เปิดครบหมด! สำนักงาน ป.ป.ช.ภาค 3 แถลงผลงานชี้มูล 12 คดีทุจริตดัง 'สุรินทร์' ฟัน 6 นายก อบต. -ชี้มูล 'พรชัย โค้วสุรัตน์' อดีตนายก อบจ.อุบลฯ ร่ำรวยผิดปกติ 93 ล -อดีตผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคชัยภูมิ เบียดบังเงินรายได้ขายเศษเหล็ก
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) : เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2566 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช.ภาค 3 และ ป.ป.ช.ในพื้นที่ภาคอีสาน ร่วมกันแถลงข่าวผลการชี้มูลคดีทุจริตสำคัญในพื้นที่ภาคอีสาน จำนวน 12 คดี
************
@ เรื่องที่ 1 (สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 3)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายสมหมาย กอดแก้ว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ
ข้อกล่าวหา กรณีอนุมัติจ้างโดยวิธีพิเศษโดยมิชอบ และเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ
พฤติการณ์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 นางวีรภัทรา กาญจนสิงห์ หรือดวงจันทร์ เจ้าพนักงานพัสดุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ทำบันทึกขออนุมัติจ้างก่อสร้าง โครงการก่อสร้างและปรับปรุงผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สายทาง อจ.ถ.10004 แยก ทล.212 (กม.67+400) - บ้านเค็งใหญ่ อำเภอหัวตะพาน โดยวิธี Pavement In – Place Recycling งบประมาณ 9,844,000 บาท และโครงการก่อสร้างและปรับปรุงผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต โดยวิธี Pavement In – Place Recycling สายแยก ทล.2210 (กม.10+915) อำเภอหัวตะพาน - บ้านหนองนกหอ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญงบประมาณ 9,523,000 บาท โดยวิธีพิเศษ ผ่านนางดวงอุมา โพธิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัสดุและทรัพย์สิน และนายโกศล การุญญเวทย์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ปฏิบัติราชแทนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ เสนอนายสมหมาย กอดแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อครั้งปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ โดยนายสมหมาย กอดแก้ว ได้อนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ทั้งสองโครงการ ทั้งที่ถนนดังกล่าวไม่ได้เสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้
นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ มีระยะเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีประกวดราคาด้วยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ จึงยังไม่ถือเป็นเงื่อนไขในการใช้วิธีจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ซึ่งหากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ดำเนินการจัดจ้างโครงการดังกล่าวโดยใช้วิธีประกวดราคาด้วยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้เกิดการแข่งขันราคาอย่างกว้างขวาง และราชการจะได้รับประโยชน์ คือ สามารถประหยัดงบประมาณก่อสร้างในโครงการได้
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 98/2565 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของนายสมหมาย กอดแก้ว กับพวก มูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทําการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออํานวยแก่ผู้เข้าทําการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทําสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
@ เรื่องที่ 2 (สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 3)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายพรชัย โค้วสุรัตน์ เมื่อครั้งดำรงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ข้อกล่าวหา ร่ำรวยผิดปกติ
พฤติการณ์ นายพรชัย โค้วสุรัตน์ เมื่อครั้งดำรงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี มีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอยู่ในชื่อของบริษัท เป็นไทยแทรคเตอร์ จำกัด หรือบริษัท อีสานรีช จำกัด และนางสาววิสิฏฐี ศรีธัญรัตน์ ราคาประเมินมูลค่า 93,473,640 บาท โดยมีที่ดินอยู่ในชื่อของบริษัท เป็นไทแทรคเตอร์ จำกัด จำนวน 53 แปลง รวมเนื้อที่ 640 ไร่ 84 ตารางวา (ราคาประเมินมูลค่า 82,708,655 บาท) อยู่ในชื่อของนางสาววิสิฏฐี ศรีธัญรัตน์ จำนวน 22 แปลง รวมเนื้อที่ 122 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา (ราคาประเมินมูลค่า 10,764,985 บาท)
คำวินิจฉัยคณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า นายพรชัย โค้วสุรัตน์ เมื่อครั้งดำรงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ร่ำรวยผิดปกติ และส่งรายงานการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ ขอให้ศาลสั่งทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน และส่งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยข้อเท็จจริงโดยสรุปไปยังผู้มีอำนาจสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง และให้ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่
@ พรชัย โค้วสุรัตน์
@ เรื่องที่ 3 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา)
ผู้ถูกล่าวหา
พลตรี ลือ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 5 กับพวก
ข้อกล่าวหา ทุจริตต่อหน้าที่และเข้ามีส่วนได้เสียในการดำเนินโครงการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำสำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 4 โครงการ 8 ฎีกา เมื่อปีงบประมาณ 2551 จำนวนเงิน 1,825,000 บาท และในการทำสัญญาซื้ออุปกรณ์หรือเช่าเครื่องมือในโครงการขุดลอกคลอง เพื่อป้องกันอุทกภัยและภัยแล้งในเขตจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปีงบประมาณ 2552 จำนวน 115 ครั้ง จำนวนเงิน 7,795,785 บาท นอกจากนี้ยังมีพฤติการณ์มุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคารายใดรายหนึ่ง
พฤติการณ์ พลตรี ลือ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 5 กับพวก ทุจริตต่อหน้าที่และเข้ามีส่วนได้เสียในการดำเนินโครงการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำสำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 4 โครงการ 8 ฎีกา เมื่อปีงบประมาณ 2551 จำนวนเงิน 1,825,000 บาท และในการทำสัญญาซื้ออุปกรณ์หรือเช่าเครื่องมือในโครงการขุดลอกคลอง เพื่อป้องกันอุทกภัยและภัยแล้งในเขตจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปีงบประมาณ 2552 จำนวน 115 ครั้ง จำนวนเงิน 7,795,785 บาท
นอกจากนี้ยังมีพฤติการณ์มุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับสำนักงานพัฒนาภาค 5 หรือเพื่อกีดกันผู้เสนอราคารายใด มิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า พลตรี ลือ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 5 กับพวก ทุจริตต่อหน้าที่และเข้ามีส่วนได้เสียในการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ยังมีพฤติการณ์มุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับสำนักงานพัฒนาภาค 5 หรือเพื่อกีดกันผู้เสนอราคารายใด มิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157ประกอบมาตรา 91 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ.2507 และมติสภากลาโหม ครั้งที่ 3/07 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2507 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 มาตรา 15
@ เรื่องที่ 4 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดชัยภูมิ)
ผู้ถูกกล่าวหา
นาย ก. เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ กับพวก รวม 5 ราย
ข้อกล่าวหา กรณีจัดการหรือจำหน่ายหม้อแปลงแรงดันอัตโนมัติ หรือเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า (Automatic Voltage Regulator: AVR) โดยมิชอบ แล้วเบียดบังเงินรายได้เป็นประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย
พฤติการณ์ โดยในเดือนมิถุนายน 2558 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ โดยผู้จัดการการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ได้อนุมัติจำหน่ายเศษเหล็กทั่วไป จำนวน 7,875 กิโลกรัมในราคากิโลกรัมละ 8.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 69,516.56 บาท โดยวิธีตกลงราคา ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการจำหน่ายพัสดุ พ.ศ.2543 จากนั้นผู้ซื้อได้เข้ามาที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ และได้นำหม้อแปลงแรงดันอัตโนมัติ (AVR) ไปจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ โดยมีเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ เป็นผู้นำชี้และส่งมอบให้กับผู้ซื้อ ซึ่งหม้อแปลงแรงดันอัตโนมัติ (AVR) เครื่องดังกล่าว อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ยังไม่มีแผนที่จะขายหรือจำหน่าย จ่ายโอน จึงไม่สามารถที่จะจำหน่ายหรือขายได้ อีกทั้งในการจำหน่ายหรือขายเศษเหล็กของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ เป็นการจำหน่ายหรือขายเศษเหล็กที่มีราคาเกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ต้องดำเนินการโดยวิธีสอบราคา ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการจำหน่ายพัสดุ พ.ศ.2543 แต่กลับจำหน่ายหรือขายโดยวิธีตกลงราคา และผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 มีอำนาจสั่งขายพัสดุ หรือเศษเหล็ก ครั้งหนึ่งมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท แต่กลับอนุมัติจำหน่ายเศษเหล็ก จำนวน 69,516.56 บาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของนาย ก. ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และ นาง ข. รองผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ฐานเป็นพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และฐานเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 มาตรา 8 และมาตรา 11 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 41 (3) (7)
การกระทำของนาย ค. หัวหน้าแผนกคลังพัสดุหลัก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 นาง ง. ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกคลังพัสดุหลัก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 และนาย จ. พนักงานพัสดุ แผนกคลังและพัสดุหลัก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ฐานเป็นพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในหน้าที่ โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และฐานเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 มาตรา 8 และมาตรา 11 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 41 (3) (4) (7)
@ เรื่องที่ 5 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายวิศิษฎ์ ดาศรี กับพวก เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
ข้อกล่าวหา จัดทำเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินเป็นเท็จในโครงการส่งเสริมอาชีพการนวดแผนไทย โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงกบ และโครงการส่งเสริมอาชีพเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดสัตว์เศรฐกิจ
พฤติการณ์ ปีงบประมาณ 2553 นายวิศิษฎ์ ดาศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุแกรง อนุมัติโครงการส่งเสริมอาชีพการนวดแผนไทย งบประมาณ 132,000 บาท โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงกบ จำนวน 99,600 บาท และโครงการส่งเสริมอาชีพเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดสัตว์เศรฐกิจ จำนวน 117,000 บาท จากการไต่สวนพบว่า ไม่ได้มีการดำเนินการจัดทำโครงการทั้ง 3 โครงการแต่อย่างใด แต่มีการจัดทำเอกสารราชการปลอมขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการส่งใช้เงินยืม (จัดทำโครงการทิพย์)
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า
1) การกระทำของนายวิศิษฎ์ ดาศรี มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 161 ประกอบมาตรา 91และมีมูลความผิดฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
2) การกระทำของนางณัฏฐธิดา พูนเขตกิจ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต หรือ โดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ฐานเป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 161 ประกอบมาตรา 91และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสองและข้อ 6 วรรคสอง
3) การกระทำของนางสาวอรชร หัสโรค์ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 161 และมาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 91และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบา อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสองและข้อ 6 วรรคสองและมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบา อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสองและข้อ 6 วรรคสอง
@ เรื่องที่ 6 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ เมื่อครั้งดำรงนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กับพวก
ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ ดำเนินการจัดซื้อรถดับเพลิงชนิดหอน้ำพร้อมบันได ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 43 เมตร ไม่เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
1) การกระทำของนายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าได้กระทำความผิดทางอาญาตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาทางอาญาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป แต่การที่นายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ ในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์ ได้ให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้จัดซื้อรถดับเพลิงชนิดหอน้ำพร้อมบันได และเป็นผู้ลงนามในสัญญาซื้อขาย ทั้งที่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบและเงื่อนไขตามประกาศประมูลซื้อรถดับเพลิง รวมทั้งจัดซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาในท้องตลาดที่แท้จริง ทำให้เทศบาลเมืองสุรินทร์ได้รับความเสียหาย จึงมีมูลความผิด ฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยหน้าที่ หรือความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่เทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2596 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 73
2) การกระทำของนายสุรชัย พัสลังก์ และนายอัครพนธ์ เกตุสังข์พันธ์ จากการไต่สวนเบื้องต้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าได้กระทำควาผิดทางอาญาตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป แต่มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 6 วรรคสอง
3) การกระทำของนายหรือพันจ่าเอก สัญชัย แสวงสุข นายสุมิตร บุญวร นางสาวพัฒน์ศรี ห่อทอง นายสมคิด ยอดบุตร และนางสุภัทร บุญประสิทธิ์ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการรับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้กระทำการอย่างใดขึ้นหรือการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1), (4) ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใด ในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172)
และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสองและข้อ 6 วรรคสอง
4) การกระทำของบริษัท เทพากร เบสท์ทรัค จำกัด หรือ บริษัท กรเทพพบโชค บอดี้ทรัค จำกัด และกรรมการผู้จัดการ มีมูลความผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการอย่างใดขึ้นหรือการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1), (4) ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นสนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172)
@ เรื่องที่ 7 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายครรชิต หนุนชู เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับพวก
ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ ปกปิดประกาศการประกวดราคาและจัดทำเอกสารการขายเอกสารประกวดราคาจ้างโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 7 โครงการ โครงการก่อสร้างอาคารหอประชุม และโครงการก่อสร้างหลังคาอาคารองค์การบริหารส่วนตำบลแตล เมื่อปีงบประมาณ 2556 โดยมิชอบ
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า
1) การกระทำของนายครรชิต หนุนชู มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการรับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ และรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ฐานปลอมเอกสาร ฐานปลอมเอกสารราชการ และฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 มาตรา 161 มาตรา 162(1) (4) มาตรา 264 มาตรา 265 และมาตรา 268 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172)และมีมูลความผิด ฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
2) การกระทำของนายพงศกรณ์ หรือทองดี เกตุมณี มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็น เจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการรับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ และรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ฐานปลอมเอกสาร ฐานปลอมเอกสารราชการ และฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 มาตรา 161 มาตรา 162(1) (4) มาตรา 264 มาตรา 265 และมาตรา 268 ประกอบมาตรา 91 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 12 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
3) การกระทำของนายสุวรรณ์ บุญเยี่ยม มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 91 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91และมีมูลเป็นการกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
4) การกระทำของนายสุพิศ หรือสุรพิศ เหล่าพิชิต นายลิบไชย อมรศักยะหรืออัครวงศ์ไชย และห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิบไชยศีขรภูมิ ก่อสร้าง นางสุพัตรา คณานิตย์ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิมวรา นายสุริยัน เสนานิมิตร และห้างหุ้นส่วนจำกัด สภารัตน์ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และมาตรา 91 และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และมาตรา 91
5) การกระทำของนายกิตติศักดิ์ แซ่ตัง และห้างหุ้นส่วนจำกัด สังขะรุ่งเรือง มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น และฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 91 และมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และมาตรา 91 และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และมาตรา 91
@ เรื่องที่ 8 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายสุวิชชา จำปาดง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลระเวียง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ กับพวก รวม 4 คน
ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ ทุจริตในโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านค้อ หมู่ที่ 1 โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านปลาเดิด หมู่ที่ 8 และโครงการเสริมสร้างถนนลงหินคลุก บ้านหนองแคน หมู่ที่9 ตามประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลระเวียง
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า
1) การกระทำของนายสุวิชชา จำปาดง เป็นการละเว้นไม่ดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการที่กล่าวหาทั้งสามโครงการ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ระเวียง จึงมีมูลความผิด ฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
2) การกระทำของนายกฤตภาส ขุมทรัพย์ และนายบุญโฮม ทำดีกุล มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น และฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
3) การกระทำของนายสมยศ ภักดีกุล มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น และฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 91
@ เรื่องที่ 9 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายจิรทีปต์ บุญเหมาะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับพวก
ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ ดำเนินการสอบสวนช่วยเหลือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแตล ไม่ให้ได้รับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า
1) การกระทำของนายจิรทีปต์ บุญเหมาะ นายเกรียงศักดิ์ เข็มแก้ว และนายณรงค์ เอิบอิ่ม จากการไต่สวนเบื้องต้นไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะฟังได้ว่าได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
2) การกระทำของนายสุรวิทย์ ปะกิระตา มีมูลความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
@ เรื่องที่ 10 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายวิทยากร มหรรทัศนพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ กับพวก
ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ เบิกจ่ายเงินในโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หมู่ที่ 9 เมื่อปีงบประมาณ 2556 เป็นเท็จ
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า
1) การกระทำของนายวิทยากร มหรรทัศนพงศ์ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) และมีมูลเป็นการกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
2) การกระทำของนายธีรพิชญ์ บันลือทรัพย์ นางสาวสุกัญญา คำเลิศ นางศรีไพร มีดี นายเกษสรินทร์ สมทิพย์ และนายสรพันธ์ อยู่นาน มีมูลความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการรับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ และรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) (4) ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
3) การกระทำของนางสาวศิรินภา พัวพัฒนโชติ และห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพอุดม มีมูลความผิดอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการรับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ และรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
@ เรื่องที่ 11 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์)
ผู้ถูกกล่าวหา
นายพูลศักดิ์ วิศิษฐ์สกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง อำเภอศีรขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับพวก
ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ กำหนดคุณลักษณะในการจัดซื้อรถบรรทุกน้ำดับเพลิงอเนกประสงค์เมื่อปีงบประมาณ 2552 เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้เสนอราคาบางรายได้สิทธิเข้าสัญญา
คำวินิจฉัยคณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า
1) การกระทำของนายพูลศักดิ์ วิศิษฐ์สกุล จากการไต่สวนเบื้องต้น พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่า นายพูลศักดิ์ วิศิษฐ์สกุล ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป แต่การกระทำของนายพูลศักดิ์ วิศิษฐ์สกุล ที่พิจารณาอนุมัติรายละเอียดคุณลักษณะในการประกาศสอบราคาจัดซื้อรถยนต์บรรทุกน้ำดับเพลิงแบบอเนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนตำบลยางตามที่กล่าวหา ซึ่งกำหนดเป็นรถยนต์บรรทุกน้ำดับเพลิงแบบอเนกประสงค์ตัวถัง 6 ล้อ ขนาดความจุของถังน้ำไม่น้อยกว่า 5,000 ลิตร โดยมิได้กำหนดน้ำหนักรวมน้ำหนักบรรทุก (G.V.W.) ไม่น้อยกว่า 12,000 กิโลกรัม ไว้ตามมาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณกำหนดเป็นเหตุให้รถบรรทุกน้ำดับเพลิงที่ได้จากการจัดซื้อไม่สามารถบรรจุน้ำได้ถึง 5,000 ลิตร ตามวัตถุประสงค์ที่หน่วยงานของรัฐต้องการจัดซื้อ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณของราชการ การกระทำของนายพูลศักดิ์ วิศิษฐ์สกุล จึงมีมูลความผิดฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
2) นางสาวเอกมณี ดีทั่ว ในฐานคณะกรรมการกำหนดราคากลาง จากการไต่สวนเบื้องต้น พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่าได้กระทำความผิดทางอาญาตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป แต่การกระทำของนางสาวเอกมณี ดีทั่ว ที่พิจารณากำหนดรายละเอียดคุณลักษณะในการประกาศสอบราคาจัดซื้อรถยนต์บรรทุกน้ำดับเพลิงแบบอเนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนตำบลยาง ตามที่กล่าวหา ซึ่งกำหนดเป็นรถยนต์บรรทุกน้ำดับเพลิงแบบอเนกประสงค์ตัวถัง 6 ล้อ ขนาดความจุของถังน้ำไม่น้อยกว่า 5,000 ลิตร โดยมิได้กำหนดน้ำหนักรวมน้ำหนักบรรทุก (G.V.W.) ไม่น้อยกว่า 12,000 กิโลกรัม ไว้ตามมาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณกำหนด เป็นเหตุให้รถบรรทุกน้ำดับเพลิงที่ได้จากการจัดซื้อ ไม่สามารถบรรจุน้ำได้ถึง 5,000 ลิตร ตามวัตถุประสงค์ที่หน่วยงานของรัฐต้องการจัดซื้อ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณของราชการ การกระทำของนางสาวเอกมณี ดีทั่ว จึงมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงาน ส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 6 วรรคสอง
3) การกระทำของนายรุ้งรังษี สายพญาศรี หัวหน้าส่วนโยธา ในฐานะเจ้าหน้าที่พัสดุ มีมูลความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผอดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
4) การกระทำของนางสาวภาทรงศิริ หรือภัทรนิษฐ์ เสาทอง นางอัจฉรา บุญเลื่อน และนายนรินทร์ ท่าดีหรือท่าดีฐิติภัทร ในฐานะคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา มีมูลความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
5) นางไพรัตน์ เติมกล้า ในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ มีมูลความผิดอาญา ฐานเป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผอดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต่อหน้าที่ราชการ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง
6) การกระทำของนางสมนา แก้วลายคำ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ซี.ซี. เทรลเลอร์ แอนด์ทรัค นายเสน ขวาธิจักร หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ขวาธิจักร นายธงชัย จันทร์เกษม กรรมการบริษัท วรรณพร ซีพพลาย จำกัด นางอุษา บุญยะเลขา และนายเจนณรงค์ พันธุรักษ์ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำการใดๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
@ เรื่องที่ 12 (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบุรีรัมย์)
ผู้ถูกกล่าวหา นาย ส. ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ กับพวก
ข้อกล่าวหา กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาในการประกวดราคาจ้างพิมพ์หนังสือเรียน ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 โดยกีดกันการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม และไม่ยกเลิกประกวดราคา เนื่องจากมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว
พฤติการณ์
นาย ส. ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ กับพวก เมื่อเดือนธันวาคม 2558 สำนักงาน กศน.จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดจ้างพิมพ์หนังสือเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษาที่ 2558 รายวิชาบังคับทั้ง 3 ระดับ จำนวน 42 รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) งบประมาณ 4,292,990 บาท โดยคณะกรรมการจัดทำร่างเอกสารประกาศประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาในร่างเอกสารประกาศประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยกำหนดให้มีผลงานประเภทเดียวกันในวงเงินไม่น้อยกว่า 2,146,000 บาท ทั้งที่งานดังกล่าวเป็นงานจ้างพิมพ์หนังสือเรียนไม่ใช่งานก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการ
จึงเป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัท ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้เสนอราคาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเพียงรายเดียวและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ได้พิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์แล้วพบว่าในส่วนของคุณสมบัติของผู้เสนอราคานั้นมีผู้ผ่านการพิจารณาเพียงรายเดียว แต่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่ดำเนินการให้มีการยกเลิกการประกวดจ้างพิมพ์หนังสือเรียนดังกล่าว เป็นเหตุให้สำนักงาน กศน.จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับความเสียหาย
คำวินิจฉัย คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของนาย ส. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 มีมูลความผิดทาง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล ประมาทเลินเล่อหรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 84 วรรคสาม และมาตรา 85 วรรคสอง
การกระทำของนาย ท. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 นาง บ. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 และนาง ม. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษามติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล ประมาทเลินเล่อหรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 84 วรรคสาม และมาตรา 85 วรรคสอง
การกระทำของนาง น. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 นาย จ. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 6 และนาง ว. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 7 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล ประมาทเลินเล่อหรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 84 วรรคสาม และมาตรา 85 วรรคสอง
ให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี กับนาย ส. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 นาย ท. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 นาง บ. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 นาง ม. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 นาง น. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 นาย จ. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 6 และนาง ว. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 7 และส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐานและคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการทางวินัยกับนาย ส. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 นาย ท. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 นาง บ. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 นาง ม. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 นาง น. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 นาย จ. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 6 และนาง ว. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 7 ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (1) (2) และมาตรา 98 แล้วแต่กรณีต่อไป
ทั้งนี้ ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ต่อไป
อย่างไรก็ดี การชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุดผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด