"...จากการที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสภาพชํารุดไม่เป็นไปตามมาตรฐานถนน ทางเดิน และทางเท้า มาตรฐานด้านความปลอดภัย และแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบ ทําให้ผู้ขับขี่และประชาชนผู้ใช้เส้นทางเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งทําให้เป็นอันตราย ต่อชีวิตและทรัพย์สิน..."
ถนนทางหลวงท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบปัญหาสำคัญหลายประเด็น อาทิ การจัดการข้อมูลถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีประสิทธิภาพ ฐานข้อมูลถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางส่วนไม่ครบถ้วน และไม่ถูกต้อง การบริหารจัดการดูแลบํารุงรักษาถนนไม่เป็นไปตามมาตรฐานและแนวทางที่กําหนด ที่สำคัญจากการตรวจสอบการดําเนินการตามแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่ดําเนินการตามแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เบื้องต้น ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีข้อเสนอแนะให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พิจารณาดําเนินการแก้ไขปัญหาโดยด่วน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สตง. ได้เผยแพร่รายงานตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดําเนินงานการบริหารจัดการถนนทางหลวงท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบุว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กําหนดให้รัฐต้องจัดหรือดําเนินการให้มี สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจดูแลและจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ซึ่งทางหลวงท้องถิ่นเป็นบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอํานาจและหน้าที่ในการบริหารจัดการทั้งทางหลวงที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นกํากับดูแลอยู่เดิม และทางหลวงที่ได้รับการถ่ายโอน เพื่ออํานวยความสะดวก ให้กับประชาชนใช้สัญจรด้วยความปลอดภัย สามารถขนส่งสินค้าและผลผลิตด้านการเกษตรออกสู่ตลาด ได้อย่างรวดเร็วเป็นการลดต้นทุนในการขนส่ง และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีบทบาทภารกิจ สําคัญในการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงหน้าที่ด้านการส่งเสริม สนับสนุน และประสานการบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ศึกษา วิจัย จัดทํา และพัฒนามาตรฐานการบริการสาธารณะและตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนกํากับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด
จากการสุ่มตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดําเนินงานการบริหารจัดการถนน ทางหลวงท้องถิ่นขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 20 แห่ง
มีข้อตรวจพบที่สําคัญ 2 ข้อตรวจพบและ 1 ข้อสังเกต ดังนี้
ข้อตรวจพบที่ 1 การจัดการข้อมูลถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีประสิทธิภาพ จากการตรวจสอบข้อมูลถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พบว่าการจัดการข้อมูลถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีประสิทธิภาพ รายละเอียดดังนี้
1. ถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ลงทะเบียนทางหลวง ท้องถิ่นไม่ครบถ้วน และไม่ถูกต้อง
1.1 ถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ลงทะเบียน ทางหลวงท้องถิ่นไม่ครบถ้วน
จากการสุ่มตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 20 แห่ง พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นไม่ครบถ้วน จํานวน 17 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.00 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สุ่มตรวจสอบ โดยพบว่ามีข้อมูลถนนที่ไม่ลงทะเบียนทางหลวง ท้องถิ่น จํานวน 3,740 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 83.82 จากจํานวนถนนทั้งหมด 4,462 สายทาง
1.2 ข้อมูลรายละเอียดสายทางที่ลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง
จากการสุ่มตรวจสอบข้อมูลและสังเกตการณ์ถนนที่ได้มีการลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นแล้ว จํานวน 44 สายทาง พบว่า ข้อมูลรายละเอียดสายทางที่ลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นไม่ถูกต้อง จํานวน 30 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 68.18 โดยสายทางมีข้อมูลรายละเอียดสายทางไม่ถูกต้อง ทั้งประเภทผิวจราจร ความกว้าง และความยาวของสายทาง ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้ดําเนินการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันตามที่กําหนดในคู่มือการลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่น
2. ฐานข้อมูลถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางส่วนไม่ครบถ้วน และไม่ถูกต้อง
2.1 ฐานข้อมูลถนนของระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นบางส่วนไม่ครบถ้วน และไม่ถูกต้อง
2.1.1 ข้อมูลถนนของระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) บางส่วน ไม่ครบถ้วน จากการสุ่มตรวจสอบสังเกตการณ์ถนน จํานวน 99 สายทาง พบว่า ระบบข้อมูลกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) ไม่มีข้อมูลถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สุ่มตรวจสอบ จํานวน 39 สายทาง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีการบันทึกหรือเพิ่มเติม ข้อมูลถนนในระบบดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบว่าข้อมูลรายละเอียดหรือข้อมูลประกอบของสายทาง ที่บันทึกในระบบ ไม่ครบถ้วนทั้ง 60 สายทาง เช่น ที่ตั้งของสายทางที่ตัดผ่านหมู่บ้านหรือชุมชน ความกว้าง ของสายทาง จํานวนเลนถนน ประเภทสายทาง ระยะทางความยาวถนน และข้อมูลพิกัดที่ตั้งสายทาง
2.1.2 ข้อมูลถนนของระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) ส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง จากการสุ่มตรวจสอบข้อมูลถนนในระบบ จํานวน 60 สายทาง พบว่า ข้อมูล รายละเอียดของถนนในระบบไม่ถูกต้อง จํานวน 56 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 93.33 ได้แก่ ประเภท ผิวจราจร ความกว้างของผิวจราจร และความยาวของสายทาง
2.2 ทะเบียนหรือประวัติถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บางส่วนไม่ครบถ้วน และไม่ถูกต้อง
2.2.1 ทะเบียนหรือประวัติถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางส่วนไม่ครบถ้วน จากการสุ่มตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 20 แห่ง พบว่า ข้อมูล ทะเบียนหรือประวัติถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสายทางไม่ครบถ้วน จํานวน 17 แห่ง โดยมีข้อมูลทะเบียนหรือประวัติถนนไม่ครบถ้วนทุกสายทางทั้งถนนเดิมและถนนใหม่ ไม่มีการรวบรวมและการสรุปข้อมูลบางสายทางให้เป็นฐานข้อมูลหรือทะเบียนหรือประวัติถนนที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามรูปแบบที่กําหนด และจากการสุ่มตรวจสอบสังเกตการณ์ถนนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจํานวน 99 สายทาง พบว่า ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 25 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 25.25 ไม่มีในฐานข้อมูลหรือทะเบียนหรือประวัติถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จัดเก็บในรูปแบบต่าง ๆ
2.2.2 ทะเบียนหรือประวัติถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง จากการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายละเอียดถนนที่มีการจัดทํา ฐานข้อมูลหรือทะเบียนหรือประวัติถนน จํานวน 72 สายทาง พบว่า ข้อมูลในฐานข้อมูลหรือทะเบียน หรือประวัติถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ถูกต้อง ตรงตามสภาพถนนจริงจากการสังเกตการณ์ จํานวน 60 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 83.33 โดยประเภทผิวจราจร ความกว้างของผิวจราจร และ ระยะทางหรือความยาวของถนนไม่ถูกต้อง จากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นไม่ครบถ้วน และ ไม่ถูกต้อง ทําให้การลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เป็นทางหลวง ท้องถิ่นตามกฎหมาย ส่งผลต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการกํากับ ตรวจตราและควบคุมทางหลวง ท้องถิ่น และบังคับใช้ตามกฎหมายทางหลวงได้อย่างสมบูรณ์ และขาดฐานข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ที่จะสามารถนําไปใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการงบประมาณได้อย่างเหมาะสม และกรณีข้อมูลถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ครบถ้วน และไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ขาดข้อมูลที่มีคุณภาพในการบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา วิเคราะห์ ความเป็นไปได้ในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงไม่ได้ใช้ประโยชน์ และขาดความน่าเชื่อถือ ขาดความชัดเจนในการบริหารจัดการทั้งในระดับกรมและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสาเหตุเกิดจากเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดความรู้ความเข้าใจและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในรายละเอียดคู่มือการลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่น และไม่ให้ความสําคัญในการจัดทํา
หรือจัดเก็บเอกสารประกอบการดําเนินงานหรือที่มาของถนนตั้งแต่เริ่มต้นเอกสารแสดงการถ่ายโอนและประวัติการซ่อมแซมบํารุงรักษาถนน ทําให้ยังขาดความพร้อมในเรื่องข้อมูลและเอกสารประกอบรวมทั้งมีภารกิจบริการสาธารณะอื่นที่ให้ความสําคัญและเร่งดําเนินการก่อน และบางแห่งขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงขาดการปรับปรุงฐานข้อมูลในระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) และขาดการติดตามปัญหาอุปสรรคของการจัดทําข้อมูลและปรับปรุงฐานข้อมูล
ภาพจาก https://www.tcijthai.com/
ข้อตรวจพบที่ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการดูแลบํารุงรักษาถนนไม่เป็นไปตามมาตรฐานและแนวทางที่กําหนด
จากการตรวจสอบการจัดการดูแลบํารุงรักษาถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการดูแลบํารุงรักษาถนนไม่เป็นไปตาม มาตรฐานและแนวทางที่กําหนด ดังนี้
1. ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีสภาพชํารุดเสียหายไม่ได้รับการ ซ่อมแซมบํารุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีตามมาตรฐานถนน ทางเดิน และทางเท้า
จากการตรวจสอบสภาพถนนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน20 แห่ง โดยสุ่มตรวจสอบถนน จํานวน 99 สายทาง พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง มีถนนที่ชํารุดเสียหาย โดยถนนบางช่วงมีสภาพชํารุดเสียหาย จํานวน 72 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 72.73 ของสายทางที่สุ่มตรวจสอบ รายละเอียดดังนี้
1.1 ถนนที่ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมโดยใช้งบประมาณ พ.ศ. 2563-2564 จํานวน 53 สายทาง พบว่า ถนนบางช่วงมีสภาพชํารุดเสียหาย จํานวน 31 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 58.49 ของ ถนนที่ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซม โดยสายทางส่วนมากชํารุดเสียหายเป็นรอยแตกร้าว เป็นหลุมบ่อ และมีรอยปะซ่อม ทั้งนี้สายทางส่วนใหญ่มีการชํารุดเพียงเล็กน้อยเนื่องจากผ่านการปรับปรุงซ่อมแซม ไม่นานนัก และสายทางที่ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมบางช่วงส่วนใหญ่พบการชํารุดเสียหายในช่วงที่ไม่ได้ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซม
โดยบางสายทางมีสภาพชํารุดมากโดยมีรอยแตกขนาดใหญ่ รอยแตกร้าวหนังจระเข้ ถนนยุบตัวเป็นระยะ และบางจุดพบการซ่อมแซมแต่ยังคงพังเสียหาย ทั้งนี้มี สายทางที่ยังอยู่ในระยะเวลารับประกันความชํารุดบกพร่องตามสัญญา มีสภาพชํารุดเกิดขึ้นในบริเวณ ที่ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซม จํานวน 11 สายทาง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งยังไม่ได้ สํารวจหรือแจ้งผู้รับเหมาให้มาซ่อมแซมหรือผู้รับเหมายังไม่ได้เข้ามาซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดี
1.2 ถนนที่ไม่ได้ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2564 จํานวน 46 สายทาง พบว่า ถนนบางช่วงมีสภาพชํารุดเสียหาย จํานวน 41 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 89.13 ของถนน ที่ไม่ได้ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซม โดยการชํารุดเสียหายส่วนใหญ่ คือ เป็นหลุมบ่อ มีรอยแตกร้าว ตามแนวขวาง แนวยาว และผิวทางหลุดร่อน
นอกจากนี้ จากการสังเกตการณ์โดยใช้แนวทางการประเมินคุณภาพทางหลวงท้องถิ่น ด้วยหลักคุณภาพ 4s โดยใช้สายตา ในด้านทางสบาย สภาพไร้หลุมบ่อ (Service) พบว่า มีสายทาง ที่มีสภาพแย่และแย่มาก จํานวน 20 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 20.20 ของสายทางที่สุ่มตรวจสอบ โดยสายทางที่มีสภาพแย่ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการซ่อมบํารุง จํานวน 15 สายทาง และสภาพทางแย่มาก ซึ่งเป็นสภาพที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุอันตราย ต้องรีบซ่อมแซมโดยด่วน จํานวน 5 สายทาง
2. ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย จากการสุ่มตรวจสอบสภาพถนนตามมาตรฐานการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
พบว่า ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่จัดทําอุปกรณ์ควบคุมไม่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย รายละเอียดดังนี้
2.1 ถนนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมด้านป้ายจราจรและ เครื่องหมายบนพื้นทางไม่เป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน จํานวน 36 สายทาง คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของสายทางที่สุ่มตรวจสอบ 48 สายทาง เช่น ไม่มีป้ายเตือนหยุดบริเวณทางแยก ทางโค้ง ป้ายเตือนไม่ชัดเจนหรือชํารุด ไม่มีเส้นจราจรบนพื้นทาง และเส้นจราจรไม่ชัดเจน นอกจากนี้ ยังพบว่าบริเวณคอสะพานแคบไม่มีการติดตั้งป้ายเตือน
2.2 ถนนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สุ่มตรวจสอบส่วนใหญ่มีความกว้างของ ช่องจราจรไม่เป็นไปตามคู่มือการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนสําหรับทางหลวงท้องถิ่นของกรมทางหลวงชนบท โดยพบว่า มีสายทางที่มีความกว้างของช่องจราจรน้อยกว่า 3 เมตร จํานวน 50 สายทาง หรือคิดเป็นร้อยละ 50.51 ของสายทางที่สุ่มตรวจสอบ จํานวน 99 สายทาง ซึ่งสายทาง ที่มีความกว้างของช่องจราจรน้อยกว่า 3 เมตร ส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่ติดกับที่ดิน หรือบ้านเรือนประชาชนทางถนน
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่ดําเนินการตามแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุ
จากการตรวจสอบการดําเนินการตามแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่ดําเนินการตามแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนดังนี้
3.1 การดําเนินการแก้ไขปรับปรุงซ่อมแซมจุดเสี่ยงให้มีความปลอดภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 11 แห่ง จํานวน 28 จุด พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 9 แห่ง มีจุดเสี่ยงที่จําเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุ จํานวน 16 จุด คิดเป็นร้อยละ 57.14 ของจุดเสี่ยงที่สุ่มตรวจสอบ โดยเป็นจุดเสี่ยงที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข จํานวน 4 จุด และจุดเสี่ยง ที่ได้รับการแก้ไขแล้วแต่ยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นหรือยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงซึ่งจําเป็น ต้องได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม จํานวน 12 จุด เนื่องจากยังคงมีสภาพทางที่เสี่ยงและอันตรายหรือยังพบ การทําผิดกฎจราจรหรืออุปกรณ์อํานวยความปลอดภัยชํารุดทรุดโทรมและไม่ครบถ้วน
นอกจากนี้ ยังพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 9 แห่ง ไม่ได้รายงานผลการสํารวจจุดเสี่ยงและแนวทาง การแก้ไขจุดเสี่ยงให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวทางที่กําหนด
3.2 การจัดทําฐานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 14 แห่ง พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ มีจํานวน 8 แห่ง และมีข้อมูล อุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ มีจํานวน 6 แห่ง
3.3 การจัดทําแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 8 แห่ง พบว่า มีองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจํานวน 4 แห่ง และมีการจัดทําแผน จํานวน 4 แห่ง อย่างไรก็ตามแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนนส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลจุดเสี่ยงและจุดอันตราย สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และแผนงาน/ โครงการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตามที่คู่มือการปฏิบัติงานกําหนด
จากการที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสภาพชํารุดไม่เป็นไปตามมาตรฐานถนน ทางเดิน และทางเท้า มาตรฐานด้านความปลอดภัย และแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบ ทําให้ผู้ขับขี่และประชาชนผู้ใช้เส้นทางเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งทําให้เป็นอันตราย ต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทําให้การเดินทางสัญจรของประชาชนและการขนส่งสินค้าหรือขนส่งพืชผล ทางการเกษตรเป็นไปอย่างยากลําบาก และอาจทําให้ความชํารุดเสียหายของถนนขยายเป็นวงกว้างไปถึงชั้นโครงสร้าง มีความเสี่ยงที่จะต้องใช้งบประมาณในการดูแลบํารุงรักษาถนนเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุ เกิดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดการบริหารจัดการดูแลบํารุงรักษาถนนอย่างมีประสิทธิภาพ และขาดการให้ความสําคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนนเท่าที่ควร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บางแห่งยังขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญ มีความรู้ตรงตามสายงาน ประกอบกับภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริการสาธารณหลายด้าน
ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้การจัดการข้อมูลถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ และบริหาร จัดการดูแลบํารุงรักษาถนนเป็นไปตามมาตรฐานและแนวทางที่กําหนด ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีข้อเสนอแนะให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาดําเนินการดังนี้
ท้องถิ่น
1. บูรณาการและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) กรมทางหลวงชนบท
1.1) ในฐานะหน่วยงานที่กําหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์ในการลงทะเบียนทางหลวงและการจัดทําทะเบียนถนนหรือประวัติสายทาง เพื่อการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียด ขั้นตอน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่น และการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สําคัญ และจําเป็นของสายทางในการจัดทําทะเบียนถนนหรือประวัติสายทาง รวมถึงหารือถึงปัญหาอุปสรรค ในการดําเนินการที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางการแก้ไขให้มีทิศทางเดียวกันในทุกพื้นที่ พร้อมนําข้อมูลไป เผยแพร่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงความสําคัญ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
1.2) ในฐานะหน่วยงานพี่เลี้ยงด้านงานทาง เพื่อพิจารณาหารือแนวทางการปฏิบัติงาน ทาง การจัดการดูแลบํารุงรักษาถนน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานถนน ทางเดิน และทางเท้า และ มาตรฐานการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ที่เหมาะสมกับสภาพถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจตรงกัน หรือร่วมกันจัดทําแนวปฏิบัติสําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และสนับสนุนส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักให้ความสําคัญและปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ให้ถนนอยู่ในสภาพดี และเกิดความปลอดภัยมากขึ้น เช่น การสํารวจตรวจสอบถนนประจําปี รวมถึง การสํารวจตรวจสอบป้ายจราจร ป้ายเตือน สัญญาณไฟกระพริบ เครื่องหมายบนพื้นทาง อุปกรณ์ ด้านความปลอดภัย ให้มีความครบถ้วน พร้อมใช้งาน และสื่อความหมายได้ชัดเจนอย่างสม่ําเสมอ
2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่เป็นหน่วยงานหลักตามแนวทางป้องกันและ ลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อพิจารณาหารือรายละเอียดในการดําเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งการสํารวจและแก้ไขจุดเสี่ยง จุดอันตราย การจัดทําฐานข้อมูลอุบัติเหตุ การจัดทําแผนปฏิบัติการ ความปลอดภัย และการรายงานผลการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับพื้นที่รวมถึงการติดตามความคืบหน้าในการดําเนินงาน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกิดความรู้ความเข้าใจตรงกัน และดําเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3) ประสานงานและหารือหน่วยงานรัฐผู้ดูแลพื้นที่ กรณีถนนในความรับผิดชอบของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในเขตพื้นที่ของหน่วยงานราชการอื่น เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สํานักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น การดําเนินการอนุญาตที่ล่าช้า หรือขอบเขตข้อตกลงในการใช้พื้นที่ เป็นต้น โดยเฉพาะพื้นที่ป่า ซึ่งมี กฎหมายและระเบียบที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการดําเนินการบริการสาธารณด้านถนน ให้กับประชาชนผู้สัญจร
2. สั่งการให้หน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องหรือแต่งตั้งคณะทํางาน เพื่อศึกษาและหารือกําหนด แนวทางส่งเสริมสนับสนุนการจัดทําข้อมูลประกอบการลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่น และการจัดทํา ข้อมูลทะเบียนถนนหรือประวัติสายทาง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบริบทแตกต่างกัน เช่น ความแตกต่างของบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และปริมาณถนนในความรับผิดชอบ ซึ่งองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่มีการดําเนินการเป็นจํานวนมาก รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา กรณีสายทางที่เกิดความซ้ําซ้อนกันเพื่อการดูแลรับผิดชอบให้ชัดเจน โดยพิจารณาดําเนินการให้ข้อมูลดังกล่าวแล้วเสร็จโดยเร็ว และเป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเพื่อช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการยื่นขอลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นหรือขอแก้ไข ข้อมูล และการจัดทําข้อมูลทะเบียนถนนหรือประวัติสายทางในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และสามารถนําข้อมูล ไปปรับปรุงในระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
3.) กํากับติดตามความคืบหน้าในการลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่น การปรับปรุงข้อมูลในระบบ ข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) และการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนถนนหรือประวัติสายทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อเนื่องอย่างสม่ําเสมอ เช่น การกําหนดให้มีการรายงานข้อมูล ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน
ข้อสังเกต การพัฒนาระบบข้อมูลทางหลวงระดับจังหวัดไม่มีการขับเคลื่อนภารกิจ
จากการตรวจสอบการดําเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาการถ่ายโอน ภารกิจงานก่อสร้างและบํารุงรักษาถนนและสะพานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอน โดยตรวจสอบการดําเนินงานของคณะทํางานพัฒนาระบบข้อมูลทางหลวงระดับจังหวัด และศูนย์ข้อมูล ทางหลวงท้องถิ่นระดับจังหวัด พบว่า การพัฒนาระบบข้อมูลทางหลวงระดับจังหวัดไม่มีการขับเคลื่อนภารกิจ โดยไม่มีการแต่งตั้งคณะทํางานพัฒนาระบบข้อมูลทางหลวงระดับจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด และ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ไม่มีการดําเนินการขับเคลื่อนการดําเนินงานของศูนย์ข้อมูลทางหลวง ท้องถิ่นระดับจังหวัดทั้ง 6 แห่ง ส่งผลทําให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดขาดข้อมูลทางหลวง ท้องถิ่นในจังหวัด เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาทางหลวงท้องถิ่น เช่น ปัญหาความทับซ้อน ของสายทาง ปัญหาความชํารุดเสียหาย และส่งผลทําให้ยังขาดข้อมูลทางหลวงท้องถิ่นที่จะนําไปสู่การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศให้มีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีสาเหตุจากแนวทาง ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขาดรายละเอียดขั้นตอนที่สําคัญในการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม เช่น ขาดโครงสร้างและหน้าที่ของคณะทํางานพัฒนาระบบข้อมูลทางหลวงท้องถิ่นระดับจังหวัด ขาดแนวทาง ทิศทางและเป้าหมายการดําเนินงานศูนย์ข้อมูลทางหลวงท้องถิ่นระดับจังหวัด และขาดการกํากับติดตามการดําเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ภาพจาก https://www.opt-news.com/
ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้การพัฒนาระบบข้อมูลทางหลวงระดับจังหวัดมีการขับเคลื่อนภารกิจอย่างเป็นรูปธรรมผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีข้อเสนอแนะให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พิจารณาดําเนินการ ประสานงานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อจัดทําฐานข้อมูลด้านการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) เพื่อพิจารณาหารือแนวทางและรายละเอียดในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางหลวงระดับจังหวัดตรงและโดยให้มีรูปแบบรายละเอียดการดําเนินการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น รูปแบบการแต่งตั้งแ อํานาจหน้าที่ของคณะทํางานพัฒนาระบบข้อมูลทางหลวงระดับจังหวัด แนวทางการดําเนินงานศูนย์ ข้อมูลทางหลวงท้องถิ่นระดับจังหวัด กับจังหวัด และบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมซักซ้อมความเข้าใจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามแนวทางที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้มีรูปแบบการติดตามความคืบหน้าและปัญหาอุปสรรคจากการดําเนินงานเพื่อเป็นการเร่งรัดและปรับปรุงแก้ไขต่อไป