ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ล่าช้าเกินสมควรในการป้องกัน บรรเทาและแก้ไขปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่สถานการณ์ปัญหาควันหรือฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่เกิดขึ้นในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ได้คลี่คลายลงแล้วตั้งแต่ช่วง เดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา
หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาในคดีที่นายสุชาติ พิชัย เป็นโจทก์ยื่นฟ้องพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นจำเลยที่ 1 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นจำเลยที่ 2 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จำเลยที่ 1 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเป็นจำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลย ไม่แก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และให้ใช้อำนาจแก้ไขปัญหาฝุ่นโดยทันท่วงที
จากกรณีดังกล่าว สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้สรุปคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ มีรายละเอียดดังนี้
อธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่ได้มีคําสั่งให้ดําเนินกระบวนพิจารณาโดยเร่งด่วนตามข้อ 49/2 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีมีอาชีพรับราชการ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ 5 ตําบลสุเทพ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับ ความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ละเลยการบริหารราชการแผ่นดิน กรณีไม่ใส่ใจแก้ปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ไม่มีความจริงใจ ห่วงใยประชาชนในภาคเหนือที่เข้ามาสูดดมควันหรือฝุ่นละออง โดยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่สั่งการ ให้กรมฝนหลวงให้ทําฝนหลวงเพื่อดับควันหรือฝุ่นละออง หากมีการทําฝนหลวงจะทําให้ควันหรือฝุ่นละอองเบาบางลงได้ และไม่ทําการประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่ที่มีปัญหาเป็นเขตภัยพิบัติ ซึ่งปัจจุบันประกาศเพียง 3 ตําบล เพราะมัวเมาแต่คํานึงถึงการท่องเที่ยวหารู้ไม่ว่ายิ่งไม่ประกาศยิ่งทําให้การท่องเที่ยวซบเซา
ถ้าประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติทุกภาคส่วนจะได้ช่วยกัน นํางบประมาณมาช่วยเหลือ รวมถึงการท่องเที่ยวด้วย นอกจากนี้ยังได้นิ่งเฉยต่อปัญหาควันหรือ ฝุ่นละอองอีกด้วย ก่อนจะนําคดีมาฟ้องต่อศาลผู้ฟ้องคดีไม่เคยส่งหนังสือให้หน่วยงานราชการดําเนินการให้จังหวัดเชียงใหม่ดําเนินการแก้ไข เนื่องจากมีองค์กรเอกชนหลายหน่วยงานได้ยื่น แทนแล้วจึงไม่จําเป็นต้องยื่น ตามหลักวิญญูชนในฐานะผู้ปกครองย่อมทราบดีว่าสถานการณ์ แบบนี้ควรแก้ไขอย่างไร ไม่ใช่เพิกเฉยต่อเหตุการณ์เอาตัวรอดไปวัน ๆ ปล่อยให้คนและสิ่งมีชีวิต ที่อยู่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ต้องสูดดมกลุ่มควันหรือฝุ่นละออง ซึ่งสะสมต่อไปก็จะเป็นมะเร็ง ปอดโดยไม่ได้สูบบุรี่ซักมวนก็เป็นมะเร็งปอดได้
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนและประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกิดขึ้นทุกปี ถ้าหากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ จึงนําคดี มาฟ้องต่อศาลโดยยื่นทางระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ขอให้ศาลมีคําพิพากษาและคําสั่ง ดังนี้
1.ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สั่งให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรทําฝนหลวงเพื่อ ดับควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ถ้าทําฝนจะทําให้ฝุ่นบรรเทาเบาบางลงได้
2. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ทําการประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่ที่มีปัญหาเป็น เขตภัยพิบัติทั้งจังหวัด และให้ผู้ถูกฟ้องคดีอย่านิ่งเฉยต่อปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5ไมครอน (PM2.5)
3.ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อย่านิ่งเฉยต่อปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) โดยทําเป็นวาระแห่งชาติอันดับหนึ่งในการแก้ไขปัญหา
4. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ปฏิบัติตามหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาควันหรือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ให้หมดสิ้นไป (ของทุกปี) โดยจัดทําประกาศ เขตจังหวัดเชียงใหม่เป็นเขตภัยพิบัติเพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถใช้งบประมาณของตนเองมาใช้ได้
ศาลมีคําสั่งลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 กําหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชี้แจงและให้การว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดทําแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 เป็นแผนกําหนดทิศทางการดําเนินการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศไปสู่เป้าหมายเดียวกัน อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งการกําหนดมาตรฐานเป้าหมายจากสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพและภาคการปฏิบัติในการจัดการสาธารณภัยให้มีมาตรฐาน เพื่อให้ทุกภาคส่วนจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัยอย่างบูรณาการ
จึงกําหนดให้แผนมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการปฏิบัติให้แก่หน่วยงานทุกภาคส่วน ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อย่างบูรณาการเป็นระบบและมีทิศทางเดียวกัน
(2) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและทิศทางการจัดการ ความเสี่ยงจากสาธารณภัย ซึ่งเป็นที่ยอมรับมาประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยและสามารถนําไปปรับใช้ในการจัดทําแผนทุกระดับเพื่อให้การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดผลสัมฤทธิ์
(3) เพื่อพัฒนา ขีดความสามารถการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ประกอบด้วยการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยการจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการฟื้นฟูให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิมเพื่อนําไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ การรู้รับ - ปรับตัว – ฟื้นตัวเร็ว - อย่างยั่งยืน (Resilience) และได้กําหนดบทบาทหน้าที่และ แนวทางปฏิบัติให้หน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวง และหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 27 หน่วยงาน ในการดําเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีหน่วยงานหลัก ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งใน การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 เห็นว่า ปัญหาฝุ่นละอองสูงเกินกว่า ค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปยังจังหวัดอื่นในภูมิภาค อีกด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ
โดยมอบหมายให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นกลไกหลักร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการขับเคลื่อนวาระดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ส่วนการจัดการกับเหตุสาธารณภัยตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 ซึ่งกําหนดให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยแรกที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเผชิญเหตุกับสาธารณภัยที่เกิดขึ้นใน พื้นที่ และหากสาธารณภัยที่เกิดขึ้นนั้นเกินขีดความสามารถของพื้นที่ องค์กรปฏิบัติในระดับที่ เหนือขึ้นไปจะรับผิดชอบ ควบคุม สั่งการ และบัญชาการ
โดยสามารถแบ่งระดับการจัดการ สาธารณภัยเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ระดับที่
1 สาธารณภัยขนาดเล็ก ผู้มีอํานาจตามกฎหมาย คือ ผู้อํานวยการอําเภอ ผู้อํานวยการท้องถิ่น ควบคุมและสั่งการ
ระดับที่ 2 สาธารณภัยขนาดกลาง ผู้มีอํานาจตามกฎหมาย คือ ผู้อํานวยการจังหวัด ควบคุม สั่งการและบัญชาการ
ระดับที่ 3 สาธารณภัยขนาดใหญ่ ผู้มีอํานาจตามกฎหมาย คือ ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งชาติ ควบคุม สั่งการและบัญชาการ
และระดับที่ 4 สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง ผู้มีอํานาจตาม กฎหมาย คือ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มอบหมาย ควบคุม สั่งการ และบัญชาการ ซึ่งภัยจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นสาธารณภัยระดับที่ ២ และอยู่ในอํานาจควบคุมสั่งการและบัญชาการของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้อํานวยการจังหวัด
ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เห็นชอบแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระ แห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ รวมทั้งได้ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกลไก หลักในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง กระทรวงมหาดไทยได้ดําเนินการตามแนวทางข้างต้น ภายใต้มาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองมาอย่างต่อเนื่อง และในปี พ.ศ. 2566 ได้ให้ความสําคัญกับการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 แผนเฉพาะ กิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยแนวทางการดําเนินงาน 7 แนวทาง ภายใต้กรอบ “1 สื่อสารเชิงรุก 5 ยกระดับปฏิบัติการ 1 สร้างการมีส่วนร่วม” และ ข้อสั่งการของกระทรวงมหาดไทยในการยกระดับปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ดังนี้ (1) เมื่อสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานใน พื้นที่ต่อเนื่องให้พิจารณายกระดับปฏิบัติการตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ฝุ่นละอองตาม แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ตามแนวทาง ดังนี้ ระดับที่ 1 PM2.5 ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หน่วยงานดําเนินภารกิจตามอํานาจ หน้าที่ที่มีอยู่ ระดับที่ 2 PM2.5 ระหว่าง 51 - 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หน่วยงาน ดําเนินการเพิ่มและยกระดับมาตรการต่าง ๆ เข้มงวดขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการ เหตุการณ์ ส่วนราชการอื่น ๆ สนับสนุนการปฏิบัติ ระดับที่ 3 PM2.5 ระหว่าง 76 - 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
เมื่อดําเนินการตามระดับ 2 แล้ว สถานการณ์ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัด ข้อ้านาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้าควบคุมแหล่งกําเนิดหรือหยุดกิจกรรม ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และคณะกรรมการควบคุมมลพิษให้ข้อเสนอแนะ ระดับที่ 4 PM2.5 มากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และดําเนินการในระดับ 3 แล้ว สถานการณ์ ไม่มีแนวโน้มลดลงให้มีการประชุมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษเพื่อพิจารณา กลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหา และนําเรียนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นการเร่งด่วนเพื่อพิจารณา สั่งการ (2) เน้นย้ําการบูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน และสั่งการให้หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ ตามกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด ตลอดจนเข้าควบคุมแหล่งกําเนิดหรือหยุดกิจกรรม ที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) รวมทั้งกํากับและติดตามผลการปฏิบัติของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตามแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี พ.ศ. 2566 โดยเคร่งครัด (3) ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชน ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วม ในการสอดส่องดูแลหมู่บ้านหรือชุมชน โดยงดการเผาและงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบถึงมาตรการ และผลการปฏิบัติของภาครัฐ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ตลอดจนช่องทางในการรับ ความช่วยเหลือจากภาครัฐ
ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ในการดําเนินการตามอํานาจ หน้าที่ทางปกครองให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการเพื่อหาสาเหตุการประชุมหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ในขณะเกิดปัญหาค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเกินกว่าค่ามาตรฐานให้เป็นปัจจุบัน การตรวจสภาพพื้นที่ปัญหาในขณะที่ค่ามาตรฐาน ของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเกินกว่ามาตรฐาน การวิเคราะห์ การประเมินผลติดตามการแก้ไขปัญหาและเกณฑ์การประเมินผลความสําเร็จในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด
ศาลได้ตรวจพิจารณากฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยแล้ว คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยรวมสี่ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง ศาลมีอํานาจกําหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 หรือไม่
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โดยที่วิธีพิจารณาคดีปกครองใช้ระบบไต่สวนตามความในข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2543 ตุลาการศาลปกครองย่อมมีอํานาจดุลพินิจในการแสวงหาข้อเท็จจริงซึ่งการกําหนดตัวผู้ถูกฟ้องคดีถือเป็นกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาลประการหนึ่งอันสามารถกระทําได้ตามที่เห็นสมควรตามนัยข้อ 5 ประกอบกับข้อ 50 แห่งระเบียบดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า การดําเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับการฟ้อง การร้องสอด การเรียกบุคคล หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเป็นคู่กรณีในคดี การดำเนินกระบวนพิจารณา การรับฟังพยานหลักฐาน และการพิพากษาคดีปกครอง นอกจากที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
โดยที่ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ตามข้อ 78 กําหนดว่า บุคลคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่กรณีอาจเข้ามาเป็นคู่กรณีได้ด้วยการร้องสอด ทั้งนี้ ให้นําความในมาตรา 57 และมาตรา 58 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ บังคับโดยอนุโลม
เมื่อคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับ ควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อ ระบบนิเวศ สังคม เศรษฐกิจ และสาธารณชนในวงกว้าง จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่คู่กรณี และเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ โดยที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นคณะกรรมการตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีหน้าที่ในกรณีที่ปรากฏว่า ท้องที่ใดมีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดําเนินการ ควบคุม ลดและขจัดมลพิษได้ ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน อันเป็นการยื่นฟ้อง คดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะแล้ว
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจึงมีอํานาจออกคําสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยตรง ซึ่งมิใช่ การเรียกตัวบุคคลเป็นการเฉพาะให้เข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีด้วยการร้องสอด ตามข้อ 78 แห่ง ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
โดยไม่จําต้องมีคําร้องขอหรือต้องดําเนินการไต่สวนเพื่อมีคําสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเข้ามาในคดีก่อนมีการส่งหมายเรียกให้ทําคําให้การแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่ศาลมีคําสั่งลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 กําหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยมิได้แจ้ง ให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบ นั้น ศาลได้มีคําสั่งลงวันที่ 13 มิถุนายน 2560 แจ้งการกําหนดตัวคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบแล้ว นอกจากนั้นในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ผู้รับมอบอํานาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ก็ได้ทราบคําสั่งศาล ที่กําหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อีกทางด้วยแล้วเช่นกัน
กรณีจึงไม่ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามข้อ 7 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 แต่อย่างใด
การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กล่าวอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีมิได้ประสงค์จะฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ศาลจึงไม่มีอํานาจกําหนดตัวผู้ถูกฟ้องคดีใหม่ให้แตกต่างไปจากความประสงค์ของ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจรับฟังได้
ประเด็นที่สอง คําฟ้องนี้เป็นคําฟ้องที่ศาลรับไว้พิจารณาและพิพากษาได้หรือไม่
กรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อ้างว่า ก่อนการยื่นฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดีต้องมีการยื่นคําขอ หรือมีหนังสือร้องเรียนต่อฝ่ายปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการดําเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนเพื่อให้ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้มีโอกาสดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามหน้าที่และอํานาจอันเป็นการดําเนินการที่เป็นสาระสําคัญก่อนฟ้องคดีต่อศาลปกครอง นั้น เห็นว่า การใช้อํานาจหน้าที่ตาม กฎหมายของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น สามารถดําเนินการได้สองลักษณะ
กล่าวคือ กรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถริเริ่มใช้อํานาจออกคําสั่งหรือ กระทําการตามที่กฎหมายบัญญัติได้ทันที โดยไม่จําต้องรอให้มีผู้ยื่นคําขอให้ดําเนินการ และกรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะออกคําสั่งหรือกระทําการอื่นใดโดยริเริ่มใช้อํานาจออกคําสั่งหรือกระทําการนั้นเองไม่ได้ แต่จะออกคําสั่งหรือกระทําการนั้นได้ต่อเมื่อมีผู้ยื่นคําขอเท่านั้น
ซึ่งเมื่อพิจารณาอํานาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนอันเนื่องมาจาก ภัยธรรมชาติ หรือภาวะมลพิษที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนั้นจะเป็น อันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของประชาชน หรือก่อความเสียหายต่อ ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐเป็นอันมากให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจสั่งตามที่เห็นสมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลใด รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับหรืออาจได้รับอันตรายหรือ ความเสียหายดังกล่าว กระทําหรือร่วมกันกระทําการใด ๆ อันจะมีผลเป็นการควบคุม ระงับ หรือ บรรเทาผลร้ายจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างทันท่วงที
ประกอบกับมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กําหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีอํานาจหน้าที่ในกรณีที่ปรากฏว่าท้องที่ใดมีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดําเนินการควบคุม ลดและขจัดมลพิษได้ และ กฎหมายได้กําหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอํานาจสั่งการตามที่เห็นสมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลใด รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับหรืออาจได้รับอันตรายหรือความเสียหายดังกล่าว กระทําหรือ ร่วมกันกระทําการใด ๆ อันจะมีผลเป็นการควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากอันตรายและ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างทันท่วงที และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
คดีนี้ปรากฏ ข้อเท็จจริงอย่างชัดแจ้งและเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า สภาพปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่เกิดขึ้นจากไฟป่าเป็นหลัก และเริ่มเกิดมลพิษใน บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ส่งผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของผู้ฟ้องคดีและประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่เป็นระยะเวลาหลายปีจนถึงปัจจุบัน โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีอํานาจหน้าที่ในการระงับเหตุที่อาจเป็นอันตรายจากมลพิษในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ปฏิบัติทันทีโดยไม่จําต้องรอให้ ผู้ฟ้องคดียื่นคําขอให้ดําเนินการ
เมื่อผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ด 1 ละเลยการบริหารราชการแผ่นดิน กรณีไม่ใส่ใจแก้ปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ไม่มีความจริงใจ ห่วงใยประชาชนในภาคเหนือที่เข้ามาสูดดมควันหรือฝุ่นละออง โดยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่สั่งการให้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรให้ทําฝนหลวงเพื่อดับควันหรือฝุ่นละออง และไม่ประกาศให้
จังหวัดเชียงใหม่เป็นเขตภัยพิบัติ ทําให้ผู้ฟ้องคดีและประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
ที่เกิดขึ้นทุกปี ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทําหรือการงดเว้น การกระทําของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ประกอบกับคําขอท้ายฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดเป็นคําขอที่ศาลมีอํานาจกําหนดคําบังคับเพื่อแก้ไขหรือบรรเทา
ความเดือดร้อนหรือเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ผู้ฟ้องคดีจึงเป็น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อีกทั้ง เป็นการฟ้องคดี เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ให้หมดสิ้นไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ในการดํารงชีวิตอย่างปกติสุขในสภาพแวดล้อมที่ดี กรณีจึงเป็นการฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ศาลย่อมมีอํานาจที่จะรับคําฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาและพิพากษาได้
ประเด็นที่สาม ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ในการแก้ไขปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ให้หมดสิ้นไป หรือไม่
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ... (2) จัดการ บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการ ที่กฎหมายบัญญัติ... มาตรา 51 บัญญัติว่า การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ตามหมวดนี้ ถ้าการนั้นเป็นการทําเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของ ประชาชนและชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดําเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย บัญญัติ มาตรา 53 บัญญัติว่า รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
มาตรา 55 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า รัฐต้องดําเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี ประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและ การป้องกันโรค และส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้ เกิดประโยชน์สูงสุด วรรคสอง บัญญัติว่า บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องครอบคลุม การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย และ วรรคสาม บัญญัติว่า รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง
มาตรา 57 บัญญัติว่า รัฐต้อง.... (2) อนุรักษ์ คุ้มครอง บํารุงรักษา ฟื้นฟู บริหาร จัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ ความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและ ชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดําเนินการและได้รับประโยชน์จากการดําเนินการดังกล่าวด้วย ตามที่กฎหมายบัญญัติ และมาตรา 59 บัญญัติว่า ในกรณีที่ปรากฏว่าท้องที่ใดมีปัญหามลพิษ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิด ผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอํานาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษากําหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดําเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้ ประกอบกับพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 บัญญัติให้ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า รัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(1) กํากับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจําเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอํานาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น... พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
มาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้... “ภาวะมลพิษ” หมายความว่า สภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือ ปนเปื้อนโดยมลพิษซึ่งทําให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษ ทางอากาศ มลพิษในดิน
มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายต่อ สาธารณชนอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ หรือภาวะมลพิษที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนั้นจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของ ประชาชน หรือก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐเป็นอันมากให้นายกรัฐมนตรี มีอํานาจสั่งตามที่เห็นสมควร ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลใด รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับหรือ อาจได้รับอันตรายหรือความเสียหายดังกล่าว กระทําหรือร่วมกันกระทําการใด ๆ อันจะมีผลเป็น การควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างทันท่วงที มาตรา 13 บัญญัติว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอํานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) เสนอนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรี (2) กําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 32 (3) พิจารณาให้ ความเห็นชอบในแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่รัฐมนตรีเสนอตามมาตรา 35 (4) พิจารณาให้ ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดตาม
มาตรา37 (7) พิจารณาให้ความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันหรือแก้ไขอันตรายอันเกิดจาก การแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเสนอตามมาตรา 53 (1)... (11) กําหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม... (14) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นให้เป็นอํานาจหน้าที่ของ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอํานาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องดังต่อไปนี้... (4) มาตรฐานคุณภาพ อากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป.... และพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 4 บัญญัติคํานิยาม คําว่า “สาธารณภัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทําให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ
มาตรา 6 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กปภ.ช.” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรี มอบหมาย เป็นประธานกรรมการ... และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่เกิดสาธารณภัย ร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอํานาจสั่งการ ผู้บัญชาการ ผู้อําานวยการ หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดําเนินการอย่างหนึ่ง อย่างใดเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมตลอดทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ ที่กําหนดก็ได้ โดยให้มีอํานาจเช่นเดียวกับผู้บัญชาการตามมาตรา 13 และผู้อํานวยการตามมาตรา 21 และมีอํานาจกํากับและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ ผู้อํานวยการ รองผู้อํานวยการ ผู้ช่วยผู้อํานวยการ และเจ้าพนักงานในการดําเนินการตามมาตรา 25 มาตรา 28 และมาตรา 29 ด้วย
จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายดังกล่าวรัฐมีหน้าที่ที่จะต้องระมัดระวังในการดําเนินการที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย และคุณภาพชีวิตเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพให้น้อยที่สุด และต้องดําเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและ โดยไม่ชักช้า และประชาชนชาวไทยมีสิทธิในการจัดการ และบํารุงรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและ ยั่งยืนในขณะเดียวกันรัฐที่มีหน้าที่ในการคุ้มครอง บํารุงรักษา ฟื้นฟู และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืนเช่นกัน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดําเนินการและได้รับประโยชน์จากการดําเนินการดังกล่าวด้วย
โดยที่ปัญหาเกี่ยวกับควัน หรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สังคม เศรษฐกิจ และสาธารณชนในวงกว้าง กอปรกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นกฎมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้น และแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่คู่กรณีและเป็นการคุ้มครองประโยชน์ สาธารณะ รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ และเมื่อพิจารณาจากนิยาม คําว่า “ภาวะมลพิษ” หมายความว่า สภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือปนเปื้อนโดยมลพิษ ซึ่งทําให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษในดิน “อากาศเสีย” หมายความว่า ของเสียที่อยู่ในสภาพเป็นไอเสีย กลิ่นควัน ก๊าซ เขม่า ฝุ่นละออง เถ้าถ่าน หรือมลสารอื่นที่มีสภาพละเอียดบางเบาจนสามารถรวมตัวอยู่ในบรรยากาศได้ พิจารณาแล้ว จะเห็นได้ว่า ปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐานเป็นกรณีที่ถือว่ามีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ หรือภาวะมลพิษที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนั้นจะเป็น อันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกายหรือสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หรือก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนหรือเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวของรัฐเป็นอันมาก
และกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก็กําหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะหัวหน้า รัฐบาลมีอํานาจหน้าที่กํากับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีอํานาจสั่งให้ราชการ ส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจําเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติ ราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้ และมีอํานาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้กําหนดให้เป็นอํานาจของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่จะมีอํานาจสั่งการตามที่เห็นสมควรให้ส่วนราชการกระทําหรือร่วมกันกระทําการใด ๆ อันจะมีผลเป็นการควบคุม ระงับหรือบรรเทาผลร้ายจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังมีอํานาจหน้าที่เสนอนโยบายและแผน การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในการกําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 32 พิจารณาให้ความเห็นชอบในแผน จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่รัฐมนตรีเสนอตามมาตรา 35 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติ การเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดตามมาตรา 37 พิจารณาให้ความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันหรือแก้ไขอันตรายอันเกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะ มลพิษที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเสนอตามมาตรา 53 (1) กําหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้าง ความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนในเรื่องที่เกี่ยวกับ การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติการอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นให้เป็นอํานาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามมาตรา 13 ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดไว้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้กําหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ ในบรรยากาศ โดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และตามคําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ประกาศ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กําหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ข้อ 2 กําหนดว่า มาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไปค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
โดยให้มีผลถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 และข้อ 3 กําหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้การว่า
จากข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์คุณภาพอากาศในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดเก็บข้อมูลโดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ของปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2566 ปรากฏข้อมูลคุณภาพ อากาศ (ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ) ที่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และระดับมีผลต่อสุขภาพ แยกเป็นรายปี ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2561 พบว่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 7 - 108 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 44 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเกินมาตรฐานของประเทศไทยประมาณ 2 เท่า (ค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และสูงกว่าเกณฑ์แนะนําขององค์การอนามัยโลก 4 เท่า (ค่าเกณฑ์แนะนําขององค์การอนามัยโลก ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 25 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร)
ปี พ.ศ. 2562 พบว่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 8 - 241 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 54 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเกินมาตรฐานของประเทศไทย 5 เท่า และเกณฑ์แนะนําขององค์การอนามัยโลก 10 เท่า ในปี พ.ศ. 2563 พบว่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 5 - 360 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 53 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร มีค่าเกินมาตรฐานของประเทศไทยที่ประมาณ 7 เท่า และเกณฑ์แนะนําของ องค์การอนามัยโลก 14 เท่า
ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 5 - 169 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 44 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากข้อมูลจะเห็นได้ว่ามีค่าเกินมาตรฐานของประเทศไทยที่ประมาณ 3 เท่า และเกณฑ์แนะนําของ องค์การอนามัยโลก 6 เท่า ในปี พ.ศ. 2565 พบว่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 5 - 117 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเกิน มาตรฐานของประเทศไทยประมาณ 2 เท่า และเกณฑ์แนะนําขององค์การอนามัยโลก 8 เท่า (เกณฑ์แนะนําขององค์การอนามัยโลก ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ในปี พ.ศ. 2566 (ข้อมูลระหว่างวันที่ 9 มกราคม - 20 พฤษภาคม 2566) พบว่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 4 - 363 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเกินมาตรฐานของประเทศไทยประมาณ 7 เท่า และเกณฑ์แนะนํา ขององค์การอนามัยโลก ประมาณ 24 เท่า
ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกันแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรฐาน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ถึงปีพ.ศ. 2566 มีค่าเกินมาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งกําหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเกณฑ์แนะนําขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกําหนดเกณฑ์แนะนําขององค์การอนามัยโลกค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 15 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร ที่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและระดับมีผลต่อสุขภาพในปริมาณที่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาล ตามที่คณบดี คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ข้อมูล นั้น ได้ความว่า ฝุ่น PM2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงสําคัญ ที่ทําให้เกิดกลุ่มโรค 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรคติดเชื้อ กลุ่มโรคภูมิแพ้ และกลุ่มโรคไม่ติดต่อ โดยที่ ปี พ.ศ. 2559 มีโรคที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตสําคัญของฝุ่น PM2.5 อยู่ 5 โรค คือ โรคกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ มะเร็งปอด แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2562 มีโรคที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 เพิ่มอีก 8 โรค รวมเป็น 13 โรค โดยที่องค์การอนามัยโลกได้กําหนดเป้าหมายที่แนะนําล่าสุดในปี 8 พ.ศ. 2564 ไว้ 2 ค่า ดังนี้ ค่าเฉลี่ยรายวัน 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปี ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 รายวัน ซึ่งปัจจุบันค่าเฉลี่ยฝุ่นรายปีของจังหวัดเชียงใหม่ก่อนปี พ.ศ. 2566 มีค่าประมาณ 30 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานองค์การอนามัยโลกถึง 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทําให้อัตราการเสียชีวิตของประชากรเชียงใหม่สูงกว่าประชากรในประเทศที่มีค่าฝุ่นต่ำกว่า มาตรฐานองค์การอนามัยโลกถึงร้อยละ 20 ส่วนกลไกละอองฝุ่นที่ทําให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของ มนุษย์และผลกระทบจากมลพิษละอองฝุ่นต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป ได้แก่ ผู้สูงวัย เป็นกลุ่ม ประชากรที่มักจะมีโรคประจําตัวเกี่ยวกับระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิตอยู่เดิม เมื่อมีฝุ่นหรือ สารก่อการอักเสบจากฝุ่นเข้าสู่กระแสโลหิตจะทําให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือด ย่อมส่งผลกระทบ ต่อทุกอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจและสมองเพิ่มขึ้นจากพยาธิสภาพเดิมได้โดยง่าย ผลกระทบ ต่อหญิงตั้งครรภ์ ในมารดาที่สัมผัสมลพิษทางอากาศในขณะตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อการที่ทารก แรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด ทารกตายก่อนคลอด การเกิด ความพิการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะความพิการของหัวใจ การเกิดทารกผิดรูป การเกิดอาการ หอบหืดในสตรีตั้งครรภ์ และการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (ภาวะครรภ์เป็นพิษ) และ ผลกระทบต่อเด็กเล็ก จะทําให้เกิดการอักเสบของถุงลม ทําให้พัฒนาการของถุงลมหยุดชะงักและ ทําให้ถุงลมไม่สามารถเจริญพัฒนาต่อไปจนเท่ากับผู้ใหญ่ปกติได้ และผลการวิจัยเกี่ยวกับโรคระบบ การหายใจที่มีความรุนแรงของประชากรจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า อนุภาคฝุ่นทาให้ผู้ป่วยโรคหืด มีอาการเพิ่มขึ้น ควบคุมโรคได้ยากขึ้น ทําให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอาการมากขึ้น คุณภาพชีวิตแย่ลง และมีสมรรถภาพปอดลดลงในช่วงฤดูฝน เกิดการกําเริบฉับพลันของโรคหืดและโรคปอด อุดกั้นเรื้อรัง
และจากข้อมูลย้อนหลังของการเสียชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่ของสํานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2561 พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากการกําเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังถึงร้อยละ 7.2 - 4.4 ผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะกระตุ้นการอักเสบภายในของร่างกายทําให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด และ เปลี่ยนแปลงของเซลล์ผนังหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทอัตโนมัติ เพิ่มการแข็งตัวของเลือดทําให้เกิดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจนกระทั่งการเสียชีวิต ผลกระทบต่อระบบประสาทพบว่าทําให้เพิ่มโอกาสในการเกิดอัมพาตและโรคหลอดเลือดสมองครั้งใหม่ขึ้นร้อยละ 24 และยังทําให้เป็นอัมพาตที่รุนแรงและเสียชีวิตเพิ่มถึงร้อยละ 30
นอกจากนี้ ยังมีผลต่อสมองโดยตรงจากการสูดดมเข้าไปกระตุ้นโปรตีนขยะที่อยู่ในสมองที่เป็นแหล่งกําเนิด โรคสมองเสื่อมหรืออัลไซล์เมอร์ สําหรับเด็กอายุ 9 - 10 ขวบ ที่อาศัยในพื้นที่ซึ่งมีมลภาวะฝุ่นพิษสูง มีแนวโน้มในการพัฒนาของสมองช้าหรือความฉลาดทางสติปัญญาต่ำ (IQ ต่ำ) ผลกระทบต่อการติดเชื้อ พบว่า ระดับ PM2.5 ที่สูงขึ้น สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ จนต้อง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และยังสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบชนิดรุนแรง และ เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอดได้ 1.4 เท่า ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่ และจากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย รายปีของ PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่มีค่าประมาณ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แสดงให้เห็นว่า ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่จะมีอายุขัยสั้นลง 2.5 ปี
ประกอบกับ คําชี้แจงของผู้อํานวยการ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่ที่ว่า ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่อาจจะ เกี่ยวข้องกับปัญหาควันหรือ (PM2.5) คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคมะเร็งปอด ตามลําดับ และผู้อํานวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการตรวจรักษา ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2561 จนถึงปี พ.ศ. 2565 รวมทั้งอัตราการเข้ารับการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก และการส่ง ตรวจวินิจฉัยการรักษาขั้นสูง อัตราการเข้าพักรักษาผู้ป่วยใน การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ขั้นสูง อัตราการเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในแต่ละกรณี ได้แก่ โรคหืดกําเริบเฉียบพลัน กําเริบเฉียบพลันของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบติดเชื้อ หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง ติดเชื้อในกระแสเลือด ปัญหาและข้อขัดข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยของ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นั้น แพทย์ผู้ทําการรักษาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดิน หายใจ และโรคทรวงอก โดยตรวจรักษาผู้ป่วยจากผลกระทบของมลพิษละอองฝุ่น และภาวะ ความเจ็บป่วยที่รุนแรงพบว่า มีปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ฝุ่น PM2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงสําคัญต่อ การเสียชีวิตและการเจ็บป่วยทั้งแบบ ฉับพลัน ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การเจ็บป่วยระยะฉับพลันและระยะสั้นดังกล่าวมีความรุนแรงจนจําเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินหรือ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจเสียชีวิตก่อนถึงมือแพทย์ บางส่วนเสียชีวิต ในโรงพยาบาลจากความรุนแรงของโรค ส่วนการเจ็บป่วยในระยะยาวที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย เรื้อรังกลุ่มโรคไม่ติดต่อ หรือทําให้โรคไม่ติดต่อมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นสาเหตุสําคัญที่ ทําให้เกิดโรคมะเร็งปอด ปัญหาดังกล่าวทําให้จํานวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ในช่วงฤดูฝนทุกปี เกินกว่า อัตรากําลังของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงมากกว่าจํานวนเตียงของจังหวัดเชียงใหม่ที่จะรับได้
กรณีจึงเห็นได้ว่า การแก้ปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตามข้อมูลที่ได้จากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง และพยานบุคคลภายนอกที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ถือว่า เป็นกรณีที่ประจักษ์ชัดแจ้งอย่างต่อเนื่องว่า ท้องที่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่มีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่ร้ายแรงจนถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
และก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งแม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่น ละอองเป็นวาระแห่งชาติ โดยมอบหมายให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นกลไกหลักร่วมกับกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการขับเคลื่อนวาระดังกล่าว ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทําแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" พ.ศ. 2562 - 2517 กําหนดมาตรการและแนวทางการดําเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
มลพิษทางอากาศเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงวิกฤตในพื้นที่ที่มีปัญหาและพื้นที่เสี่ยงปัญหา ฝุ่นละออง โดยที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดทําแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดําเนินการตามอํานาจ หน้าที่ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว ตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน โดยกําหนดทิศทาง
การดําเนินการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันอย่าง เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งการกําหนดมาตรฐานเป้าหมายจากสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพและภาคการปฏิบัติในการจัดการสาธารณภัยให้มีมาตรฐาน กําหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางปฏิบัติ ให้หน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงและหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 27 หน่วยงานแล้วก็ตาม
แต่ปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ก็ยังคงเกิดขึ้นเป็นประจําในช่วงเดือนธันวาคม - พฤษภาคมในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องเกินกว่า เกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดไว้ และส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ ตามคําชี้แจงของคณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้อํานวยการ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่ และผู้อํานวยการโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ กรณีจึงเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดให้ต้องปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ประเด็นที่สี่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือไม่ โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ตามมาตรา 4 นิยามคําว่า “สาธารณภัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทําให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ มาตรา 6 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กปภ.ช.” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรี มอบหมาย เป็นประธานกรรมการ... และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่เกิดสาธารณภัย ร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอํานาจสั่งการ ผู้บัญชาการ ผู้อําานวยการ หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ ดำเนินการอย่างหนึ่ง อย่างใดเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมตลอดทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ ที่กําหนดก็ได้ โดยให้มีอํานาจเช่นเดียวกับผู้บัญชาการตามมาตรา 13 และผู้อํานวยการตามมาตรา 21 และมีอํานาจกํากับและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ ผู้อํานวยการ รองผู้อํานวยการ ผู้ช่วยผู้อํานวยการ และเจ้าพนักงานในการดําเนินการตามมาตรา 25 มาตรา 28 และมาตรา 29 ด้วย
เมื่อพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 กําหนดให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยแรกที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการเผชิญเหตุกับสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และหากสาธารณภัยที่เกิดขึ้นนั้นเกินขีดความสามารถของพื้นที่องค์กรปฏิบัติในระดับที่เหนือขึ้นไปจะรับผิดชอบ ควบคุม สั่งการ และบัญชาการ โดยแบ่งระดับการจัดการสาธารณภัยเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 สาธารณภัยขนาดเล็ก
ผู้มีอํานาจตามกฎหมาย คือ ผู้อํานวยการอําเภอ ผู้อ้านวยการท้องถิ่น ควบคุมและสั่งการ ระดับที่ 2 สาธารณภัยขนาดกลาง ผู้มีอํานาจตามกฎหมาย คือ ผู้อํานวยการจังหวัด ควบคุม สั่งการและบัญชาการ ระดับที่ 3 สาธารณภัยขนาดใหญ่ ผู้มีอํานาจตามกฎหมาย คือ ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ควบคุม สั่งการ และบัญชาการ และระดับที่ 4 สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง ผู้มีอํานาจตามกฎหมาย คือ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มอบหมาย ควบคุม สั่งการและบัญชาการ ซึ่งครอบคลุม ความเป็นไปได้ในการจัดการภัยของประเทศ แต่ไม่ปรากฏว่าแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดังกล่าว ใช้เกณฑ์หรือเงื่อนไขใดในการแบ่งระดับการจัดการสาธารณภัยเป็น 4 ระดับ เมื่อพิจารณาแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2570
บทที่ 4 ยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการในภาวะฉุกเฉิน แบบบูรณาการ โดยมีสาระสําคัญที่เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการพิจารณายกระดับการจัดการ สาธารณภัยตามการประเมินความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ คือ เกณฑ์หรือเงื่อนไขทางด้าน (1) พื้นที่ ใช้สอยในลักษณะต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบและความเสียหาย (2) ประชากร จํานวนและลักษณะ ของประชากรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (3) ความซับซ้อน ความยากง่าย สถานการณ์แทรกซ้อน และเงื่อนไขทางเทคนิคของสถานการณ์ (4) ศักยภาพด้านทรัพยากร ขีดความสามารถในการ ปฏิบัติงานจากทรัพยากรที่มีอยู่ (5) การพิจารณาตัดสินใจของผู้บัญชาการ ผู้อํานวยการ ดุลพินิจ จากการประเมินสถานการณ์ตามเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งนี้ให้ใช้เกณฑ์หรือเงื่อนไขทางด้านพื้นที่ ประชากร ความซับซ้อน ศักยภาพด้านทรัพยากร และดุลพินิจของผู้บัญชาการหรือผู้อํานวยการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกันเป็นเกณฑ์ในการนําเสนอผู้บัญชาการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ หรือผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 พิจารณาตัดสินใจประกาศยกระดับเป็น การจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) และการจัดการสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง (ระดับ 4) ซึ่งภัยอื่น ๆ ตามนิยามคําว่า “สาธารณภัย” แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ย่อมหมายความรวมถึง สาธารณะภัยจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นผู้มีอํานาจสั่งการผู้บัญชาการ ผู้อํานวยการ หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมตลอดทั้งให้ความช่วยเหลือ แก่ประชาชนในพื้นที่ที่กําหนดก็ได้ กรณีจึงเห็นได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ย่อมมีความผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กําหนดไว้เช่นกัน
กรณีจึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ในการแก้ไขปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ให้หมดสิ้นไป หรือไม่
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ลงวันที่ 24 กันยายน 2561 ข้อ 1 กําหนดว่า ในประกาศนี้ “ดัชนีคุณภาพอากาศ” หมายความว่า ดัชนีที่ใช้เป็นตัวแทนของคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)...
ข้อ 2 กําหนดว่า ดัชนีคุณภาพอากาศ แบ่งเป็น 5 ระดับ การแจ้งเตือน โดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์ โดยมีคะแนนตั้งแต่ 0 ถึงมากกว่า 200 โดยดัชนีคุณภาพอากาศ มีค่าเทียบเท่าค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูง เกินกว่า 100 แสดงว่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐาน มีระดับการแจ้งเตือน ดังนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศ 0 - 25 ระดับดีมาก สีฟ้า หมายถึง คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสําหรับ กิจกรรมกลางแจ้ง และการท่องเที่ยว ดัชนีคุณภาพอากาศ 26 - 50 ระดับดี สีเขียว หมายถึง คุณภาพอากาศดี สามารถทํากิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ ดัชนีคุณภาพอากาศ 51 - 100 ระดับปานกลาง สีเหลือง หมายถึง ประชาชนทั่วไปสามารถทํากิจกรรมกลางแจ้งได้ ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลําบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทํากิจกรรมกลางแจ้ง ดัชนีคุณภาพอากาศ 100 - 200 ระดับเริ่ม มีผลกระทบต่อสุขภาพ สีส้ม หมายถึง ประชาชนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลําบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทํากิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็น ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลาการทํากิจกรรม กลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็นถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจ ลําบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ และดัชนีคุณภาพอากาศ 201 ขึ้นไป ระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ สีแดง หมายถึง ทุกคนควร หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจําเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ สําหรับเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศ ของประเทศไทย และการคํานวณดัชนีคุณภาพอากาศกรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ใช้หลักการ ดังนี้ (1) ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษที่นํามาคํานวณเป็นดัชนีคุณภาพอากาศ ต้องแปลงให้เป็นค่าเฉลี่ยระยะเวลา 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง หน่วยไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (2) คํานวณดัชนีคุณภาพอากาศจากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษจากข้อมูลผลการวัดคุณภาพ อากาศ โดยแต่ละระดับของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศเทียบกับดัชนีคุณภาพอากาศที่ระดับต่าง ๆ ดังนี้
(1) ความเข้มข้น 0 - 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เท่ากับระดับค่าดัชนี คุณภาพอากาศ 0 - 25
(2) ความเข้มข้น 26 - 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เท่ากับระดับ ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 26 – 50
(3) ความเข้มข้นของ PM2.5 ระดับ 38 - 50 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร เท่ากับระดับดัชนีคุณภาพอากาศ 51 – 90
(4) ความเข้มข้นของ PM2.5 ระดับ 51 - 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เท่ากับระดับดัชนีคุณภาพอากาศ 100 - 200 และ (5) ความเข้มข้นของ PM2.5 ระดับ 41 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขึ้นไป เท่ากับระดับดัชนี คุณภาพอากาศ 201 ขึ้นไป ตามตารางเทียบค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศสําหรับ คํานวณดัชนีคุณภาพอากาศ
นอกจากนี้ สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) (GISTDA) ชี้แจงต่อศาลว่า สํานักงานได้ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการด้าน ภัยพิบัติในสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของประเทศไทย ในการ ติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจัดทําข้อมูลและแผนที่ แสดงจุดความร้อน แผนที่พื้นที่เผาไหม้ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เผยแพร่และสนับสนุน ข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพื้นที่แบบใกล้เวลาจริง (Near Real Time) และบูรณาการข้อมูลและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับหน่วยงานและชุมชน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อยกระดับการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยพิจารณาจาก (1) ข้อมูลจุดความร้อน (2) ข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ (3) ข้อมูลค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จากข้อมูลความลึกเชิงแสงของฝุ่นละอองจากดาวเทียม Terra และ Aqua ระบบ MODIS และ (4) ข้อมูลค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จากข้อมูลความลึกเชิงแสงของฝุ่นละอองจากดาวเทียม Himawari - 8 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2566 จากสถิติค่าจุดภาพสูงสุดรายเดือนในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่พบว่า เดือนมีนาคม 2561 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เท่ากับ 149.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในเดือนมีนาคม 2562 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เท่ากับ 135.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เดือนมีนาคม 2563 มีค่าปริมาณฝุ่นละออง ขนาดเล็ก (PM2.5) เท่ากับ 150.94 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เท่ากับ 96.64 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เดือนเมษายน 2565 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เท่ากับ 155,27 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2566
เพื่อพิจารณาจากข้อมูลดาวเทียม Himawari – 8 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ต่อเนื่องกัน ณ เวลา 10.00 นาฬิกา ของทุกวัน โดยที่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 127.85 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 157.40 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 132.88 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 3 มีนาคม 2566 เท่ากับ 126.04 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 4 มีนาคม 2566 เท่ากับ 119.50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 5 มีนาคม 2566 เท่ากับ 109.97 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 10 มีนาคม 2566 เท่ากับ 104.62 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 11 มีนาคม 2560 เท่ากับ 110.12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 12 มีนาคม 2566 ไม่มีข้อมูล วันที่ 13 มีนาคม 2566 เท่ากับ 133.67 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
วันที่ 24 มีนาคม 2566 เท่ากับ 126.51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 25 มีนาคม 2566 เท่ากับ 178.28 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 26 มีนาคม 2566 ไม่มีข้อมูล วันที่ 27 มีนาคม 2566 เท่ากับ 227.74 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 28 มีนาคม 2566 เท่ากับ 199.42 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 29 มีนาคม 2566 เท่ากับ 190.65 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร วันที่ 30 มีนาคม 2566 เท่ากับ 244.18 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 31 มีนาคม 2566 ไม่มีข้อมูล
วันที่ 1 เมษายน 2566 เท่ากับ 122.47 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 5 เมษายน 2566 เท่ากับ 134.61 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 7 เมษายน 2566 เท่ากับ 128.59 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 4 เมษายน 2566 เท่ากับ 113.52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 12 เมษายน 2566 เท่ากับ 101.03 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 15 เมษายน 2566 เท่ากับ 193.11 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 16 เมษายน 2566 เท่ากับ 251.82 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
วันที่ 17 เมษายน 2560 เท่ากับ 140.29 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 18 เมษายน 2566 เท่ากับ 134.89 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 19 เมษายน 2566 เท่ากับ 145.60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วันที่ 20 เมษายน 2566 เท่ากับ 107.87 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และวันที่ 21 เมษายน 2566 เท่ากับ 111.20 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
เมื่อพิจารณาเกณฑ์การกําหนดคุณภาพอากาศตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ลงวันที่ 24 กันยายน 2561 และข้อมูลจากสํานักงานพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) (GISTDA) แล้วเห็นว่า ค่าความเข้มข้นของ สารมลพิษประเภทฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ต่อเนื่อง มีค่าความเข้มข้น 51 - 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะเท่ากับระดับดัชนีคุณภาพอากาศ 101 - 200 ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์สีส้ม) ซึ่งประชาชนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลําบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทํากิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็น สําหรับ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลาการทํากิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกัน ตนเองหากมีความจําเป็น
ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลําบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ และหากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษประเภทฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง มีค่าความเข้มข้น 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป จะเท่ากับระดับดัชนีคุณภาพอากาศ 201 ขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์สีแดง) ประชาชน ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็น
หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ เมื่อปรากฏว่าปริมาณ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ระหว่างวันที่ 14 - 16 กุมภาพันธ์ 2566 มีค่าปริมาณฝุ่นละออง ขนาดเล็ก (PM2.5) สูงติดต่อกัน 3 วัน ระหว่าง 127.85 - 157.40 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์สีส้ม) ระหว่างวันที่ 3 - 5 มีนาคม 2566 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) สูงติดต่อกัน 3 วัน อยู่ระหว่าง 109.97 - 126.40 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือน โดยใช้สัญลักษณ์สีส้ม)
ระหว่างวันที่ 10 - 13 มีนาคม 2566 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) สูงติดต่อกัน 4 วัน อยู่ระหว่าง 104.62 - 133.67 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์สีส้ม) ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม - 1 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาขณะที่ผู้ฟ้องคดีนํามาฟ้องต่อศาล มีค่าปริมาณ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) สูงติดต่อกัน 9 วัน อยู่ระหว่าง 126.51 - 227.74 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร เป็นระดับที่เริ่มมีผลและมีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์สีส้ม และสีแดง)
ระหว่างวันที่ 6 - 8 เมษายน 2566 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) สูงติดต่อกัน 3 วัน อยู่ระหว่าง 113.52 - 134.61 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นระดับที่เริ่ม มีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์สีส้ม) และระหว่างวันที่ 15 - 21 เมษายน 2566 มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) สูงติดต่อกัน 7 วัน อยู่ระหว่าง 107.87 - 251.82 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นระดับที่เริ่มมีผลและมีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์ สีส้มและสีแดง)
ซึ่งค่าความเข้มข้นของสารมลพิษประเภทฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง มีค่าความเข้มข้น 51 - 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะเท่ากับระดับดัชนีคุณภาพอากาศ 101 - 200 เป็นระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์สีส้ม) ซึ่งประชาชนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลําบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทํากิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็น
สําหรับผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลา การทํากิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลําบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ และหากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษประเภทฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง มีค่าความเข้มข้น 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขึ้นไป จะเท่ากับระดับดัชนีคุณภาพอากาศ 201 ขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (แจ้งเตือนโดยใช้สัญลักษณ์สีแดง) ประชาชนทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงพื้นที ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจําเป็น หากมีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ ประกอบกับคําชี้แจงของผู้อํานวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และ
คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ว่า มีโรคที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่สัมผัส ฝุ่น PM2.5 คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมะเร็งปอด โรคติดเชื้อทางหายใจ และปอดอักเสบ โรคหัวใจ โรคหลอด เลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคภูมิแพ้ทางหายใจ เยื่อบุตาและผิวหนัง โรคสมาธิสั้น โรคสมองเสื่อม โรคไตเสื่อม โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และมะเร็งปอด เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง ผลกระทบที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมากในผู้ป่วยหนักจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น กรณีจึงเชื่อได้ว่า มีปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกิดขึ้นจริงในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ และปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มที่ร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในท้องที่ จังหวัดเชียงใหม่มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีและจะยังคงมีต่อไปในอนาคต หากไม่ได้รับ การป้องกัน บรรเทา และแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
ซึ่งถือเป็นสาธารณภัยระดับที่ 4 สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มอบหมายมีอํานาจตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ในการสั่งการผู้บัญชาการ ผู้อํานวยการ หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และโดยที่เป็นที่รับรู้กันว่า ปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงนี้ เกิดจาก การเผาในที่โล่ง
โดยมีสาเหตุจากการเผาเพื่อหาของป่า ล่าสัตว์ การเผาไร่ เผาพื้นที่เกษตรในป่า การเผานอกป่าและเกิดการลุกลามเข้าสู่พื้นที่ป่า และมีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นเหตุที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากมีการดําเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวขึ้นด้วยการดาเนินนโยบายสาธารณะของภาครัฐอย่าง เร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มิได้ดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวหมดสิ้นไปภายในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ฟ้องคดีและ ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่จึงตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว อันเป็นผลมาจากการเผาในที่โล่งเพื่อหาของป่า ล่าสัตว์ การเผาไร่ การเผาพื้นที่เกษตรในป่า
การเผานอกป่าและเกิดการลุกลามเข้าสู่พื้นที่ป่า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาควันหรือฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กรณีจึงเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กําหนดให้ต้อง ปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ส่วนกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมีคําขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สั่งให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ทําฝนหลวงเพื่อดับควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) หากทําแล้วจะทําให้ ฝุ่นบรรเทาเบาบางลงได้ นั้น เห็นว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นหน่วยงานในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในพื้นที่ เกษตร ป่าไม้ และเขื่อนกักเก็บน้ำ เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอต่อการเพาะปลูก และ นอกจากการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำแล้ว ยังมีการแปรสภาพอากาศเพื่อบรรเทาหรือ แก้ไขปัญหาภัยพิบัติอื่น ๆ เช่น
ปัญหาหมอกควันและไฟป่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่มีผลต่อสุขภาพประชาชน ความรุนแรงจากพายุลูกเห็บที่ส่งผลต่อพืชผลทางการเกษตร เป็นต้น ดังนั้น การปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพและประสบความสําเร็จของการทําฝนหลวง ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพอากาศ เช่น ความชื้นในอากาศ ความทรงตัวของอากาศ ทิศทาง และความเร็วของลม เป็นสําคัญ
กรณีจึงเป็นคําขอที่ศาลไม่อาจกําหนดคําบังคับได้ตาม มาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 สําหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมีคําขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเขตภัยพิบัติทั้งจังหวัด และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่นิ่งเฉยต่อปัญหาควันหรือฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) นั้น เห็นว่า ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรอง ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ข้อ 5 กําหนดนิยามคําว่า “ภัยพิบัติ” หมายความว่า สาธารณภัยอันได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ตลอดจนภัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ หรือบุคคลหรือสัตว์ทําให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกาย ของประชาชน หรือทําให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน
ซึ่งระเบียบดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อวางหลักเกณฑ์สําหรับส่วนราชการในการดําเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติโดยเร่งด่วนตามความจําเป็นและเหมาะสม โดยมุ่งหมายที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ ประกอบกับประกาศกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ลงวันที่ กุมภาพันธ์ 2563 กําหนดให้เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นในจังหวัดให้เป็นอํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน หากไม่สามารถประชุม ก.ช.ภ.จ. ได้ทันท่วงที และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าความเสียหายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง กําหนดก็ให้มีอํานาจพิจารณาประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ไปก่อนได้
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจาก ก.ช.ภ.จ. จะเห็นได้ว่า ภัยอื่น ๆ ย่อมหมายความรวมถึง ภัยพิบัติจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้วย การประกาศเขตการให้ ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อีกทั้งยังต้องพิจารณาเกี่ยวกับเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน การจะประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็น ดุลพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และรับผิดชอบราชการในจังหวัดเชียงใหม่ที่จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามความเหมาะสมแก่กรณี
โดยศาลไม่อาจไปใช้อํานาจดังกล่าวแทนฝ่ายปกครองได้ กรณีจึงเป็นคําขอที่ศาลไม่อาจกําหนดคําบังคับได้ ตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ส่วนกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมีคําขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอย่านิ่งเฉยต่อปัญหาควันหรือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
โดยทําเป็นวาระแห่งชาติลําดับหนึ่งในการแก้ไขปัญหา นั้น เห็นว่า ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" พ.ศ. 2562 - 2567 โดยเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ที่ประสบปัญหาฝุ่นละออง ซึ่งรวมถึงภาคเหนือ ประกอบด้วย 3 มาตรการ แบ่งการดําเนินการเป็นระยะเร่งด่วน ช่วงวิกฤต ระยะสั้น (พ.ศ. 2562 - 2564) ระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ซึ่งแต่ละมาตรการจะมี หน่วยงานรับผิดชอบหลักและสนับสนุนไว้อย่างชัดเจน กล่าวคือ
มาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่มีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งเน้นการบริหารจัดการ ควบคุมมลพิษ จากแหล่งกําเนิดในเชิงพื้นที่โดยการกําหนดแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาในช่วงวิกฤต สถานการณ์ รวมถึงการดําเนินงานในระยะเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อรองรับ สถานการณ์ในช่วงวิกฤต
มาตรการที่ 2 การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกําเนิด) มีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งให้ความสําคัญในการควบคุมและลดการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิดรวมถึงลดจํานวนแหล่งกําเนิดมลพิษ
และมาตรการที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารจัดการมลพิษเป็นการพัฒนาระบบ เครื่องมือ กลไกในการบริหารจัดการ รวมถึง การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และกําหนด แนวทางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอนาคต ประกอบกับแผนการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 เป็นแผนกําหนดทิศทางการดําเนินการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม
พร้อมทั้งกําหนดมาตรฐานเป้าหมายจากสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ และภาคการปฏิบัติในการจัดการสาธารณภัยให้มี มาตรฐาน ดังนั้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยอย่างบูรณาการ จึงกําหนดให้แผนมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการปฏิบัติให้แก่หน่วยงาน ทุกภาคส่วน ได้แก่ องค์กรภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ถึงระดับประเทศในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างบูรณาการเป็นระบบและมีทิศทาง เดียวกัน
(2) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและทิศทางการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ซึ่งเป็นที่ ยอมรับมาประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ และสามารถนําไปปรับใช้ในการจัดทําแผนทุกระดับเพื่อให้การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดผลสัมฤทธิ์ เช่น แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอําเภอ
แผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนปฏิบัติ การของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และแผนสนับสนุน การปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉินด้านต่าง ๆ เป็นต้น (3) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย
ประกอบด้วย การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน และ การฟื้นฟูให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม ตั้งแต่ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอ จังหวัด ถึงระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เพื่อนําไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ การรู้รับ - ปรับตัว - ฟื้นตัวเร็ว - อย่างยั่งยืน (Resilience) และได้กําหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางปฏิบัติให้หน่วยงานที่อยู่ภายใต้ สังกัดกระทรวง และหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 27 หน่วยงาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการ ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการดาเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
กรณีจึงเห็นว่า ปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ได้ถูกกําหนดไว้เป็น วาระแห่งชาติแล้ว อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่มีการดําเนินการตามระยะเวลาตามแผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” พ.ศ. 2562 - 2567 และ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 แล้ว ปรากฏว่าปริมาณ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ยังคงมีค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานของประเทศในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ อย่างเป็นรูปธรรม
กรณีจึงเป็นการสมควรที่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐอื่นที่เกี่ยวข้องจะพิจารณา เสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เพื่อกําหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพและกําหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
วินิจฉัยแล้วว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ล่าช้าเกินสมควรในการป้องกัน บรรเทาและแก้ไขปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่สถานการณ์ปัญหาควันหรือฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่เกิดขึ้นในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ได้คลี่คลายลงแล้วตั้งแต่ช่วง เดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ปัญหาควันหรือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ก็ยังคงเกิดขึ้นเป็นประจํา ในช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปีอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น อันจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเกิดผลกระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 43 กําหนดให้บุคคลและ ชุมชนมีสิทธิจัดการ บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อย่างสมดุล และยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ และมาตรา 53 กําหนดให้รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตาม และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ประกอบกับมาตรา 55 กําหนดให้รัฐต้องดําเนินการให้ ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค และการบริการสาธารณสุขครอบคลุมถึง การรักษาพยาบาล ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการระวังและป้องกันมิให้เกิดปัญหาควันหรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และก่อให้เกิดผลกระทบเสียหาย ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในอนาคตไว้ก่อน ตามหลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary principle) และหลักการป้องกันล่วงหน้า (Preventive principle)
ดังนั้น เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่าปัญหาควัน หรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มว่าจะ เกิดขึ้นอีกในอนาคต กรณีจึงมีเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกําหนด มาตรการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เพื่อใช้ในการระวัง ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหา ควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดําเนินการป้องกัน คุ้มครอง บํารุงรักษา ฟื้นฟู และบริหารจัดการปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอันเกิด จากควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ได้อย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไป
พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ร่วมกันใช้อํานาจตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดําเนินการอื่นใดเพื่อระวัง ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหามลพิษอันเกิดจากควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ให้อยู่ในค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป และเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศในระดับดีมาก หรือระดับดีต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้อย่างทันท่วงที คําขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้ที่:https://drive.google.com/file/d/1XbDCoFf-9F68LcJkRmYwcoM_tXfSF_kn/view?usp=sharing