ยูเอสมาร์แชลเซอร์วิสกำหนดนิยามผู้หนีคดีต่างชาติว่าคือผู้หนีคดีที่ต้องการตัวโดยต่างประเทศ และเชื่อว่าได้พำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยคดีที่เกี่ยวข้องจะถูกส่งต่อมายังยูเอสมาร์แชลเซอร์วิสเพื่อให้ดำเนินการ ทั้งผ่านทางช่องทางของตำรวจสากล ช่องทางของกระทรวงยุติธรรม-สํานักงานกิจการระหว่างประเทศ (DOJ-OIA) และผ่านทางช่องทางของสถานทูตต่างประเทศในสหรัฐอเมริกา
สืบเนื่องจากที่เป็นข่าวกรณีนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานนท์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้ถูกหน่วยงาน U.S. Marshals หรือยูเอสมาร์แชล สหรัฐอเมริกา เข้าจับกุมตัวได้ภายในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของรัฐเท็กซัส (provisional arrest) ซึ่งมีกำหนดที่จะต้องขึ้นศาลในรัฐเท็กซัสเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามคำร้องขอตามสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยการดำเนินการจับกุมนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลความผิดนายนพรัตน์ ว่าร่ำรวยผิดปกติกว่า 500 ล้านบาท จากการเข้าไปเกี่ยวพันกับคดีทุจริตโครงการเงินอุดหนุนบูรณปฏิสังขรณ์วัด และการพัฒนาวัด (คดีเงินทอนวัด)
ขณะที่พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.)ให้สัมภาษณ์ยืนยันสถานะปัจจับันของนายนพรัตน์ว่าเป็นพลเมืองสหรัฐฯไปแล้ว
- ‘บิ๊กเต่า’เผย ‘นพรัตน์’ อดีต ผอ.สำนักพุทธฯเป็นพลเมืองสหรัฐฯแล้ว เชื่อปลายปีเอาตัวกลับได้
- คารพ.รัฐเท็กซัส! เลขาฯ ป.ป.ช.เผย ตร.สหรัฐ จับกุม 'นพรัตน์' อดีตผอ.สำนักพุทธฯ ได้แล้ว
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอาข้อมูลของหน่วยงานยูเอสมาร์แชลกับบทบาทในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนมานำเสนอ โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน มีรายละเอียดดังนี้
หน่วยงานยูเอสมาร์แชล (U.S. Marshals Service) หรือ USMS ตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1789 ขึ้นตรงกับกระทรวงยุติธรรมมีกำลังพลที่เรียกว่า U.S. Marshals รวม 94 คน และผู้ช่วยอีก 3,953 คน มีหน้าที่หลัก ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยในบริเวณศาลและความปลอดภัยของผู้พิพากษา การติดตามจับกุมผู้หลบหนีคดี การบังคับริบทรัพย์สิน การดูแลผู้ต้องขัง การควบคุมตัวจำเลยมาศาล และการคุ้มครองพยาน
โดยบทบาทของยูเอสมาร์แชลที่จะดำเนินการกับนายนพรัตน์หลังจากนี้นั้นก็จะต้องอยู่ในขั้นตอนของการควบคุมและขนย้ายผู้ต้องขัง (Prisoner Transport and Custody) ไปขึ้นศาล ซึ่ง พล.ต.ต.จรูญเกียรติระบุว่าการขึ้นศาลน่าจะเกิดขึ้นได้ในปลายปี 2568
@การดำเนินงานระหว่างประเทศ
กระทรวงยุติธรรม (DOJ) กําหนดให้หน่วยงาน The U.S. Marshals Service (USMS) หรือยูเอสมาร์แชลเซอร์วิส ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางในการจับกุมผู้หนีคดีที่ต่างประเทศต้องการและเชื่อว่าอยู่ในสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ Marshals Service ยังเป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลกลางที่รับผิดชอบในการติดตามและส่งผู้ร้ายข้ามแดนผู้ลี้ภัยที่ถูกจับกุมในต่างประเทศและต้องการดําเนินคดีในสหรัฐอเมริกา
โครงการควบคุมแก๊งอาชญากรของยูเอสมาร์แชล (อ้างอิงวิดีโอจาก United States Marshals Service HQ)
@สํานักงานปฏิบัติการระหว่างประเทศ
สํานักงานปฏิบัติการระหว่างประเทศ (OIO) กํากับการสืบสวนคดีกับผู้หนีคดีข้ามชาติในนามของพันธมิตรหน่วยเฉพาะกิจว่าด้วยการจัดการผู้หนีคดีข้ามชาติ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของหน่วยงานของรัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่างประเทศ ผลงานของสํานักงานปฏิบัติการระหว่างประเทศ (OIO) รวมถึงการกํากับดูแลสํานักงานปฏิบัติการภาคสนามในต่างประเทศของ USMS การดำเนินงานทวิภาคีและการประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรระหว่างประเทศและประสานงานกับโครงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของรัฐบาลสหรัฐฯ
@กรณีการดำเนินงานกับผู้หนีคดีข้ามชาติ
OIO ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายทีมสืบสวนและหน่วยงานทั่วโลกที่เพื่อดำเนินการค้นหาตำแหน่งของผู้หลบหนีคดี การจับกุม และการกําจัดผู้หนีคดีข้ามชาติซึ่งเป็นอาชญากรที่ร้ายแรง หน่วยงานยูเอสมาร์แชลยังเป็นพันธมิตรกับสํานักกลางแห่งชาติของตำรวจสากลหรืออินเตอร์โพลและสํานักเลขาธิการทั่วไป ตลอดจนหน่วยงายอื่นๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
@การมีส่วนร่วมทวิภาคี
OIO มีส่วนร่วมในกิจกรรมประสานงานอย่างสม่ำเสมอและการสร้างพันธมิตรเพื่อปลูกฝังความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่างชาติที่ทําหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายและการตอบแทนซึ่งกันและกัน การต้อนรับคณะผู้แทนต่างประเทศ อาทิ ผู้แทนจากจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรม และตัวแทนซึ่งมาจากหน่วยงานบัญชาการกองกําลังตํารวจระดับชาติ ทำหน้าที่อํานวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมในระดับผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆในระหว่างประเทศ OIO ยังทำหน้าที่รักษาเครือข่ายที่กว้างขวางทั่วทั้งชุมชนสถานทูตต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สมาคมวิชาชีพต่างๆ และการเป็นตัวแทนในฟอรัมพหุภาคี
@ผู้หนีคดีระหว่างประเทศ
USMS กำหนดนิยามถึงผู้หลบหนีคดีระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงผู้หนีคดีที่เป็นที่ต้องการตัวในสหรัฐฯ แล้วหลบหนีไปต่างประเทศเพื่อหลบหนีจากการดำเนินคดีหรือการคุมขัง
โดย OIO ทำหน้าที่รับผิดชอบในการประมวลผล ทบทวน แล้วส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการไล่ล่าและจับกุมผู้หนีคดีระหว่างประเทศ มีการติดต่อกับหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายหลายหน่วยงานและตัวแทนของรัฐบาลต่างประเทศในการดำเนินงาน ซึ่งปฏิบัติการเช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวัน
สืบเนื่องจากว่าไม่มีเขตอำนาจศาลนอกสหรัฐฯ ยูเอสมาร์แชลเซอร์วิส จึงได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างและปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัฐบาลต่างประเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการจับกุมผู้หนีคดีที่แสวงหาที่ซ่อนตัวในต่างประเทศ
หน่วยงานยูเอสมาร์แชลมีสํานักงานภาคสนามในต่างประเทศสี่แห่ง ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน จาเมกา โคลอมเบีย และเม็กซิโก ยูเอสมาร์แชลทํางานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายตามแนวชายแดนของเม็กซิโกและแคนาดา และกับหน่วยงานความมั่นคงทางการทูตของกระทรวงการต่างประเทศ หน่วยงานนี้ยังดํารงตําแหน่งสําคัญที่หน่วยงานตำรวจสากล นอกจากนี้ยูเอสมาร์แชลเซอร์วิสยังพัฒนาโครงการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องสําหรับประเทศอื่นๆโดยมุ่งเน้นไปที่เทคนิคการสืบสวนผู้หนีคดีและทักษะการเอาตัวรอดของเจ้าหน้าที่
กระบวนการคุมตัวผู้ต้องหาที่ต้องการตัวโดยต่างประเทศ (อ้างอิงจาก Videone)
@ผู้หนีคดีต่างชาติ
ยูเอสมาร์แชลเซอร์วิสกำหนดนิยามผู้หนีคดีต่างชาติว่าคือผู้หนีคดีที่ต้องการตัวโดยต่างประเทศ และเชื่อว่าได้พำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยคดีที่เกี่ยวข้องจะถูกส่งต่อมายังยูเอสมาร์แชลเซอร์วิสเพื่อให้ดำเนินการ ทั้งผ่านทางช่องทางของตำรวจสากล ช่องทางของกระทรวงยุติธรรม-สํานักงานกิจการระหว่างประเทศ (DOJ-OIA) และผ่านทางช่องทางของสถานทูตต่างประเทศในสหรัฐอเมริกา
โดยทั่วไปแล้วอาชญากรจากต่างประเทศมักก่ออาชญากรรมในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นการจับกุมผู้ลี้ภัยจากต่างประเทศจึงเป็นภารกิจที่สําคัญอย่างยิ่งต่อยูเอสมาร์แชลเซอร์วิสและกระทรวงยุติธรรม
@การส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศ
ยูเอสมาร์แชลเซอร์วิสมีหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดนทั้งจากต่างประเทศกลับมายังสหรัฐอเมริกาจากต่างประเทศ และสนับสนุนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากสหรัฐอเมริกาไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นงานที่ซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานระหว่างกระทรวงยุติธรรม-สํานักงานกิจการระหว่างประเทศ (DOJ-OIA) กระทรวงการต่างประเทศ กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเกี่ยวข้องกับการกวาดล้างภายในประเทศ การประเมินภัยคุกคามและการจัดการด้านความปลอดภัย การเตรียมการเดินทางและการประเมินทางการแพทย์ รวมไปถึงการจัดหาที่พักที่จำเป็น
โดยการทำงานของยูเอสมาร์แชลในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆเพื่อส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้นจะประกอบไปด้วยตำรวจสากล- สำนักงานกลางแห่งชาติสหรัฐฯ สํานักงานกิจการระหว่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางการทูต
อ่านประกอบ :
- ‘บิ๊กเต่า’เผย ‘นพรัตน์’ อดีต ผอ.สำนักพุทธฯเป็นพลเมืองสหรัฐฯแล้ว เชื่อปลายปีเอาตัวกลับได้
- คารพ.รัฐเท็กซัส! เลขาฯ ป.ป.ช.เผย ตร.สหรัฐ จับกุม 'นพรัตน์' อดีตผอ.สำนักพุทธฯ ได้แล้ว
- เป็นทางการ! ป.ป.ช.ฟัน‘นพรัตน์’อดีต ผอ.พศ.รวยผิดปกติ 575 ล.ซุก‘เมีย-ลูก-หลาน’
- รวดเดียว 17 สำนวน! ป.ป.ช ชี้มูลคดีทุจริตเงินทอนวัด 'นพรัตน์' อดีตผอ.สำนักพุทธฯ โดนหมด
- คำสั่งใหม่ ปปง.อายัดห้องชุดหรู 16.2 ล.อดีต ผอ.พศ.คดีเงินทอนวัด 4 ลอต 94.2 ล.
- ศาลทุจริตฯสั่งคุก 20 ปี 'พนม ศรศิลป์' คดีเงินทอนวัด-มีอีก 36 สำนวนในชั้น ป.ป.ช.
- ‘นพรัตน์-บิ๊ก พศ.’โดนอีก! ป.ป.ช.แจ้งข้อหาพันทุจริตเงินทอนวัดญาณเมธี จ.เพชรบูรณ์
- ‘นพรัตน์’โดนอีก! ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาพันคดีเงินทอน 2 แห่ง-‘วัดพระพุทธบาทตากผ้า’ด้วย
- ละเอียดยิบ! พฤติการณ์‘พนม-นพรัตน์’ คดีเงินทอน 3 วัด จ.ตาก ได้คืน 6 ล.
- โอน 6 ล.ทอนคืนทั้งหมด! พฤติการณ์ ‘นพรัตน์’ร่วมมือเจ้าอาวาสคดีเงินทอน 3 วัด จ.ตาก
- โดนอีกคดี! ป.ป.ช.ไต่สวน‘นพรัตน์’ปมเงินทอนวัด จ.ตาก-แจ้งข้อกล่าวหา 2 ครั้งไร้คนรับ
- ป.ป.ช.บี้สำนักพุทธฯเอาผิด จนท.ให้ถ้อยคำเท็จคดีเงินทอนวัด-ลุยสอบทรัพย์สินเชิงลึกด้วย
- ‘นพรัตน์-พนม-ประนอม’ไม่รอด!ป.ป.ช.เชือด 2คดีโกงงบ พศ.โอนวัด ตปท.5ล.-เงินทอน17ล.
- พฤติการณ์‘บิ๊ก พศ.’ถูก ป.ป.ช. ฟันคดีโอนให้วัด ตปท.5 ล.-เงินทอน 6 วัด 17 ล.
- คตช.ลุยปราบทุจริตเงินทอนวัด331คดี!เผยผลใช้ ม.44ฟันแล้ว73คน-เอาผิดไม่ได้58คน
- เปิด7สำนวนคดีเงินทอนวัดในชั้น ป.ป.ช.-3‘บิ๊ก พศ.’ถูกสอบ-เสียหายหลาย จว.