"...ผู้ป่วยรายหนึ่งได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าบริเวณนอกทวีปเอเชียจากผู้ป่วยที่เชื้อไวรัสยังอยู่ในระยะฟักตัว โดยในช่วงวันที่ 24 มกราคม 2563 ชายหนุ่มนักธุรกิจชาวเยอรมันอายุ 33 ปี รายนี้ (ผู้ป่วย 1) ได้มีอาการเจ็บคอ หนาวสั่น และปวดกล้ามเนื้อ และปรากฏว่ามีไข้ขึ้นสูง 39.1 องศาเซลเซียสในวันถัดมา พร้อมกับอาการไอ อย่างไรก็ดี ในวันต่อมาปรากฏว่าเขาได้หายจากอาการป่วยและกลับไปทำงานในวันที่ 27 มกราคม 2563 ก่อนหน้าที่ผู้ป่วยรายนี้จะแสดงอาการ ในช่วงวันที่ 20 และ 21 มกราคม 2563 เขาได้เข้าร่วมประชุมกับนักธุรกิจชาวเซี่ยงไฮ้จากประเทศจีน ที่บริษัทของเขาในเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) : เมื่อเร็วๆ นี้ New England Journal of Medicine หนึ่งในวารสารทางการแพทย์ชั้นนำ ได้เผยแพร่บทความถึงเรื่องราวของโคโรน่าไวรัส หรือ "2019-nCoV" อันโด่งดังจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ซึ่งกำลังสร้างความวิตกกังวลแก่บรรดาวงการการแพทย์เนื่องจากเชื้อไวรัสกำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก ภายหลังจากการถูกค้นพบเมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และจำนวนตัวเลขที่สูงขึ้นของผู้ป่วยชาวจีนที่เดินทางไปยังประเทศอื่น นอกจากนี้ ลักษณะการระบาดยังเปลี่ยนแปลงทุกวันอีกด้วย
บทความชิ้นนี้ ระบุว่า ผู้ป่วยรายหนึ่งได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าบริเวณนอกทวีปเอเชียจากผู้ป่วยที่เชื้อไวรัสยังอยู่ในระยะฟักตัว
โดยในช่วงวันที่ 24 มกราคม 2563 ชายหนุ่มนักธุรกิจชาวเยอรมันอายุ 33 ปี รายนี้ (ผู้ป่วย 1) ได้มีอาการเจ็บคอ หนาวสั่น และปวดกล้ามเนื้อ และปรากฏว่ามีไข้ขึ้นสูง 39.1 องศาเซลเซียสในวันถัดมา พร้อมกับอาการไอ
อย่างไรก็ดี ในวันต่อมาปรากฏว่าเขาได้หายจากอาการป่วยและกลับไปทำงานในวันที่ 27 มกราคม 2563 ก่อนหน้าที่ผู้ป่วยรายนี้จะแสดงอาการ ในช่วงวันที่ 20 และ 21 มกราคม 2563 เขาได้เข้าร่วมประชุมกับนักธุรกิจชาวเซี่ยงไฮ้จากประเทศจีน ที่บริษัทของเขาในเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี ซึ่งนักธุรกิจชาวเซี่ยงไฮ้รายนี้ได้เดินทางเข้าไปยังประเทศเยอรมนีในช่วงวันที่ 19 ถึง 22 มกราคม และระหว่างที่เธออยู่ในประเทศเยอรมนีนั้น
เธอไม่ได้แสดงอาการป่วยใด ๆ
จนกระทั่งเธอบินกลับมาที่ประเทศจีนและได้รับการตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในช่วงวันที่ 26 มกราคม 2563 (ดูภาพลำดับเหตุการณ์ประกอบ)
เมื่อเธอรายงานบริษัทของเธอว่าเธอติดเชื้อไวรัสโคโรน่า จึงได้เริ่มมีการย้อนประวัติการสัมผัสของเธอกับผู้อื่น รวมถึงชายหนุ่มชาวเยอรมันซึ่งได้รับการส่งตัวไปยังหน่วยโรคติดต่อและยาแถบเมืองร้อน (Division of Infectious Diseases and Tropical Medicine) ในเมืองมิวนิคเพื่อการวิเคราะห์ต่อไป
โดยข้อมูลในส่วนของชายหนุ่มนั้น มีอาการปกติและไม่มีไข้ นอกจากนี้ยังไม่มีประวัติการป่วยหรือการเดินทางเข้าออกนอกประเทศภายในระยะเวลา 14 วัน ก่อนแสดงอาการอีกด้วย
แต่เมื่อได้มีการเก็บตัวอย่างจากเสมหะของชายหนุ่มเพื่อทำการเพาะเชื้อและวิเคราะห์โดยวิธีการ quantitative reverse-transcriptase–polymerase-chain-reaction (qRT-PCR)
ปรากฏว่าพบเชื้อไวรัสโคโรน่า อีกทั้งในวันต่อมายังพบค่าจำนวนเชื้อไวรัสที่ตรวจจับได้ (viral load) ในเสมหะ 1 มิลลิลิตรซึ่งสูงถึง 10 ก๊อปปี้ (copy)
ต่อมาในวันที่ 28 มกราคม พนักงานบริษัทดังกล่าวจำนวน 3 ราย ได้ถูกตรวจพบว่ามีติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (ผู้ป่วย 2 ถึง 4) ซึ่งในจำนวนผู้ป่วย 3 รายนี้ มีเพียงผู้ป่วยรายที่ 2 ที่ได้สัมผัสกับผู้ป่วยชาวเซี่ยงไฮ้ ส่วนผู้ป่วยรายอื่นนั้นติดเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยรายที่ 1
ล่าสุดรายงานว่า ผู้ป่วยทั้ง 4 รายกำลังอยู่ระหว่างรับการรักษาและอยู่ในช่วงแสดงอาการป่วยอย่างหนัก
กรณีดังกล่าวได้รับการรายงานว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าที่ประเทศเยอรมนีได้รับเชื้อบริเวณนอกทวีปเอเชีย อย่างไรก็ตาม ข้อสำคัญจากเคสนี้ คือ เชื้อไวรัสถูกแพร่กระจายในช่วงระยะเวลาฟักตัวในผู้ป่วยรายแรกซึ่งไม่แสดงอาการเฉพาะเจาะจง
จึงเท่ากับว่าผู้ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการป่วยนั้นมีความน่าจะเป็นในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าอันจะต้องได้รับการตรวจสอบการแพร่เชื้อต่อไป
นอกจากนี้ การแพร่เชื้อก่อนแสดงอาการและจำนวนความหนาแน่นของเชื้อไวรัสที่พบในเสมหะผู้ป่วยยังส่งผลให้เกิดความน่ากังวลของระยะเวลาการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่าภายหลังจากผู้ป่วยฟื้นตัวแล้ว ทั้งนี้ การพิสูจน์ผลวิเคราะห์การเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสที่ตรวจจับได้ใน qRT-PCR ในผู้ป่วยรายดังกล่าวนั้น ใช้วิธีการตรวจหาไวรัสแบบ viral culture
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยทั้ง 4 รายในเมืองมิวนิคนั้นต่างไม่ใช่กรณีร้ายแรงและได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว
บทความชิ้นนี้ ยังระบุทิ้งท้ายว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงของเชื้อไวรัสดังกล่าว ควรที่จะมีการศึกษาการรักษาที่เหมาะสมกับอาการป่วยและการดูแลรักษานอกสถานพยาบาลต่อไป
(อ่านข้อมูลในบทความต้นฉบับ ได้ที่นี่ https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMc2001468?query=featured_home)
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/