นายอนันต์ หรือ ภนัณก์กิจ สุทธภักดี จําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่งหัวหน้าศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ดําเนินการและอนุมัติในการจัดซื้อจัดจ้างของศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ และมีอํานาจหน้าที่ในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากสํานักงานคลังจังหวัด ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2520 ข้อ 15(2)
นายเสถียร แจ่ม จําเลยที่ 2 ดํารงตําแหน่งนักวิชาการเกษตร 5 ประจําศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
ในช่วงเดือนเมษายน 2543 ถึงเดือนกันยายน 2543 จําเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีอํานาจในการจัดการและดูแลทรัพย์สินของศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ รวมถึงดําเนินการจัดจ้างแรงงานมาทํางานให้ด้วย
เมื่อปีงบประมาณ 2543 จําเลยที่ 1 อนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง ตามคําเสนอของจําเลยที่ 2 ดังนี้
1. ขออนุมัติจ้างเหมาแรงงานภายหญ้า ตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ที่ กษ 1016.3/377 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 โดยขออนุมัติจ้างเหมาแรงงานภาคเกษตรจากบุคคลภายนอกมาดําเนินการดายหญ้า 13 ราย รายละ 4 ไร่ ในอัตราไร่ละ 825 บาท รวม 52 ไร่
2. ขออนุมัติจ้างเหมาแรงงานตัดแต่งกิ่งหม่อนและใส่ปุ๋ย ตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ที่ กษ 1016.3/412 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 โดยอนุมัติจ้างเหมาแรงงานจากบุคคลภายนอกมาดําเนินการตัดแต่งกิ่งหม่อนและใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 10 ราย รายละ 5 ไร่ ในอัตราไร่ละ 650 บาท
3. ขออนุมัติจ้างแรงงานบรรจุเพาะชํากิ่งหม่อน ตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ที่ กษ 1016.3/433 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2543 โดยขออนุมัติจ้างแรงงานบุคคลภายนอกมาดําเนินการบรรจุดินในถุงดําพร้อมทั้งปักชํากิ่งหม่อน โดยขอจัดจ้างบุคคล 2 ราย รายละ 45,000 ต้น ต้นละ 1 บาท จํานวน 90,000 ต้น รวมเป็นเงิน 90,000 บาท
4. ขออนุมัติจ้างแรงงานบรรจุเพาะชํากิ่งหม่อน ตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ที่ กษ 1016.3/619 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 โดยขออนุมัติจ้างแรงงานบุคคลภายนอกมาดําเนินการบรรจุดินในถุงดํา
พร้อมทั้งปักชํากิ่งหม่อน โดยขอจัดจ้างบุคคล 2 ราย รายละ 45,000 ต้น ต้นละ 1 บาท จํานวน 90,000 ต้น รวมเป็นเงิน 90,000 บาท
5. ขออนุมัติจ้างเหมาแรงงานตัดแต่งกิ่งหม่อนและใส่ปุ๋ย ตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ที่ กษ 1016.3/785 ลงวันที่ 4 กันยายน 2543 โดยขออนุมัติจ้างเหมาแรงงานจากบุคคลภายนอกมาดําเนินการตัดแต่งกิ่งหม่อนและใส่ปุ๋ย 10 ราย รายละ 5 ไร่ ในอัตราไร่ละ 650 บาท
@ พฤติการณ์การกระทำความผิด
จําเลยทั้งสองได้กระทําความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน
กล่าวคือ เมื่อระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม 2553 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 20 กันยายน 2543 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน
จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐและกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือเจ้าของทรัพย์นั้น
โดยมีจําเลยที่ 2 เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จําเลยที่ 1 ในการกระทําความผิดก่อนหรือขณะกระทําความผิดและจําเลยที่ 1 ได้รู้ถึงการช่วยเหลือและให้ความสะดวกนั้นแล้ว อันเป็นการสนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทําความผิด
กล่าวคือ กรณีการจ้างเหมาแรงงานมาดําเนินการดายหญ้าในแปลงหม่อนจากบุคคลภายนอก 13 ราย ของศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ขออนุมัติอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร จ้างเหมาแรงงานภาคเกษตรจากบุคคลภายนอก
13 ราย รายละ 4 ไร่ ในอัตราไร่ละ 825 บาท รวม 52 ไร่ รวมเป็นเงิน 42,900 บาท
การจ้างเหมาแรงงานบุคคลภายนอกมาดําเนินการตัดแต่งกิ่งหม่อนและใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ จํานวน 10 ราย รายละ 5 ไร่ รวม 50 ไร่ โดยจ้างเหมาในอัตราไร่ละ 650 บาท รวมเป็นเงิน 32,500 บาท และการจ้างเหมาแรงงานบุคคลภายนอกมาดําเนินการตัดแต่งกิ่งหม่อนและใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 10 ราย รายละ 5 ไร่ รวม 50 ไร่ โดยจ้างเหมาในอัตราไร่ละ 650 บาท รวมเป็นเงิน 32,500 บาท ดังกล่าวนั้น
จําเลยที่ 2 นักวิชาการเกษตร 5 ในฐานะเจ้าหน้าที่พัสดุได้ดําเนินการเสนอเรื่องขออนุมัติจัดจ้างเหมาแรงงานบุคคลภายนอก ต่อจําเลยที่ 1 หัวหน้าศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อดําเนินการเสนอขออนุมัติจัดจ้างต่ออธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
และต่อมาจําเลยที่ 1 ในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติให้มีการจัดจ้างตามที่จําเลยที่ 2 เสนอ
โดยความเป็นจริงแล้วจําเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องแบ่งแยกการดําเนินการงานจ้างให้เป็นไปตามที่ขออนุมัติจัดจ้างเป็นช่วง ๆ ตามบันทึกขออนุมัติจัดจ้างจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรและใบสั่งจ้างแต่ละฉบับ
แต่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ดําเนินการรวมงานจ้างตามบันทึกขออนุมัติจัดจ้างและใบสั่งจ้างทุกฉบับดังกล่าวข้างต้นเข้าด้วยกัน
โดยให้ผู้รับจ้างทุกคนตามใบสั่งจ้างเข้ามาทํางานทั้งดายหญ้า พรวนดิน ใส่ปุ๋ยและตัดแต่งกิ่งหม่อนไปในคราวเดียวกัน
ช่วงระยะเวลาเดียวกัน
ไม่ได้มีการแบ่งการจัดจ้างเป็น 3 ช่วงระยะเวลาให้เป็นไปตามที่ระบุในบันทึกข้อความทั้ง 3 ฉบับ
ในการดําเนินการจัดจ้างทั้ง 3 รายการนั้น จําเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุมัติจัดจ้างและลงนามอนุมัติให้ดําเนินการจัดจ้างในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
ส่วนการจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง จําเลยที่ 1 ใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐและกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีจําเลยที่ 2 เป็นผู้ให้การสนับสนุน
โดยจําเลยที่ 1 ได้เบิกเงินที่ต้องจ่ายแก่ผู้รับจ้างตามใบสั่งจ้างทุกฉบับข้างต้น แล้วจําเลยทั้งสอง ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามอัตราที่ระบุไว้ในใบสั่งจ้าง โดยตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหม ที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ที่ กษ 1016.3/377 วันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ระบุว่าจ้างเหมาแรงงานภาคเกษตรจากบุคคลภายนอก 13 ราย รายละ 4 ไร่ ในอัตราไร่ละ 825 บาท เป็นเงิน 3,300 บาทต่อราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,900 บาท และตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษที่ กษ 1016.3/412 วันที่ 12 พฤษภาคม 2543 และตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหม่ที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ที่ กษ 1016.3/785 ลงวันที่ 4 กันยายน 2543 การจ้างเหมาแรงงานบุคคลภายนอกมาดําเนินการตัดแต่งกิ่งหม่อนและใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ รวม 2 ฉบับ 20 ราย รายละ 5 ไร่ ไร่ละ 650 บาท รวมเป็นเงิน 3,250 บาทต่อราย
แต่โดยความเป็นจริงแล้ว จําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้นําการจ้างตามบันทึกการจัดจ้างทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวมาดําเนินการทํางานรวมในคราวเดียวกันและได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างรวมเข้าด้วยกันเป็นคราวเดียวเป็นรายวัน วันละประมาณ 120 บาท
ผู้รับจ้างแต่ละรายได้เงินค่าจ้างคนละหนึ่งพันบาทเศษเท่านั้น
ซึ่งขัดกับใบสั่งจ้างตามที่ได้อนุมัติซึ่งการจ่ายค่าจ้างตามใบเสร็จรับเงินปรากฏชื่อจําเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกเงินค่าจ้างและจําเลยที่ 2 เป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง
โดยจําเลยทั้งสองได้เอาเงินส่วนที่เหลือจากที่จ่ายจริงไปเป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริต
และเมื่อระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม 2543 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2553 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นเจ้าพนักงานใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐและกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือเจ้าของทรัพย์นั้น โดยมีจําเลยที่ 2 เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จําเลยที่ 1 ในการกระทําความผิดดังกล่าวก่อนหรือขณะกระทําความผิด อันเป็นการสนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทําความผิดและจําเลยที่ 1 ได้รู้ถึงการช่วยเหลือและให้ความสะดวกนั้นแล้ว
กล่าวคือ การจ้างเหมาแรงงานบรรจุถุงเพาะชํากิ่งหม่อน ตามบันทึกข้อความที่ กษ 1016.3/433 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2543 เรื่อง ขออนุมัติจ้างแรงงานบรรจุถุงเพาะชํากิ่งหม่อน ของศูนย์ขยายพันธุ์ไหม ที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบใบสั่งจ้างกรมส่งเสริมการเกษตร ฉบับลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2543 รวม 2 ฉบับ ระบุว่าได้จ้างนาง อ. และ นาง บ. บรรจุถุงเพาะชํากิ่งหม่อน รายละ 45,000 ต้น อัตราค่าจ้างต้นละ 1 บาท รวม 90,000 ต้น เป็นเงิน 90,000 บาท และตามบันทึกข้อความศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ ที่ กษ 1016.3/619 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 เรื่อง ขออนุมัติจ้างแรงงานเพาะชําต้นหม่อนประกอบใบสั่งจ้างกรมส่งเสริมการเกษตรฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 รวม 2 ฉบับ ระบุว่า ได้จ้าง นาง ส. และนาง พ. บรรจุถุงเพาะชํากิ่งหม่อนรายละ 45,000 ต้น อัตราค่าจ้างต้นละ 1 บาท รวม 90,000 ต้น เป็นเงิน 90,000 บาทนั้น
จําเลยที่ 2 นักวิชาการเกษตร 5 ในฐานะเจ้าหน้าที่พัสดุ ได้ดําเนินการเสนอเรื่องขออนุมัติจัดจ้างเหมาแรงงานภายนอกต่อจําเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้าศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อดําเนินการเสนอขออนุมัติจัดจ้างต่ออธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
และต่อมาจําเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติให้มีการจัดจ้างดังกล่าวตามที่ได้มีการเสนอโดยความเป็นจริงแล้วจําเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องแบ่งแยกการดําเนินการงานจ้างให้เป็นไปตามที่ขออนุมัติจัดจ้างจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นช่วง ๆ ให้ตรงตามบันทึกข้อความขออนุมัติจัดจ้าง ตรงตามใบสั่งจ้างและตรงตามใบเสร็จรับเงินค่าจ้างของผู้รับจ้าง และจ่ายเงินค่าจ้างให้ครบตรงตามที่ระบุไว้ในบันทึกการสั่งจ้างและใบเสร็จรับเงิน
แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจําเลยที่ 1 และที่ 2 นําบันทึกข้อความขออนุมัติจ้างแรงงานเพาะชําต้นหม่อนทั้งสองฉบับดังกล่าว ข้างต้นมารวมดําเนินการในคราวเดียวกัน และในการไปรับจ้างนั้นผู้รับจ้างตามใบสั่งจ้างคือ นาง อ. นาง บ. นาง พ.
และนางส. ได้เดินทางไปรับจ้างกรอกถุงในช่วงวันเวลาเดียวกัน มิได้เป็นการไปทํางานสองช่วงเวลาตามที่ขออนุมัติจัดจ้างและใบสั่งจ้าง และได้มีชาวบ้านเพียนามเหนือ ตําบลหนองไผ่ อําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมเดินทางไปทํางานด้วย ประมาณ 10 คน
สําหรับการจ่ายค่าจ้าง จําเลยที่ 1 ใช้อํานาจในตําแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐและกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีจําเลยที่ 2 เป็นผู้ให้การสนับสนุน
โดยจําเลยทั้งสองได้เบิกเงินของศูนย์ขยายพันธุ์ไหมที่ 1 ที่จังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการเกษตรมาเพื่อจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างรายละ 45,000 บาท รวม 4 ราย เป็นเงิน 180,000 บาท
แต่จําเลยทั้งสองไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตรงตามที่ระบุไว้ในใบสั่งจ้าง ใบตรวจรับและใบเสร็จรับเงิน ซึ่งระบุว่าจ้างบรรจุเพาะชํากิ่งหม่อนราคาค่าจ้างถุง/ต้นละ 1 บาท
แต่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างในอัตรา 100 ถุง/ต้นต่อ 10 บาท ซึ่งไม่ตรงกับใบสั่งจ้าง ใบตรวจรับและใบเสร็จรับเงิน และในการจ่ายค่าจ้างตามใบเสร็จรับเงินระบุว่า จําเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกเงินค่าจ้าง จําเลยที่ 2 เป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างแล้วจําเลยทั้งสองได้เอาเงินส่วนที่เหลือไปเป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริต
เหตุเกิดที่ตําบลหนองไผ่ อําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86, 91, 151
ทั้งหมดนี่ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองรายที่ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ตัดสินคดีนี้ ซึ่งมีข้อมูลในส่วนการต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองรวมอยู่ด้วย
รายละเอียดเป็นอย่างไร สำนักข่าวอิศรา ขอนำมาเสนอในตอนต่อไป
อย่างไรก็ดี คดีนี้ยังไม่สิ้นสุด จำเลยทั้งสอง มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
อ่านข่าวในหมวดเดียวกัน
อุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง 3 อดีตบิ๊ก คพ.คดีคลองด่าน-อสส.ยังยื่นฎีกาสู้คดีต่อ
คุก 1 ปี 4 ด.! อดีต 'พ.ต.ท.' สน.บางบอน สารภาพไม่รับแจ้งความถูกปล้นทรัพย์
ยืนโทษคุก 10 ปี! อดีต หน.ศูนย์ขยายพันธุ์ไหม ทุจริตจัดซื้อจ้าง-พวกโดน 6 ปี 8 ด.
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage