เมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนทัศนคติของกองทัพเรือไทยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากองทัพเรือไทยไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ CHD620 ที่ผลิตในประเทศจีนและกองทัพเรือจีนได้ใช้มันมาเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาด้านคุณภาพแต่อย่างใด
ยังเป็นประเด็นที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ชัดเจน กับกรณีการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยที่ทำสัญญากับประเทศจีน โดยปลายสัปดาห์ที่ผ่านมมา นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าอาจจะเปลี่ยนจากเรือดำน้ำจีนเป็นปุ๋ย หรือไม่ก็เป็นเรือผิวน้ำแทน
อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าทางฝั่งของ พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ได้เซ็นอนุมัติเรือดำน้ำพร้อมเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศจีนแล้ว เช่นเดียวกับสื่อในประเทศจีนที่ลงข่าวเป็นระยะๆว่า กองทัพเรือไทยสิ้นสงสัยและยอมรับในประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศจีนแล้ว
ล่าสุดสำนักข่าวจากประเทศจีนได้ลงบทความตอนหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นไปเป็นมา ปัญหาสัญญาเรือดำน้ำไทยจีน พร้อมทั้งยืนยันว่าเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศจีนมีประสิทธิภาพไม่แพ้เครื่องยนต์จากตะวันตก จนเป็นเหตุทำให้กองทัพเรือไทยสิ้นสงสัยแล้ว แต่ว่ากองทัพเรือไทยยังอยากได้ผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสัญญา และการที่กองทัพไทยเห็นขอบเรือดำน้ำพร้อมเครื่องยนต์จีนนั้นแสดงให้เห็นถึงชัยชนะเหนือมาตรการผูกขาดของประเทศตะวันตก
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้เอาบทความนี้มานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
ความสงสัยในประเด็นว่าเหตุใดการจัดหาเรือดำน้ำที่ประเทศไทยได้สั่งซื้อจากจีน ทำไมถึงวุ่นวายนัก ในที่สุดก็ถูกเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ
กรณีการใช้เครื่องยนต์เรือดำน้ำจากประเทศจีนเพื่อแทนที่เครื่องยนต์จากประเทศเยอรมนีนั้นประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากกองทัพเรือของไทย ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศจีนไม่ได้เป็นประเทศที่จะอยู่ภายใต้การข่มขู่ กรรโชก หรือจะขอให้บริจาคได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
โดยข้อตกลงเรือดำน้ำไทยและจีน ได้กำหนดมาตรฐานทางอุตสาหกรรมทางทหารจีนให้สูงขึ้น ในตลาดการค้ายุทธโธปกรณ์ทางการทหารระหว่างประเทศ
เรือดำน้ำรุ่น S-26T ลำแรกที่กำลังสร้างขึ้น จะต่อเสร็จ และส่งมอบให้กับกองทัพเรือไทยในอีกไม่นานนี้ กองทัพเรือไทยยังระบุด้วยว่า นอกเหนือจากความมุ่งมั่นของจีนที่จะให้การสนับสนุนชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องยนต์เป็นเวลาแปดปีสําหรับระบบไฟฟ้าเรือดําน้ำ S-26T, จีนจะไม่ชดเชยความเสียหายใดๆ ต่อกรณีที่เกิดความล่าช้าจนเป้นเหตุทำให้ต้องส่งมอบเรือดำน้ำ S-26T กันในปี 2570 ซึ่งก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้เป็นฝ่ายเรียกร้องให้จีนบริจาคเรือดำน้ำรุ่น Type 039A ให้เป็นจำนวนสองลำฟรีๆ
หากไทยต้องการเรือดำน้ำรุ่น 039A หรือ 039G ซึ่งประจำการอยู่ในกองทัพเรือจีน ณ เวลานี้ ประเทศจีนก็พร้อมที่จะขายให้กับประเทศไทยในราคาที่เป็นมิตร แน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายบางประการ ซึ่งเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนทางเทคนิค
อย่างไรก็ตาม ข่าวที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ ในประเด็นเรื่องการเลือกเครื่องยนต์จีนเพื่อใช้สำหรับเรือดำน้ำรุ่นส่งออกอย่าง S-26T ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อขัดแย้งมานานกว่าสองปี ในที่สุดก็ได้รับการคลี่คลายปัญหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
@ย้อนรอยปัญหาเรือดำน้ำไทย
ย้อนไปเมื่อต้นปี 2569 ประเทศไทยได้เซ็นข้อตกลง กับประเทศจีนเพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำรุ่น S-26T สามลำในราคา 1.35 หมื่นล้านบาท เรือดำน้ำรุ่นนี้เป็นเรือดำน้ำรุ่นส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัทจีนชื่อว่า Shipbuilding Industry Corporation โดยพัฒนามาจากเรือดำน้ำรุ่น Type 039B
คุณสมบัติที่โดดเด่นของเรือดำน้ำมีสองประการได้แก่ ประสิทธิภาพขั้นสูง คุณภาพสูงและราคาต่ำ เรือดําน้ำ S-26T มีความยาว 77.7 เมตรความกว้างด้านข้าง 8.6 เมตรความสูง 9.2 เมตรและระวางขับน้ำมากกว่า 3,000 ตัน
เรือดำน้ำ S-26T ติดตั้งพลังงานดีเซลไฟฟ้า ทำความเร็วใต้น้ำสูงสุด 22 นอตและความเร็วระดับน้ำสูงสุด 17 นอต ทำความลึกสูงสุด 300 เมตร ติดตั้งระบบ AIP ทำให้สามารถอยู่ใต้น้ำด้วยความเร็วที่ต่ำสุดแค่ 3-5 นอต และอยู่ได้นาน 65 วันโดยไม่ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ
ในตอนแรก ความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในเรื่องเรือดำน้ำ S-26 T ดูจะเป็นไปอย่างราบรื่น โดยเรือดำน้ำลำแรกได้ถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือในเมืองอู่ฮั่น ทว่าทางประเทศเยอรมนีจู่ๆก็เข้ามาแทรกแซง และยืนยันว่าจะไม่ขายเครื่องยนต์ดีเซลแบบ 396SE84 ให้กับประเทศไทย ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ประเทศจีนก็ได้เริ่มพัฒนาเรือดำน้ำรุ่น Type 039A โดยมีการแนะนำว่าเรือดำน้ำรุ่นนี้จะใช้เครื่องยนต์แบบ 396SE84 จากเยอรมนี
แต่เยอรมนีกลับมีข้อกำหนดเบื้องต้นว่าเครื่องยนต์นี้สามารถติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นนี้ได้เฉพาะกับเรือดำน้ำที่ประจำการในกองทัพเรือจีนเท่านั้น และไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายโอนเทคโนโลยีไปยังประเทศที่สาม จากนั้นประเทศจีนจึงได้ปรับปรุงระบบไฟฟ้านี้ในประเทศตัวเองและพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลรุ่น CHD260 จนสมบูรณ์
เรือรบในประเทศไทยจำนวนหลายลำยังใช้เครื่องยนต์เยอรมนี และเครื่องยนต์ดีเซลจากเยอรมนีรุ่น MTU396 เป็นเครื่องยนต์ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อไทยลงนามในสัญญาซื้อขายเรือดำน้ำ จึงมีความจำเป็นชัดเจนว่าเรือดำน้ำ S-26T ต้องใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU396 จากเยอรมนี
หลังจากการก่อสร้างเรือดําน้ำ S-26T ลําแรกของจีนเสร็จสมบูรณ์ เยอรมนีได้ละเมิดสัญญาเพียงฝ่ายเดียวและกําหนดห้ามส่งออกไปยังจีน โดยกำหนดว่าเครื่องยนต์ดีเซล MTU396 ไม่ควรติดตั้งบนเรือดําน้ำรุ่นส่งออกและหยุดการส่งออกผลิตภัณฑ์ใด ๆ ไปยังประเทศจีน รวมไปถึงอาวุธและอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบ MTU ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถใช้ระบบเครื่องยนต์ดีเซล MTU396 ของเรือดําน้ำ S-26T สองลําที่ตามมาได้ (ซึ่งอันที่จริงแล้วสาเหตุของการที่เยอรมนีออกมาตรการดังกล่าว เพราะไม่พอใจที่ประเทศจีนแย่งส่วนแบ่งการตลาดเรือดำน้ำไป)
ในตอนแรกจีนได้เสนอแผนให้ไทยใช้เครื่องยนต์ CHD620 ที่ผลิตในจีน เพื่อทดแทนเครื่องยนต์จากเยอรมนี โดยยืนยันว่าประสิทธิภาพของเรือดำน้ำจะไม่เปลี่ยนแปลง และจีนสามารถให้อะไหล่สนับสนุนได้เป็นระยะเวลาแปดปี
เครื่องยนต์ CHD620 ที่ผลิตในจีน
สื่อในประเทศจีนรายงานต่อว่าสิ่งที่ไม่คาดคิดก็คือว่ากองทัพเรือไทย หวังว่าการใช้การเปลี่ยนแปลงสัญญาทำให้ตัวเองได้ประโยชน์มากขึ้น
โดยประเทศไทยหวังว่าจีนจะเสนอส่วนลด หรือให้สิทธิพิเศษมากขึ้น นอกจากนี้ไทยยังขอให้จีนบริจาคเรือดําน้ำ Type 039A สองลําให้กับประเทศไทยโดยตรงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าจีนไม่สามารถยอมรับเงื่อนไขที่ไม่สมเหตุสมผลเช่นนี้ได้
เมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนทัศนคติของกองทัพเรือไทยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากองทัพเรือไทยไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ CHD620 ที่ผลิตในประเทศจีนและกองทัพเรือจีนได้ใช้มันมาเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาด้านคุณภาพแต่อย่างใด
ในแง่ของคุณภาพ ประเทศจีนมีความมั่นใจอย่างมากในเครื่องยนต์ดีเซล CHD620 ที่ผลิตในประเทศ เครื่องยนต์ดีเซลนี้ผ่านการทดสอบ รับรองอย่างเข้มงวดแล้ว เพราะที่ผ่านมา มีการส่งเครื่องยนต์รุ่นส่งออกไปยังประเทศรัสเซีย มีการส่งออกเรือดำน้ำรุ่น S-26P ซึ่งใช้เครื่องยนต์ดีเซล CHD620 จำนวนแปดลำไปยังประเทศปากีสถาน การส่งออกเรือดำน้ำจีนและเครื่องยนต์ที่ว่ามานี้ ยังเปรียบเสมือนเป็นการทำลายการผูกขาดเครื่องยนต์ดีเซล MTU ของเรือดำน้ำ ที่กระทำโดยประเทศเยอรมนีมาเป็นเวลานาน
สิ่งที่สําคัญที่สุดคือการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและไทยในด้านการทหารทําให้ทัพเรือไทยเปลี่ยนทัศนคติและในที่สุดก็ยอมรับเครื่องยนต์ดีเซล CHD620 ของจีน ระหว่างการฝึกร่วมทางทหารจีนและไทยในรายการ "Blue Strike 2023" กองทัพเรือจีนได้ส่งเรือดําน้ำ Type 039A มายังประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการฝึกด้วย เครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ในเรือรุ่นนี้ก็เป็นเครื่องยนต์ดีเซล CHD620 ที่ผลิตในจีน
เรือดำน้ำของปากีสถาน (อ้างอิงวิดีโอจาก Eurasia Naval Insight)
ประเทศจีนได้แสดงให้เห็นถึงยุทโธปกรณ์ที่ผลิตภายในประเทศ ต่อโลกภายนอกอย่างแข็งขันผ่านการฝึกซ้อมร่วมและกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางทหารอื่น ๆ ทําให้ผู้ซื้อที่มีศักยภาพมีความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยุทโธปกรณ์ที่ใช้งานของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในความคิดของจีนเกี่ยวกับการค้าทางทหารต่างประเทศ ส่งผลทำให้กองทัพประเทศอื่นๆเห็นข้อดีของระบการต่อสู้ขั้นสูงของกองทัพจีน
ข้อถกเถียงเรื่องเรือดําน้ำจีน-ไทยบ่งชี้ว่าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ทางทหารที่เคยถูกครอบครองหรือผูกขาดโดยเยอรมนีและมหาอํานาจอุตสาหกรรมทางทหารในยุโรปและสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอื่อนๆ กําลังถูกพิชิตโดยจีนทีละน้อยและการผูกขาดผลิตภัณฑ์ทางทหารของตะวันตกกําลังค่อยๆถูกทําลายทีละน้อย ดังจะเห็นได้ว่าช่วงเวลาของการผูกขาดชิ้นส่วน,ส่วนประกอบหลักยุทโธปกรณ์ที่ผลิตโดยตะวันตก กำลังจะเป็นอดีตไปแล้ว และในอนาคต จะมีหลายประเทศใช้อาวุธที่ผลิตในประเทศจีนมากขึ้นเรื่อยๆ
เรียบเรียงเนื้อหาและรูปภาพบางส่วนจาก:https://www.163.com/dy/article/IE3RKVSK051597ER.html?fbclid=IwAR1kvNjItwuijVt5JCVnNVbz-ydn3DU4Fi7PWq9xo9cZBoO8z1qFHGgINwo