ทางไต่สวนไม่มีพยานหลักฐานพอฟังว่ามีการเรียกเงินจากผู้เสียหาย ศาลล่างทั้งสองจึงฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า จําเลยที่ 1 มิได้กระทําการโดยทุจริต หากแต่จําเลยที่ 1 ใช้อํานาจหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อพิพาททางการเงินของผู้เสียหาย นายเอกรินทร์ ศิลลา และนายเฉลิมพล วังมะนาว ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกันในงานก่อสร้างของ เทศบาลตําบลดอนยายหอม อันเป็นการกระทําโดยไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่
สืบเนื่องจากที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเสนอข่าวกรณีที่นายวิทยา ศุภศิริโภคา อดีตนายกเทศมนตรีตำบล ดอนยายหอมได้ส่งหนังสือมาชี้แจงกับสำนักข่าวอิศราว่าศาลฎีกาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้มีคำพิพากษาว่าไม่พบกรณีทุจริต และมีความผิดแค่ใช้อำนาจไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามคำพิพากษาในชั้นศาลอุทธรณ์
ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลนายวิทยาและนายสุรเชษฐ จำปาศรี อดีตรองนายกเทศมนตรีตำบลดอนยายหอม ตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มาตรา 151 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2560 เนื่องจากทั้งสองคนมีพฤติการณ์เรียกรับผลประโยชน์ตอบแทนในการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงิน และลงนามในใบถอนเงิน /เช็ค ธนาคารเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างเหมา โครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก และรื้อถอนสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเก่า
โดยก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ลงโทษจำคุก 3 ปี
จากข่าวดังกล่าว สำนักข่าวอิศราจึงได้นำคำพิพากษาฉบับเต็มมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
คดีนี้มีโจทก์ได้แก่อัยการสูงสุด (อสส.) มีจำเลยที่ 1 ได้แก่นายวิทยา ศุภศิริโภคา และจำเลยที่ 2 ได้แก่นายสุรเชษฐ จำปาศรี
โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่งนายกเทศมนตรีตําบลดอนยายหอม อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีอํานาจหน้าที่บริหารราชการของ เทศบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และมีฐานะเป็นผู้บริหารท้องถิ่น มีอํานาจอนุมัติฎีกาเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547
จําเลยที่ 2 ดํารงตําแหน่งรองนายกเทศมนตรีตําบลดอนยายหอม มีอํานาจหน้าที่ในการปฏิบัติ ราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 และตามคําสั่งเทศบาลตําบลดอนยายหอมที่ 191/2559 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2549 แต่จําเลยที่ 2 ไม่มีอํานาจอนุมัติฎีกาเบิกเงินและไม่ได้รับมอบหมายจากจําเลยที่ 1 ให้อนุมัติฎีกาเบิกเงินได้
จําเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 48 เอกวีสติ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542มาตรา 4 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2550 เทศบาลตําบลดอนยายหอมทําสัญญาจ้าง บริษัท เจ.ซี.อีควิปเมนท์ (1997) จํากัด ผู้เสียหาย ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่งนายกเทศมนตรีตําบลดอนยายหอม อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีอํานาจหน้าที่บริหารราชการของ เทศบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และมีฐานะเป็นผู้บริหารท้องถิ่น มีอํานาจอนุมัติฎีกาเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547
จําเลยที่ 2 ดํารงตําแหน่งรองนายกเทศมนตรีตําบลดอนยายหอม มีอํานาจหน้าที่ในการปฏิบัติ ราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 และตามคําสั่งเทศบาลตําบลดอนยายหอมที่ 191/2559 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2549 แต่จําเลยที่ 2 ไม่มีอํานาจอนุมัติฎีกาเบิกเงินและไม่ได้รับมอบหมายจากจําเลยที่ 1ให้อนุมัติฎีกาเบิกเงินได้
จําเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 48 เอกวีสติ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542มาตรา 4 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2550 เทศบาลตําบลดอนยายหอมทําสัญญาจ้าง บริษัท เจ.ซี.อีควิปเมนท์ (1997) จํากัด ผู้เสียหาย ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเรียบร้อย และไม่มีเหตุทักท้วงการอนุมัติฎีกาดังกล่าว
เมื่อมีการทวงถามจากผู้เสียหาย จําเลยที่ 1 กลับเรียกให้ผู้เสียหายจ่ายเงินค่าตอบแทนอัตราร้อยละ 25 ของวงเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาก่อน จึงจะอนุมัติเบิกจ่ายให้ แต่ผู้เสียหายปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงินตามที่จําเลยที่ 1 เรียกร้อง ต่อมา ผู้เสียหายได้มอบอํานาจให้ผู้รับมอบอํานาจไปติดต่อขอรับเงินที่เทศบาลตําบลดอนยายหอม
จําเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้ แต่ให้ทําการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มอบอํานาจและตราประทับของผู้เสียหาย ที่สํานักงานพาณิชย์จังหวัดนครปฐม ทั้งที่จําเลยที่ 2 ไม่มีอํานาจสั่งการดังกล่าว เมื่อตรวจสอบ พบว่าถูกต้องแล้ว จําเลยที่ 2 พูดข่มขู่ผู้รับมอบอํานาจจากผู้เสียหายว่า “มึงรู้หรือเปล่า ไอ้ไชยามันโกงเขา ไม่ได้ทํางานก็จะเบิกเงิน เปอร์เซ็นต์ก็ไม่ได้จ่าย” และพูดว่า “เอาหนังสือมอบอํานาจคืนไปด้วย” โดยไม่มีการจ่ายเงินให้แต่อย่างใด
ต่อมาทนายความของผู้เสียหาย มีหนังสือทวงถามให้จําเลยที่ 1 ชําระหนี้ค่าก่อสร้างดังกล่าว จําเลยทั้งสองร่วมกันบ่ายเบี่ยง ไม่ชําระเงินค่าก่อสร้างและแจ้งทนายความของผู้เสียหายว่าให้ประธานกรรมการบริหาร ของผู้เสียหายมารับเงินดังกล่าวที่เทศบาลตําบลดอนยายหอมด้วยตนเองไม่เช่นนั้นจะไม่ยอมจ่ายเงินให้
ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2551 เทศบาลตําบลดอนยายหอมจึงเบิกจ่ายเงิน ค่าก่อสร้างให้แก่ผู้เสียหาย ทําให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากการรับเงินค่าก่อสร้างล่าช้าการกระทําของจําเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยทุจริต และการกระทําของจําเลยที่ 2 เป็นการสนับสนุนจําเลยที่ 1 กระทํา ความผิดดังกล่าว เหตุเกิดที่ตําบลดอนยายหอม อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 86
จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จําเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) จําเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 จําเลยที่ 1 จําคุก 3 ปี และจําเลยที่ 2 จําคุก 2 ปี
จําเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจําเลยที่ 1 อีกสถานหนึ่งเป็นเงิน 15,000 บาท ทางนําสืบของจําเลยที่ 1 เป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญาศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง
ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยที่ 22/2565 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ว่าพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และกําหนดคําบังคับให้คําวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญมีผลเมื่อพ้นสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัย
ศาลฎีกาตรวจสํานวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า การรับคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคําสั่งที่ คร.อท. 956/2564 อนุญาตให้โจทก์ฎีกาและรับฎีกาโจทก์ไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 22/2565 ดังกล่าวและกําหนดคําบังคับให้คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลเมื่อพ้นสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัย ดังนี้ คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีผลถึงการที่ศาลฎีกา ได้รับฎีกาไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอํานาจพิจารณาฎีกาของโจทก์ต่อไปได้
คดีมีปัญหาต้องพิจารณาต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่า สมควรรอการลงโทษจําคุกให้จำเลยที่ 1 หรือไม่
ทางไต่สวนไม่มีพยานหลักฐานพอฟังว่ามีการเรียกเงินจากผู้เสียหาย ศาลล่างทั้งสองจึงฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า จําเลยที่ 1 มิได้กระทําการโดยทุจริต หากแต่จําเลยที่ 1 ใช้อํานาจหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อพิพาททางการเงินของผู้เสียหาย นายเอกรินทร์ ศิลลา และนายเฉลิมพล วังมะนาว ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกันในงานก่อสร้างของ เทศบาลตําบลดอนยายหอม อันเป็นการกระทําโดยไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่
ระยะเวลาที่ จําเลยที่ 1 กระทําในลักษณะถ่วงเวลาการจ่ายเงินให้ผู้เสียหายนั้น เริ่มตั้งแต่มีการเสนอฎีกา เบิกเงินในวันที่ 2 มกราคม 2551 จนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งศาลจังหวัดนครปฐม มีคําสั่งให้ระงับการจ่ายเงิน เป็นเวลาทั้งสิ้นประมาณ 1 เดือน และเมื่อศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่ง ดังกล่าว จําเลยที่ 1 ก็จ่ายเงินให้ผู้เสียหายในทันที
ความเสียหายในส่วนที่จําเลยที่ 1 กระทําต่อผู้เสียหายจึงไม่มากนัก ทั้งการที่คดีระหว่างผู้เกี่ยวข้องมีการระงับข้อพิพาทในศาลได้ย่อมแสดงว่าข้อพิพาทที่นายเอกรินทร์และนายเฉลิมพลยกขึ้นมีมูลเหตุตามกฎหมาย ไม่ใช่เรื่อง การกลั่นแกล้งกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์ใด ดังนี้ พฤติการณ์แห่งการกระทําผิดจึงไม่ใช่เรื่องร้ายแรงนัก การลงโทษบุคคลย่อมต้องคํานึงว่าผู้กระทําความผิดได้รับโทษที่น้อยที่สุดที่จะพึงเยียวยาให้กลับตนเป็นพลเมืองดี การลงโทษจําคุกจําเลยที่ 1 เสียทีเดียวอาจก่อผลเสียหายเกินจําเป็นที่จะทําให้บรรลุผลดังกล่าว การที่
ศาลอุทธรณ์กําหนดโทษจําคุกและปรับ แล้วรอการลงโทษจําคุกไว้โดยกําหนดมาตรการคุม ความประพฤติของจําเลยที่ 1 ไว้ด้วยนับว่าเพียงพอให้จําเลยที่ 1 สํานึกและกลับตน เป็นพลเมืองดีแล้ว นอกจากนี้ เมื่อจําเลยที่ 1 ต้องคําพิพากษาว่ามีความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ ราชการเช่นนี้ ยังส่งผลกระทบต่อสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นในโอกาสต่อไป
ตามความในพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562
มาตรา 50 (10) มาตรการดังกล่าวทั้งหมดเพียงพอที่จะเป็นเยี่ยงอย่างมิให้ผู้บริหารท้องถิ่นอื่น ใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบในทํานองเดียวกันแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจําคุกให้จําเลยที่ 1 จึงเหมาะสมแล้ว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายว่า จําเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนให้จําเลยที่ 1 กระทําความผิดหรือไม่ โจทก์ฎีกาขอให้ศาลรับฟังบันทึกคําให้การในชั้นไต่สวน ของพยานปากนายศิรศักดิ์ เอกปัจฉิมศิริ ซึ่งให้การว่า พบชายฉกรรจ์พกอาวุธปืนท่าที่ไม่เป็นมิตรที่หน้าห้องจําเลยที่ 1 เมื่อเข้าไปในห้องพบจําเลยทั้งสอง จําเลยที่ 2 พูดว่า “มึงรู้หรือเปล่าไอ้ไชยามันโกงเขา ไม่ทํางานก็จะมาเบิกเงิน เปอร์เซ็นต์ก็ไม่จ่าย” การที่พยานดังกล่าวไม่มาศาลเป็นพิรุธว่าพยานเกรงกลัวอันตรายจนไม่กล้ามาเบิกความ ทําให้คําให้การในชั้นสอบสวน
มีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งขึ้นนั้น เห็นว่า บันทึกคําให้การในชั้นไต่สวนของนายศิรศักดิ์ดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลําพังเพื่อลงโทษจําเลย เว้นแต่จะมีเหตุผล อันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน ซึ่งในคดีนี้ทางไต่สวนไม่มีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน ที่โจทก์อ้างว่าพยานไม่มา เบิกความต่อศาลเพราะเกรงกลัวอันตรายนั้น เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ของโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอันหนักแน่นหรือมีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีที่จะให้รับฟังคําให้การในชั้นไต่สวนดังกล่าว
ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าเพื่อลงโทษจําเลยได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้แต่เพียงว่า จําเลยที่ 2 สั่งให้ มีการตรวจสอบสถานะของผู้เสียหายและผู้มีอํานาจลงนามว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งใช้เวลาตรวจสอบเพียง 1 วัน
กรณียังไม่พอฟังว่าจําเลยที่ 2 กลั่นแกล้งผู้เสียหายหรือเป็นผู้สนับสนุนให้จําเลยที่กระทําความผิด ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแล้ว
ฎีกาของโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้นพิพากษายืน