"...สถานการณ์ที่การควบคุมโรคไม่มีประสิทธิภาพ (รุนแรงที่สุด) นั่นคือ หากปล่อยให้การระบาดเป็นไปโดยธรรมชาติของโรค มีความพยายามที่จะชะลอการระบาดบ้างแต่ไม่มากนักหรือไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้ติดเชื้อ 1 คนจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น (Ro) ได้อีก 22 คน การระบาดจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นตันไป จนพบผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดในเดือนสิงหาคม จำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้นประมาณ 16.7 ล้านคน ใน 1 ปี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้น่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยสามารกลดจำนานผู้ป่วยลงกว่าที่คาดการณ์ได้ 3 -4 เท่าแล้ว..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) : เป็นร่างรายงานคาดการณ์การระบาดและมาตรการในระยะที่ 3 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่มีการจัดทำเตรียมไว้ตามสมมติฐานในปัจจุบัน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามข้อมูลสถานการณ์ในอนาคต
---------------
@ ประเมินความเสี่ยงของการระบาด
ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2562 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีรายงานผู้ปวยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้วใน 51 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษและ 1 เรือสำราญ ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่โลก จำนวนผู้ป่วยยืนยันทั้งสิ้น 85,409 ราย เสียชีวิต 2,933 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 3.4) โดยปัจจุบันยังคงพบผู้ป่วยรายใหม่วันละ มากกว่า 1,000 ราย
แม้ว่าสถานการณ์ในประเทศจีนจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่จำนวนผู้ป่วยในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกกลับเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีประเทศที่มีรายงานการแพร่เชื้อภายในประเทศ (local transmission) รวม 36 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน เกาหลีใต้ อิตาลี ญี่บุน สิงคโปร์ อิหร่าน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย ออสเตรเลีย เวียดนาม เยอรมัน สเปน สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส แคนาดา ฟิลิปปินส์ อียิปต์ อินเดีย รัสเซีย อิสราเอล สวีเดน ศรีลังกา เนปาล เลบานอน อิรัก ฟินแลนด์ กัมพูชา เบลเยี่ยม อัฟกานิสถาน บาห์เรน คูเวต โอมาน โดรเอเชีย และประเทศไทย
มีการระบาดในวงกว้างในหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ อิตาลี อิหร่าน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ป่วยโรด COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่ได้ไปรับการตรวจรักษาและแยกโรค แต่ยังใช้ชีวิตประจำวันตามปกติจนทำให้มีผู้ติดเชื้อต่อๆ กันไปในหลายรุ่นการระบาด และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินกว่าที่ระบบบริการสาธารณสุขจะรองรับไหว ทั้งการดูแลรักษาผู้ป่วยและการควบคุมโรค จึงต้องมีมาตรการทางสังคมตามมาเพื่อช่วยในการชะลอการระบาด
มาตรการส่วนใหญ่ทำเพื่อลดโอกาสการสัมผัสโรคของประชาชน ได้แก่ การปิดโรงเรียน การยกเลิกพิธีกรรมทางศาสนา การเลื่อนกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก เช่น งานกีฬา การแสดงสินค้า การประชุมนานาชาติ เทศกาลรื่นเริงต่างๆ
แม้ว่าประเทศไทยมีความพยายามในการควบคุมโรค โดยการตรวจจับผู้ปวยไห้ได้อย่างรวดเร็ว แยกโรค และติดตามผู้สัมผัสผู้ปวยทุกราย ทำให้การระบาดยังอยู่ในวงจำกัดในระยะที่ผ่านมา (Phase 2)
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่ประเทศไทยจะพบการระบาดในวงกว้าง เนื่องจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1.) ประเทศทั่วโลกที่พบการระบาดมีจำนวนมากขึ้น ทำให้มีโอกาสสูงขึ้นที่ผู้ปวยจากประเทศเหล่านี้จะเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย ในขณะที่ความเข้มข้นในการคัดกรองของด่านควบคุมโรคมีจำกัด
2.) ยังคงมีบางประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีระบบเฝ้าระวังที่เข้มแข็งเพียงพอ ทำให้ไม่ทราบสถานการณ์ที่แท้จริงของประเทศนั้นๆ และอาจมีผู้ป่วยเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
3.) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ไม่ได้มารับการรักษาในทันทีตั้งแต่วันแรกที่มีอาการป่วย ทั้งยังไม่มีพฤติกรรมการป้องกันการแพร่เชื้อที่เหมาะสม (ผู้ป่วยที่พบในประเทศไทยเข้ารับการรักษาโดยเฉลี่ยในวันที่ 2 หลังจากเริ่มป่วย)
4.) ประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศ ที่ไม่สามารถระบุต้นตอของการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน
5.) ประเทศไทยยังคงมีการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง จึงมีโอกาสที่จะพบเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยเข้าไปในสถานที่แออัดและเกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว ดังเช่น โบสถ์ในเมืองแทกู ประเทศเกาหลีใต้ และเรือสำราญ ประเทศญี่ปุ่น
@ คาดการณ์การระบาดในระยะที่ 3
การคาดการณ์การระบาดในระยะที่ 3 ใช้เทคนิด compartmental model ซึ่งมีการใช้เทคนิคนี้ในการคาดการณ์การระบาดจากหลายสถาบันทั้งในประเทศจีน แคนาดา ฮังการี สวีเดน และ WHO โดยพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้
- ความสามารถในการแพร่เชื้อจากผู้ติดเชื้อไปสู่คนอื่นๆ (Ro)
- ความมีฤดูกาลของโรค
- สัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ (ร้อยละ 45 อ้างอิงจากข้อมูล เรือไดมอนด์พรินเซส)
โดยมีสมมติฐาน คือ หากการระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากจะระบาดแบบระลอกเดียวจบ แต่หากการระบาดชะลอลงได้ในระดับหนึ่ง จะเห็นแนวโน้มการเกิดโรคเป็นฤดูกาล ผลการคาดการณ์ แสดงได้ใน 3 ฉากทัศน์ ดังนี้
1.1 สถานการณ์ที่การควบคุมโรคไม่มีประสิทธิภาพ (รุนแรงที่สุด) นั่นคือ หากปล่อยให้การระบาดเป็นไปโดยธรรมชาติของโรค มีความพยายามที่จะชะลอการระบาดบ้างแต่ไม่มากนักหรือไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้ติดเชื้อ 1 คนจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น (Ro) ได้อีก 22 คน การระบาดจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นตันไป จนพบผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดในเดือนสิงหาคม จำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้นประมาณ 16.7 ล้านคน ใน 1 ปี
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้น่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยสามารกลดจำนานผู้ป่วยลงกว่าที่คาดการณ์ได้ 3 -4 เท่าแล้ว
1.2 สถานการณ์ที่สามารถชะลอการระบาดได้พอสมควร หากมาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการมีความร่วมมือที่ดีจากภาคประชาชน ทำให้ประเทศไทยสามารถชะลอการแพร่ระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง จนทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้ดไปสู่ผู้อื่น (Ro)ได้เพียง 1.8 การระบาดในวงกว้างจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนเข้าสู่จุดที่พบผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จำนวน 480,000 คนต่อสัปดาห์ มาตรการควบคุมโรคในสถานการณ์นี้ต้องลดโอกาสการสัมผัสโรคของประชาชนลง เช่น การงดกิจกรรมรวมคน การกักกันเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาด
1.3 สถานการณ์ที่สามารถควบคุมโรคได้ดี จนทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น (Ro) ได้เพียง 1.6 คน เกิดการระบาดตามฤดูกาลในแต่ละปี และกลายเป็นโรคประจำถิ่นคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ มาตรการควบคุมโรคในสถานการณ์นี้ต้องมีความเข้มข้น และได้รับความร่ามมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง รวมทั้งประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก
โดยมีเป้าหมายเพื่อลดโอกาสการสัมผัสโรคของประชาชนลงให้ได้มากที่สุด เช่น การงดกิจกรรมรวมคน ส่งเสริมการทำงานจากบ้าน งดการเคลื่อนย้ายคนในหน่วยงานที่มีคนจำนวนมาก เช่น ค่ายทหาร เรือนจำ โรงเรียน เป็นต้น รวมทั้งป้องกันและควบคุมการเกิดการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ เช่น การระบาดในโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน หรือในสถานที่ทำงาน เป็นต้น
การคาดการณ์นี้ เป็นเพียงการคำนวณโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ บนพื้นฐานของข้อมูลธรรมชาติของโรคและระบาดวิทยาที่มีในปัจจุบัน ยังไม่ได้พิจารณาปัจจัยการป้องกันควบคุมโรคและการรักษา เช่น การงดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก การใช้ยา ซึ่งยังต้องรอข้อมูลประสิทธิผลของการรักษา และวัคซีนซึ่งอาจมีขึ้นในอนาคตหากมีข้อมูลเหล่านี้เพิ่มเติมจะนำมาคาดการณ์อีกครั้งในภายหน้า ผลการคาดการณ์ในเบื้องต้นเป็นดังรูปที่ 1 และ ตารางที่ 1
@ มาตรการในระยะที่ 3
จากแผนบูรณาการความร่วมมือพหุภาคี พื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ซึ่งมีเป้าหมายดังนี้
1.) ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศไทยและชะลอการระบาด
2.) คนไทยปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3.) ลดผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ
มาตรการในระยะที่ 3 ในส่วนที่เพิ่มเติมจากมาตรการที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในระยะที่ 1 และ 2 เน้นที่การชะลอการระบาด ลดผลกระทบ รักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ โดยคงไว้ซึ่งระบบบริการประชาชน เช่น สถานพยาบาล สาธารณูปโภค ระบบขนส่งสาธารณะ และช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วยมาตรการตามเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
เป้าหมายที่ 1 ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศไทยและชะลอการระบาด
มาตรการที่ 1 การลดการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศไทย
ทางเลือกที่ 1 ดำเนินการระดับเข้มข้นที่สุด : ห้ามการเดินทางเข้าออกจากประเทศที่มีการระบาด
ทางเลือกที่ 2 ยังอนุญาตให้มีการเดินทางได้ สำหรับทางเลือกที่ 2 ควรมีมาตรการดังนี้
1.1 ให้ประชาชนเลี่ยงหรืองดการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่พบการระบาดในต่างประเทศ
1.2 กักกันผู้ที่เดินทางทุกคนที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคในประเทศ (มีทางเลือกได้ 2 ทางคือ การกักกันที่บ้านด้วยตัวเอง หรือการกักกันในสถานที่ที่ทางราชการกำหนต) และเฝ้าระวังติดตามอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
มาตรการที่ 2 การชะลอการระบาด
2.1 มาตรการเตรียมความพร้อมและป้องกันการระบาด
ระดับบุคคลและองค์กร
2.1.1 สร้างความรอบรู้ด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในมิติต่างๆ ที่สำคัญให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยทุกคน ได้แก่ การป้องกันการติดเชื้อ การปฏิบัติตัวขณะป่วย และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
2.1.2 ลดความตระหนกของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารความเสี่ยง ให้ข้อมูลที่ถูกต้องทันเวลา จัดการข่าวลือ/ข่าวปลอมในสื่อสาธารณะอย่างเหมาะสม
2.1.3 รณรงค์การใส่หน้ากากผ้าในกลุ่มอาชีพเสี่ยง
2.1.4 ส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการประชาชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ขนส่งมวลชน ศาสนสถาน สถานศึกษา สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจที่ให้บริการประชาชน จัดสิ่งแวดล้อมที่ลดการแพร่กระจายเชื้อ และจัดทำมาตรการป้องกันโรคในกลุ่มผู้มาใช้บริการ เช่น วางเจลล้างมือสำหรับผู้มาใชับริการ และทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสต่างๆ
2.1.5 สนับสนุนให้ทุกองค์กรจัดทำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดภายในองค์กร เพื่อป้องกันบุคลากรขององค์กรไมให้ติดเชื้อ และจัดทำแผนประคองกิจการตามความเหมาะสม
ระดับสังคม
2.1.6 เลื่อน หรือ ยกเลิกกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก ได้แก่ การประชุมสัมมนา งานกีฬา งานแสดงสินค้า งานแฟร์ต่างๆ พิธีกรรมทางศาสนาและประเพณี (งานสงกรานต์ อุปสมบทหมู่) หากจำเป็นต้องจัดงาน ผู้จัดจะต้องดำเนินการตามมาตรฐานการป้องกันควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
2.1.7 ป้องกันและควบคุมการเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในกลุ่มประชากรที่สำคัญ ได้แก่ เรือนจำ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โดยการงดการจัดกิจกรรมการรวมตัวกันของผู้คน งดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายคนข้ามพื้นที่ ให้มีผู้ประสานงานประจำหน่วยงานด้านการป้องกันควบคุมโรค และให้มีการสอบสวนควบคุมโรคอย่างรวดเร็ว
2.1.8 ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน (work from home) ได้
2.1.9 ส่งเสริมการทำธุรกรรมและการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต
2.1.10 พิจารณาประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ (ตาม พ.ร.บ. ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย) ตามความเหมาะสม
2.2 มาตรการสำหรับพื้นที่ที่พบการระบาด
2.2.1 ปิดสถานที่ สถานที่ทำงาน หรือชุมชนที่พบการระบาด ห้ามการเดินทางเข้าออก โดยใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และให้บุคลากรของสถานที่ที่พบการระบาดสามารถทำงานจากบ้านได้
2.2.2 จัดการกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง: มีทางเลือกได้แก่ การกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (มีทางเลือกได้ 2 ทางคือ การกักกันที่บ้านด้วยตัวเอง หรือการกักกันในสถานที่ที่ทางราชการกำหนด) หรือการให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเฝ้าระวังอาการของตนเองและรายงานตัวให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบเมื่อมีอาการป่วย
2.2.3 เน้นย้ำให้ประชาชนในพื้นที่ที่พบมีการระบาดของโรคฝ้าระวังอาการตนเองทุกวันและรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่หากมีอาการป่วย
ทั้งนี้ มาตรการทางสังคม โดยเฉพาะการยกเลิกกิจกรรมรวมคนจำนวนมากเพื่อลดโอกาสการสัมผัสโรค ควรดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป อาจเริ่มจาก 8 จังหวัดเสี่ยงสูง และขยายพื้นที่ไปตามสถานการณ์การระบาด ตัวอย่างเช่น กรุงเทมหานคร หากไม่มีมาตรการเชิงรุกเพื่อชะลอการระบาดภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 สถานการณ์จะไปสู่จุดที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้และจำนวนผู้ปวยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างของจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในรูปที่ 3
เป้าหมายที่ 2 คนไทยปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
มาตราการที่ 1 การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
1.1 จัดให้มีคลินิคโรคทางเดินหายใจโรงพยาบาล โดยแยกบริการการตรวจรักษากลุ่มเสี่ยงสูงไปยังสถานที่หรือวันเฉพาะ ที่ไม่ตรงกับผู้ป่วยทั่วไป
1.2 ดำเนินการตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัต
1.3 บุคลากรที่มีอาการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจต้องหยุดงานทันที และตรวจหาสาเหตุของอาการป่วย
1.4 ประมาณการอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อส่วนบุคคล (PPE) ภายในจังหวัดให้เพียงพอ โดยจัดให้มี safety stock ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
มาตรการที่ 2 การเตรียมการเพื่อรองรับผู้ปวยจำนวนมาก
2.1 จัดให้มีห้องปฏิบัติการ เพื่อการวินิฉัย ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
2.2 จัด Cohort ward และหอดูแลผู้ป่วยหนักเฉพาะโรด COVID-19 สำหรับผู้ป่วยอาการรุนแรง
2.3 ให้ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยๆ และมีความเสี่ยงต่ำที่จะไปแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน โดยมีการติดตามอาการและการป้องกันการแพร่โรคที่เหมาะสม
2.4 จัดโรงพยาบาลเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วยอาการปานกลาง เช่น มีปอดอักเสบแต่ไม่รุนแรง โดยอาจกำหนดเป็นอาคารเฉพาะ หรือโรงพยาบาลเฉพาะ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ปวย ทั้งนี้ ควรมีการเคลื่อนย้ายผู้ปวยอื่นๆ ออก
2.5 จัดจุดรองรับผู้ป่วยจำนวนมาก นอกโรงพยาบาล สำหรับผู้ปวยอาการเล็กน้อย
2.6 บริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถานพยาบาลสังกัดต่างๆ เพื่อให้สามารถกระจายและจัดการทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
2.7 การสำรองยาต้านไวรัสอย่างเพียงพอ
มาตรการที่ 3 การจัดการด้านกำลังคน
2.3.1 จัดทำแผนและการบริหารจัดลา และการหยุดพักงานของบุคลากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม
2.3.2 จัดเตรียมแผนเพิ่มอัตรากำลังผู้ปฏิบัติงานด้านการบริการและดูแลรักษาผู้ป่วย และนำแผนมาใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
2.3.3 ให้บุคลากรทางการแพทย์งดการเดินทางไปยังพื้นที่ระบาดทั้งในและต่่งประเทศ เพื่อป้องกันการถูกกักกันตัวเป็นเวลา 14 วัน
2.3.4 จัดทำแผนการส่งบุคลากรจากสถานพยาบาลต่างๆ เพื่อให้มีการผลัดเปลี่ยนกันไปช่วยตรวจรักษา ยังโรงพยาบาลเฉพาะหรือจุดรองรับผู้ป่วยจำนวนมาก
เป้าหมายที่ 3 ลดผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ
มาตรการที่ 1 การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
1.1 ชดเชยเยียวยาการขาดงานให้กับผู้ป่วยและผู้ที่ถูกแยกกักอย่างเหมาะสม
1.2 จัดการเรียนการสอนเสริมในภายหลังในกรณีที่มีการปิดโรงเรียน
1.3 เยียวยาภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบและแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง
มาตรการที่ 2 การคงความต่อเนื่องของการให้บริการกับประชาชน
2.1 หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทำแผนประคองกิจการ และกำลังคนสำรองหากมีการขาดงานหรือบุคลากรป่วยจำนวนมาก
2.2 ทุกหน่วยงานลดความเสี่ยงต่อการแพรโรคในองค์กร เช่น งดการประชุมสัมมนา ทัศนศึกษาดูงาน การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการแพร่โรค
ข้อพิจารณา
1.การดำเนินการเพื่อชะลอและควบคุมการระบาดให้ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และความร่วมมือจากประชาชนอย่างจริงจัง
2. จำเป็นต้องมีมาตรการลดผลกระทบจากการดำเนินการควบคุมโรคต่างๆ ด้วย เช่น การชดเชยรายได้ แผนประคองกิจการของทุกภาคส่วน และการรักษาระบบบริการสำหรับประชาชน เช่น สาธารณูปโภค ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งควรมีการพิจารณาร่วมกับภาคส่วนต่างๆ อย่างรอบคอบ
3. การคาดการณ์นี้ จัดทำขึ้นจากข้อมูลธรรมชาติของโรคและระบาดวิทยาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ได้พิจารณาปัจจัยการป้องกันควบคุมโรค เช่น การงดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก การใช้ยา ซึ่งยังไม่มีข้อมูลประสิทธิผล และการใช้วัคซีนที่อาจมีขึ้นในอนาคต หากมีข้อมูลหล่านี้เพิ่มเติมจะต้องทำการคาดการณ์อีกครั้ง และคาดว่าแนวโน้มการเกิดโรคจะดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/