"... ในปัจจุบันยังไม่มีผลการพิสูจน์ทั้งการใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หรือการใช้หน้ากากผ้าแบบใช้ซ้ำได้ว่าจะมีผลในการป้องกันการติดเชื้อได้มากแค่ไหน แต่ก็มีการแนะนำว่าการใส่หน้ากากแม้จะเป็นหน้ากากที่ทำเองที่บ้านนั้นสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้จริง ขณะที่การทำหน้ากากผ้าด้วยตนเอง ที่บ้านก็สามารถทำได้..."
"ประชาชนที่อายุเกิน 60 ปี หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพควรที่จะใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ทุกกรณีถ้าหากต้องออกไปนอกเคหสถาน ขณะที่ประชาชนทั่วไป ถ้าหากจะออกไปนอกเคหสถานก็ควรจะใช้หน้ากากผ้าที่ใส่ซ้อนกัน 3 ชั้นขึ้นไป"
คือ คำประกาศแจ้งเตือนของ องค์การอนามัยโลกหรือ WHO เกี่ยวกับการใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดของประชาชนในที่สาธารณะ ที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ หลังการประกาศแจ้งเตือน ของ WHO ดังกล่าว สำนักข่าวการ์เดี้ยนของอังกฤษ ได้จัดทำรายงานพิเศษเจาะลึกเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยว่าชนิดใด ที่สามารถป้องกันเชื้อโคโรน่าไวรัสได้ดีที่สุด ในชื่อว่า Which kind of face mask is the best protection against coronavirus?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เห็นว่าข้อมูลในรายงานชิ้นนี้ มีความน่าสนใจหลายประเด็น จึงได้แปลและเรียบเรียงมานำเสนอให้คนในสังคมไทยได้รับทราบข้อมูลกัน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
@ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเลือกประเภทของหน้ากาก
ใช่.. เพราะหน้ากากแต่ละประเภทนั้นจะมีความแตกต่างในเรื่องของระดับการคุ้มครอง อาทิ หน้ากากกรองอากาศแบบ N95 จะช่วยปกป้องการติดเชื้อโควิด 19 ตามมาด้วยหน้ากากแบบประเภทที่ใช้ในห้องผ่าตัด อย่างไรก็ตาม หน้ากากนั้นเป็นสิ่งที่มีราคาสูง เป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ทำให้เกิดขยะเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังอาจทำให้ไม่สบายถ้าหากใส่เป็นระยะเวลานาน
ดังนั้น หลายประเทศทั่วโลก จึงได้เรียกร้องว่าสำหรับหน้ากากแบบที่ใช้ในห้องผ่าตัดหรือแบบ N95 ควรจะเป็นสิ่งที่สงวนเอาไว้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ หรือไม่ก็บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงจริงๆเท่านั้น
อย่างไรก็ดี การที่ WHO ออกประกาศล่าสุด ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใส่หน้ากากก่อนหน้านี้อย่างมาก
โดยระบุว่าคนที่อายุเกิน 60 ปี หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอยู่แล้วควรใส่หน้ากากในระดับที่ใช้ทางการแพทย์เมื่อออกนอกเคหสถานและอยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถจะใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมได้
ส่วนคนทั่วไปที่จะใส่หน้ากากผ้านั้น ก็ควรจะเป็นหน้ากากผ้าที่มี 3 ชั้นเป็นอย่างต่ำ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังไม่มีผลการพิสูจน์ทั้งการใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หรือการใช้หน้ากากผ้าแบบใช้ซ้ำได้ว่าจะมีผลในการป้องกันการติดเชื้อได้มากแค่ไหน แต่ก็มีการแนะนำว่าการใส่หน้ากากแม้จะเป็นหน้ากากที่ทำเองที่บ้านนั้นสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้จริง ขณะที่การทำหน้ากากผ้าด้วยตนเอง ที่บ้านก็สามารถทำได้ (ดูรูปวิธีการทำประกอบ)
ขั้นตอนการทำหน้ากากผ้าจำนวนหลายชั้นด้วยวัสดุจากที่บ้าน
@ หน้ากากกระดาษทางการแพทย์ดีกว่าหน้ากากผ้าหรือไม่
ในขณะนี้ เริ่มมีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้หน้ากากแบบอื่นๆนอกจากหน้ากากทางการแพทย์ปรากฏออกมาให้เห็นเรื่อยๆแล้ว แต่ก็ยังไม่มีมาตรวัดที่ชัดเจนว่าหน้ากากประเภทไหนดีกว่ากัน และปกป้องผู้ใช้ในส่วนไหนได้บ้าง ซึ่งขณะนี้คงจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยืนยันได้แน่นอน ก็คือ การมีสิ่งที่ครอบหน้าของเรา ถ้ายิ่งแน่นเท่าไร ก็จะยิ่งดีเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกาหรือซีดีซี ได้เคยออกมาระบุว่า การมีสิ่งที่ครอบหน้า รวมไปถึงผ้าพันคอ ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย
แต่ที่ผ่านมามีการวิจัยในสหรัฐฯ ที่ได้ศึกษาถึงการนำวัสดุที่พอจะหาได้ภายในบ้าน เพื่อมาใช้ป้องกันอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 0.3-1.0 ไมครอน ซึ่งเป็นขนาดของไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกที่ผลการศึกษาได้แนะนำ ก็คือ การใช้ผ้าจากถุงเก็บฝุ่นในเครื่องดูดฝุ่น ผ้าคลุมเตียงขนาดใหญ่ หรือการนำเอาวัสดุที่มีหลายชั้นกรอง เพราะวัสดุเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการดักกรองอนุภาคขนาดเล็กได้ดีกว่าผ้าพันคอเป็นอย่างยิ่ง
แต่ผ้าพันคอเองก็ยังคงมีประสิทธิภาพในการดักจับเศษส่วนอนุภาคอยู่บ้าง
ล่าสุด WHO ได้ออกคำแนะนำว่าหน้ากากนั้นควรจะทำมาจากผ้าหรือวัสดุที่มี 3 ชั้นซ้อนทับกันขึ้นไป
โดยให้วัสดุผ้านั้นเป็นส่วนที่อยู่ใกล้หน้ามากที่สุด ตามด้านพลาสติกแบบพีพีหรือพลาสติกโพลีโพรพิลีนที่มักจะพบในวัสดุห่ออาหาร และผ้าสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันของเหลวที่ควรจะอยู่ชั้นนอกสุด
ซึ่งใส่หน้ากากดังกล่าวก็ไม่ใช่มาตรการที่ดีที่สุด ที่จะนำมาทดแทนหลักการทำความสะอาดอย่างเคร่งครัดและการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการติดโควิด-19
แต่ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องไปอยู่ในสถานที่ที่การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นไปได้ยากนั้น หน้ากาก ก็คือ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะใส่ อาทิ เวลาที่จะต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ หรือการรวมกลุ่มชุมนุมกันครั้งใหญ่เป็นต้น
ขั้นตอนการทำหน้ากากจากผ้าพันคอ
@ การใส่และถอดหน้ากากให้ปลอดภัย
ก่อนที่จะใส่หน้ากากนั้น ผู้สวมใส่ควรที่จะล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด นำหน้ากากปิดปากและจมูก และควรที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าไม่มีช่องว่างระหว่างหน้ากากและใบหน้าของเรา
หลีกเลี่ยงการจับหน้ากากบ่อยๆในระหว่างที่สวมใส่ และถ้าหากมีการสัมผัสหน้ากาก ก็ควรจะล้างมือให้สะอาด และควรเปลี่ยนหน้ากากของเรา ถ้าหากหน้ากากของเราเริ่มที่จะมีความชื้น
ทั้งนี้ การที่เราจะถอดหน้ากาก เราควรจับที่สายรัดและไม่ควรจับที่ตัวหน้ากากโดยเด็ดขาด แล้วทิ้งหน้ากากของเราลงในถังขยะที่มีลักษณะปิด
แต่ถ้าหากกากของเราเป็นลักษณะแบบที่ใช้ซ้ำได้ ก็ให้นำเอาไปใส่ในเครื่องซักผ้าทันที
@ เราควรทำความสะอาดหน้ากากกี่ครั้ง
การทำความสะอาดหน้ากากนั้นควรจะทำทุกครั้งที่เราใช้งานหน้ากากในแต่ละครั้ง ซึ่งทางซีดีซีแนะนำว่าการทำความสะอาดหน้ากากนั้นควรทำเป็นกิจวัตรประจำวัน
ขั้นตอนการทำหน้ากากจากเสื้อสวมใส่
@ มีข้อกังวลหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่
หน้ากากที่วางขายตามท้องตลาดนั้นจะเป็นทำจากวัสดุหลายชั้นกรอง ประกอบด้วยพลาสติก และมักจะออกแบบให้ใช้ได้แค่ครั้งเดียวต่อชิ้น
ซึ่งจากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลังคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ระบุว่า ถ้าทุกๆคนในประเทศอังกฤษใช้หน้ากากเฉลี่ย 1 ชิ้นต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี อังกฤษจะมีขยะพลาสติกจากหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นอีก 66,000 ตัน
ส่วนการใช้หน้ากากประเภทที่ใช้ซ้ำได้นั้นจะช่วยลดขยะอันเกิดจากหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวไปได้เป็นจำนวนมาก และจะมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศแบบเฉียบพลันจากปัญหาขยะจากหน้ากากอนามัยตามมาด้วย
เรียบเรียงจาก:https://www.theguardian.com/world/2020/jun/04/which-kind-of-face-mask-is-the-best-protection-against-coronavirus
ทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับหน้ากากอนามัย ในการป้องกันเชื้อโคโรน่าไวรัส ที่กำลังถูกพูดถึงในสื่อต่างประเทศ หลังจากที่ WHO ออกประกาศแจ้งเตือนเรื่องลักษณะการใช้หน้ากากอนามัยล่าสุด ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใส่หน้ากากก่อนหน้านี้เป็นอย่างมาก
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage