ประเด็นที่น่าคิดก็คือว่าตามธรรมชาติของกลุ่มก่อการร้าย การโจมตีที่ส่งผลไปถึงพลเมืองหลายสิบประเทศ นี่อาจทำให้อิสราเอลต้องลดความเข้มข้นในการดำเนินปฏิบัติการณ์บางอย่างที่มีความเอกเทศน์ลง เพราะการสื่อสารว่าจะตัดสินใจโต้กลับทางทหารต่อฉนวนกาซา อิสราเอลจะต้องคิดถึงสิ่งที่จะตามมาด้วย เนื่องจากการตัดสินใจเหล่านี้จะมีผลต่อตัวประกันต่างชาติที่ยังถูกจับกุมตัวอยู่
เป็นที่ทราบกันดีว่าในเหตุการณ์สู้รบระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล ยอดชาวต่างชาติที่ประสบความสูญเสียเป็นอันดับต้นๆจากเหตุการณ์เป็นยอดของแรงงานไทย เพราะตามรายงานของทางการอิสราเอลระบุว่าจนถึงตอนนี้ (13 พ.ย. 2566) มีคนไทยเสียชีวิต 39 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 4 ราย และถูกจับเป็นตัวประกัน 25 ราย
จากกรณีดังกล่าวสำนักข่าว The Forward ซึ่งเป็นสื่ออิสระของประเทศอิสราเอลได้รายงานข่าววิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมชาวต่างชาติจึงเป็นเป้าการโจมตี โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเอารายงานมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อกลุ่มผู้ก่อการร้ายฮามาสโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. นางแรบบี มิรา ริเวรา ชาวฟิลิปปินส์-อเมริกัน กล่าวว่าเธอคิดถึงคนงานไทยในฟาร์มใกล้กับชายแดนฉนวนกาซาทันที
“ฉันคิดว่า โอ้พระเจ้า พวกนี้ต้องการตามหาแรงงานไทย” นางริเวรากล่าว
โดยปัจจุบันนางริเวราซึ่งมีที่พำนักอยู่ในนครนิวยอร์กและไปเยี่ยมครอบครัวของสามีในอิสราเอลบ่อยครั้งกล่าวว่าเธอสังเกตเห็นคนงานชาวเอเชียมานานแล้วขณะที่เธอเดินทางไปทั่วประเทศอิสราเอล
ความกลัวของนางริเวร่าต่อแรงงานต่างชาติในชุมชนชายแดนที่ถูกกลุ่มฮามาสโจมตีนั้นความจริงอย่างแน่นอน เพราะสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า มีคนไทยอย่างน้อย 32 คนถูกสังหารในการโจมตีครั้งและการโจมตียังคร่าชีวิตชาวฟิลิปปินส์และเนปาล
ตอนนี้มีชาวต่างชาติหลายพันคนอาศัยอยู่ในอิสราเอล โดยหลายคนมีทั้งวีซ่าทํางานและวีซ่านักเรียน หลายคนมาจากเอเชีย และแอฟริกา โดยในรายชื่อตัวประกัน 240 พบว่ามีชาวแทนซาเนียอยู่ด้วยสองคน ทั้งนี้แรงงานต่างชาติส่วนใหญ่ของอิสราเอลเริ่มเข้ามาแทนที่แรงงานปาเลสไตน์ในประเทศหลังจากประท้วง Second Intifada ซึ่งเป็นการประท้วงต่อต้านการยึดครองของอิสราเอลที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ.2000-2005
ทางด้านของนายเออินาฟ ฮาดาริ รองโฆษกสถานทูตอิสราเอลในกรุงวอชิงตัน ดีซี กล่าวว่าพบว่ามีชาวต่างชาติ 259 คนจาก 1,400 คนที่ถูกสังหารในอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และ 69 คนในบรรดาผู้สูญหายหรือถูกลักพาตัว ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานตัวเลขที่สูงกว่านี้มาก โดยระบุว่ามีตัวประกันจำนวน 138 คนที่มีหนังสือเดินทางต่างประเทศ ซึ่งรายงานของสำนักข่าวดังกล่าวนั้นอ้างอิงจากแหล่งข่าวภายในรัฐบาลอิสราเอลที่ไม่ระบุนาม ขณะที่สำนักข่าวบีบีซีระบุว่ามีตัวประกันอีกจำนวนหนึ่งที่มีสองสัญชาติ ซึ่งรวมไปถึงตัวประกันจำนวน 10 คน จากทั้งหมด 116 คนที่สามารถระบุชื่อได้
ข่าวประเทศไทยพยายามเจรจากับทางอิหร่านเพื่อให้เป็นคนกลางปล่อยตัวประกัน (อ้างอิงวิดีโอจาก i24NewsEnglish)
ถ้าหากใช้การประมาณการของนายฮาดาริ หมายความว่าสัดส่วนตัวเลขชาวต่างชาติผู้ถูกสังหารจะคิด 18.5% และตัวเลขผู้ถูกลักพาตัวจะคิดเป็น 28% หรือสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ซึ่งถือว่าแตกต่างจากเหตุการณ์ 9-11 มาก เพราะเหตุการณ์นั้นมีผู้ถูกสังหาร 2,819 ราย แต่มีชาวต่างชาติเสียชีวิตแค่ 27 ราย หรือก็คือคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ตามการรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา
ข้อเท็จจริงที่ว่าเหยื่อและตัวประกันหลายคนไม่ใช่ชาวอิสราเอลหรือชาวยิวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในการโจมตีของกลุ่มฮามาสไม่ได้คำนึงหรือกังวลถึงชีวิตของผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในข้อพิพาทด้านดินแดนกับพวกเขาเลยแม้แต่น้อย
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือว่าไม่ใช่แค่กลุ่มฮามาสเท่านั้นที่ไม่แบ่งแยกเหยื่อ แต่ว่าการรายงานของสื่อและในโพสต์โซเชียลมีเดียก็มักจะระบุว่าเหยื่อเป็นยิวด้วยแช่นกัน ขณะที่ พล.ท.มาร์ค เฮิร์ทลิง นักวิเคราะห์ข่าวทางการทหารให้กับซีเอ็นเอ็นกล่าวว่าเป้าหมายนั้นไม่ใช่เพื่อฆ่าชาวยิวแต่ยังเพื่อจับตัวชาวยิวด้วย
ประเด็นที่น่าคิดก็คือว่าตามธรรมชาติของกลุ่มก่อการร้าย การโจมตีที่ส่งผลไปถึงพลเมืองหลายสิบประเทศ นี่อาจทำให้อิสราเอลต้องลดความเข้มข้นในการดำเนินปฏิบัติการณ์บางอย่างที่มีความเอกเทศลง เพราะการสื่อสารว่าจะตัดสินใจโต้กลับทางทหารต่อฉนวนกาซา อิสราเอลจะต้องคิดถึงสิ่งที่จะตามมาด้วย เนื่องจากการตัดสินใจเหล่านี้จะมีผลต่อตัวประกันต่างชาติที่ยังถูกจับกุมตัวอยู่
ทางด้านของนางแรบบี วาเลอรี สเตสเซ่น ผู้ถือสองสัญชาติอิสราเอล-ฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันพักอยู่ในกรุงเทลอาวีฟกล่าวว่าแรงงานต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยอาจจะไม่มีคนที่มาจากอิสราเอลเพื่อบอกเล่าเรื่องราวเลย
นางสเตสเซ่นกล่าวว่าเธอรู้ถึงตัวตนของจำนวนแรงงานต่างชาติส่วนมากในอิสราเอลตอนที่เธอบินไปพักผ่อนยังประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว เที่ยวบินนั้นมีคนไทยเป็นส่วนมาก โดยพวกเขานั้นต้องเผชิญกับความยากลำบากในการได้วีซ่าทำงานมา และส่วนมากมักจะเดินทางเพียงลำพัง ไม่มีครอบครัว
แรงงานไทยขณะหนีการโจมตีของกลุ่มฮามาส (อ้างอิงวิดีโอจาก The Telegraph)
นางสเตสเซ่นกล่าวต่อว่าด้วยความไม่พอใจและผิดหวังต่อการตอบสนองเบื้องต้นของรัฐบาลอิสราเอลที่มีต่อการโจมตีและวิกฤตตัวประกันที่ต่อเนื่อง ทำให้ครอบครัวชาวอิสราเอลหันไปพึ่งพาโซเชียลมีเดียเพื่อหวังว่าจะรู้ถึงชะตากรรมของคนที่พวกเขารัก
“ด้วยความยุ่งเหยิงของสถานการณ์ทําให้แต่ละคนต้องทําหลายสิ่งหลายอย่าง แรงงานต่างด้าวก็มีความเชื่อมโยงถึงกันน้อยลง แต่ฉันไม่คิดว่าจะมีใครคิดว่าพวกเขามีความสําคัญน้อยกว่ากัน” นางสเตสเซ่นกล่าว
ทางด้านของนางริเวร่ากล่าวว่าแรงงานต่างชาติไม่ได้อยู่แค่ในอิสราเอลเท่านั้น แต่ทั่วภูมิภาคก็มีแรงงานชาวต่างชาติอยู่ เพราะตัวเธอก็เคยเดินทางไปยังจอร์แดนและติดต่อกับคนงานฟิลิปปินส์ที่นั่น ดังนั้นเธอเชื่อว่าผู้ก่อการร้ายฮามาสไม่มีทางที่จะไม่รู้เลยว่าลักพาตัวใครไป เพราะว่าในภูมิภาคนี้มีแรงงานต่างชาติอยู่นับหลายพันคน แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีคนอ้างว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแรงงานต่างชาติเปรียบเสมือนลูกหลงก็ตาม
“พวกเขาไม่ได้มาบอกว่า โอ้ คุณมีเชื้อสายจีน งั้นเราไม่ลักพาตัวคุณไปดีกว่า ไม่ใช่แบบนั้น” นางริเวรากล่าวและกล่าวต่อไปว่าถ้าหากเป้าหมายของกลุ่มฮามาสบอกว่าคือการต่อสู้กับองค์กรไซออนิสต์ที่ผิดกฎหมาย แล้วเหตุผลอะไรคือการลักพาตัวชาวต่างชาติที่ไม่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายของอิสราเอล
“สิ่งเดียวที่พิสูจน์ได้คือว่าไม่มีชีวิตใดเลยที่สำคัญสำหรับพวกเขา (ฮามาส)” นางริเวรากล่าว
ขณะที่นางสเตสเซ่นกล่าวทิ้งท้ายว่าก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าทำไมพวกเขาถึงเอาคนไทยไปทั้งๆที่เขาบอกว่าเป้าหมายคือชาวอิสราเอลและชาวยิว และที่น่าสงสัยอีกอย่างคือคนพวกนี้จะเอาเด็กทารกไปทำไม พวกเขามีส่วนรับผิดชอบกับสถานการณ์ในฉนวนกาซาจริงหรือไม่