"...กลุ่มผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ที่ถูกลงโทษไล่ออกราชการเหล่านี้ ยังมีสิทธิ์ฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ ต่อศาลปกครองชั้นต้น โดยวิธีการยื่นฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือยื่นฟ้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองชั้นต้น ที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลปกครองขั้นต้นนั้น ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ถูกลงโทษ ตามมาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561และตามมาตรา 46 มาตรา 47 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ..."
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครราชสีมา เป็นหนึ่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหญ่พื้นที่ภาคอีสาน ที่ปรากฏข่าวปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบจำนวนมาก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ล่าสุด อบจ.นครราชสีมา ได้มีคำสั่งไล่ออกผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ จำนวนนับสิบราย หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้พิจารณาการไต่สวนเบื้องต้นและให้พิจารณาโทษทางวินัยตามมาตรา 91 (2) และมาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 โดยให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำข้อมูลรายละเอียดมาเสนอ ณ ดังนี้
1. การดำเนินโครงการก่อสร้างถนนผิวจราจรหินคลุก บ้านแสนสุข หมู่ 14 ตำบลหนองบุญนาก เชื่อมตำบลหนองตะไก้ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันดำเนินกระบวนการแก้ไขสัญญาโดยตัดเนื้องานดินถมที่ผู้รับจ้างมิได้ก่อสร้าง และเปลี่ยนเป็นเนื้องานปริมาณความยาวของถนนเพื่อให้ตรงกับที่ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างไว้ เป็นการจัดทำเอกสารย้อนหลังและดำเนินการภายหลังจากที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างเพื่อช่วยเหลือผู้รับจ้าง
- นายภาดล ศรีกระโทก รองปลัด อบจ. นครราชสีมา (นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับสูง) ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 3 วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
- นายภิรมย์ วงศ์สุข อดีตผู้อํานวยการส่วนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับกลาง) ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 3 วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
- นายจตุพงษ์ ปุงมา อดีตนายช่างโยธาอาวุโส ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 3 วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
- นางจิตรัตน์ ทองประวัติศิริ นายช่างโยธาอาวุโส ได้ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 3 วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
2. การดำเนินโครงการก่อสร้างถนนผิวจราจรหินคลุก 5 โครงการ ร่วมกันดำเนินกระบวนการแก้ไขสัญญาโดยตัดเนื้องานดินถมที่ผู้รับจ้างมิได้ก่อสร้าง และเปลี่ยนเป็นเนื้องานปริมาณความยาวของถนนเพื่อให้ตรงกับที่ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างไว้ เป็นการจัดทำเอกสารย้อนหลังและดำเนินการภายหลังจากที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างเพื่อช่วยเหลือผู้รับจ้าง
- นายชาญวุฒิ จุลรัษเฐียร อดีตนายช่างโยธาชํานาญงาน ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 3 วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
- นายธวัชชัย ตระกูลวณิชย์ หัวหน้าฝ่ายจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล อบจ.นครราชสีมา ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 3 วรรคสามของประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
3. การดำเนินโครงการก่อสร้างถนนผิวจราจรหินคลุก 2 โครงการ โดยร่วมกันดำเนินกระบวนการแก้ไขสัญญาโดยตัดเนื้องานดินถมที่ผู้รับจ้างมิได้ก่อสร้าง และเปลี่ยนเป็นเนื้องานปริมาณความยาวของถนนเพื่อให้ตรงกับที่ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างไว้ เป็นการจัดทำเอกสารย้อนหลังและดำเนินการภายหลังจากที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างเพื่อช่วยเหลือผู้รับจ้าง
- นายวรวิทย์ ศรีสิทธิ์ อดีตนายช่างโยธาอาวุโส ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 3 วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
- นายพงศ์ศรณ์ ต้นชนะศักดิ์ อดีต นายช่างโยธาอาวุโส ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 3 วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544
4. กรณีเบิกจ่ายเงินค่าจ้างโครงการขุดลอกคลอง จำนวน 11 โครงการ ทั้งที่ ผู้รับจ้างยังมิได้ดำเนินการตามสัญญา
- นายธีระชัย เทพนอก อดีตผู้อํานวยการสํานักช่าง (นักบริหารงานช่าง ระดับสูง) ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวน และมีมติเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้ ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ตามข้อ 7 วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย พ.ศ.2558 ลงวัน 18 มกราคม 2559
สำหรับ นายธีระชัย เทพนอก เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 นายภิรมย์ วงศ์สุข เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 นายชาญวุฒิ จุลรัษเฐียร เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 นายพงศ์ศรณ์ ตันชนะศักดิ์ เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565
ส่วนนางสุนทรี วงศ์ศักดิ์ดา นายชยพล ราชบุรี และนายสุพะวิชญ์ ควรตะขบ ได้ถูกลงโทษ ปลดออก/ไล่ออก จากราชการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 นายอภิวัฒน์ พลสยม เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 จึงเป็นกรณีที่ บุคคลทั้ง 4 ออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย เกินกว่า 3 ปี นับแต่วันออกจากราชการนายก อบจ. นครราชสีมา จึงไม่มีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลดังกล่าวได้
อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ที่ถูกลงโทษไล่ออกราชการเหล่านี้ ยังมีสิทธิ์ฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ ต่อศาลปกครองชั้นต้น โดยวิธีการยื่นฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือยื่นฟ้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองชั้นต้น ที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลปกครองขั้นต้นนั้น ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ถูกลงโทษ ตามมาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561และตามมาตรา 46 มาตรา 47 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 หรือจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา โดยทำหนังสืออุทธรณ์ถึงประธานกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา หรือจะส่งหนังสืออุทรรณ์ทางไปรณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักงาน ก.จ.จ.นครราชสีมา ก็ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งนี้
ผลการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งจะเป็นอย่างไร ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป