"....การแบนอัญมณีจากเมียนมานั้นถือเป็นการเพิ่มภาระทางเอกสารยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่จะนำเข้าทับทิม มีบางคนแสดงความกังวลว่าการลงโทษเมียนมานั้นจะทำการระบุตัวตนของทับทิมว่ามาจากเมียนมาหรือไม่มีความยากขึ้น และเมื่อการระบุตัวตนอัญมณีว่ามาจากประเทศไหนยากขึ้นแล้ว ก็จะมีการละเลยในการตรวจสอบว่าอัญมณีดังกล่าวมาจากเหมืองใดกันแน่ ...."
.............................
สืบเนื่องจากข่าวการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา เมื่อวันที่ 1 ก.พ.64 ตามมาด้วยข่าวนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ลงนามคำสั่งพิเศษบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรกับผู้นำรัฐประหารเมียนมาในวันที่ 11 ก.พ. 2564 โดยมุ่งเป้าไปที่ผู้นำกองทัพ, ครอบครัว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา และปิดกั้นไม่ให้กองทัพเมียนมาเข้าถึงกองทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (29,888 ล้านบาท)
จากกรณีดังกล่าว ทำให้ธุรกิจในหลายภาคส่วนมีความตื่นตัวกันมาก โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการลงทุนในประเทศเมียนมา ที่อาจจะเป็นเส้นทางการเงินไปสู่กลุ่มทหารผู้ครองอำนาจในประเทศเมียนมา ณ เวลานี้
ล่าสุด เว็บไซต์ข่าว JCK Online ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นำเสนอข่าวเกี่ยวกับแวดวงเพชรพลอยทั่วโลก ได้นำเสนอรายงานความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเพชรกับกลุ่มกองทัพเมียนมาเอาไว้
มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
ณ เวลานี้ ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเพชรหลายรายได้ออกมาประณามการรัฐประหารในเมียนมาว่า เป็นโศกนาฎกรรมอันเลวร้าย และยังได้ออกมาแสดงความกังวลว่าการรัฐประหารนั้นจะส่งผลกระทบบางอย่างกับอัญมณีในประเทศเมียนมา
โดยเมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ ในกำกับดูแลของกระทรวงการคลังหรือ OFAC ได้ออกมาตรการลงโทษบริษัทอัญมณีและหยกจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.Myanmar Ruby Enterprise 2. Myanmar Imperial Jade Co.และ 3.Cancri (Gems and Jewellery) Co
ในแถลงการณ์ของ OFAC ระบุว่าทั้ง 3 บริษัทนั้นจะไม่สามารถทำธุรกิจในสหรัฐอเมริกา หรือกับบริษัทสัญชาติสหรัฐฯได้
แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการใช้กฎเกณฑ์ใดมาบังคับ และบทบาทของอุตสาหกรรมอัญมณีจะดำเนินไปอย่างไร
“เรา พร้อมด้วยคนอื่นๆกำลังพยายามคิดว่านี่มันหมายความว่าอย่างไร การรัฐประหารนั้นแน่นอนว่าไม่เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเมียนมา หรือสำหรับอุตสาหกรรมของเรา แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการลงโทษประเทศเมียนมาที่ว่ามานั้นก็คงส่งผลร้ายต่ออุตสาหกรรมของเราด้วยเช่นกัน ซึ่งประเด็นที่จะต้องตัดสินใจกันต่อไปหลังจากนี้ ก็คืออะไรที่จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้คนหมู่มาก”นายดั๊ก ฮัคเกอร์ ผู้บริหารสมาคมแลกเปลี่ยนอัญมณีสหรัฐอเมริกาหรือ AGTA ระบุ
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า สมาคมผู้ประกอบการหลายรายเริ่มจะประเมินกันแล้วว่าถ้าหากสถานการณ์ในเมียนมายังคงไม่ได้เกิดขึ้น ก็คงจะต้องมีการใช้มาตรการบางอย่าง อาทิ การแบนการนำเข้าอัญมณีจากประเทศเมียนมา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตทั้งทับทับทิมและอัญมณีต่างๆมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
อนึ่ง ก่อนหน้านี้นั้นเคยมีกรณีการแบนอัญมณีจากเมียนมามาก่อนแล้ว โดยในช่วงปี 2551 เคยมีการออกกฎหมายที่ชื่อว่า กฎหมาย Tom Lantos Block Burmese JADE ซึ่งในรายละเอียดของกฎหมายเป็นการออกมาตรการห้ามไม่ให้สหรัฐอเมริกานำเข้าทับทิมและหยกของจากประเทศเมียนมาในทุกกรณี และกฎหมายดังกล่าวนั้นก็ผ่านรัฐสภาไปด้วยความเห็นชอบอย่างท่วมท้นทั้งจากสภาผู้แทนราษฎรและจากวุฒิสภา และในปี 2556 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็ได้มีการเซ็นคำสั่งผู้บริหารเพื่อที่จะขยายเวลาสำหรับมาตรการแบนที่ว่านี้ออกไปอีก
อย่างไรก็ตาม ผู้ทำงานในวงการอุตสาหกรรมอัญมณีหลายแห่งก็ได้ออกมาวิจารณ์กฎหมาย Jade Act ว่าไม่ได้ส่งผลกระทบกับธุรกิจรายใหญ่อันเกี่ยวข้องกับเผด็จการทหารเมียนมาแต่อย่างใด แต่กลับทำร้ายคนงานเหมืองรายเล็กรายน้อยเสียมากกว่า
“การแบนอัญมณี จะทำร้ายผู้ที่เป็นคนงานเหมือง และชุมชนของพวกเขา แต่จะไม่ทำร้ายบริษัทเลยแม้แต่น้อย” นายเอ็ดเวิร์ด โบห์ม เจ้าของร้านรับซื้ออัญมณี Rare Source ในรัฐเทนเนสซี่กล่าว
ย้อนไปเมื่อปี 2558 เมื่อฝ่ายของนางอองซาน ซูจี ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำประเทศ มีหลายคนคาดหวังว่าเมียนมาจะเข้าสู่ยุคใหม่ ดังนั้น จึงมีการยกเลิกกฎหมาย Jade Act ที่ห้ามการนำเข้าอัญมณีในปี 2559
แต่ถึงกระนั้นกองทัพก็ยังมีส่วนควบคุมภาคส่วนสำคัญในหลายด้านของประเทศเมียนมา รวมไปถึงในอุตสาหกรรมอัญมณี เมื่อมีเหตุยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ. หลายภาคส่วนก็ได้คาดการณ์แล้วว่าไม่เร็วก็ช้า อุตสาหกรรมอัญมณีจะถูกลากเข้าไปมีส่วนในความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น ณ เวลานี้
“ผมไม่คิดว่านี่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอะไร คือ การรัฐประหารนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยในครั้งนี้ก็ยังดีที่มีการลงโทษแค่บางบริษัทเท่านั้น ไม่เหมือนกับในครั้งที่แล้ว ที่มีการลงโทษในแบบเหมารวมกับทุกบริษัทในอุตสาหกรรมอัญมณี” นายเจฟฟรีย์ บิลกอร์ อดีตประธาน AGTA ที่เคยเดินทางไปประเทศเมียนมาในปี 2559 กล่าว
อย่างไรก็ตาม การแบนอัญมณีจากเมียนมานั้นถือเป็นการเพิ่มภาระทางเอกสารยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่จะนำเข้าทับทิม มีบางคนแสดงความกังวลว่าการลงโทษเมียนมานั้นจะทำการระบุตัวตนของทับทิมว่ามาจากเมียนมาหรือไม่มีความยากขึ้น และเมื่อการระบุตัวตนอัญมณีว่ามาจากประเทศไหนยากขึ้นแล้ว ก็จะมีการละเลยในการตรวจสอบว่าอัญมณีดังกล่าวมาจากเหมืองใดกันแน่
หยกจากประเทศเมียนมา (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.aluxurytravelblog.com/2019/09/15/myanmar-jade-market/)
“เมื่อคุณมีอัญมณีที่มีมูลค่าสูง คุณอาจสามารถที่จะตามรอยต่อไปได้ด้วยการพิสูจน์สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆที่มาของอัญมณีนั้น แต่พอเมื่อกลายเป็นอัญมณีที่มีขนาดเล็กลง นี่จะกลายเป็นปัญหาที่ยากขึ้นมาก” นายฮัคเกอร์กล่าว
“อุปสรรคอย่างหนึ่งก็คือว่าภาคส่วนอุตสาหกรรมอัญมณีของเมียน,kนั้นยังคงอยู่ในจุดที่ไม่โปร่งใส และมีรายละเอียดที่ค่อนข้างจะคลุมเครือ เพราะว่ากฎหมายของประเทศเมียนมานั้นห้ามการส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้ว ดังนั้นอัญมณีส่วนมากของเมียนมาจะถูกลักลอบนำเข้ามาจากทางชายแดนเข้าสู่ประเทศไทยแทน” นายเคนเนดี้ โฮ ประธานสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งเอเซีย (AIGS) ซึ่งเคยคลุกคลีผู้คนในเมียนมากล่าว
และ ณ เวลานี้ก็ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนมารองรับเลยว่าทำไมบริษัทเมียนมาทั้ง 3 แห่งที่ถูกลงโทษนั้น ทำไมกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่โตขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งทางด้านของนักกิจกรรมสังคมหลายรายต่างก็ระบุว่าภาคส่วนอัญมณีนั้นถือเป็นธุรกิจที่ทำกำไรมหาศาลให้กับทางกองทัพเมียนมา
แต่นายโฮได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่าอุตสาหกรรมเหมืองในเมียนมาส่วนมากจะใช้วิธีการว่าให้มีผู้จัดการรายเล็กเป็นผู้ดำเนินการ ในช่วงตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่บริษัทที่ใหญ่กว่านนั้นกลับมีปัญหาในเรื่องของใบนอนุญาตการทำเหมือง
แม้ว่าในตอนนี้ อุตสาหกรรมเหมืองอัญมณีจะดูเหมือนกับว่าหยุดนิ่ง เนื่องจากคนงานเหมืองส่วนมากได้ออกไปประท้วงรัฐบาล แต่นายโฮเชื่อว่าทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการค้าหยกแน่นอน เพราะว่าหยกส่วนมากในเมียนมาถูกขายให้กับประเทศจีนที่มีอำนาจและมีกำลังซื้อที่มากขึ้น แต่การแบนที่ว่านี้อาจจะส่งผลต่อตลาดทับทิมได้เช่นกัน แม้ว่าทับทิมจะเป็นอัญมณีที่ขายในประเทศจีนได้เป็นจำนวนมากก็ตาม
นายโฮกล่าวทิ้งท้ายว่า "เขาเชื่อว่ารัฐบาลทหาร ณ เวลานี้เมื่อสามารถเข้าถึงอำนาจได้แล้ว ก็คงเป็นการยากอีกเช่นกันที่จะขจัดพวกเขาออกไปได้โดยง่าย"
การประท้วงในเมียนมา (อ้างอิงวิดีโอจาก France24English)
เรียบเรียงจาก:https://www.jckonline.com/editorial-article/gem-industry-events-myanmar/
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage