"....พล.อ.อภิรัชต์ ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติ่มว่า ปืนเหล่านี้มาจากโครงการใด วิธีการขั้นตอนระเบียบปฏิบัติเป็นอย่างไร ระบุเพียงแค่ว่า ได้เซ็นยกเลิกซื้อปืนสวัสดิการทุกชนิดในกองทัพบกไปแล้ว และต่อไปนี้ใครจะซื้อปืนสวัสดิการภายนอกจากหน่วยงานใดก็ตาม ผู้บังคับบัญชาชั้นนายพลเท่านั้น ที่จะเซ็นไม่ใช่เดิมระเบียบแค่พันตรี ชั้นนายพันเซ็น เปิดโอกาสให้พ่อค้า ให้กำลังพลซื้ออาวุธได้โดยง่าย เท่านั้น เบื้องลึก ปัญหาเชิงระบบในการจัดซื้อปืนสวัสดิการของกองทัพบก ที่ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ การเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มพ่อค้า รวมไปถึงกำลังพล จึงยังคงเป็นปริศนา ที่ค้างคาใจคนในสังคมไทยกันต่อไป ..."
"เมื่อวันที่ 4 ก.พ. เซ็นยกเลิกซื้อปืนสวัสดิการทุกชนิดในกองทัพบก และต่อไปนี้ใครจะซื้อปืนสวัสดิการภายนอกจากหน่วยงานใดก็ตาม ผู้บังคับบัญชาชั้นนายพลเท่านั้น ที่จะเซ็นไม่ใช่เดิมระเบียบแค่พันตรี ชั้นนายพันเซ็น เปิดโอกาสให้พ่อค้า ให้กำลังพลซื้ออาวุธได้โดยง่าย"
"ผู้ก่อเหตุมีปืน 5 กระบอกราคาแพง นั้นมีไว้เพื่ออะไร เนื่องจากทหารไม่จำเป็นต้องมีปืนส่วนตัว เพราะมีปืนหลวงแล้ว"
คือ การปฏิรูประเบียบการซื้อปืนสวัสดิการของกองทัพบก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ ที่ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ระบุไว้ในระหว่างการแถลงข่าวถึงแนวการแก้ไขปัญหาหลายเรื่องที่หมักหมมมานานในกองทัพบก เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา หลังเกิดกรณี จ.ส.อ.จักรพันธ์ ถมมา อายุ 32 ปี นายทหารสังกัดกองสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ กองทัพภาคที่ 2 ก่อเหตุสะเทือนขวัญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนถึง 30 ราย และบาดเจ็บจำนวนมาก ตามที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมาเสนอไปก่อนหน้านี้ (อ่านประกอบ : จับสัญญาณ 'บิ๊กแดง' ขีดเส้นล้างบางธุรกิจทหาร 3 เดือน -ทำไมต้องยกเลิกทีมอาร์มี่ยูไนเต็ด?, อภิรัชต์ คงสมพงษ์ : เสียใจเหตุการณ์ทหารกราดยิง วอนอย่าด่ากองทัพ ให้มาโทษ ผบ.ทบ.)
คำถามที่น่าสนใจ ระเบียบการซื้อปืนสวัสดิการของกองทัพบกในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สืบค้นข้อมูลการขอซื้อปืนสวัสดิการของกองทัพบกจากเว็บไซต์กรมสวัสดิการทหารบก (http://www.awd-rta.com/) พบข้อมูลดังต่อไปนี้
@การทำสัญญาซื้ออาวุธปืน
ผู้เข้าโครงการสามารถเลือกวิธีทำสัญญาได้ผ่านแอพพลิเคชั่นลงทะเบียนโครงการปืนสวัสดิการว่าจะให้ผู้แทนหน่วยทหารรวบรวมเอกสารและหนังสือ มอบอำนาจเป็นผู้ดำเนินการแทน หรือผู้เข้าร่วมโครงการดำเนินการมารับด้วยตัวเองที่กรมสวัสดิการทหารบก
โดยสามารถซื้อปืนได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ 1. ซื้อแบบเงินสด (กรณีมีแบบ ป.3 แล้ว และมีอาวุธปืนที่ต้องการอยู่ในคลังพร้อมจ่าย) 2. ซื้อแบบเงินผ่อน (กรณีอาวุธปืนยังไม่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยและต้องการสั่งจองไว้) 3. ซื้อแบบเงินผ่อน 12 เดือน
โดยในขั้นตอนนี้ กระบวนการจัดซื้ออาวุธจะต้องมีเอกสารสำคัญ คือ 1.แบบฟอร์มสัญญาซื้อขายอาวุธปืนที่กรอกข้อมูลโดยสมบูรณ์แล้ว 2.สำเนาทะเบียนบ้าน 3.สำเนาบัตรประชาชน และ 4. สำเนาบัตรข้าราชการ
ซึ่งหลังจาก สก.ทบ. ได้รับเอกสารจากผู้เข้าร่วมโครงการเรียบร้อยแล้ว ก็จะดําเนินการวิธีบันทึกและจัดเก็บข้อมูล และจะส่งเอกสารสําเนาคู่ฉบับสัญญาซื้อ-ขาย และหนังสือรับรองการเข่าร่วมโครงการกลับคืนให้ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการขอใบ ป.3 และขอรับอาวุธต่อไป
@การขอใบ ป.3
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความสนใจจะซื้อปืนสวัสดิการของกองทัพบกนั้นจะต้องมีใบ ป.3 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญด้วยในการรับอาวุธปืนด้วย ซึ่งผู้ที่เข้าโครงการนั้นสามารถทำใบ ป.3 ได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ หรือระหว่างกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการของโครงการ
โดยผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่จะติดต่อขอทำใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน (แบบ ป.3) ต้องเตรียมหลักฐาน คือ
1 แบบคำขอ ป.1 ขออนุญาตซื้อปืนพก (ขอรับได้ที่อำเภอหรือนายทะเบียนท้องที่แต่ละแห่ง)
2 หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา (รับรองตำแหน่ง, คุณสมบัติ, ความประพฤติ) ในกรณีผู้ร้องขอ ซื้อปืนพกมีชั้นยศ พันเอกขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
3 หนังสือรับรองคุณสมบัติผู้ซื้ออาวุธปืน จากโครงการฯ (กรมสวัสดิการเป็นผู้ออกหนังสือให้ หลังจากผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำสัญญาซื้อขายกับกรมสวัสดิการทหารบกเรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการจัดส่ง ไปตามหน่วยต้นสังกัดหรือที่อยู่ที่ได้ระบุไว้ในเอกสาร)
4 สำเนาหนังสือข้าราชการ, สำเนาทะเบียนบ้าน
@การชำระเงิน
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนั้นจะสามารถชำระเงินได้ 2 วิธีด้วยกันก็คือ 1. จ่ายเงินผ่านต้นสังกัด รวบรวมเงินพร้อมรายชื่อโดยสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คธนาคาร สั่งจ่ายในนาม “โครงการปืนสั้นเพื่อสวัสดิการ ทบ.” และ 2. จ่ายด้วยตัวเอง ผ่านบัญชี “โครงการปืนสั้นเพื่อสวัสดิการ ทบ.” โดยผู้ที่ต้องการซื้อเงินสดนั้นจะต้องแสดงหลักฐานการชำระเงินให้ครบถ้วยและใบ ป. 3 เพื่อนำมารับอาวุธปืน ส่วนผู้ที่ผ่อนชำระปืนนั้นจะต้องผ่อนทุกงวดในวันที่ 5 ของเดือนจนกว่าจะครอบราคาปืนที่กำหนดไว้แล้วนำหลักฐานการชำระเงินเพื่อจะรับปืนอีกทีหนึ่ง (ผ่อนก่อนแล้วจึงรับปืนทีหลัง)
ส่วนขอบเขตระยะเวลาการร่วมโครงการนั้นไม่มีกำหนด แต่จะขึ้นอยู่กับจำนวนปืนในโครงการว่าจะหมดโควตาเมื่อไร
@อาวุธปืนในโครงการสวัสดิการ
สำหรับอาวุธปืนในโครงการสวัสดิการของทหารนั้นล้วนแล้วแต่เป็นปืนสั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม ในการแถลงข่าวของ พล.อ.อภิรัชต์นั้น ระบุว่า ปืนส่วนตัวที่จ่าทหารนำมาใช้ในการก่อเหตุสังหารคู่กรณี ทุกกระบอกล้วนแล้วแต่เป็นปืนจากโครงการอื่น
แต่ พล.อ.อภิรัชต์ ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติ่มว่า ปืนเหล่านี้มาจากโครงการใด วิธีการขั้นตอนระเบียบปฏิบัติเป็นอย่างไร
ระบุเพียงแค่ว่า ได้เซ็นยกเลิกซื้อปืนสวัสดิการทุกชนิดในกองทัพบกไปแล้ว และต่อไปนี้ใครจะซื้อปืนสวัสดิการภายนอกจากหน่วยงานใดก็ตาม ผู้บังคับบัญชาชั้นนายพลเท่านั้น ที่จะเซ็นไม่ใช่เดิมระเบียบแค่พันตรี ชั้นนายพันเซ็น เปิดโอกาสให้พ่อค้า ให้กำลังพลซื้ออาวุธได้โดยง่าย เท่านั้น
เบื้องลึก ปัญหาเชิงระบบในการจัดซื้อปืนสวัสดิการของกองทัพบก ที่ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ การเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มพ่อค้า รวมไปถึงกำลังพล จึงยังคงเป็นปริศนา ที่ค้างคาใจคนในสังคมไทยกันต่อไป
ว่าแท้จริงแล้วรากเหง้าของปัญหา คือ อะไรกันแน่?
นายทหารระดับพันตรี / นายพัน คือ ตัวละครสำคัญอย่างนั้นหรือ?
และที่สำคัญที่สุด 'อำนาจ' การเซ็นอนุมัติที่ถูกโอนย้ายไปอยู่กับนายทหารระดับชั้น นายพล จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้จริงหรือ?
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/