15 ต.ค. 2563 เผยแพร่ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ พล.อ. ประวิตร เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงาน ทหารเป็นผู้ช่วยฯเจ้าพนักงาน ห้ามชุมนุม มั่วสุม เกิน 5 คน ห้ามสื่อเสนอข่าว ที่มีข้อความบิดเบือน เรียกบุคคลใดมารายงานตัวได้
.............................
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ต.ค.2563 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและคำสั่งที่เกี่ยวข้องอีก 3 ฉบับ รวมเป็น 4 ฉบับ ดังนี้
1.ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
โดยที่ปรากฏว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่าง ๆก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดาเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขกรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 04.00 นาฬิกา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
(ดูประกาศฉบับเต็มที่นี่http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/241/T_0001.PDF)
2.คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 36/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับกำรปฏิบัติงำน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
สาระสำคัญ
ข้อ 1 ให้พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับกำรปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ข้อ 2 ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงมีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย
(1) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการทุกฝ่ำยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
(2) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ 3 ให้ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
(ดูประกาศฉบับเต็มที่นี่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/241/T_0002.PDF)
3.ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
สาระสำคัญ
ข้อ 1 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
ข้อ 2 ห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลำยซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดรวมตลอดทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บรรดาที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้ำใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร
(ดูประกาศฉบับเต็มที่นี่http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/241/T_0004.PDF)
4.ประกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
สาระสำคัญ
ข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้นหรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกัน มิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิด ความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยปฏิบัติตามมาตรา 12 แห่งพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อ 2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ 3 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารหรือการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำการ ส่งเสริมหรือสนับสนุนการกระทาให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ 4 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ร้ายแรงนั้นได้ทันท่วงที
(ดูประกาศฉบับเต็มที่นี่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/241/T_0005.PDF)
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage