นายหวังยังเป็นรองประธานของสมาคมชาวจีนแห่หนึ่งในประเทศไทย และตลอดเวลาสองปีที่ผ่านมาเขาได้สร้างความสัมพันธ์กับทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้าราชการ และนักการเมืองระดับสูง แต่ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าบัญชีสกุลเงินดิจิทัลหรือว่าคริปโต ที่ลงทะเบียนในชื่อของนายหวัง กลับได้รับเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเงินนี้ไปเชื่อมโยงกับการหลอกลวงให้ลงทุนสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่ง หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “การเชือดหมู” ตามรายงานข่าวสืบสวนของรอยเตอร์ส
เมื่อประมาณสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมข่าว สำนักข่าวรอยเตอร์สได้มีการเผยแพร่รายงานข่าวสืบสวนกรณีที่มีนักธุรกิจจีนในประเทศไทยรายหนึ่งได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการฉ้อโกงสกุลเงินดิจิทัลหรือที่เรียกกันว่าคริปโต
และหลังจากที่รายงานข่าวได้เผยแพร่ก็มีสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งได้นำเอารายงานข่าวชิ้นนี้ไปสรุปและนำเสนอต่ออีกทีหนึ่ง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอารายงานข่าวชิ้นนี้โดยสรุป และถูกนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักข่าวนิวสเตรทไทม์สของมาเลเซียและสเตรทไทม์สของสิงคโปร์มาเผยแพร่
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ย้อนไปเมื่อเดือน ต.ค.2565 นักธุรกิจจีนชื่อว่านายหวัง (ขอสงวนชื่อเต็ม) มอบดอกไม้ให้กับหนึ่งในเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง ในระดับผู้บังคับการ ในหน่วยงานปรามปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยอวยพรขอให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบความสำเร็จ
จากการตรวจสอบพบว่านายหวังยังเป็นรองประธานของสมาคมชาวจีนแห่หนึ่งในประเทศไทย และตลอดเวลาสองปีที่ผ่านมาเขาได้สร้างความสัมพันธ์กับทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้าราชการ และนักการเมืองระดับสูง แต่ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าบัญชีสกุลเงินดิจิทัลหรือว่าคริปโต ที่ลงทะเบียนในชื่อของนายหวัง กลับได้รับเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเงินนี้ไปเชื่อมโยงกับการหลอกลวงให้ลงทุนสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่ง หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “การเชือดหมู” ตามรายงานข่าวสืบสวนของรอยเตอร์ส (การเชือดหมูหมายถึงวิธีการหลอกลวงรูปแบบใหม่ โดยจะเป็นการทำให้เหยื่อตายใจ จนยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวด้วยความไว้วางใจหรือกระทั่งยอมโอนเงินไปให้)
โดยรวมแล้วมีคริปโตคิดเป็มูลค่ากว่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(3,161,250,000) ไหลเข้าสู่บัญชีของนายหวังนับตั้งแต่เดือน ม.ค.2564- พ.ย.2565
และหนึ่งในเหยื่อก็คือชายวัย 71 ปีจากแคลิฟอร์เนีย
ตามข้อมูลของบริษัทวิเคราะห์บล็อกเชนชื่อว่า Coinfirm พบว่าเหยื่อจากแคลิฟอร์เนียคนนี้ส่งเงินไปยังกระเป๋าเงินคริปโตคิดเป็นมูลว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ (3,514,150 บาท) และกระเป๋าคริปโตนี้ก็เป็นเส้นทางไปสู่บัญชีของนายหวัง
ครอบครัวของเหยื่อที่ถูกฉ้อโกงให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์สว่าสรุปแล้วเหยื่อจากแคลิฟอร์เนียรายนี้เสียเงินไปกว่า 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (94,903,650 บาท) ซึ่งเงินนี้มาจากเงินเก็บทั้งชีวิตของเขา โดยผู้ที่หลอกลวงเหยื่อปรากฏว่าเป็นหญิงสาวหน้าตาดีและอายุน้อยชื่อว่า ‘เอ็มม่า’
รูปภาพวาบหวิวที่ถูกใช้โดยบุคคลชื่อเอ็มม่าเพื่อหลอกล่อเหยื่อจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นภาพของเอ็มม่าจริงหรือไม่ (อ้างอิงรูปภาพจากรอยเตอร์ส)
มีข้อมูลปรากฏว่าการทำธุรกรรมซึ่งไม่ได้รายงานก่อนหน้านี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ “การเชือดหมู” ซึ่งจะเกี่ยวกับเหยื่อซึ่งไม่ระแคะระคายมาก่อน บนช่องทางออนไลน์
นักต้มตุ๋น หรือที่เรียกว่าสแกมเมอร์จะใช้วิธีการปลูกฝังความไว้ใจแล้วชักชวนเหยื่อให้ลงทุนในแผนการคริปโต โดยบางครั้งจะใช้วิธีการหลอกลวง ผ่านเว็บไซต์ปลอมที่สร้างให้เหมือนแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ถูกกฎหมาย และบางครั้งเป้าหมายในตอนแรกก็จะได้รับผลตอบแทนจริงเพื่อให้ตายใจว่าโครงการที่ชวนมาลงทุนนั้นถูกต้องตามกฎหมาย
การหลอกลวงดังกล่าวได้ดึงการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จักคนที่อยู่เบื้องหลังพวกเขา
สำหรับนายหวังเองทางสำนักข่าวรอยเตอร์สได้ไปพยายามจะติดต่อสัมภาษณ์ แต่ก็ไม่ได้ตอบคำถามใดๆกลับมาเลย
เช่นเดียวกับรัฐบาลไทย,ตำรวจไทย และสมาคมที่นายหวังสังกัดอยู่ ก็ไม่ได้ติดต่อกลับมาเช่นกัน
ทางด้านของนางลิซ่า โวล์ค นักวิเคราะห์ด้านบล็อกเชนจากบริษัท TRM กล่าวว่าบัญชีคริปโตในชื่อของนายหวังนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายการฟอกเงิน และบัญชีนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นปลายทางของการรับเงินขั้นสูงสุด
ขณะที่นางเอริน เวสต์ อัยการรัฐแคลิฟอร์เนียที่เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมไซเบอร์ กล่าวว่า เธอเข้าร่วมการบรรยายสรุปเมื่อเดือนมกราคมเกี่ยวกับการฉ้อโกงทางไซเบอร์ที่มีเจ้าหน้าที่จากสํานักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) และหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐฯ เข้าร่วม และมีผู้จัดการประชุมได้แก่กลุ่ม Global Anti-Scam Organisation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรของสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนเหยื่อการฉ้อโกงและสืบสวนคดี
ทางสำนักข่าวรอยเตอร์สได้ตรวจสอบเอกสารการนำเสนอความยาวกว่า 72 หน้าซึ่งมีการเตรียมไว้ทำหรับผู้เข้าร่วมการประชุม พบว่าเกี่ยวกับการฉ้อโกงทางไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น นายหวังถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในผู้รับผลประโยชน์
ทว่าเอฟบีไอและหน่วยสืบราชการลับปฏิเสธจะให้ความเห็นเกี่ยวกับการบรรยายสรุปว่านายหวังเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนใดๆหรือไม่
สำหรับบัญชีคริปโตที่จดทะเบียนในชื่อของนายหวังนั้นพบว่าถูกจดทะเบียนที่กระดานแลกเปลี่ยน Binance ซึ่งทางบริษัทวิเคราะห์บล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดจำนวนสามรายระบุว่า Binance ถือเป็นกระดานแลกเปลี่ยนคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โดยในช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา บริษัทวิเคราะห์บล็อกเชนได้รายงานว่าจำนวนของเหตุ “การเชือดหมู” ในปี 2566 นั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2565 และสาเหตุของการเพิ่มขึ้นก็เนื่องมาจากว่ามีนักลงทุนคริปโตที่ไม่มีประสบการณ์เข้าสู่วงการเป็นจำนวนมาก และสแกมเมอร์ก็จ้องที่จะหาประโยชน์จากคนกลุ่มนี้
นายหวังแสดงความยินดีกับนายตำรวจที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งนายหนึ่ง (อ้างอิงรูปภาพจากรอยเตอร์ส)
เป็นที่ทราบกันดีว่าการฉ้อโกงคริปโตได้กลายเป็นกิจกรรมทางอาชญากรรมมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งข้อมูลจากเอฟบีไอพบว่าในสหรัฐฯ เพียงแห่งเดียว มีเหยื่อรายงานความสูญเสียสูงถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากกิจกรรมการเชือดหมู และการฉ้อโกงคริปโตอื่นๆในช่วงปี 2565 โดยตัวเลขความเสียหายนี้มากกว่าปีก่อนหน้าถึงสองเท่า
ทว่าระดับความสูญเสียที่แท้จริงนั้นไม่อาจเป็นที่ทราบได้เนื่องจากเหยื่อมักจะมีความอับอายเกินกว่าจะรายงานอาชญากรรมให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบ
ย้อนไปเมื่อเดือน เม.ย.กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯออกมากล่าวว่าได้ยึดคริปโตมูลค่ากว่า 112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3,930,080,000 บาท) ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการฉ้อโกง และการเชือดหมู แต่ไม่ได้ระบุตัวตนผู้ต้องสงสัยแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามพบว่ากว่าครึ่งของบัญชีในกระดานแลกเปลี่ยน Binance ซึ่งถูกยึดทรัพย์นั้นถูกจดทะเบียนในประเทศไทย
บริษัท Binance ถูกปรับ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในฐานความผิดข้อหาฟอกเงิน (อ้างอิงเนื้อหาและวิดีโอจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ)
นางเวสต์ อัยการจากสหรัฐฯกล่าวว่าเหยื่อจำนวนมากในคดีเกี่ยวกับการเชือดหมู ซึ่งเธอได้เข้าไปจัดการคดีนับตั้งแต่ต้นปี 2565พบว่าแต่ละคงเสียเงินไปมากกว่าหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (35,098,000 บาท) และแน่นอนว่าหลายคนไม่เคยได้เงินคืนเลย
“ฉันไม่เคยเห็นการทําลายล้างระดับนี้มาก่อน” นางเวสต์กล่าว
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมทางการเงินกล่าวว่าการฉ้อโกงหรือที่เรียกว่าการเชือดหมูนั้นมีจุดเริ่มต้นจากที่ประเทศจีน
กระทรวงการคลังสหรัฐฯระบุเดือนกันยายนว่าการหลอกลวงดังกล่าวจํานวนมากถูกดําเนินการโดยองค์กรอาชญากรรมจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้เหยื่อการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเพื่อติดต่อเหยื่อทั่วโลก
@คดีที่ติดตามยาก
ขณะที่นายนายเจเรมี ดักลาส ผู้แทนระดับภูมิภาคของสํานักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ กล่าวกับรอยเตอร์ว่า ผู้กระทําผิดมักเป็น "องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่โหดเหี้ยม" ที่ประสบความสําเร็จในการทุจริต
ทางด้านของหนึ่งในบริษัทวิเคราะห์บล็อกเชนบอกกับรอยเตอร์ว่า การหลอกลวงหลายอย่างที่เชื่อมโยงกับการฝากเงินเข้าบัญชีในชื่อของนายหวังนั้นมาจากนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งที่ชายแดนเมียนมา-ไทย
จากคำบอกเล่าของอดีตผู้ทำงานในนิคมแห่งนั้น พบว่าเหยื่อผู้ถูกค้ามนุษย์ถูกพาตัวไปยังพื้นที่นิคมชื่อว่า KK Park โดยผู้ที่ค้ามนุษย์ พาตัวเหยื่อเหล่านี้ไปได้แก่แก๊งอาชญากรรมที่หลอกลวงผู้คนทางออนไลน์
อนึ่งประเทศจีนนั้นเป็นประเทศที่เคยประกาศเจตนาว่าจะดำเนินการปราบปรามการฉ้อโกงทางไซเบอร์อย่างแข็งขันในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ โดยจะทำงานร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทั้งไทยและเมียนมา
เรียบเรียงเนื้อหาและรูปภาพจาก:https://www.straitstimes.com/business/how-pig-butchering-scams-have-emerged-as-a-billion-dollar-crypto-industry,https://www.reuters.com/investigates/special-report/fintech-crypto-fraud-thailand/
ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีนี้นั้น สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอรายละเอียดในครั้งถัดไป