ท้ายที่สุดนายสีเกอก็มากดดันตัวนายลู่ด้วยตัวเอง โดยเสนอให้สามทางเลือกคือ 1.จ่ายเงินค่าไถ่ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1,047,300 บาท) 2.ทำงานเป็นสแกมเมอร์เหมือนคนอื่น และ 3. ใช้ทักษะของเขาไปช่วยเหลือในด้านงานบัญชี โดยผ่านไปหลังจากนั้นหกเดือนแก๊งก็จะพิจารณาเรื่องการปล่อยตัวนายลู่
ปัญหากรณีการฉ้อโกงที่สแกมทางโทรคมนาคมในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมานั้นดูจะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้โดยง่ายและโดยเร็วๆนี้
และเมื่อไม่กี่วันก่อนก็มีกรณีของชายชาวจีนที่ออกมาเปิดโปงโครงสร้างของขบวนการฉ้อโกงให้กับสำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดสรุปดังต่อไปนี้
นายนีโอ ลู่ (นามสมมติ) ชายชาวจีนวัย 28 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในเหยื่อที่ถูกขายเป็นทางให้กับแก๊งชาวจีนได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่าแท้จริงแล้วเหล่านักต้มตุ๋นที่พยายามโทรหาเหยื่อเพื่อหลอกลวง โดยอ้างว่าโทรผิดหมายเลขนั้น แท้จริงแล้วอาจจะอยู่ในสภาพแวดล้อมเลวร้ายกว่าที่คิดมาก
สำหรับกรณีของนายลู่ซึ่งถูกกักขังอยู่นานกว่า 7 เดือนเริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาตอบโฆษณาสมัครงานแปลที่กรุงเทพ แต่พอเขาหลงกลเขาก็ถูกลอบพาตัวข้ามชายแดนระหว่างไทยและเมียนมา และต้องติดอยู่ที่ศูนย์ฉ้อโกงแห่งนั้นนานถึงเจ็ดเดือน เช่นเดียวกับเหตุการณ์ของผู้ค้ามนุษย์รายอื่นๆที่อยู่ในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน อาทิ ลาวและกัมพูชา และดูกถูกบงการโดยกลุ่มคนที่ทางสถาบันสันติภาพแห่งสันติภาพของสหรัฐอเมริกาเรียกกันว่าเป็น “มะเร็งแห่งอาชญากรรม”
ในช่วงที่ชาวอเมริกันจำนวนมากตกเป็นเหยื่อขบวนการฆ่าหมู (การหลอกลวงด้วยการโน้มน้าวก่อนจะล่อให้โอนเงินจำนวนมาก) ในการฉ้อโกงคริปโต ปรากฏว่าสแกมเมอร์หลายคนที่ถูกหลอกมาทำงานอีกทีก็ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ และผู้ที่ไม่ทำตามคำสั่งผู้บงการจะถูกทุบตี ส่วนผู้ทีทำตามคำสั่งก็จะถูกปลูกฝังความเชื่อว่าพวกเขาจะต้องถูกจับแน่นอนถ้าหากกลับไปยังประเทศบ้านเกิดตัวเอง และยิ่งไปกว่านั้นสแกมเมอร์ทั้งหมดที่ถูกหลอกมาก็จะถูกยึดทั้งหนังสือเดินทางและวีซ่าเอาไว้เพื่อทำให้เกิดควายุ่งยากในการเข้าเมือง
ตึกที่ทำการศูนย์ฉ้อโกง
นายลู่กล่าวต่อไปว่าตัวเขาและเพื่อนที่ถูกลักพาตัวมา จะได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นจำนวนน้อยนิดเท่านั้นสำหรับใช้กับสิ่งดึงดูดในศูนย์ฉ้อโกงที่พวกเขาถูกคุมตัวอยู่ อาทิเช่นเซ็กส์,ยาเสพติด และการพนัน ซึ่งการจ่ายเงินก็เป็นอีกวีทำให้กลุ่มสแกมเมอร์อยู่ในแถว
“กลุ่มฉ้อโกงต้องพายามสร้างภาพลวงให้เหยื่อที่ถูกค้ามนุษย์เห็นว่าพวกเขาสามารถออกจากระบบที่เป็นอยู่นี้ได้ผ่านการทำงาน ให้เปรียบก็เหมือนกับลาที่เปลี่ยนจากการวิ่งเพื่อหนีจากการเฆี่ยนตีมาเป็นการวิ่งเพื่อไล่ตามแครอทที่ห้อยอยู่ตรงหน้า” นายลู่กล่าว
ตัวนายลู่เองพยายามขอร้องให้ได้รับการปล่อยตัว แต่ผู้คุมขังปฏิเสธแล้วเอาตัวเขาไปทำงานเป็นนักบัญชีซึ่งเขาได้ดูแลและติดตามเงินที่ผิดกฎหมายที่ไหลเข้ามานับล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในแต่ละเดือน รวมถึงการจัดการรายจ่ายประจำวัน
ในช่วงเวลาที่เขายังอยู่ในค่ายกักกัน นายลู่ได้ติดต่อสำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์ พร้อมกับการส่งเอกสารทางการเงินและรูปภาพนับร้อยแผ่น และวิดีโอเกี่ยวข้องกับสถานที่ หวังว่าจะเปิดโปงปฏิบัติการณ์ฉ้อโกงนี้
นอกจากนี้นายลู่ยังได้ส่งภาพหน้าจอตำแหน่งที่น่าจะเป็นบนแผนที่เมียนมาไปให้กับสำนักข่าวด้วยเช่นกัน ซึ่งทางนิวยอร์กไทมส์วิเคราะห์ตามภาพถ่ายดาวเทียมแล้วนำมาเทียบเคียงกับภาพที่นายลู่ได้ถ่ายไว้ ก็คาดว่าพื้นที่นายลู่ถูกคุมขังอยู่ว่าจะเรียกว่าเขตตงเหม่ย (Dongmei Zone)
พอถึงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา นายลู่ก็เงียบหายไป
สำหรับเขตตงเหม่ยดังกล่าวนั้นอยู่ที่เมืองเมียวดี ทางตอนใต้ของเมียนมา ซึ่งที่นี่เป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับกลุ่มฉ้อโกงโดยเฉพาะกลุ่มที่ลักพาตัวนายลู่ไป
เปรียบเทียบเขตตงเหม่ยในช่วงเดือน ก.พ.2563 และในช่วง ก.พ.2565
ที่แห่งนั้นรัฐบาลไม่มีอำนาจ กลุ่มอาชญากรรมเป็นผู้ปกครองโดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ท้องถิ่นต่างๆ ที่พวกเขาจ่ายเงินค่าคุ้มครองให้ เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดแก๊งอาชญากรรมของจีนนำไปสู่การผุดขึ้นของคาสิโนผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด และการฟอกเงินที่เพิ่มขึ้น
ทางการสหรัฐอเมริกาออกมากล่าวว่านักลงทุนหลักในเขตตงเหม่ยก็คือนายหวัน ค็อกคอย (Wan Kuok Koi ) หรือที่มีฉายาว่าฟันหลอ ผู้นำกลุ่มมาเฟีย 14k Triad องค์กรอาชญากรรมสัญชาติจีน แต่ว่าทางนิวยอร์กไทส์สยังไม่สามารถติดต่อนายหวันเพื่อให้แสดงความเห็นกรณีนี้ได้
ขณะที่นายลู่ (ในช่วงที่ยังติดต่อได้)เรียกพื้นที่เมืองเมียวดีนี้ว่าลิตเติ้ล ไชน่า และกล่าวว่าหัวหน้าองค์กรเป็นชายชาวจีนวัยกลางคนผมหงอกที่มีตาโปนซึ่งทุกคนเรียกว่านายสีเกอ (Xi Ge) ในภาษาจีนซึ่งแปลคร่าวๆว่าบราเดอร์จอย แต่ไม่มีใครในค่ายกักกันใช้ชื่อจริงของเขา
นายลู่กล่าวว่า นายสีเกอเช่าพื้นที่เขตตงเหม่ยและดําเนินการด้วยสมาชิกประมาณ 70 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนที่ถูกหลอกให้มายังเมืองเมียวดีด้วยเช่นกัน
ต่อมานายลู่ได้รับทราบข้อมูลว่านายสีเกอได้จ่ายเงินให้นักค้ามนุษย์ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1,046,505 บาท) สำหรับตัวเขา (นายลู่)
@โครงสร้างปฏิบัติการณ์ฉ้อโกง
1.ผู้ก่อตั้ง โดยกรณีนี้ได้แก่นายสีเกอ เป็นผู้ดำเนินองค์กร เก็บผลกำไรที่เหลือหลังจากจ่ายเงินค่าใช้จ่ายต่างๆและเงินเดือน
2.ผู้ร่วมขบวนการ แบ่งออกเป็นสองทีม ทำงานกับนักค้ามนุษย์และนักฟอกเงิน โดยจะเอเงินไปประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของกำไรของทีม โดยกรณีนี้ได้แก่นายและนางหลี่ บุคคลชื่อว่า “ฮั่วกวง” และ คนชื่อบราเดอร์กวง
3.หัวหน้าทีม ทำหน้าที่ดูแลการฉ้อโกงแบบวันต่อวัน ได้รับรายได้ประมาณ 20% ของผลกําไรจากการฉ้อโกงของทีมทั้งหมดกรณีนี้ประกอบไปด้วยทีม "Dongfanghui" ทีม "Zi Hao" ทีม "G1" ทีม "G2" ทีม "Q" ทีม "401"
4.คนงาน เป็นผู้ทำงานในการฉ้อโกง คนกลุ่มนี้มักตกเป็นเหยื่อการบังคับขู่เข็ญ พวกเขาเก็บ 3-15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้เข้าตัวเอง แต่ยังต้องรับผิดชอบหากมีการขาดทุนใดๆเกิดขึ้น
โดยในกรณีนี้ทีม "Dongfanghui"มีคนงาน 4 คน ทีม "Zi Hao" มีคนงาน 5 คน ทีม "G1" มีคนงาน 8 คน ทีม "G2" มีคนงาน 9 คน ทีม "Q" มีคนงาน 7 คน และทีม "401"มีคนงาน 20 คน
@ฝ่ายเจ้าหน้าที่สนับสนุน
1.ผู้ก่อตั้งได้แก่นายสีเกอ
2.เจ้าหน้าที่โลจิสติกส์และภารโรงประกอบจำนวน 4 คน ซึ่งส่วนมากจะเป็นคนเมียนมา ได้เงินเดือนตามที่กำหนดเอาไว้
3.เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ซึ่งบางครั้งจะทำหน้าที่ลงโทษทางร่างกาย
4.นักบัญชีจำนวนสองคน ซึ่งตรงนี้รวมถึงนายลู่ที่ได้รับเงินเดือน 1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (48,878 บาท) ต่อเดือน
5.ผู้ฟอกเงินจำนวน 2 คน
6.ผู้ทำหน้าที่ตระเตรียมบัญชีโซเชียลมีเดีย WeChat จำนวน 4 คน
เนื่องจากเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีนกลุ่มฉ้อโกงกลุ่มนี้จึงตั้งนาฬิกาทั้งหมดล่วงหน้าหนึ่งชั่วโมงครึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับเวลาที่ปักกิ่ง โดยงานจะเริ่มเวลา 10.30 น. และสิ้นสุดในเวลาเที่ยงคืนโดยมีการหยุดพักสามเบรก เพียงครึ่งชั่วโมงต่อครั้ง คนงานมีวันหยุดเพียงวันเดียวในแต่ละเดือน
โดยพวกเขาทำงานในสภาพนั่งอยู่ในสํานักงานเปิดภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด ในห้องหนึ่งคนงานใช้โทรศัพท์มือถือหลายร้อยเครื่องที่เรียงรายอยู่บนผนังเพื่อสร้างโปรไฟล์ที่ดูสมจริงบน WeChat ซึ่งเป็นแอปแชทยอดนิยมของจีน โปรไฟล์ดังกล่าวถูกป้อนด้วยข้อมูลรวมถึงบัญชี WeChat ที่ถูกขโมยมา และหมายเลขโทรศัพท์มือถือ รูปภาพและวิดีโอที่มักซื้อทางออนไลน์เพื่อใช้กับโปรไฟล์ปลอม
คนงานใช้เวลาทั้งวันไปกับการใช้บัญชี WeChat ไล่ดูตามฟีดส์โซเชียลมีเดียบนอุปกรณ์แต่ละเครื่องเพื่อเลียนแบบการใช้งานปกติและเพื่อผ่านระบบตรวจจับการฉ้อโกงของแอปพลิเคชัน
สภาพภายในศูนย์ฉ้อโกง
กลับมาที่กรณีของนายลู่ ตัวเขาต้องนอนในห้องที่ถูกรบกวนตลอดเวลาและใช้ห้องร่วมกับชาวจีนอีกเจ็ดคน ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เขาเคยเรียนวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษตั้งแต่เมื่ออายุ 17 ปี และเคยทำงานให้กับบริษัทจีนในโอมาน,ไนจีเรียและเคนยา ซึ่งความปรารถนาของเขาคือการเก็บเงินให้ได้มากพอและย้ายไปตะวันตก แต่เพราะความทะเยอทะยานใจดังกล่าวทำให้เขาต้องอยู่ในเมียนมา
นี่คือสิ่งที่ทำให้นายลู่ต้องหาทางหลบหนีออกจากสถานที่แห่งนี้ แต่ว่าโทรศัพท์ของเขาถูกยึดไปโดยหัวหน้างานของเขาเมื่อเขามาถึงค่าย
ในช่วงสัปดาห์แรกนายลู่ใช้โทรศัพท์ที่ทำงานเพื่อติดต่อเพื่อนผ่านแอปพลิเคชัน Telegram ที่เป็นแอปฯส่งข้อความ วันถัดมาหัวหน้างานขู่เขาว่าจะทุบตีและขายเขาให้กับอีกแก๊งในเมียวดีที่มีข่าวลือว่าแก๊งนี้ค้าอวัยวะมนุษย์ นายลู่จึงพยายามไหว้วานว่าให้ปล่อยตัวเขาไป บอกว่าเขาทำงานนี้ไม่ได้ แต่มันไม่ได้ผล
ท้ายที่สุดนายสีเกอก็มากดดันตัวนายลู่ด้วยตัวเอง โดยเสนอให้สามทางเลือกคือ 1.จ่ายเงินค่าไถ่ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1,047,300 บาท) 2.ทำงานเป็นสแกมเมอร์เหมือนคนอื่น และ 3. ใช้ทักษะของเขาไปช่วยเหลือในด้านงานบัญชี โดยผ่านไปหลังจากนั้นหกเดือนแก๊งก็จะพิจารณาเรื่องการปล่อยตัวนายลู่
นายลู่จึงเลือกทางเลือกที่สามคือการทำงานด้านบัญชี โดยเขาเดินเรื่องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่างๆอาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าเช่าสำนักงาน โบรกเกอร์ที่เชื่อมโยงกับนักค้ามนุษย์ ค่าใช้จ่ายในการลอบขนแรงงานข้ามแดน จ่ายเงินให้กับกองกำลังติดอาวุธเพื่อคุ้มกันผู้คนเข้าออกจากพื้นที่ ค่าธรรมเนียมคารวานต่างๆเพื่อใช้สำหรับการฟอกเงิน
@การลงโทษ
หลังจากที่ทำงานได้สองถึงสามเดือน นายลู่ได้รับความไว้วางใจจากผู้จับกุมให้ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวได้ 2-3 นาทีต่อวัน เขาจึงส่งรายละเอียดของสถานที่คุมขังไปตามที่ได้เรียนไว้เบื้องต้นแล้ว โดยส่งข้อมูลเหล่านี้ไปให้กับครอบครัวและเพื่อนของเขาด้วย และยังได้อัปโหลดทุกอย่างไปยังบัญชีอีเมลที่เข้ารหัสและลบไฟล์ทุกอย่างออกจากอุปกรณ์ที่ทำงานของเขา
แล้วหลังจากนั้นจึงได้ส่งบันทึกทางการเงินที่เขาเก็บไว้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2565 และรายชื่อติดต่อทางกฎหมายของเหยื่อการหลอกลวง บันทึกการทําธุรกรรมและหมายเลขโทรศัพท์ไปยังสำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์
พอมาถึงวันที่ 3 ม.ค. นายลู่ได้ไปขอร้องนายสีเกอให้รักษาคำพูดว่าจะปล่อยตัวเขา แต่เขากลับถูกพอตัวไปยังห้องหอพักสำหรับลงโทษคนงานที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
นายลู่จึงบอกผู้ทรมานตัวเขาว่าเขาได้บอกกับสื่อและเพื่อนของเขาไปแล้วว่าเขาถูกจับอยู่ แต่นั่นก็ทำให้เขาถูกทรมานหนักขึ้น โดยผู้ทรมาซื่งชื่อว่าอาฮงบอกว่าจะทรมานนายลู่ไปเรื่อยๆจนกว่านายลู่จะล้มเลิกความคิดเรื่องการลาออก ซึ่งในช่วงที่ถูกทรมานนั้น ก็มีผู้นำระดับอาวุโสของแก๊งมาบอกกับเขาเป็นระยะว่าถ้าเขาล้มเลิกความคิดเรื่อการลาออก นายลู่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำสาขาคนใหม่ ที่จะปฏิบัติการณ์มุ่งเน้นไปที่การหลอกลวงเหยื่อที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งรายได้จะดีกว่านี้
แต่นายลู่ปฏิเสธและบอกว่าครอบครัวของเขาพร้อมจะจ่ายค่าไถ่
มาวันหนึ่งอาฮงจึงได้เดินเข้ามาที่ห้องทรมาน ปกปิดใบหน้าอย่างมิดชิดแล้วเข้ามาตั้งกล้องพร้อมกับกดบันทึก แล้วจึงเอาปืนช็อตไฟฟ้าออกมาเพื่อทำวิดีโอการเรียกค่าไถ่
พอมาถึงวันที่ 14 ม.ค.ก็มีการส่งคลิปวิดีโอเรียกค่าไถ่จำนวนสองคลิปไปให้กับพ่อแม่ของนายลู่ที่เมืองไถโจว มณฑลเจ้อเจียง เรียกเงินเป็นจำนวน 5 แสนหยวน (2,497,747 บาท) ซึ่งแน่นอนเป็นเงินที่มากเกินจ่ายสำหรับครอบครัวของนายลู่
@การช่วยเหลือ
นางเผิง (นามสมมติ) แม่ของนายลู่ได้ตอบกลับไปยังนายสีเกอว่าขอเวลาและข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งในเรื่องของรายละเอียดว่าจะจ่ายค่าไถ่อย่างไร จะต้องจ่ายให้ใครบ้าง
ครอบครัวของนายลู่ยังได้ไปแจ้งความคดีลักพาตัวต่อตำรวจ ขอความช่วยเหลือไปถึงสถานทูตจีน และสมาคมธุรกิจต่างๆ ต่อมาตำรวจในมณฑลเจ้อเจียงได้แนะนำให้รู้จักกับชายคนหนึ่งที่น่าจะสามารถช่วยได้
ชายคนนี้มีชื่อเล่นว่าดรากอน เขาถูกระบุว่าเคยช่วยเหลือเหยื่อชาวจีนที่ถูกหลอกลวงมาได้กว่า 200 คนแล้วจากศูนย์ฉ้อโกงหลอกลวงในประเทศมนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเขายังมีบล็อกบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวของตัวเอง
ดรากอนบอกกับคู่สามีภรรยาพ่อแม่นายลู่ว่าผู้จับกุมนายลู่จะยังคงส่งวิดีโอทำร้ายร่างกายนายลู่ต่อไปเรื่อยๆแม้ว่าจะจ่ายค่าไถ่ไปแล้วก็ตาม เรื่องนี้ก็จะไม่จบ เขาจึงแนะนำให้คู่สามีภรรยาถ่วงเวลาเอาไว้แล้วทำตัวเหมือนว่าให้ความร่วมมือ ส่วนตัวเขาจะหาช่องทางอื่นๆเพื่อช่วยเหลือ
พอถึงวันที่ 21 ม.ค. หนึ่งสัปดาห์หลังจากวิดีโอเรียกค่าไถ่ส่งมา ดรากอนบอกกับพ่อแม่นายลู่ว่า เพื่อนของเขาซึ่งเป็นคนที่มีอำนาจและเป็นนักธุรกิจชาวจีนที่มีความเชื่อมโยงกับกองกำลังติดอาวุธในท้องถิ่นกำลังเดินทางไปเขตตงเหม่ยตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว และยืนยันว่านายลู่จะถูกปล่อยตัวในสองวันหลังจากนี้
นางเผิงได้ติดต่อกับดรากอนและกับนิวยอร์กไทมส์ โดยดรากอนได้ให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์กไทมส์ในลักษณะไม่เปิดเผยตัวเองเพราะกังวลว่าการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงในการช่วยเหลือเหยื่อในอนาคต
ดรากอนกล่าวว่านักธุรกิจชาวจีนที่มีเส้นสายค่อนข้างดี ได้เดินทางไปยังเขตตงเหม่ยตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. ขนาบข้างด้วยนายพลและทหารหลายสิบนายจากกองกำลังพิทักษ์ชายแดนหรือ BGF ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธท้องถิ่นที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลทหารเมียนมา โดยเมื่อไปถึงนักธุรกิจคนนี้ได้ขอตัวนายลู่
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากลุ่มติดอาวุธในท้องถิ่นมักมีความสัมพันธ์กับเจ้าของพื้นที่ศูนย์ฉ้อโกง แต่กลุ่มติดอาวุธท้องถิ่นก็ยังมีหน้าที่ต้องตรวจสอบกลุ่มอาชญากรรมที่ทำงานในศูนย์ฉ้อโกงด้วยเช่นกัน
ดรากอนกล่าวว่าเหตุการณ์นี้ นายสีเกอได้ข้ามเส้นที่ไม่ควรจะข้าม เพราะเขาดึงดูดความสนใจของทางการจีนด้วยการนำเสนอวิดีโอที่นายลู่ถูกทรมาน นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เพื่อนร่วมงานของดรากอนซึ่งเป็นนักธุรกิจสามารถดึงเอานายพลเข้ามาช่วยเหลือในกรณีของนายลู่ได้
ทางนิวยอร์กไทมส์ก็ไม่สามารถยืนยันรายละเอียดเกี่ยวกับการช่วยเหลือได้อย่างอิสระด้วยเช่นกัน
ส่วนนายลู่หลังจากถูกคุมตัวเป็นเวลา 18 วัน ก็ไม่ได้รับรู้อะไรเกี่ยวกับการเจรจาด้วยเลย และในวันหนึ่งเขาก็ถูกบอกให้เปลี่ยนเสื้อผ้า แล้วไปนั่งรถกอล์ฟ
หลังจากนั้นนายลู่ก็ถูกปล่อยตัว
เรียบเรียงจาก:https://www.nytimes.com/interactive/2023/12/17/world/asia/myanmar-cyber-scam.html
.