“…การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก และมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ในขณะที่แรงกดดันด้านการคลังยังอยู่ในเกณฑ์สูง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อาจจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่ประมาณการไว้ในแผนการคลังระยะปานกลาง…
..................................
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ของหน่วยรับงบประมาณ ตามที่สำนักงบประมาณ เสนอ
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงขอนำเสนอรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ดังนี้
@สัดส่วน‘งบลงทุน’เหลือ 22.9%-รายจ่ายประจำ 2.6 ล้านล.
วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569
วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ตามที่คณะรัฐนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 7 ม.ค.2568 จำนวน 3,780,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (กำหนดไว้จำนวน 3,752,700 ล้านบาท) เป็นจำนวน 27,900 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ประกอบด้วย
1) รายจ่ายประจำ จำนวน 2,652,301.29 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จำนวน 28,135.25 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.0 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.2 ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 71.4
2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 123,541.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งไม่มีการเสนอตั้งบประมาณ และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.3 ของวงเงินงบประมาณรวม
3) รายจ่ายลงทุน จำนวน 864,077.21 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จำนวน 68,284.90 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.9 ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงประมาณ พ.ศ.2568 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 24.8
4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 151,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จำนวน 1,100 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และคิดเป็นสัดส่วน 4.0 ของวงเงินงประมาณรวม เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (รายจ่ายชำระคืนคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุน กรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10,519.56 ล้านบาท
@ตั้งรายจ่าย‘ชำระหนี้ภาครัฐ-ชดใช้เงินคงคลัง ’5.45 แสนล.
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ในมิติต่างๆ
-งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ 8 กลุ่มงบประมาณ ตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 วงเงินรวม 3,780,600 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง (12 รายการ) จำนวน 632,968.75 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.74
(2) งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ จำนวน 1,408,060.33 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.25
(3) งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ จำนวน 98,767.82 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.61
(4) งบประมาณรายจ่ายบุคลากร จำนวน 820,820.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.71
(5) งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน จำนวน 274,576.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.26
(6) งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ จำนวน 421,864.43 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.16
(7) งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 123,541.06 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.27
(8) งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย (ไม่มี)
-งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (124 ประเด็น) วงเงินรวม 2,065,288.10 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) นโยบายการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์และนโยบายเร่งด่วน ดำเนินการทันที (31 ประเด็น) จำนวน 368,399.39 ล้านบาท
(2) นโยบายระยะกลางและระยะยาว (93 ประเด็น) จำนวน 1,696,888.71 ล้านบาท
-งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 จำแนกตามยุทธศาสตร์ วงเงินรวม 3,780,600 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง จำนวน 415,327.94 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.99
(2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 394,611.64 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.44
(3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 605,927.26 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.03
(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม จำนวน 942,709.17 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.94
(5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 147,216.89 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.89
(6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 605,441.59 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.01
รายการค่าดำเนินการภาครัฐ จำนวน 669,365.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.70
การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับหลักการตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จึงเห็นสมควรจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงประมาณ พ.ศ.2569 จำนวน 389,727.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 11,182.06 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.45
ทำให้ประมาณการรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นำมาคิดสัดส่วนมีจำนวนทั้งสิ้น 859,479.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จำนวน 19,838.92 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.36 และคิดเป็นสัดส่วนรายได้ท้องถิ่นต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล (ไม่รวมเงินกู้) ร้อยละ 29.43
@‘คลัง’ได้รับจัดสรรฯมากสุด 3.97 แสนล.-‘กลาโหม’2.04 แสนล.
การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 จำแนกตามหน่วยรับงบประมาณ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น วงเงินรวม 3,780,600 ล้านบาท พบว่า 10 กระทรวงแรก ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด ได้แก่
(1) กระทรวงการคลัง ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 397,856.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 389,659.67 ล้านบาท) จำนวน 8,197 ล้านบาท โดยงบประมาณที่ได้รับจัดสรรดังกล่าว เป็นงบประมาณภายใต้ ‘แผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ’ ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จำนวน 366,776.13 ล้านบาท
(2) กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 355,108.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 340,774.60 ล้านบาท) จำนวน 14,333.87 ล้านบาท
(3) กระทรวงมหาดไทย ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 301,264.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 294,412.70 ล้านบาท) จำนวน 6,852.27 ล้านบาท
(4) กระทรวงกลาโหม ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 204,434.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 199,721.29 ล้านบาท) จำนวน 4,713.34 ล้านบาท
(5) กระทรวงคมนาคม ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 200,756.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 193,352.84 ล้านบาท) จำนวน 7,403.34 ล้านบาท
(6) กระทรวงสาธารณสุข ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 177,639.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 171,965.69 ล้านบาท) จำนวน 5,673.91 ล้านบาท
(7) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 140,300.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 132,241.78 ล้านบาท) จำนวน 8,058.89 ล้านบาท
(8) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 130,111.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 122,627.42 ล้านบาท) จำนวน 7,483.62 ล้านบาท
(9) กระทรวงแรงงาน ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 68,069.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 68,048.43 ล้านบาท) จำนวน 21,481 ล้านบาท โดยงบประมาณที่ได้รับจัดสรรดังกล่าว เป็นงบภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์สร้างหลักประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จำนวน 60,729.2 ล้านบาท
(10) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 38,657.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 35,216.29 ล้านบาท) จำนวน 3,441.37 ล้านบาท
@ตั้งงบกระตุ้นศก. 2.5 หมื่นล้าน-เงินเบี้ยหวัดฯ 3.64 แสนล.
ในส่วนของ ‘งบกลาง’ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 632,968.75 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 842,001.71 ล้านบาท) จำนวน 209,032.96 ล้านบาท ประกอบด้วย 12 รายการ ได้แก่
1.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสร็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 1,000 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ที่ได้รับจัดสรรฯ 1,000 ล้านบาท
2.ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 4,000 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ที่ได้รับจัดสรรฯ 4,000 ล้านบาท
3.ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 2,500 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ที่ได้รับจัดสรรฯ 2,500 ล้านบาท
4.ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 94,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 93,800 ล้านบาท) จำนวน 400 ล้านบาท
5.ค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 25,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 187,700 ล้านบาท) จำนวน 162,700 ล้านบาท
6.เงินชดเชยค่างานก่อสร้าง ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 960 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 800 ล้านบาท) จำนวน 160 ล้านบาท
7.เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 4,840 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 5,000 ล้านบาท) จำนวน 160 ล้านบาท
8.เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 364,288.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 354,500 ล้านบาท) จำนวน 9,788.75 ล้านบาท
9.เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 13,000 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ที่ได้รับจัดสรรฯ 13,000 ล้านบาท
10.เงินสมทบของลูกจ้างประจำ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 320 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 370 ล้านบาท) จำนวน 50 ล้านบาท
11.เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 24,860 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 82,775 ล้านบาท) จำนวน 57,915 ล้านบาท
12.เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ได้รับจัดสรรฯ จำนวน 98,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ได้รับจัดสรรฯ 96,556.71 ล้านบาท) จำนวน 1,443.29 ล้านบาท
@‘สภาพัฒน์’ห่วงสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มเร็วกว่าคาด
ทั้งนี้ ในการพิจารณาวาระดังกล่าว สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม. ว่า สำนักงานฯ มีความเห็นว่า กรอบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 จัดทำบนสมมติฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2568-2569 ในช่วงร้อยละ 2.3-3.3 ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.5 ในปี 256
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก และมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ในขณะที่แรงกดดันด้านการคลังยังอยู่ในเกณฑ์สูง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อาจจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่ประมาณการไว้ในแผนการคลังระยะปานกลาง
ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารการคลัง และงบประมาณรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและรัดกุม ทั้งในด้านการบริหารการจัดเก็บรายได้ให้ได้ตามเป้าหมาย และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย เพื่อลดแรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของการะหนี้สาธารณะ เพื่อให้มีกรอบวงเงินงบประมาณที่เพียงพอ สำหรับการรรองรับความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการค้าโลก
เหล่านี้เป็น ‘รายละเอียด’ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ที่ ครม. เพิ่งมีมติอนุมัติไป ซึ่งในปีงบประมาณ 2569 นั้น พบว่ารัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ สำหรับเป็น ‘รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ’ และ ‘รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง’ รวมกันแล้วสูงถึง 5.44 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 14.43% ของงบประมาณฯ !