"...จากการตรวจสอบเอการข้อเสนอโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งพร้อมเอกสารแนบ จำนวน 50 แห่ง พบว่า สมาชิกของกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน จำนวน 15 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 37.50 ของกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่สุ่มตรวจสอบ นอกจากนี้บ่อน้ำบาดาลที่เข้าร่วมโครงการบางแห่งมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่กำหนด..."
.........................................
โครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2559 จำนวน 520,100,120.00 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้งของประชาชนและเกษตรกร โดยการติดตั้งระบบสูบน้ำใต้ดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ และส่งมอบเทคโนโลยีพลังงานให้กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งส่งเสริมการบูรณาการระหว่างกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักงานพลังงานจังหวัด (สพจ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ประกาศภัยแล้งทั่วประเทศ จำนวน 900 ระบบ
ถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบปัญหาในขั้นตอนการปฏิบัติงานจำนวนมาก
โดยจากการตรวจสอบเอการข้อเสนอโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งพร้อมเอกสารแนบ จำนวน 50 แห่ง พบว่า สมาชิกของกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน จำนวน 15 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 37.50 ของกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่สุ่มตรวจสอบ นอกจากนี้บ่อน้ำบาดาลที่เข้าร่วมโครงการบางแห่งมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่กำหนด โดยพบว่า บ่อน้ำบาดาลของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้ำร่วมโครงการรจำนวน 2 แห่ง มีอัตราการ ผลิตน้ำน้อยกว่าที่กำหนดไว้ 5 ลบ.ม./ชม. และบ่อน้ำบาดาลของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้าร่วม โครงการจำนวน 3 แห่ง ไม่มีเอกสารแสดงข้อมูลกการทดสอบปริมาณน้ำหรือแผ่นป้ายข้อมูลบ่อน้ำบาดาล (ภาพถ่าย) และบ่อน้ำบาดาลของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 5 แห่ง มีข้อมูลบ่อน้ำบำดาลในรายงานทดสอบปริมาณน้ำไม่ตรงกับข้อมูลในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่แนบมาพร้อมข้อเสนอโครงการ สาเหตุเกิดจากการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ต้องการเข้าร่วมโครงการและบ่อน้ำบาดาลของผู้ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนต่างๆ ขาดความรอบคอบ รัดกุม
สำหรับผลการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการในภาพรวม สตง.พบข้อมูลสำคัญดังต่อไปนี้
@ ผลการดําเนินโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด
1.1 การติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ
จากการตรวจสอบรายงานผลการดําเนินโครงการ พบว่า มีผลการติดตั้งระบบสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่กลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้าร่วมโครงการ จํานวน 842 ระบบ คิดเป็นร้อยละ 93.56 ของเป้าหมายโครงการ การที่โครงการมีผลการติดตั้งระบบสูบน้ำต่ํากว่าเป้าหมายดังกล่าว ส่งผลให้ กําลังผลิตติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดด้วย นอกจากนี้ จากการตรวจสอบปริมาณน้ำที่สูบเข้าระบบหอถังตามมาตรวัดน้ำ จํานวน 50 ระบบ พบว่า มีปริมาณน้ำที่สูบได้จริงโดยเฉลี่ยต่อวันน้อยกว่า 20 ลูกบาศก์เมตร จํานวน 24 ระบบ ซึ่งไม่เป็นไปตาม เป้าหมายในระดับผลลัพธ์ของโครงการ
1.2 สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบสูบน้ำพลังงาน แสงอาทิตย์
จากการตรวจสอบกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ จํานวน 40 กลุ่ม สมาชิก กลุ่มผู้ใช้น้ำจํานวน 272 ราย พบว่า มีสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบสูบน้ำ เพื่อทําการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง ณ วันที่ตรวจสอบ จํานวน 152 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.89 ของ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่สุ่มตรวจสอบทั้งหมด โดยสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำบางรายไม่ได้ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม หรือลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มแล้ว บางรายได้ขายที่ดิน ปล่อยเช่า ให้ผู้อื่น เข้าทําประโยชน์ในพื้นที่ที่ใช้เข้าร่วมโครงการแทนตนเอง หรือใช้พื้นที่บ้านพักอาศัยเข้าร่วมโครงการ บางรายมีแปลงเกษตรตั้งอยู่ไกลจากที่ตั้งระบบสูบน้ำของโครงการ และอีกส่วนหนึ่งเป็นสมาชิกที่ใช้น้ำ จากแหล่งอื่นสําหรับทําการเกษตร รวมทั้งมีบางรายยังไม่เริ่มทําการเกษตรในพื้นที่ ณ วันที่ตรวจสอบ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจําแนกตามกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่สุ่มตรวจสอบ พบว่า มีกลุ่มผู้ใช้น้ำที่สมาชิกภายในกลุ่มใช้ประโยชน์จากระบบสูบน้ำเพียงรายเดียว จํานวน 13 กลุ่ม โดยเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ใช้ในการติดตั้งระบบสูบน้ำของโครงการทุกราย
1.3 กลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคบางแห่งไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบสูบน้ำพลังงาน แสงอาทิตย์เพื่อกิจการประปาของหมู่บ้าน
จากการตรวจสอบกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่เข้าร่วมโครงการ จํานวน 10 กลุ่ม พบว่า มีกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจํานวน 1 กลุ่ม ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบสูบน้ำเพื่อผลิต น้ำประปาหมู่บ้านตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยถังเก็บน้ำสําหรับกิจการประปาของ หมู่บ้านที่ใช้ในการเข้าร่วมโครงการเป็นหอถังสูงมีสภาพชํารุดและไม่ได้ใช้งานมานานแล้ว
การที่ผลการดําเนินโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด ส่งผลทําให้ราษฎรในพื้นที่ ประสบปัญหาภัยแล้งที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขเสียโอกาสในการได้รับการสนับสนุนระบบสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และยังคงได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งทําให้การใช้จ่าย เงินงบประมาณเพื่อดําเนินโครงการไม่เกิดความคุ้มค่า โดยสาเหตุเกิดจาก สพจ. มีระยะเวลา เตรียมการที่สั้นทําให้ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลและจัดส่งข้อเสนอโครงการได้ครบตามเป้าหมายภายใน ระยะเวลาที่กําหนด และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการไม่ได้กําหนด รายละเอียดหรือเงื่อนไขที่ทําให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบให้ชัดเจน รวมทั้งคณะกรรมการ ดําเนินงานโครงการไม่ได้กําหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สพจ. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณสมบัติของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ บ่อน้ำบาดาล และพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการตามประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ ทําให้กลุ่มผู้ใช้น้ำบางกลุ่มไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบอย่าง เต็มศักยภาพ
@ กลุ่มผู้ใช้น้ำไม่ได้บริหารจัดการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ตามแนวทางที่กําหนด
2.1 สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรบางส่วนยังไม่มีแหล่งเก็บน้ำเพิ่มเติม
จากการตรวจสอบสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ จํานวน 272 ราย พบว่า สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ยัง ไม่มีแหล่งเก็บน้ำเพิ่มเติม จํานวน 129 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.43 ของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตร ที่สุ่มตรวจสอบทั้งหมด โดยสมาชิกจะใช้วิธีการต่อท่อส่งน้ำจากระบบไปยังแปลงเกษตรโดยตรง และในกรณี ที่สมาชิกภายในกลุ่มมีความต้องการใช้น้ำปริมาณมากในช่วงเวลาเดียวกันจะใช้วิธีหมุนเวียนกันใช้น้ำ เพื่อให้ สมาชิกแต่ละรายสามารถใช้น้ำได้อย่างเพียงพอ
2.2 กลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการกลุ่มที่ชัดเจนตามแนวทางที่ กําหนดไว้ในคู่มือการใช้งานและบํารุงรักษาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจากการตรวจสอบกลุ่ม ผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรจํานวน 40 กลุ่ม พบว่า
2.2.1 กลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ยังไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำในการ บริหารจัดการกลุ่มที่ชัดเจนจํานวน 35 กลุ่ม โดยไม่ปรากฏเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มีการ ประชุมกลุ่มเพื่อคัดเลือกสมาชิกเป็นคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ และกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของ คณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ ซึ่งกลุ่มผู้ใช้น้ำดังกล่าวจะให้ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำตามเอกสารแนบข้อเสนอ โครงการเป็นผู้ตัดสินใจในการดําเนินการต่าง ๆ เป็นหลัก
2.2.2 กลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรทุกกลุ่มยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางการ จัดสรรน้ำที่ชัดเจน โดยกลุ่มผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่จํานวน 39 กลุ่ม สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำจะใช้น้ำตามความ ต้องการของตนเองโดยไม่ได้มีการจัดทําข้อตกลงกัน และกลุ่มผู้ใช้น้ำ จํานวน 1 กลุ่ม มีการตกลงกัน ให้มีการหมุนเวียนการใช้น้ำคนละช่วงเวลาหรือคนละวันแต่ไม่ได้จัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร
2.2.3 กลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ยังไม่ได้กําหนดข้อบังคับกลุ่มเกี่ยวกับการ จัดเก็บเงินจากสมาชิกเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการในอนาคต จํานวน 37 กลุ่ม คิดเป็น ร้อยละ 92.50 ของกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่สุ่มตรวจสอบทั้งหมด โดยไม่ปรากฏเอกสารหรือ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มีการประชุมหรือกําหนดข้อตกลงหรือหลักเกณฑ์การเก็บเงินทุนเข้ากลุ่ม จากสมาชิกผู้ใช้น้ำ นอกจากนี้ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำบางส่วนมีความเห็นว่าอาจจะไม่มีการเก็บเงินสะสม เข้ากลุ่ม แต่จะเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในกลุ่มโดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายแบ่งกันรับผิดชอบเป็นครั้งไป บางส่วนเห็นว่าอาจจะมีการเก็บเงินทุนเมื่อสมาชิกในกลุ่มเริ่มมีรายได้จากการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำจาก ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว
2.3 กลุ่มผู้ใช้น้ำบางแห่งไม่ได้ดูแลบํารุงรักษาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ตามแนวทาง ที่กําหนด
จากการตรวจสอบกลุ่มผู้ใช้น้ำจํานวน 50 กลุ่ม พบว่า ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ บางแห่งไม่ได้รับการบํารุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลระบบของกลุ่มผู้ใช้น้ำ บางแห่งไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลบํารุงรักษาระบบอย่างสม่ําเสมอ เช่น ไม่เคยล้างทําความสะอาด แผงเซลล์แสงอาทิตย์ตั้งแต่เริ่มใช้งาน ไม่ได้ตรวจสอบสภาพภายในตู้ควบคุมการทํางานของระบบ หรือ ไม่ได้กําจัดวัชพืชที่ปกคลุ่มพื้นที่ใต้แผงเซลล์แสงอาทิตย์
การที่กลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้าร่วมโครงการไม่ได้บริหารจัดการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ตามแนวทางที่กําหนดมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะปัญหาความ ขัดแย้งภายในกลุ่มผู้ใช้น้ำ และส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบ มีความเสี่ยงที่ประสิทธิภาพ การทํางานต่ํากว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่สามารถใช้งานได้ตามอายุการใช้งานที่กําหนด
สาเหตุเกิดจากกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความจําเป็นในการแต่งตั้ง คณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ การกําหนดข้อตกลงหรือหลักเกณฑ์การจัดสรรน้ำ หรือการกําหนด ข้อบังคับกลุ่มเกี่ยวกับการจัดเก็บเงินจากสมาชิก เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายบริหารจัดการระบบในอนาคต กลุ่มผู้ใช้น้ำบางส่วนยังไม่ได้กําหนดหรือมอบหมายให้มีผู้ดูแลระบบที่ชัดเจน และ สพจ. ไม่มีการ ติดตามผลการดําเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้าร่วมโครงการอย่างเป็นระบบภายหลังจากติดตั้งระบบ แล้วเสร็จ
ข้อเสนอแนะ
สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้ปลัดกระทรวงพลังงานพิจารณาดําเนินการดังนี้
1. ในอนาคตหากมีการดําเนินโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการดังกล่าว ควรพิจารณา ดําเนินการ ดังนี้
1.1 การกําหนดระยะเวลาเปิดรับสมัครโครงการควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและเพียงพอ สําหรับการปฏิบัติงานของหน่วยงานในพื้นที่และความพร้อมของประชาชนหรือเกษตรกรที่ต้องมีการ ดําเนินการตามเงื่อนไขที่กําหนด
1.2 กําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับคุณสมบัติของสมาชิก กลุ่มผู้ใช้น้ำ บ่อน้ำบาดาล และพื้นที่เข้าร่วมโครงการให้ชัดเจน โดยคํานึงถึงโอกาสหรือความเป็นไปได้ ในการใช้งานระบบของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นสําคัญ
1.3 กําหนดให้มีขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติของกลุ่มผู้ใช้น้ำและประเมินความเหมาะสม หรือความเป็นไปได้ในการใช้งานระบบของกลุ่มผู้ใช้น้ำเข้าร่วมโครงการ โดยหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้ การคัดเลือกกลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ประโยชน์จากระบบเกิดความคุ้มค่าและ ยั่งยืน
1.4 การตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ต้องการ เข้าร่วมโครงการและเอกสารสําคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไขโครงการต้องดําเนินการ อย่างรอบคอบ รัดกุม
2. สั่งการให้ สพจ. ที่ยังไม่ได้ดําเนินการส่งมอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เร่งดําเนินการ ส่งมอบระบบสูบน้ำให้ อปท. และกรณีที่ส่งมอบระบบสูบน้ำไปแล้วแต่ อปท.ที่ยังไม่รับมอบ ให้เร่งประสานชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อให้เห็นประโยชน์ของโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งและ รับมอบระบบดังกล่าวต่อไป
3. สั่งการให้ สพจ. ประสานงานกับ อปท. ที่รับมอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกัน กําหนดแนวทางการติดตามผลการดําเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ทั้งในเรื่องการจัดการกลุ่มและสภาพ การใช้งาน และดําเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลการดําเนินงานและ ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถให้คําแนะนําหรือแก้ไขปัญหาให้แก่กลุ่มผู้ใช้น้ำ รวมทั้ง กําหนดแนวทางดําเนินการกรณีกลุ่มผู้ใช้น้ำไม่มีความประสงค์ที่จะใช้งานระบบหรือกรณีที่สมาชิกส่วนใหญ่ ของกลุ่มผู้ใช้น้ำหมดความจําเป็นที่ต้องใช้งานระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
นอกจากนี้ควรมีการจัดทําฐานข้อมูลกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสูบน้ำพลังงาน แสงอาทิตย์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนติดตาม ให้คําแนะนําและประเมินผลกลุ่มผู้ใช้น้ำ ตลอดจน ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนดําเนินโครงการที่มีลักษณะดังกล่าวในอนาคต ไม่ให้ซ้ําซ้อนกับกลุ่ม ผู้ใช้น้ำที่เคยได้รับการสนับสนุนมาแล้วด้วย
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/