ถ้าหากว่ามีใครมาแนะนำตัวกับคุณทางออนไลน์ ต้องการจะเป็นเพื่อนกับคุณ และแสดงให้คุณเห็นว่าพวกเขามีชีวิตที่หรูหรา พอหลังจากนั้นไม่กี่วัน พวกเขาก็มาบอกคุณว่าพวกเขาสามารถทำเงินได้มากมายผ่านสกุลเงินดิจิทัล พร้อมทั้งเสนอให้คุณมาลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ทางที่ดีคุณควรเดินหนีออกมาให้เร็วที่สุด เพราะคนๆนั้นเป็นมิจฉาชีพอย่างแน่นอน
ประเด็นเรื่องการค้ามนุษย์นั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่แก้ไขได้ยากมากสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียน และนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆที่หลากหลายรวมไปถึงปัญหาในด้านอาชญากรรมต่างๆ
ล่าสุดสำนักข่าว DW ของเยอรมนีได้มีการรายงานบทความวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำบทความดังกล่าวมานำเสนอ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
แม้ว่าจะเพิ่งมีการกวาดล้างกลุ่มอาชญากรไปไม่นานนี้ ,เครือข่ายผู้ค้ามนุษย์ก็กำลังขยายปฏิบัติการฉ้อโกงของตัวเอง และเล็งเป้าไปที่กลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกอาเซียนมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยวิกฤตด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่ก่อตัวขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขงในอาเซียนนั้น ต้องยอมรับว่ามีที่มาจากการเติบโตขึ้นอย่างมากของบริษัทฉ้อโกงทางออนไลน์และคาสิโนที่ผิดกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีความพยายามในการปราบปรามแก๊งอาชญากร แต่ลักษณะการค้ามนุษย์และกิจกรรมการหลอกลวงที่ผิดกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลากําลังกลายเป็นพลังทําลายล้างที่เพิ่มมากขึ้น
และเมื่อไม่นานมีนี้มีการบุกเข้าไปยังคาสิโนหลายแห่งที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางการค้ามนุษย์ของเมียนมา ในพื้นที่ชเว ก๊กโก นำไปสู่การต่อสู้ที่รุนแรงระหว่างกลุ่มกบฏชาติพันธุ์กับกองทัพเมียนมา ส่งผลทำให้ประชาชนนับพันต้องหนีข้ามพรมแดนมายังประเทศไทย
การต่อสู้ใกล้กับพื้นที่ชเว ก๊กโก (อ้างอิงวิดีโอจาก Karen News)
ในขณะเดียวกันการขาดการบังคับใช้กฎหมายในเขตความขัดแย้งเช่นเมียนมาทําให้กลุ่มอาชญากรสามารถย้ายถิ่นฐานและสร้าง “สถานที่กักกันแรงงานทาส” ใหม่ได้อย่างรวดเร็วซึ่งเหยื่อที่ถูกหลอกค้ามนุษย์จะถูกนำตัวมาที่นี่ เพื่อบังทารุณกรรม และแม้กระทั่งถูกฆ่าตาย
และเมื่อขนาดของวิกฤตมีความชัดเจนมากขึ้น โดยกลุ่มผู้ค้ามนุษย์พุ่งเป้าไปที่พลเมืองนอกอาเซียน ส่งผลกลุ่มประชาสังคมและภาคส่วนต่างๆออกมาเรียกร้องให้ดําเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อระบุตัวตนและต่อสู้กับอาชญากรเหล่านี้
@อาชญากรย้ายถิ่นฐานและขยายพื้นที่ปฏิบัติการ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ กัมพูชาได้กลายมาเป็นพื้นที่ปลายทางหลักสำหรับการค้ามนุษย์ในอาเซียน โดยกลุ่มผู้ค้ามนุษย์ที่อาจจะมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอาชญากรที่มีระบบการจัดการอย่างดีนั้นพบว่าการฉ้อโกงออนไลน์ถือเป็นรูปแบบการทำธุรกิจที่น่าดึงดูด สร้างรายได้ให้เยอะ และเริ่มที่จะมุ่งเป้าไปยังชาวต่างชาติ โดยใช้หลากหลายแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียเพื่อจะเสนองานที่รายได้ดี พร้อมกับที่พักอาศัยเพื่อหลอกให้เหยื่อมาติดกับ และแน่นอนว่าผู้ที่เป็นเหยื่อ หลงเชื่อคำโฆษณาปลอมๆในภายหลังก็จะพบว่าตัวเองถูกกักขังอยุ่ในสถานกักกันแรงงานทาส
ทั้งนี้เมื่อมีแรงกดดันจากนานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ทางการกัมพูชาจึงต้องดำเนินการจัดการกับกลุ่มอาชญากร ทั้งการจับกุม และเริ่มการบุกเข้าตรวจค้นสถานกักกันอยู่เป็นระยะพร้อมกับช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกหลอกลวง แต่แม้จะเริ่มมีการปราบปรามทั่วประเทศ ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่าวิกฤติเหล่านี้จะไม่หายไปไหน
“ต้องยอมรับว่าการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันระหว่างประเทศนี้อยู่เบื้องหลังการเพิ่มของกิจกรรมที่ผิดกฎหมายที่กำลังขยายตัวด้วยเช่นกัน” นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำนวยการของโครงการเมียนมา ในสถาบันสันติภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือ USIP กล่าวกับสำนักข่าว DW
นายทาวเวอร์กล่าวต่อไปด้วยว่าสถานการณ์การค้ามนุษย์จะเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น ในสถานที่ต่างๆ เช่นเมียนมาและในลาวซึ่งหลายพื้นที่ยังอยู่ห่างไกลและมีการบังคับใช้กฎหมายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แน่นอนว่ากลุ่มอาชญากรได้ใช้ประโยชน์จากการขาดการบังคับใช้กฎหมายนี้ดำเนินกิจกรรมหลายอย่างเช่นการพนันออนไลน์ การแชร์ลูกโซ่ และการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
“สำหรับผู้ค้ามนุษย์ มันไม่เพียงแค่ว่าพวกเขาจะได้สถานะของตัวเองผ่านสินค้าแบรนด์ราคาแพง และรถยนต์หรู ซึ่งมาจากเงินที่ได้ผ่านการหลอกลวงเท่านั้น พวกเขาซึ่งได้ทุกอย่างเพียบพร้อมแล้ว จึงได้มีการขยายเครือข่ายมาที่การค้าสัตว์ป่า และได้มีการขายสัตว์ที่หายากใหม่ๆ” นางมีนา เชียง ผู้อํานวยการฝ่ายที่ปรึกษาสถาบันการวิจัยมนุษยชาติกล่าวกับสำนักข่าว DW พร้อมกับแสดงความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบการค้ามนุษย์แบบใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
@การพุ่งเป้าไปยังพลเมืองนอกทวีปเอเชีย
พบว่ามีเหยื่อมากกว่า 20 ประเทศ ที่ถูกล่อลวงให้เข้าไปสู่ปฏิบัติการการฉ้อโกงเหล่านี้ โดยมิจฉาชีพได้ใช้คำสัญญาว่าจะมีการจ้างงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระดับสูง แต่พอเหยื่อถูกหลอก พวกเขาก็ถูกเอาปืนจ่อ บังคับให้เข้าไปมีส่วนในรูปแบบอาชญากรรมอีกครั้ง โดยคราวนี้พวกเขาต้องถูกบังคับให้หลอกลวงเหยื่อรายอื่นๆให้สูญเสียเงินอีก ซึ่งถ้าพวกเขาไม่ทำก็จะถูกทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ
“มันค่อนข้างเป็นไปไม่ได้ที่จะหลบหนีจากสารประกอบ เมื่อใดก็ตามที่คุณเข้าไปในสารประกอบพวกเขาซื้อคุณในฐานะทาสดังนั้นพวกเขาจึงแน่ใจว่าคุณจะอยู่และทํางานให้พวกเขา” นายอับดุส ซาลาม หนึ่งในเหยื่อที่รอดจากขบวนการค้ามนุษย์กล่าว
โดยนายซาลามนั้นถูกล่อลวงจากบังกลาเทศให้ไปกัมพูชา และถูกบังคับให้ทำงานฉ้อโกงที่เรียกกับว่า “การเชือดหมู” เป็นระยะเวลาถึงห้าเดือน ซึ่งการฉ้อโกงดังกล่าวนั้นก็หมายความว่าเขาจะต้องดำเนินการหลอกลวงเหยื่อว่าจะสามารถมอบความรักและความมั่งคั่งได้ ก่อนที่จะทิ้งเหยื่อเอาไว้และปล่อยให้มิจฉาชีพสามารถเอาเงินทั้งหมดของเหยื่อไปได้
เหยื่อที่ถูกนายซาลามหลอกส่วนมากนั้นจะมาจากนอกเอเชีย โดยนายซาลามจะใช้แอปพลิเคชันหลากหลายแอปเพื่อหลอกลวงเหยื่อรวมไปถึงแอปหาคู่ชื่อดังอย่างเช่นทินเดอร์เป็นต้น
โดยนายซาลามได้มีการใช้รูปโปรไฟล์ปลอมเพื่อที่จะสร้างสัมพันธ์ที่หลากหลายกับเหยื่อ ตั้งแต่ความสัมพันธ์ในระดับความรัก หรือมิตรภาพเพื่อสร้างความเชื่อใจในการจะหลอกลวงเหยื่อ
รูปภาพที่นายอับดุส ซาลามนำไปใช้หลอกลวงเหยื่อ
@บอกได้อย่างไรว่าคุณถูกหลอกลวง
“ถ้าหากคุณพบว่าผู้หลอกลวงเริ่มที่จะมีความโลภ นั่นก็พอที่จะเป็นสัญญาณแล้ว” นางสเตซี่ หนึ่งในเหยื่อที่ถูกหลอกลวง ซึ่งปฏิเสธที่จะให้ชื่อจริงทั้งหมดกล่าว โดยที่ผ่านมาเธอนั้นหลงเชื่อคำลวงของมิจฉาชีพที่หลอกให้เธอนำเอาเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุนกับสกุลเงินดิจิทัล
โดยนางสเตซี่เป็นเพียงไม่กี่คนที่นำเงินของเธอกลับมาได้ ขณะที่เหยื่อคนอื่นๆสูญเสียทรัพย์สินทั้งหมด
“มีเหยื่อที่ถูกหลอกลวงหลายคนต้องไปเข้ารับรักษาทางจิตเวชเพราะมันเป็นการสูญเสียความไว้วางใจอย่างสมบูรณ์ในมนุษย์และเป็นจุดจบในชีวิตทางการเงินของพวกเขา” นางสเตซี่กล่าว
โดยในปัจจุบันนั้นมีหน่วยงานหลายแห่งมากที่พยายามเข้าไปช่วยเหลือป้องกันการหลอกลวงในเรื่องเหล่านี้ อาทิ พันธมิตรต่อต้านการหลอกลวงและการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ หรือ International Anti Scam & Trafficking Alliance ที่ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือเหยื่อ และเปิดโปงเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการหลอกลวงรวมถึงวิธีการต่างๆของมิจฉาชีพเป็นต้น
“ถ้าหากว่ามีใครมาแนะนำตัวกับคุณทางออนไลน์ ต้องการจะเป็นเพื่อนกับคุณ และแสดงให้คุณเห็นว่าพวกเขามีชีวิตที่หรูหรา พอหลังจากนั้นไม่กี่วัน พวกเขาก็มาบอกคุณว่าพวกเขาสามารถทำเงินได้มากมายผ่านสกุลเงินดิจิทัล พร้อมทั้งเสนอให้คุณมาลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ทางที่ดีคุณควรเดินหนีออกมาให้เร็วที่สุด เพราะคนๆนั้นเป็นมิจฉาชีพอย่างแน่นอน” นายซาลามกล่าว
สำหรับนายซาลาม หลังจากที่เขาถูกคุมขังเป็นเวลาหลายเดือน เขาก็สามารถหลบหนีออกมาจากสถานกักกันได้ โดยตอนนี้นายซาลามพยายามที่จะช่วยเหลือทั้งทางการและภาคประชาสังคม องค์กรต่างๆ ในการช่วยเหลือเหยื่อคนอื่นๆที่ยังถูกคุมขังอยู่
ขบวนการหลอกลวงโดยใช้แอปพลิเคชันทินเดอร์ ซึ่งมิจฉาชีพปฏิบัติการในกัมพูชา (อ้างอิงวิดีโอจาก CNA Insider)
@สัญชาติของเหยื่อบ่งบอกถึงสัญชาติของผู้ค้ามนุษย์
ในรายงานฉบับล่าสุดของสถาบันการวิจัยมนุษยชาติบ่งชี้ว่าการเพิ่มขึ้นของเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนายซาลามนั้น พบว่ามาจากทั้งยุโรป,แอฟริกา และจากทวีปอเมริกา
จากข้อมูลของนางมีนา เจียง ก็ระบุเช่นกันว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่อาชญากรในระดับท้องถิ่นเช่นที่ในกัมพูชาและในเมียนมาจะสามารถล่อลวงเหยื่อให้เข้ามาร่วมขบวนการได้ ถ้าหากปราศจากความร่วมมือของเครือข่ายอาชญากรรมในประเทศต้นทางของเหยื่อ
“อาชญากรท้องถิ่นในประเทศต้นทางนั้นเป็นเหมือนกับผลที่อยู่ปลายทางแล้วในกระบวนการทางอาญา พวกเขาไม่จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนกับการหลอกลวง แต่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่นี้อย่างแน่นอน” นางเจียงกล่าว
ย้อนไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน ที่ประเทศไต้หวันได้มีการตั้งข้อหากลุ่มอาชญากรค้ามนุษย์ที่มีการส่งเหยื่อกว่า 88 รายไปยังกัมพูชา และถูกกักตัวที่สถานกักกัน โดยกลุ่มนี้ก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับปฏิบัติการหลอกลวงในกัมพูชาแต่อย่างใด แต่ว่ามีส่วนในการล่อลวงและส่งชาวไต้หวันไปกัมพูชา
"ประเทศที่พบพลเมืองของตนอยู่ในกลุ่มเหยื่อที่ถูกหลอกลวงควรขุดรากถอนโคนอาชญากรผู้ร่วมขบวนการในประเทศเพื่อรับผิดชอบต่อการค้ามนุษย์ที่นั่น" นางเจียงกล่าวเสริม
@เหยื่อถูกค้ามนุษย์เพราะมีผู้ค้ามนุษย์
ขนาดของการค้ามนุษย์และกิจกรรมการหลอกลวงที่ผิดกฎหมายชี้ให้เห็นถึงปัญหาความมั่นคงระดับโลกมากขึ้น โดยนายทาวเวอร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า คำว่า “การเชือดหมู” ยังไม่เป็นที่ใช้กันโดยแพร่หลายนักและจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความรุนแรงของการค้ามนุษย์และการหลอกลวงทางออนไลน์
นายทาวเวอร์กล่าวต่อไปว่าเขาเห็นว่าเพจสมัครงานออนไลน์นั้นกำลังกลายเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้น เพราะมีเพจที่เสนองานผิดกฎหมายบนเว็บไซต์ต่างๆโดยหลอกลวงให้มีลักษณะเหมือนงานจริงจนผู้คนหลงเชื่อ ดังนั้นนี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสมัครงานรวมถึงธุรกิจอื่นๆนั้นจะต้องลบโฆษณาหลอกลวงและประสานหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามเครือข่ายเหล่านี้
เขามองว่าหน้ารับสมัครงานออนไลน์เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นโดยมีการโพสต์ข้อเสนองานที่ผิดกฎหมายบนเว็บไซต์ต่างๆที่หลอกให้ผู้คนรับสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นงานจริง มันเป็นสิ่งสําคัญสําหรับอุตสาหกรรมที่จะลบโฆษณาหลอกลวงและประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามเครือข่ายเหล่านี้
ส่วนนางเจียงและทีมของเธอมองว่าควรจะให้ความสนใจกับตัวอาชญากรมากกว่าผู้ที่ถูกหลอกเป็นเหยื่อ ที่ต้องเสียทรัพย์สินในหลายประเทศทั่วโลกให้กับกลุ่มเหล่านี้ ดังนั้นหน่วยงานในระดับระหว่างประเทศควรจะต้องมีการคว่ำบาตรกลุ่มอาชญากรด้วยการอายัดทรัพย์สินหรือขึ้นทะเบียนว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายเพื่อเตือนธนาคารให้ได้รับรู้
“ผู้คนถูกหลอกค้ามนุษย์ไม่ใช่ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มเปราะบาง แต่เพราะว่ามีผู้ที่ดำเนินการค้ามนุษย์อยู่” นางเจียงกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.dw.com/en/southeast-asia-how-to-combat-a-human-trafficking-crisis/a-65431531