"...ที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นค่อนข้างมีมาตรการที่รวดเร็วนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ในการป้องกันไวรัสโควิด 19 ซึ่งรวมไปถึงการห้ามผู้โดยสารจากเรือไดมอนด์ ปริ๊นเซสเข้ามาเทียบท่าที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลก็คือ ณ เวลานี้ประเทศญี่ปุ่นที่มีประชากร 126 ล้านคน ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 ไม่ถึง 1,000 คน แต่ ณ เวลานี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ในประเทศญี่ปุ่นก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งความท้าทายของประเทศญี่ปุ่นก็คือความท้าทายด้านการเงินที่จะทุ่มให้กับการลงทุนจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และแรงสนับสนุนของสาธารณชนในญี่ปุ่น ต่อการจัดการแข่งขันในฤดูร้อนปีหน้า ..."
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือไวรัสโควิด 19 ที่ยังคงระบาดหนักในหลายประเทศ จนมีผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 15 ล้านราย ขณะที่สถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่เป็นจำนวนเกือบ 1,000 ราย และพุ่งสุงขึ้นเรื่อยๆ
ณ เวลานี้ จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นว่า การจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่ควรจะต้องจัดวันที่ 24 ก.ค. 2563 แต่กลับถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 24 ส.ค. 2564 จะยังคงสามารถจัดได้อยู่หรือไม่
โดยล่าสุดจากการทำโพลสำรวจเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ในช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นมีผู้ติดเชื้อใหม่จำนวน 118 ราย พบจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,030 ตัวอย่าง กว่า 57.1% เห็นด้วยให้เลื่อนการแข่งขันออกไปอีกหรือยกเลิกการแข่งขัน เพื่อความปลอดภัย
ส่วนอีก 46.3% เห็นด้วยให้จัดการแข่งขันได้ โดยจำนวนของผู้ที่เห็นด้วยนั้นมีจำนวน 31.1 % เสนอให้ลดขนาดการแข่งขันลง หรือแข่งแบบไม่มีคนดู ส่วน 15.2% เห็นควรให้จัดกีฬาโอลิมปิกในรูปแบบปกติ
อย่างไรก็ดี จากกรณีดังกล่าว ก็ยังมีคำถามตามมาว่าการจัดโอลิมปิกในปี 2564 ที่จะถึงนี้ ยังมีความเป็นไปได้จริง?
วงแหวนโอลิมปิกกลางแม่น้ำโอไดบะ กรุงโตเกียว
ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าว USA Today ของสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับการจัดโอลิมปิกในปี 2564 ระบุสาระสำคัญว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขหลายรายได้เตือนว่าถ้าหากไวรัสโควิด 19 ยังคงระบาดไปทั่วโลกในลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การจัดกีฬาโอลิมปิกยังคงไม่น่าจะเกิดขึ้น
“ผมไม่คิดว่าการจัดโอลิมปิก ค.ศ.2021 จะเป็นเป้าหมายที่เกิดขึ้นได้จริง” นพ.เคนทาโร่ อิวาตะ ศาสตราจารย์ด้านโรคติดต่อ มหาวิทยาลัยโกเบกล่าวในอีเมล์
นพ.เคนทาโร่ อิวาตะ ศาสตราจารย์ด้านโรคติดต่อ มหาวิทยาลัยโกเบ (อ้างอิงวิดีโอจากช่อง FCCJChannel)
ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขยังได้ออกคำเตือนด้วยว่าการจัดกีฬาโอลิมปิกในรูปแบบปกติ ซึ่งมีผู้ชมเต็มอัฒจันทร์ นั้นคงเป็นเรื่องที่ยากมาก และต่อให้มีวัคซีนรักษาโควิด 19 จริงภายในไม่กี่เดือนตามที่ปรากฏเป็นข่าว ก็มีการคาดการณ์กันว่าวัคซีนน่าจะยังคงไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลายในช่วงฤดูร้อนปีหน้านี้ (ช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ย.)
ดังนั้น ความเป็นไปได้ก็คือการจัดการแข่งขันในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อรองรับกับสถานการณ์ และความปลอดภัยด้านไวรัส อาทิ การจัดกีฬาบางชนิดในหมู่บ้านนักกีฬา และการงดการแข่งขันกีฬาที่มีความเสี่ยวต่อการสัมผัสจนทำให้เกิดการติดเชื้อบางชนิด เพื่อจะทำให้การแข่งขันทั้งหมดยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้
ขณะที่ นพ.โรนัลด์ วัลด์แมน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน กล่าวว่า “มันคงเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากคำว่าปกติจากที่คณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ (IOC) ได้ระบุเอาไว้ และก็คงไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งผมก็ไม่คิดว่ามันน่าจะจัดไปได้”
นพ.โรนัลด์ วัลด์แมน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.c-span.org)
โดย ณ เวลานี้ทั้ง IOC และกลุ่มผู้จัดงานท้องถิ่นกำลังหารือกันถึงความพยายามที่จะจัดกีฬาโอลิมปิก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยถึงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนรับมือไวรัสโควิด 19 ให้สาธารณชนทราบแต่อย่างใด
แต่ก็เป็นที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนทั้งจาก IOC และหน่วยงานในประเทศญี่ปุ่นว่า ถ้าหากปีหน้ายังคงไม่สามารถจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้อีก ก็คงจะต้องยกเลิกการแข่งขันออกไป
ซึ่งถ้าหากมีการตัดสินใจเช่นนั้นจริง ก็จะส่งผลเสียหายเป็นเม็ดเงินมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งต่อวงการโอลิมปิก ต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น และสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ที่ได้สัญญาในการถ่ายทอดกีฬาโอลิมปิก
นายอาเมียร์ อัตทารัน นักวิทยาการระบาดและศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยออตตาวา ระบุว่า “ปี ค.ศ. 2021 หรือไม่จัดเลย พวกเขาพูดว่าอย่างนั้นใช่ไหม ถ้าคุณยึดตามคำพูดของพวกเขา ผมก็ว่าคงไม่ได้จัดแล้วล่ะ”
นายอาเมียร์ อัตทารัน นักวิทยาการระบาดและศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยออตตาวา (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.cbc.ca)
นายอาเมียร์ ระบุชัดเจนว่า คงต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยเป็นปีถึงจะสามารถผลิตและแจกจ่ายวัคซีนในระดับที่แพร่หลายทั่วโลกได้ และในช่วงเวลาฤดูร้อนปีหน้า ประชากรส่วนมากของโลกที่ยังคงอยู่ในความเสี่ยงก็ยังคงจะต้องรอวัคซีนกันต่อไป ดังนั้นจึงเหลือทางเลือกเดียวที่จะสามารถทำได้ก็คือการฉีดวัคซีนให้กับนักกีฬาโอลิมปิกทุกคนที่จะเข้าสู่การแข่งขัน ซึ่งนี่จะทำให้เกิดคำถามทางด้านจริยธรรมตามมาอีก
ซึ่งคำถามที่ว่าก็คือควรหรือไม่ที่กลุ่มนักกีฬาที่แข็งแรงอันดับต้นๆของโลก ที่ยังอยู่ในวัน 20-30 ปี จะเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนก่อนคนอื่น แทนที่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่มีความเสี่ยง ?
“สถานการณ์เช่นนั้นจะทำให้เกิดความตึงเครียด และจะเป็นสิ่งที่ตรงข้ามต่อเจตนารมณ์ของการจัดกีฬาโอลิมปิก ที่ระบุว่า เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สามารถมีชัยเหนือไวรัสโควิด 19 ตามมาด้วย” นายอาเมียร์กล่าว
นายอาเมียร์ กล่าวต่อไปด้วยว่า ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ บทบาทของประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นประเทศเจ้าภาพของการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และวิธีการที่ประเทศญี่ปุ่นได้ปฏิบัติก่อนนับตั้งแต่ช่วงไวรัสจนถึงวันที่จัดกีฬาโอลิมปิก
ที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นค่อนข้างมีมาตรการที่รวดเร็วนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ในการป้องกันไวรัสโควิด 19 ซึ่งรวมไปถึงการห้ามผู้โดยสารจากเรือไดมอนด์ ปริ๊นเซสเข้ามาเทียบท่าที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลก็คือ ณ เวลานี้ประเทศญี่ปุ่นที่มีประชากร 126 ล้านคน ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 ไม่ถึง 1,000 คน
แต่ ณ เวลานี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ในประเทศญี่ปุ่นก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งความท้าทายของประเทศญี่ปุ่นก็คือความท้าทายด้านการเงินที่จะทุ่มให้กับการลงทุนจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และแรงสนับสนุนของสาธารณชนในญี่ปุ่น ต่อการจัดการแข่งขันในฤดูร้อนปีหน้า
@ วัคซีนจะเป็นคำตอบได้หรือไม่
ในช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาที่รัฐบาลญี่ปุ่นและ IOC ได้ประกาศว่าต้องเลื่อนการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกออกไปก่อน ก็มีการคาดหวังว่าสถานการณ์ต่างๆจะดีขึ้นแล้ว อาทิ การระบาดอาจจะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ หรือไม่ก็นักวิทยาศาสตร์น่าจะสามารถคิดค้นรูปแบบการรักษาไวรัสที่มีประสิทธิภาพหรือคิดค้นวัคซีนสำหรับโรคโควิด 19 ออกมาได้
อย่างไรก็ตาม ไวรัสโควิด 19 ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง โดยเฉพาะกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นเป็นจำนวนหลักแสนรายในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยนายโรนัลด์ซึ่งเคยทำงานให้ทั้งกับองค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อหรือซีดีซี ได้ออกมาคาดการณ์ว่าเป็นไปได้อย่างยิ่งที่ไวรัสโควิด 19 จะยังคงระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกในช่วงต้นปี ค.ศ.2021 และนั่นไม่ใช่สัญญาณที่ดีสำหรับกีฬาโอลิมปิก
“สิ่งที่น่ากังวัลไม่ใช่แค่ว่าจะจัดกิจกรรมขนาดใหญ่แบบนั้นได้หรือไม่ ซึ่งผมคิดว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในทางตรรกะ แต่ยังมีเรื่องที่ต้องคำนึงอีกก็คือความพร้อมของทั้งองค์กรและความพร้อมของนักกีฬาจากประเทศต่างๆ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร” นายโรนัลด์กล่าว
ซึ่งแม้ขณะนี้มีบางคนได้ฝากศรัทธาเอาไว้กับวัคซีน แต่ว่าการค้นพบวัคซีนแม้ว่าจะเป็นช่วงก่อนสิ้นปีนี้ ก็ยังถือเป็นแค่ก้าวแรกเท่านั้น
@ ความเป็นไปได้และผลที่ผ่านมา
ผู้เชี่ยวชาญได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างคำว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการแข่งขันกับไม่แน่ว่าการแข่งโอลิมปิกนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้
ซึ่งทั้ง 2 วลีนั้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
โดยการจัดกีฬาโอลิมปิกนั้นยังคงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ถ้าหากจะยังคงรูปแบบการจัดบางรูปแบบเอาไว้ในช่วงฤดูร้อนปีหน้า แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันหลายประการนั้นจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและยากที่จัดการเป็นอย่างยิ่ง
พญ.ครุติกา คุปปัลลี (Krutika Kuppalli) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดและความมั่นคงทางชีววิทยา ศูนย์ความมั่นคงทางสาธารณสุข มหาวิทยาลัยจอหน์น ฮอปปกินส์กล่าวว่า “ส่วนตัวแล้วก็คิดรูปแบบความเป็นไปได้ในการจัดการแข่งขันออกอยู่เหมือนกัน แต่คงเป็นรูปแบบที่คนส่วนใหญ่คงไม่ชอบเท่าไร”
พญ.ครุติกา คุปปัลลี (Krutika Kuppalli) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดและความมั่นคงทางชีววิทยา ศูนย์ความมั่นคงทางสาธารณสุข มหาวิทยาลัยจอหน์น ฮอปปกินส์ (อ้างอิงรูปภาพจาก:https://www.chicagobusiness.com)
พญ.ครุติกา กล่าวต่อไปว่า องค์กรที่จัดงานคงต้องงดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของผู้คนจำนวนมากจากหลายประเทศออกไป ซึ่งหมายความว่าการลดจำนวนผู้คนในอัฒจันทร์ลง การห้ามไม่ให้แฟนกีฬาที่ไม่ใช่คนจากประเทศญี่ปุ่นเข้าชมกีฬาบางอย่าง รวมไปถึงการห้ามจัดกีฬาบางประเภทในสถานที่ปิด หรืออาจจะไม่มีพิธีเปิดและพิธีปิด หรืออย่างน้อยก็ไม่ใช่พิธีในรูปแบบเดิมๆ และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คืออาจจะไม่มีหมู่บ้านนักกีฬา ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับนักกีฬาใช้พักผ่อน ก่อนการแข่งขัน เพื่อจะป้องกันกรณีการเกิดกลุ่มแพร่เชื้อหรือซุปเปอร์สเปรดเดอร์
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันเหล่านี้นั้นถือเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ผู้จัดงานออกมายอมรับได้ เพราะว่าการขาดคนเข้าชมกีฬาโอลิมปิก นั้นจะส่งผลกระทบทางด้านการเงินเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ เวลานี้มีการประเมินว่าประเทศญี่ปุ่นได้ใช้เงินภาษีประชาชนไปกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (380,466,000,000 บาท) สำหรับกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ ซึ่งเงินจำนวนนี้นั้นรวมไปถึงพิธีปิดและเปิดการแข่งขัน การทำหมู่บ้านนักกีฬา หรือแม้แต่การทำแท่นคบเพลิงกีฬาโอลิมปิก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องความท้าทายในด้านการแข่งขันตามมาอีก
โดย นพ.โคจิ วาดะ ศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุข มหาวิทยาลัย International University of Health and Welfare กรุงโตเกียวกล่าวว่า “แม้ว่าจะไม่มีคนดูการแข่งขัน การควบคุมไม่ให้เกิดการติดเชื้อในหมู่นักกีฬาก็ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง ถ้าหากเกิดการติดเชื้อขึ้นมา และมีการแพร่เชื้อต่อไป คำถามก็คือจะทำอย่างไรถึงจะแข่งขันต่อไปได้”
"แนวการแยกตัวกลุ่มนักกีฬาตามประเภทของกีฬา และตามสัญชาติของนักกีฬาอีกทีหนึ่งเพื่อจำแนกกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มออกไป ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปแบบของการแข่งขันบาสเก็ตบอล NBA, บาสเก็ตบอลหญิง WNBA และในการแข่งขันฟุตบอล MLS ณ เวลานี้"
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญรายอื่นๆ ได้หาแนวคิดว่าจะงดกีฬาที่อาจจะมีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่เชื้อเช่นกีฬารักบี้ หรือลดจำนวนนักกีฬาที่จะแข่งจันลงให้เหลือแค่ 11,000 ราย ที่จะเข้าแข่งขันจริงเท่านั้น อย่างไรก็ตามทั้งทาง IOC และผู้จัดงายังคงไม่ได้พิจารณาถึงทั้ง 2 แนวทางนี้
ส่วน นพ.เคนทาโร่กล่าวว่า IOC อาจต้องคิดถึงการห้ามไม่ให้บางประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อสูงส่งคณะผู้แทนเข้ามาร่วมในกิจกรรมกีฬาโอลิมปิก ซึ่งอาจจะรวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย
สำหรับความคืบหน้าเพิ่มเติมนั้น ทางคณะกรรมการกีฬาโอลิมปิกจะมีการประชุมเพื่อจะหารือถึงแผนการรับมือถึงไวรัสโควิด 19 กันอีกครั้งหนึ่งในช่วง ฤดูใบไม้ร่วง (วันที่ 22 ก.ย.) นี้ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังให้รายละเอียดอะไรไม่ได้มากนัก
ขณะที่ นายโรนัลด์กล่าวว่า ตัวเขานั้นไม่แปลกใจเลยว่าทำไมทั้งผู้ทั้งโอลิมปิกและ IOC ถึงยังคงมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการจัดกีฬาโอลิมปิกในฤดูร้อนปีหน้า
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจในการจัดโอลิมปิกนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับทาง IOC เพียงอย่างเดียวแต่ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไวรัสขอบเขตการควบคุมไวรัสของโลกด้วยว่าจะมีมากน้อยแค่ไหน
เรียบเรียงจาก:https://www.usatoday.com/story/sports/olympics/2020/07/21/2021-tokyo-olympics-experts-say-covid-pandemic-makes-games-unlikely/3287488001/
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/